Login or Register to make a submission.

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

              บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารJournal of Buddhist Education and Research ควรจะมีความเนื้อหาทางวิชาการอยู่ในสาขาวิชาพระพุทธศาสนา ปรัชญา การศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสหวิทยาการกับสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมถึงสหวิทยาการอื่น ๆ บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารJournal of Buddhist Education and Researchอย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร

          ทั้งนี้ผู้เขียนจะต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างข้อมูลเท็จ หรือการปลอมแปลง บิดเบือน รวมไปถึงการตกแต่ง หรือ เลือกแสดงข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับข้อสรุป รวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารJournal of Buddhist Education and Research ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารJournal of Buddhist Education and Research รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ในระดับไม่เกิน 25% โดยมีผลตั้งแต่ เดือนมิถุนายน 2562 เป็นตันไป

          วารสารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจำนวน 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) ต่อ 1 บทความ ผู้เขียนจะต้องลงทะเบียนพร้อมจ่ายค่าธรรมเนียมในระบบ วารสารจะนำค่าธรรมเนียมนี้มาปฏิบัติงานภายในและจะคืนให้ในกรณีบรรณาธิการปฏิเสธการตีพิมพ์เท่านั้น หากส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความแล้ว วารสารจะไม่คืนค่าธรรมเนียม

การส่งบทความเข้าระบบ Thaijo เพื่อได้รับการตีพิมพ์

          การส่งในระบบ (Online Submission) สามารถส่งเข้าระบบออนไลน์ได้เว็บไซต์ ของวารสารJournal of Buddhist Education and Research ได้ที่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/index

เมื่อส่งเข้าระบบสำเร็จให้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมทาง Email : [email protected]

เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก

การจัดเตรียมบทความ ดาวน์โหลดตัวอย่าง )

          1) ต้นฉบับบทความต้องมีความยาว 8 - 15 หน้ากระดาษ A4  (ไม่รวมเอกสารอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว ใช้ตัวอักษรแบบ TH Sarabun PSK ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบบน ขอบซ้าย 1 นิ้ว และขอบขวา ขอบล่าง 1 นิ้ว กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 และเว้นบรรทัดระหว่างแต่ละย่อหน้า การนำเสนอรูปภาพและตาราง ต้องนำเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัดพร้อมระบุหมายเลขกำกับรูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวหนาเช่นตารางที่ 1 หรือ Table 1 และ ภาพที่ 1 หรือ Figure 1 รูปภาพที่นำเสนอต้องมีรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปอ่านที่เนื้อความอีก ระบุลำดับของรูปภาพทุกรูปให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคำอธิบายต้องกระชับและสอดคล้องกับรูปภาพที่นำเสนอ

          2) ชื่อเรื่อง (หน้าแรก) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้ตรงกลางหน้าแรก

          3) ชื่อผู้เขียน ชื่อสังกัดหรือหน่วยงาน ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมอีเมลอีเมล ชิดขวา

          4) มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 300 คำต่อบทคัดย่อ

          5) กำหนดคำสำคัญ (Keywords) 3-5 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

          6) การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย หัวข้อย่อยเว้นห่างจาก หัวข้อใหญ่ 3-5 ตัวอักษร และหัวข้อย่อยขนาดเดียวกัน ต้องพิมพ์ให้ตรงกัน เมื่อขึ้นหัวข้อใหญ่ ให้เว้นระยะห่าง 1 บรรทัด

          7) การใช้ตัวเลข คำย่อ และวงเล็บ ควรใช้ตัวเลขอารบิกทั้งหมด ใช้คำย่อที่เป็น สากลเท่านั้น (ระบุคำเต็มไว้ในครั้งแรก) การวงเล็บภาษาอังกฤษ ควรใช้ดังนี้ (Student centred learning)

บทความวิจัยให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

                   1) บทคัดย่อ (Abstract) เสนอวัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการวิจัยและผลการวิจัยโดยสรุป สั้นกะทัดรัดได้ใจความ

                   2) บทนำ (Introduction) ระบุความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาในการวิจัยและระบุวัตถุประสงค์ของการวิจัย

