https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD/issue/feed วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต 2024-10-25T20:28:13+07:00 Asst. Prof. Chuankid Masena, Ph.D. chuankidka@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต</strong><br /><strong>Buabundit Journal of Educational Administration</strong><br /><strong>ISSN <span class="OYPEnA text-decoration-none text-strikethrough-none">3027-7892(Online)</span></strong><br />********************<br />สาขาวิชาการบริหารการศึกษาริเริ่มจัดทำวารสารทางวิชาการของสาขาวิชา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 เพื่อให้เป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยบรรณาธิการในยุคบุกเบิกคนแรกคือ รศ.ดร.สมาน อัศวภูมิ และได้ตั้งชื่อวารสารว่า “วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต” มีกำหนดเผยแพร่ปีการศึกษาละ 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 เดือน ตุลาคม-มกราคม ฉบับที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์-พฤษภาคม และฉบับที่ 3 เดือน มิถุนายน-กันยายน กองบรรณาธิการได้พยายามพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพวารสารมาโดยตลอด จนกระทั่ง ในปี พ.ศ.2558 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิตได้ถูกจัดคุณภาพให้เป็นวารสารกลุ่มที่ 2 ในฐานข้อมูล TCI จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2562 ซึ่งกองบรรณาธิการได้ปรับรอบการตีพิมพ์บทความให้ตรงกับรอบประเมินของ TCI โดยปรับกำหนดการออกวารสารใหม่ดังนี้ ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-เมษายน ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม และฉบับที่ 3 เดือน กันยายน-ธันวาคม โดยเริ่มตั้งแต่วารสารปีที่ 16 เป็นต้นไป ขณะนี้ วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต โดยมี ผศ.ดร.ชวนคิด มะเสนะ เป็นบรรณาธิการ ได้ปรับวาระการตีพิมพ์เป็นปีละ 2 ฉบับ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2564 เป็นต้นไป กล่าวคือ ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม) <br />โดยวารสารได้ยื่นคำร้องขอ ISSN จากสำนักหอสมุดแห่งชาติตามลำดับ คือ<br />1.Print-ISSN 1513-007X (ได้ทำเรื่องขอยกเลิกไปแล้ว)<br />2.วารสารได้ดำเนินการขอ E-ISSN ใหม่ คือ <span class="OYPEnA text-decoration-none text-strikethrough-none">3027-7892 เพื่อปรับชื่อภาษาอังกฤษของวารสารในระบบ ISSN Protal ให้ถูกต้องและตรงตามชื่อภาษาของวารสาร และจะดำเนินการตีพิมพ์เผยแพร่แบบออนไลน์เพียงอย่างเดียว ตั้งแต่ฉบับที่ 1 ปีที่ 24 (มกราคม-มิถุนายน) 2567 เป็นต้นไป</span></p> https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD/article/view/275692 ถอดบทเรียน: การเขียนตำราและหนังสือเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ 2024-09-01T06:53:57+07:00 นวรัตน์ ไวชมภู navaratwai@gmail.com <p>บทความนี้เป็นการถอดบทเรียนจากองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากคณาจารย์ที่จัดอบรมร่วมกับแนวคิดของผู้เขียนซึ่งอาจเป็นปัจจัยสำเร็จให้กับผู้อ่านในการเขียนตำราและหนังสือ เนื่องจากผู้เขียนตำราและหนังสือทางการศึกษาส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ผู้สอนการเขียนตำราและหนังสือเปรียบเสมือนกระจกที่สะท้อนการถ่ายทอดองค์ความรู้ของผู้เขียนว่ามีความเข้าใจลึกซึ้งในสิ่งที่เขียนหรือไม่ โดยตำราและหนังสือมีความแตกต่างแบบกว้าง ๆ 2 ประเด็น คือ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ประโยชน์และเนื้อหา ดังนั้นผู้เขียนต้องทำความเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายคือใครเพื่อนำสู่การออกแบบเนื้อหาของตำราและหนังสือ การถอดบทเรียนครั้งนี้สิ่งที่นำเสนอ ได้แก่ 1) การทบทวนตัวเอง 2) การทำความรู้จักตำราและหนังสือ 3) ตกผลึกก่อนเขียนตำราและหนังสือ และ 4) การค้นหากัลยาณมิตร หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความวิชาการนี้จะช่วยให้ผู้ที่จะเริ่มเขียนตำราและหนังสือมีแรงกาย แรงใจ ในการผลักดันตนเองเพื่อเขียนตำราและหนังสือที่มีคุณค่าทางวิชาการต่อไป</p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> 2024-10-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD/article/view/277709 การประเมินผลการเรียนรู้หลักสูตรฝึกอบรมทักษะทางภาษาเวียดนามสำหรับ ครูผู้สอนภาษาเวียดนาม 2024-09-23T13:44:04+07:00 ถนอมพรรณ ตริวณิชชากร thanomphan.t@ubru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมภาษาเวียดนามสำหรับผู้สอนภาษาเวียดนาม ตามเกณฑ์มาตรฐานความสามารถทางภาษาเวียดนาม (V-test) ตามหนังสือเวียนที่ 17/2015 / TT-BGDĐT ลงวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2015 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ครูชาวไทยและครูชาวเวียดนามที่สอนในสถานศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศไทย และสอนในสมาคมชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม จำนวน 38 คน จากผู้สอนภาษาเวียดนามที่สนใจและสมาชิกเข้าร่วมโครงการ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่หลักสูตรฝึกอบรมภาษาเวียดนามเพื่อการสื่อสาร แบบทดสอบทักษะภาษาเวียดนาม แบบสอบถามความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ด้วยค่า t-test (t-test for one sample test) และการทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว (one sample t-test) คำนวณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สถิติสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการทดสอบทักษะก่อนและหลังการอบรมของครูผู้สอนภาษาเวียดนาม