วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD <p><strong>วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต</strong><br /><strong>Buabundit Journal of Educational Administration</strong><br /><strong>ISSN <span class="OYPEnA text-decoration-none text-strikethrough-none">3027-7892(Online)</span></strong><br />********************<br />สาขาวิชาการบริหารการศึกษาริเริ่มจัดทำวารสารทางวิชาการของสาขาวิชา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 เพื่อให้เป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยบรรณาธิการในยุคบุกเบิกคนแรกคือ รศ.ดร.สมาน อัศวภูมิ และได้ตั้งชื่อวารสารว่า “วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต” มีกำหนดเผยแพร่ปีการศึกษาละ 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 เดือน ตุลาคม-มกราคม ฉบับที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์-พฤษภาคม และฉบับที่ 3 เดือน มิถุนายน-กันยายน กองบรรณาธิการได้พยายามพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพวารสารมาโดยตลอด จนกระทั่ง ในปี พ.ศ.2558 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิตได้ถูกจัดคุณภาพให้เป็นวารสารกลุ่มที่ 2 ในฐานข้อมูล TCI จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2562 ซึ่งกองบรรณาธิการได้ปรับรอบการตีพิมพ์บทความให้ตรงกับรอบประเมินของ TCI โดยปรับกำหนดการออกวารสารใหม่ดังนี้ ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-เมษายน ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม และฉบับที่ 3 เดือน กันยายน-ธันวาคม โดยเริ่มตั้งแต่วารสารปีที่ 16 เป็นต้นไป ขณะนี้ วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต โดยมี ผศ.ดร.ชวนคิด มะเสนะ เป็นบรรณาธิการ ได้ปรับวาระการตีพิมพ์เป็นปีละ 2 ฉบับ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2564 เป็นต้นไป กล่าวคือ ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม) <br />โดยวารสารได้ยื่นคำร้องขอ ISSN จากสำนักหอสมุดแห่งชาติตามลำดับ คือ<br />1.Print-ISSN 1513-007X (ได้ทำเรื่องขอยกเลิกไปแล้ว)<br />2.วารสารได้ดำเนินการขอ E-ISSN ใหม่ คือ <span class="OYPEnA text-decoration-none text-strikethrough-none">3027-7892 เพื่อปรับชื่อภาษาอังกฤษของวารสารในระบบ ISSN Protal ให้ถูกต้องและตรงตามชื่อภาษาของวารสาร และจะดำเนินการตีพิมพ์เผยแพร่แบบออนไลน์เพียงอย่างเดียว ตั้งแต่ฉบับที่ 1 ปีที่ 24 (มกราคม-มิถุนายน) 2567 เป็นต้นไป</span></p> Department of Educational Administration, Ubonratchathani Rajabhat University th-TH วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต 3027-7892 แนวทางการสร้างทฤษฎีจากปรากฏการณ์นิยมทางสังคมศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD/article/view/270338 <p>การเข้าใจปรากฏการณ์วิทยาขึ้นอยู่กับอัตวิสัยของมนุษย์ให้ทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคม ปรากฏการณ์วิทยาเป็นวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการสำรวจประสบการณ์ชีวิตของบุคคลภายในบริบทเฉพาะในขอบเขตของสังคมศาสตร์ วิธีการนี้ช่วยให้นักวิจัยสามารถเจาะลึกความหมายและการตีความเชิงอัตวิสัยอ้างถึงความเป็นจริงทางสังคม ปรากฏการณ์วิทยาช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างทฤษฎีที่รวบรวมแก่นแท้ของประสบการณ์ของมนุษย์โดยมุ่งเน้นไปที่มุมมองของบุคคลที่หนึ่ง ส่งผลให้มีความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมที่ครอบคลุมบทความนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอแนวทางการสร้างทฤษฎีจากปรากฏการณ์วิทยาทางสังคมศาสตร์ ซึ่งดำเนินการโดยการศึกษาและวิเคราะห์เอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า แนวทางกระบวนการสร้างทฤษฎีจากปรากฏการณ์วิทยา ประกอบด้วย (1) การคัดเลือกปรากฏการณ์ (2) ทบทวนวรรณกรรม (3) ทางเลือกของแนวทางปรากฏการณ์วิทยา (4) การสรรหาบุคลากรและการสุ่มตัวอย่าง (5) การเก็บรวบรวมข้อมูล (6) การถอดความและการวิเคราะห์ข้อมูล (7) การเข้ารหัสและการจัดหมวดหมู่ (8) การระบุความคล้ายคลึงและความแตกต่าง (9) การสะท้อนเชิงทฤษฎีและนามธรรม (10) การสร้างทฤษฎีเบื้องต้น (11) การตรวจสอบสมาชิก (12) การปรับแต่งและการทบทวนซ้ำ (13) บริบทและลักษณะทั่วไป และ (14) การจัดทำเอกสารประกอบและการรายงาน</p> สัญญา เคณาภูมิ พรชัย เจดามาน บุศรา นิยมเวช Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต ISSN: 3027-7892 (Online) 2024-05-28 2024-05-28 24 1 82 109 การจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD/article/view/272636 <p>จากพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาฉบับต่างๆ นโยบายจากรัฐบาลที่มุ่งพัฒนาศักยภาพของคนพิการ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข การจัดการศึกษาสำหรับที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษจึงเป็นภารกิจสำคัญของสถาบันการศึกษาที่ต้องตระหนักถึงความพร้อมสำหรับการจัดการเรียนการสอนซึ่งมีความแตกต่างไปจากนักศึกษาปกติทั่วไป เนื่องจากผู้เรียนมีความแตกต่างในสภาพร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ ความสามารถ ความสนใจ และความต้องการที่ต่างกัน บทความเรื่องการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับความสำคัญของ การจัดการศึกษาเพื่อมุ่งเน้นให้การจัดการเรียนรู้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมและตามความถนัดในแต่ละด้าน เพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะและศักยภาพของนักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะสถานศึกษาที่ต้องมีปรับการเรียนการสอนและ การวางแนวทางคุณภาพมาตรฐานในการจัดการศึกษา สื่อการเรียนการสอน องค์ประกอบการจัดสภาพแวดล้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ปัญหาและอุปสรรคจากความพิการที่มีผลต่อวิถีชีวิตของนักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษร่วมทั้งปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อสามารถนำไปปรับใช้ให้สอดครองกับบริบทของตนเองและตอบสนองต่อพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาแห่งชาติ เป็นการส่งเสริมการเท่าเทียมสิทธิความเป็นมนุษย์ ส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีอิสระมีศักดิ์ศรีสามารถพึ่งตนเองได้โดยไม่เป็นภาระผู้อื่นและสามารถเป็นการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นกำลังในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป</p> ศิริวรรณ จันทร์แจ้ง Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต ISSN: 3027-7892 (Online) 2024-05-28 2024-05-28 24 1 110 129 การจัดกิจกรรมเกมการศึกษามิติสัมพันธ์ ชุด PICS ที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD/article/view/266821 <p>การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามิติสัมพันธ์ ชุด PICS ที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามิติสัมพันธ์ ชุด PICS ของเด็กปฐมวัยชาย – หญิง ที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 โรงเรียนอนุบาลยโสธร อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ปีการศึกษา 2565 โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 10 คน เครื่องมือการวิจัย คือ เกมการศึกษามิติสัมพันธ์ ชุด PICS 12 ชุด ได้แก่ (1) เกมจับคู่ภาพเหมือน (2) เกมภาพสะท้อนกระจก (3) เกมภาพหมุน (4) เกมต่อลายภาพ (5) เกมภาพตัดต่อหรรษา (6) เกมภาพต่อเนื่อง (7) เกมภาพซ้อน ภาพลวงตา (8) เกมภาพเงาสร้างสรรค์ (9) เกมหาส่วนประกอบภาพ (10) เกมภาพซ่อน น่าฉงน (11) เกมจับผิดภาพ (12) เกมเติมภาพให้สมบูรณ์ ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) เกมการศึกษามิติสัมพันธ์ ชุด PICS ทั้ง 12 ชุด สามารถพัฒนาทักษะสมอง (EF) ทั้ง 3 ทักษะ ได้แก่ ด้านการยืดหยุ่นความคิด ด้านการจดจ่อใส่ใจ และด้านการวางแผนดำเนินการ 2) เกมการศึกษามิติสัมพันธ์ ชุด PICS ทั้ง 12 ชุด เปรียบเทียบภาพรวมคะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามิติสัมพันธ์ ชุด PICS มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16 น้อยกว่าหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามิติสัมพันธ์ ชุด PICS โดยหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามิติสัมพันธ์ ชุด PICS มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.6 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนเรียนมีค่า 17.33 หลังเรียนเท่ากับ 7.16 และค่า t-stat (8.30) มากกว่าค่า t-critical one-tail (2.262) นั่นคือ คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน เมื่อนำคะแนนมาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามิติสัมพันธ์ ชุด PICS มากกว่าก่อนจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> ปฏิณยาภัทร สำเภาทอง Siraprapa Praisena ธิดารัตน์ จันทะหิน Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต ISSN: 3027-7892 (Online) 2024-05-28 2024-05-28 24 1 1 15 พลวัตการแลกเปลี่ยนความเห็นของที่ปรึกษาการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD/article/view/271458 <p>ภาพรวมการวิจัยด้านการศึกษาในประเทศไทย ยังขาดการสำรวจการวิจัยเชิงปฏิบัติการในห้องเรียนภาษาอังกฤษ อีกทั้งประเด็นการให้คำปรึกษาเพื่อการพัฒนาวิชาชีพยังไม่มีการศึกษามากนัก การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการให้คำปรึกษาสำหรับการวิจัยเชิงปฏิบัติการเชิงสำรวจ โดยผู้เขียนมีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาเป็นเวลาหนึ่งปี ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้รับการเสริมสร้างคุณค่าจากการสนทนากับเพื่อนร่วมวิชาชีพในการสอนภาษาอังกฤษ แนวทางการทำงานร่วมกันนี้จะทำให้เห็นถึงพลวัตและประสิทธิผลของการให้คำปรึกษาในบริบทของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ด้วยการบันทึกประสบการณ์ของการเป็นผู้ให้คำปรึกษาในการวิจัยเชิงปฏิบัติการเชิงสำรวจ การศึกษานี้ให้ความเข้าใจอย่างละเอียดถี่ถ้วนเกี่ยวกับกระบวนการให้คำปรึกษาและผลกระทบที่มีต่อผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับคำปรึกษา ผู้เขียนได้สำรวจความซับซ้อนของการให้คำปรึกษาผ่านการโต้ตอบและการฝึกไตร่ตรอง โดยเสนอคำแนะนำเชิงปฏิบัติและข้อมูลเชิงลึกทางทฤษฎีสำหรับนักการศึกษาและนักวิจัย การศึกษาครั้งนี้มีส่วนช่วยในการสร้างวาทกรรมอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาในการวิจัยทางการศึกษา โดยชี้แจงความท้าทาย ความสำเร็จ และบทเรียนที่ได้รับจากประสบการณ์ นอกจากนี้ผลการศึกษายังเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่สนับสนุนในการส่งเสริมการเติบโตทางวิชาชีพและการพัฒนาแนวปฏิบัติด้านการศึกษา โดยรวมแล้วการศึกษานี้ทำหน้าที่เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสำหรับนักการศึกษา นักวิจัย และผู้กำหนดนโยบายที่มีเป้าหมายที่จะยกระดับแนวทางปฏิบัติในการให้คำปรึกษาและส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพที่มีความหมายในบริบททางการศึกษา</p> Jariya Sairattanain ทวีวัฒน์ คันทา ลำใย สิงห์สุข ชานนท์ ไชยทองดี Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต ISSN: 3027-7892 (Online) 2024-05-28 2024-05-28 24 1 16 27 การพัฒนารูปแบบฝึกทักษะการใช้คำกริยาภาษาจีนกลาง ‘ban’ ‘gan’ และ ‘zuo’ ที่มีความหมาย “ทำ” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดศรีสะเกษ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD/article/view/272028 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการใช้คำกริยาภาษาจีนกลาง 办 (bàn) 干 (gàn) และ 做 (zuò) 2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ทักษะการใช้คำกริยาภาษาจีนกลาง 办 (bàn) 干 (gàn) และ 做 (zuò) และ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการใช้คำกริยาภาษาจีนกลาง 办 (bàn) 干 (gàn) และ 做 (zuò) โดยประกอบด้วยเนื้อหาการเรียนรู้ด้านลักษณะของคำกริยา 办(bàn) มีลักษณะเป็นทางการ 干(ɡàn) และ做(zu<u>ò</u>) มีลักษณะกึ่งทางการและไม่เป็นทางการ ด้านความหมายของคำกริยา 办(bàn) มีความหมายในลักษณะของการจัดการ การทำงาน การลงโทษ การก่อตั้งและการจัดซื้อ 干(ɡàn) มีความหมายในลักษณะของการสอบถาม การสงสัย ในบางบริบทจะมีลักษณะเชิงลบ หรือมีความหมายไปในทางที่ไม่ดี หรือความหมายแฝง做(zu<u>ò</u>) มีความหมายในลักษณะของการทำงาน การเขียน การแต่ง การดำรงตำแหน่ง การทำหน้าที่เป็น ด้านการใช้คำกริยา 办(bàn) 干(ɡàn) และ 做(zu<u>ò</u>) ส่วนมากไม่มีการใช้เครื่องมือในการกระทำ สิ่งที่ถูกกระทำเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตหรือเป็นนามธรรม แต่ 办(bàn) และ做(zu<u>ò</u>) มีผลผลิตที่ได้จากการกระทำ ส่วน干(ɡàn) ไม่มีผลผลิตที่ได้จากการกระทำ การวิจัยนี้ใช้รูปแบบ Pre Test – Post Test กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 คน โดยวิธีเจาะจงนักเรียนห้องเรียนแผนภาษาจีนโรงเรียนสตรีสิริเกศ จังหวัดศรีสะเกษ เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะจำนวน 3 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนจำนวน 20 ข้อ 3) แบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ ผลการวิจัยในนักเรียน 20 คน พบว่าได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเท่ากับ 48.75 หลังเรียนเท่ากับ 93.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของของคะแนนก่อนเรียนเท่ากับ 2.22 หลังเรียนเท่ากับ 1.57 เมื่อทดสอบความแตกต่างแล้วหาค่าเฉลี่ยหลังจากการใช้แบบฝึกทักษะการใช้คำกริยาภาษาจีนกลาง 办 (bàn) 干 (gàn) และ 做 (zuò) ของนักเรียน พบว่านักเรียนมีทักษะการใช้คำกริยาภาษาจีนกลาง 办 (bàn) 干 (gàn) และ 做 (zuò) ก่อนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อีกทั้งนักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะการใช้คำกริยาภาษาจีนกลาง 办 (bàn) 干 (gàn) และ 做 (zuò) อยู่ในระดับมาก (X bar=4.33 , S.D.