                   3) วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) ระบุแบบแผนการวิจัยการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล

                   4) ผลการวิจัย (Results) เสนอผลที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน ควรเสนอในรูปตารางหรือแผนภูมิ

                   5) อภิปรายผล (Discussion) เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของผลการวิจัยกับกรอบแนวคิด และงานวิจัยที่ผ่านมา ไม่ควรอภิปรายเป็นข้อ ๆ แต่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด

                   6) องค์ความรู้ใหม่ (ถ้ามี) (Originality and Body of Knowledge) ระบุองค์ความรู้อันเป็นผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการวิจัย สังเคราะห์ออกมาในรูปแบบโมเดล พร้อมคำอธิบายรูปแบบ/โครงสร้างของโมเดลอย่างกระชับ เข้าใจง่าย

                   7) สรุป (Conclusion) /ข้อเสนอแนะ (Recommendation) ระบุข้อสรุปที่สำคัญและข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ และประเด็นสำหรับการวิจัยต่อไป

                   8) เอกสารอ้างอิง (References) ต้องเป็นรายการอ้างอิงที่มีปรากฏในบทความเท่านั้น

บทความวิชาการบทความวิจารณ์หนังสือ ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

                   1) บทคัดย่อ (Abstract)

                   2) บทนำ (Introduction)

                   3) เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามสำดับ

                   4) สรุป (Conclusion)

                   5) เอกสารอ้างอิง (Reference)

ระบบการอ้างอิงและเอกสารอ้างอิงทางวิชาการพร้อมตัวอย่างประกอบ

เอกสารที่นำมาอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจน อาจเป็นวารสาร หนังสือหรือข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตทั้งนี้ผู้เขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมดก่อนส่งต้นฉบับผู้เขียนบทความควรตรวจสอบถึงความถูกต้อง ของการอ้างอิงเอกสาร เพื่อป้องกันความล่าช้าในการตีพิมพ์บทความ เนื่องจากบทความที่มีการอ้างอิงไม่ถูกต้องจะไม่ได้รับการส่งต่อเพื่อพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจนกว่าการอ้างอิงเอกสารจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง

          1) การอ้างอิงในเนื้อหาบทความ

          รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อเรื่องและท้ายเล่มใช้วิธีการอ้างอิงระบบนาม – ปี ตามรูปแบบของ American Psychological Association (APA)ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้วงเล็บ เปิด-ปิด แล้วระบุชื่อ-นามสกุลของผู้เขียนและเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง กำกับท้ายเนื้อความที่ใต้อ้างอิง เอกสารที่อ้างอิงในบทความจะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ และเจ้าของบทความต้องรับผิดชอบถึงความถูกต้องของเอกสารที่นำมาอ้างอิงทั้งหมด โดยรูปแบบของการอ้างอิงเอกสาร มีดังนี้                       

          อ้างอิงจากเอกสารภาษาไทย

          1) พระไตรปิฎกและอรรถกถาให้อ้างชื่อคัมภีร์เล่มที่ข้อเครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิงเช่น (พระไตรปิฎกภาษาไทย/20/12/50), (พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล/18/100)

          2) ผู้แต่งหนึ่งคนให้อ้างชื่อผู้แต่งเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่พิมพ์เครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น (สังเวียน สาผาง, 2554)

          3) ผู้แต่งสองคนให้อ้างชื่อของผู้แต่งสองคนเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่พิมพ์เครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิงเช่น (สังเวียน  สาผางและไพรฑูรย์  สวนมะไฟ, 2553) หากมีเอกสารที่นำมาอ้างอิงมากกว่า1รายการให้ใช้เครื่องหมายอัฒภาค (;) คั่นระหว่างรายการอ้างอิงเช่น (พระพรหมบัณฑิต ประยูรธมฺมจิตฺโต, 2550; ป.อ. ปยุตฺโต, 2560)

          4) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 คนให้อ้างชื่อของผู้แต่งคนแรกเว้นวรรคหนึ่งครั้งเพิ่มคำว่า “และคณะ”เครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิงเช่น (พระพรหมคุณาภรณ์, สังเวียน สาผางและคณะ, 2558)