สรุปได้ว่าคะแนนหลังการฝึกอบรมสูงกว่าคะแนนก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ภาพรวมของคะแนนครูผู้สอนภาษาเวียดนาม ผ่านการทดสอบความสามารถทางภาษาเวียดนามตามเกณฑ์มาตรฐาน V-test ในระดับ B1 ขึ้นไปทุกคน</p> 2024-10-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD/article/view/276649 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมีระเบียบวินัยในชั้นเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 2024-09-01T07:23:14+07:00 อรุณวรรณ เจียกงูเหลือม arunwan23@gmail.com <p>วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ(1) พัฒนาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความมีระเบียบวินัยในชั้นเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (2) เปรียบเทียบการเสริมสร้างความมีระเบียบวินัยในชั้นเรียน ที่สอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมีระเบียบวินัย ก่อนเรียนและหลังเรียน (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมีระเบียบวินัย กลุ่มตัวอย่างการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมีระเบียบวินัยในชั้นเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินของรูปแบบการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบวัดความมีระเบียบวินัย แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้รูปแบบการเรียนรู้ “BDSRS Model” ที่ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียน การสอน รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>) ของรูปแบบการเรียนการสอนเท่ากับ 83.16/86.67 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความมีระเบียบวินัยในชั้นเรียนที่สอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมีระเบียบวินัยในชั้นเรียน พบว่า หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้เรียนฝึกปฏิบัติการคิดด้วยตนเองและเรียนรู้กับผู้อื่น ครูจัดเรียงเนื้อหาและกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมนักเรียนสามารถเชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้</p> 2024-10-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD/article/view/275961 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาภาษาญี่ปุ่นเพื่อการบริบาลผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น 2024-09-01T18:11:05+07:00 ชีวิน สุขสมณะ shewinkate@gmail.com พัชยา สุภาใจ Phatchaya047@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาภาษาญี่ปุ่นเพื่อการบริบาลผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น โดย 1) ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการบริหารฯ โดยการสังเคราะห์จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักการบริหารฯ และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญโดยทำการคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 20 คน โดยการใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และสร้างข้อสรุปตามประเด็น 2) พัฒนารูปแบบการบริหารฯ ที่ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 3) เพื่อประเมินความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารฯ โดยใช้แบบประเมินความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้กับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1.ผลการศึกษาสภาพปัญหาและแนวทาง จำแนกออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการใช้หลักสูตร 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านครูผู้สอน 4) ด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5) ด้านการวัดและประเมินผล 6) ด้านการศึกษาข้ามวัฒนธรรม (ไทย-ญี่ปุ่น) โดยสรุปว่าสภาพปัญหาคือหลักสูตรไม่ชัดเจน ครูขาดความเชี่ยวชาญ วิธีการสอนไม่กระตุ้นการเรียนรู้ สื่อการสอนไม่ทันสมัย และขาดการสอดแทรกวัฒนธรรม แนวทางแก้ไขคือควรปรับหลักสูตร พัฒนาครู จัดหาสื่อทันสมัย ส่งเสริมกิจกรรมฝึกภาษาและการปฏิบัติจริง และเพิ่มการศึกษาข้ามวัฒนธรรม 2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารฯ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 กระบวนการบริหาร องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการจัดการเรียนรู้ และองค์ประกอบที่ 3 คุณภาพของผู้เรียน และปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขของความสำเร็จ 3.ผลการประเมินรูปแบบการบริหารฯ พบว่าทั้ง 3 องค์ประกอบและปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขของความสำเร็จมีความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากทุกรายการ</p> 2024-10-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD/article/view/277410 การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านแก้งโตน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 2024-09-12T13:40:33+07:00 กัญญภา สิริเลาหกุล rawisadaa@gmail.com <p>การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านแก้งโตน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) พัฒนารูปแบบ 3) ทดลองใช้รูปแบบ และ 4) ประเมินรูปแบบ มีการวิจัย 4 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาฯ จำนวน 120 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครู จำนวน 11 คน ระยะที่ 4 การประเมินรูปแบบ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาฯ จำนวน 120 คน และนักเรียน จำนวน 100 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสอบถาม 3) แบบสัมภาษณ์ 4) แบบทดสอบ และ 5) แบบประเมิน ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าซี ค่าคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่คาดหวัง อยู่ในระดับมากที่สุด และอันดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านเครือข่ายความร่วมมือ ด้านการใช้เทคโนโลยี และด้านการจัดการเรียนรู้ 2) ผลการสร้างรูปแบบมี 6 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหา (4) การดำเนินการ (5) การประเมินผล และ (6) เงื่อนไขความสำเร็จ รูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า (1) ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจของครู หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ผลการดำเนินการพัฒนาตามรูปแบบ มีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า (1) ผลการทดสอบ (NT) ระหว่างปี 2565 กับ 2566 เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 14.63 (2) ผลการทดสอบ (O-NET) ระหว่างปี 2565 กับ 2566 เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 9.01 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2562 – 2566 เพิ่มขึ้นทุกปี (3) ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (4) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง และนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-10-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD/article/view/275230 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกของครูที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาเจริญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 2024-07-01T09:28:40+07:00 รักพงษ์ บุญศิริ rykerzzz1@gmail.com <p>การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกของครูที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาเจริญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกของครูที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาเจริญ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบ และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบ โดยมีการวิจัย 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 32 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ระยะที่ 3 การศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครู จำนวน 22 คน ระยะที่ 4 การประเมินรูปแบบ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 32 คน และนักเรียน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 3) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ 4) แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ และประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และใช้ค่าสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ในระยะที่ 1 ส่วนค่าสถิติในการหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าความสอดคล้อง (IOC) และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพการดำเนินงานปัจจุบัน โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้ สภาพที่คาดหวัง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และความต้องการจำเป็น เมื่อจัดลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการวางแผน การจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ 2) ผลการสร้างรูปแบบ ที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหา (4) การดำเนินการ (5) การประเมินผล และ (6) เงื่อนไขความสำเร็จ ซึ่งรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบมีความถูกต้องและความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า (1) ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกของครู โดยรวมมีระดับพัฒนาการอยู่ในระดับ สูงมาก และพบว่า หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ผลการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก 4) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้น ป.6 ระหว่างปี 2565 กับปี 2566 เพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 6 (2) ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ผลการประเมินความพึงพอใจของฝ่ายบริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-10-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD/article/view/274976 การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กโดยใช้กิจกรรมการปั้นประกอบอุปกรณ์สำหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียนสาธิตมหาวิยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2024-08-15T11:03:43+07:00 ณัฐนันท์ แซ่เตียว std.63121710109@ubru.ac.th ธิดารัตน์ จันทะหิน thidarat.ja@ubru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเปรียบเทียบระดับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กอายุ 5 – 6 ปี ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการปั้นประกอบอุปกรณ์ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นอนุบาล 3 อายุ 5–6 ปี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 10 คน ได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาในการทดลองจำนวน 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมการปั้นประกอบอุปกรณ์ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก การวิจัยครั้งนี้ใช้แผนการวิจัยแบบ One Group Pretest – Posttest Design และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความเที่ยงตรง ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กอายุ 5 – 6 ปี ก่อนและหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นประกอบอุปกรณ์โดยภาพรวมก่อนการจัดกิจกรรม ( = 26.78) และหลังการจัดกิจกรรม ( = 50.11) และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านความแข็งแรงในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กก่อนการจัดกิจกรรม ( = 6.89) และหลังการจัดกิจกรรม ( = 12.89) 2.