=1.83)</p> อรุโณทัย บุญชม สุภิญญา เรือนแก้ว จินต์จุฑา จินดานิรดุล Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต ISSN: 3027-7892 (Online) 2024-05-28 2024-05-28 24 1 28 42 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD/article/view/269258 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบัวแก้ว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 7 แผน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test แบบ Dependent Sample จากผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นักเรียนมีคะแนนที่ผ่านเกณฑ์ขึ้นไป ร้อยละ 86.05 ของนักเรียนทั้งหมด และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ลลิตา เช็ค Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต ISSN: 3027-7892 (Online) 2024-05-28 2024-05-28 24 1 43 51 การจัดกิจกรรมการพับกระดาษแบบโอริกามิเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนอนุบาลศรีประชานุกูล https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD/article/view/266822 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการพับกระดาษแบบโอริกามิและเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยและเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการพับกระดาษแบบโอริกามิ ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ เด็กนักเรียนชายและหญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนอนุบาลศรีประชานุกูล อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 9 คน โดยทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มแบบทดลอง รวมระยะเวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แผนการจัดกิจกรรมการพับกระดาษแบบโอริกามิ สำหรับเด็กปฐมวัย 2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 3. แบบบันทึกแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ วิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test แบบ Dependent Samples โดยผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการพับกระดาษแบบโอริกามิ มีพัฒนาการทางทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> จิระวัฒน์ Jirawat รัชฎาภรณ์ พันธ์ทอง Thidarat Jantahin Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต ISSN: 3027-7892 (Online) 2024-05-28 2024-05-28 24 1 52 65 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง คำภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครศรีลำดวนวิทยา อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BUAJEAD/article/view/272216 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการสังเกตคำภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต โดยนักเรียนร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง คำภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครศรีลำดวนวิทยา อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 21 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คำภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต 2) แบบฝึกทักษะ เรื่อง คำภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต 3) แบบทดสอบ เรื่อง คำภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต ก่อนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะเรื่อง คำภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (E1/E2) เท่ากับ 86.2/82.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่กำหนดไว้จึงยอมรับได้ว่า แบบฝึกทักษะเรื่องคำภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครศรีลำดวนวิทยา อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ มีประสิทธิภาพเชื่อถือได้และสามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้เป็นอย่างดี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง คำภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครศรีลำดวนวิทยา อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01</p> ชานนท์ ไชยทองดี อธิชาติ บุญญยศยิ่ง ชรัณ โภคสกลวาณิช ปานหทัย สมาน Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต ISSN: 3027-7892 (Online) 2024-05-28 2024-05-28 24 1 66 81