          5) ให้เรียงลำดับการอ้างอิงตามลำดับพยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่งเช่นเดียวกับลำดับการอ้างอิงในส่วนเอกสารอ้างอิง           

           อ้างอิงจากเอกสารภาษาอังกฤษ

          1) ถ้ามีผู้แต่งหนึ่งคนให้อ้างนามสกุลของผู้แต่ง เครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ และ หน้าที่นำมาอ้างอิง เช่น (Rawls, 1999)

          2) ถ้ามีผู้แต่งสองคนให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งสองราย เครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ และหน้าที่นำมาอ้างอิง เช่น (Barry & Larope, 2010) และให้ใช้เครื่องหมาย อัฒภาค (;) คั่นกลางระหว่างเอกสารที่นำมาอ้างอิงมากกว่า 1 เอกสาร เช่น (Rawls, 1999 ; Barry & Larope, 2010)

          3) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 คนให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งรายแรกตามด้วย et al, ปีที่พิมพ์ และหน้าที่นำมาอ้างอิง (Rawls et al., 2008)

          4) ให้เรียงลำดับการอ้างอิงชื่อผู้แต่ง

หลักเกณฑ์ทั่วไปในการพิมพ์รายการสำนักพิมพ์/โรงพิมพ์

          กรณีเป็นสำนักพิมพ์หรือบริษัทให้คงไว้เฉพาะชื่อ ดังตัวอย่าง

               1) บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด ใช้ นานมีบุ๊คส์

               2) สำนักพิมพ์เทียนวรรณ ใช้ เทียนวรรณ

               3) กรณีที่เป็นโรงพิมพ์ให้ใช้รูปแบบเต็ม เช่น โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

เอกสารอ้างอิง

          (1) พระไตรปิฎก อรรถกถา

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อพระไตรปิฎกอรรถกถา.:สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์. 

ตัวอย่าง :

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.  กรุงเทพมหานคร:  โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

          (2) หนังสือ

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ./(ครั้งที่พิมพ์)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์

          หรือโรงพิมพ์.  (./ การวรรค 1 ครั้ง)

ตัวอย่าง :

จำนงค์  ทองประเสริฐ. (2516). ประวัติพระพุทธศาสนาในเอเชียอาคเนย์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: อภิธรรมมูลนิธิมหาธาตุวิทยาลัย.

         (3) บทความในหนังสือ

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ)./ชื่อเรื่อง./(เลขหน้าที่อ้าง)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง :

ดำคง คงเดช. (2560). การสร้างความปรองดองในสังคมไทยด้วยหลักพุทธศาสนา ใน อนันต์ แจ่มชื่น. ธรรมโอสถกับการเยียวยาสังคม. (หน้า 112). กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์.

         (4) บทความจากวารสาร

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร./ปีที่(ฉบับที่), /เลขหน้าแรก ที่ตีพิมพ์-เลขหน้าสุดท้ายที่ตีพิมพ์.

ตัวอย่าง :

พระครูสิริรัตนานุวัตร. (2557). การบนบาน บวงสรวง: แนวคิด หลักการ อิทธิพลต่อสังคมไทย.
               วารสาร วิจัยพุทธศาสตร์, 
1(1), 88-99.

         (5) บทความในสารานุกรม

รูปแบบ : ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ใน ชื่อสารานุกรม,/(เล่มที่อ้าง, หน้า เลขหน้าที่อ้าง)./สถานที่พิมพ์: /สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง :

ไพฑูรย์  นามวิจิต. (2540). ช้าง ม้า วัว ควาย. ใน สารานุกรมไทยสำหรับเขาวชน(หน้า 200-215). กรุงเทพมหานคร: เสริมสร้างความรู้.

Landesman, C.(1967). Consciousness. In The Encyclopedia of Philosophy, (Vol. 2, pp.191-195).

         (6) หนังสือพิมพ์

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(วันที่ เดือน ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อหนังสือพิมพ์,/เลขหน้า.

ตัวอย่าง :

อเนก  พูลทรัพย์. (10 สิงหาคม 2560). ปัญหาการเมืองไทย. มติชน, น.10.

         (7) วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง รายงานการวิจัย

รูปแบบ :

ชื่อผู้เขียน./(ปีพิมพ์)./ชื่อวิทยานิพนธ์./ระดับวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์/หรือการค้นคว้าแบบอิสระ/ชื่อมหาวิทยาลัย

ตัวอย่าง:

พระครูอินทสารวิจักษ์  อินฺทสโร.  (2551). ศึกษาการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพรและธรรมโอสถที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

         (8) สัมภาษณ์

รูปแบบ:

ชื่อผู้ที่ไค้รับการสัมภาษณ์./(ปี)./ตำแหน่ง./สัมภาษณ์./วัน เดือน.

ตัวอย่าง :

พระมหาวสันต์  ญาณเมธี, ดร.. (2558). เจ้าอาวาส วัดศรีศาสดา. สัมภาษณ์. 5 มีนาคม.

         (9) สื่อออนไลน์

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(วันที่ เดือน ปีที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./สืบค้นเมื่อ วันที่ เดือน ปี,/จาก แหล่งที่อยู่ไฟล์ (URL)

ตัวอย่าง :

หลวงพ่อปราโมทย์  ปาโมชฺโช. (20 กรกฎาคม 2562). มิจฉาทิฏฐิ. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2563,                                                                       จาก https://www.dhamma.com/download/micchaditthi.

Doyle, M. W.. (22 June 2004). Liberal Internationalism:Peace, War and Democracy.Retrieved September2,2013,  from http://www.nobelprize.org/nobel_prizes/themes/peace/doyle/ index.html

ตัวอย่างเอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2535). พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฎกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ประยุตโต). (2546). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสฐียร พันธรังษ. (2521). ศาสนาโบราณ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2531). พุทธวจนะในธรรมบท. กรุงเทพมหานคร: ช่อมะไฟ.

จำนงค์ ทองประเสริฐ.(2514). ประวัติพระพุทธศาสนาในเอเชียอาคเณย. พระนคร: มูลนิธิอภิธรรมมหาธาตุวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ลม เปลี่ยนทิศ. (19 ธันวาคม 2548). หมายเหตุประเทศไทย: สังคมไทยกำลังป่วยหนัก. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562,                                         จาก http://www.thairath.co.th/thairath1/2548/column/remark/dec/19_12_48. php

Jayatileke, K.N.. (1969). The Buddhist Theory of Causality. Vol.77 and 2. The Maha Bodhi, D.C.

Bhattacharya, K. (1961). The Concept of Self in Buddhism. The Philosophical Quartery (India), 34(2), 18-29.

 

          ต้นฉบับบทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์เอกสาร *.docx ของ Microsoft Word Version 2010 หรือมากกว่า และ ไฟล์เอกสาร *.PDF
กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้น เกี่ยวกับความถูกต้องของรูปแบบทั่วไป ถ้าไม่ผ่านการพิจารณาจะส่งกลับไปแก้ไข ถ้าผ่านจะเข้าสู่การพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิเมื่อผลการประเมินผ่านหรือไม่ผ่านหรือมีการแก้ไข จะแจ้งผลให้ผู้เขียนทราบ โดยการพิจารณาบทความเพื่อลงตีพิมพ์ได้จะคำนึงถึงความหลากหลายและความเหมาะสม

สิทธิของบรรณาธิการ

          ในกรณีที่กองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินบทความมีความเห็นว่าควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความแก้ไข โดยจะยึดถือข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินเป็นเกณฑ์หลัก และหรือขอสงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาไม่ตีพิมพ์ ในกรณีที่รายงานการวิจัย บทความทางวิชาการหรือบทความวิจัยไม่ตรงกับแนวทางของวารสารJournal of Buddhist Education and Research หรือไม่ผ่านการพิจารณาของกองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญเมื่อบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ผู้เขียนจะได้รับวารสาร ลิ้งค์ฉบับที่นำบทความลงตีพิมพ์ พร้อมกับหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความในวารสารJournal of Buddhist Education and Research