ด้านความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กก่อนการจัดกิจกรรม ( = 6.67) และหลังการจัดกิจกรรม ( = 11.89) 3.ด้านความยืดหยุ่นในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กก่อนการจัดกิจกรรม ( <em>= </em>6.44) และหลังการจัดกิจกรรม ( <em>= </em>12.56) และ4.ด้านการประสานสัมพันธ์กันระหว่างมือกับตาในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กก่อนการจัดกิจกรรม (<em> = </em>6.78) และหลังการจัดกิจกรรม(<em> = </em>12.78) สรุปว่าการจัดกิจกรรมการปั้นประกอบอุปกรณ์สำหรับเด็กอายุ 5 – 6 ปี มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กที่สูงขึ้น</p> 2024-10-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD/article/view/272795 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่อง สุภาษิตพระร่วง โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ CIPPA Model กับการสอนแบบปกติ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา 2024-04-04T09:32:57+07:00 นวพล กรรณมณีเลิศ msluzifermai@gmail.com ปิยวรรณ กันทอง msluzifermai@gmail.com เจนนิศา จั่วจันทึก msluzifermai@gmail.com <p>การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่อง สุภาษิตพระร่วง ระหว่างรูปแบบการสอน CIPPA Model กับการสอนแบบปกติ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่องสุภาษิตพระร่วง ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการสอน CIPPA Model ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่องสุภาษิตพระร่วง ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบปกติ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 2 ห้อง จำนวน 87 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรูปแบบการเรียนการสอน CIPPA Model จำนวน 3 แผน และรูปแบบการเรียนการสอนแบบปกติ จำนวน 3 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถก่อนเรียน และหลังเรียน เรื่องสุภาษิตพระร่วง จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t - test for Independent และ t - test for dependent ผลการศึกษาพบว่า 1) นักเรียนที่ได้จัดการเรียนการสอนในรูปแบบการสอน CIPPA Model กับการสอนแบบปกติ พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่อง สุภาษิตพระร่วง ที่ใช้การสอนแบบ CIPPA Model กับแบบปกติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 2) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยการเรียนแบบ CIPPA Model ก่อนและหลังการทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่อง สุภาษิตพระร่วง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) นักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ ก่อนและหลังการทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีเรื่อง สุภาษิตพระร่วง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-10-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD/article/view/274536 การศึกษาและพัฒนาสมรรถนะครูด้านดิจิทัล: กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลปิงโค้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3 2024-06-05T21:09:44+07:00 พิทักษ์ กันทา pitak1991@gmail.com ณัฐิยา ตันตรานนท์ nuttiya18@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะดิจิทัลของครูศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลปิงโค้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลปิงโค้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ครูผู้สอน 70 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสมรรถนะดิจิทัลของครู และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างด้านแนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางดิจิทัลของครู ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะทางดิจิทัลของครู ด้านที่มีสมรรถนะสูงสุด ได้แก่ ด้านการเข้าใจดิจิทัล ด้านการแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือดิจิทัล ด้านการปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงดิจิทัล ด้านการใช้ดิจิทัล ตามลำดับ โดยมีแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะทางดิจิทัลของครู ดังนี้ 1) ผู้บริหารควรกำหนดทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูให้ชัดเจน รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกันถึงทิศทางและเป้าหมายที่กำหนดไว้ 2) ผู้บริหารควรกำหนดกลุ่มทักษะในการพัฒนา ประกอบด้วย ด้านการเข้าใจดิจิทัล ด้านการใช้ดิจิทัล ด้านการแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือดิจิทัล และด้านการปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงดิจิทัล 3) ผู้บริหารควรจัดสรรงบประมาณและวัสดุครุภัณฑ์ที่เพียงพอและเหมาะสมเพื่อใช้ในการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครู และ 4) ผู้บริหารควรมีกระบวนการในการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูที่ชัดเจนและต่อเนื่อง</p> 2024-10-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD/article/view/271438 - การบริหารงานโครงการโรงเรียนสุจริตในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มโรงเรียนพระเจ้าตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 2024-04-08T11:38:28+07:00 โชคชัย เพ็ชรนคร Ntapat.W@bkkthon.ac.th ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ dr.thiwat@gmail.com <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานโครงการโรงเรียนสุจริตในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มโรงเรียนพระเจ้าตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 2)เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการบริหารงานโครงการโรงเรียนสุจริตในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มโรงเรียนพระเจ้าตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามอายุและประสบการณ์ทำงาน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม/แบบสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือครูผู้สอนโครงการโรงเรียนสุจริตในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มโรงเรียนพระเจ้าตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2566 โดยการเปิดตารางเครจ์ซี่และมอร์แกน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์คำถามแบบมีโครงสร้างและแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสาร/วรรณกรรม/แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารงานโครงการโรงเรียนสุจริตในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มโรงเรียนพระเจ้าตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ (2) การบริหารงานโครงการโรงเรียนสุจริตในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มโรงเรียนพระเจ้าตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1จำแนกตามอายุและประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน</p> 2024-10-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD/article/view/266808 การพัฒนาชุดแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง Past Simple Tense วิชา ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว สังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี 2023-08-23T14:49:07+07:00 อภิชยา ผลจันทร์ std.61181070231@ubru.ac.th อัญชลี แสงทอง anchalee.s@ubru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดแบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง Past Simple Tense วิชา ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว สังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง Past Simple Tense วิชา ภาษาอังกฤษ ด้วย ชุดแบบฝึกเสริมทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว สังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิง กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว สังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แผนจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 แผน นวัตกรรมคือ ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการเขียน 3 ชุด เครื่องมือที่ใช้คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบลำดับพิสัยของวิลค็อกซอน สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1) การพัฒนาชุดแบบฝึกเสริมทักษะในวิชา ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว สังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว สังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง Past Simple Tense ด้วยชุดแบบฝึกเสริมทักษะ ในวิชาภาษาอังกฤษ หลังเรียนสูงกว่าก่อน</p> 2024-10-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต ISSN: 3027-7892 (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD/article/view/276772 แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครู โรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดเชียงใหม่ 2024-08-22T14:51:16+07:00 วรายุทธ อุตตะมา kruvim1133@gmail.com ณัฐิยา ตันตรานนท์ ืีnuttiya18@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครู โรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดี&nbsp; ในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครูสถานศึกษาอื่น และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครู โรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูลแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 15 คน 2) ผู้บริหารและครูโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดี จำนวน 7 คน และ 3) ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 6 คน และผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา จำนวน 2 คน &nbsp;เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น Priority Needs Index (PNI) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านการวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะ มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุดเป็นลำดับแรก 2) แนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครู พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำทางวิชาการ โดยร่วมกับคณะครูในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ และ 3) แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครู พบว่า ผู้บริหารควรจัดระบบและกลไกในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับคณะครูอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งมีการติดตามและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ</p> 2024-10-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต