รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Main Article Content

พระราชสิริชัยมุนี คงเทศ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการบริหารหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการบริหารหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 3) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการบริหารหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1. ศึกษาสภาพการบริหารจัดการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 21 รูป/ คน ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2. การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน โดยการจัดสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 3. ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา จาก ผู้บริหาร หรือ คณาจารย์ หรือเจ้าหน้าที่ จำนวน 15 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินที่ถามความเหมาะสมใน 4 ด้าน คือ โดยประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติและประโยชน์ สถิติที่ใช้ได้แก่ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพการบริหารหลักสูตรจัดการพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา พบว่า การบริหารหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน มีกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดหาสื่อ เทคโนโลยี อุปกรณ์ เอกสารตำรา ในการเรียน การฝึกปฏิบัติ การจัดบุคลากรเข้ารับผิดชอบ ด้วยการสร้างความตระหนัก การพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญให้กับวิปัสสนาจารย์ สร้างขวัญ กำลังใจบุคลากร มีสวัสดิการ แบ่งงานตามความรู้ ความถนัด การจัดกิจกรรมส่งเสริมงานวิชาการ มีกิจกรรมปฏิบัติเป็นกลุ่ม มีระยะเวลาที่ชัดเจน จัดสถานที่ที่เหมาะสม สงบเงียบ ไม่มีคนพลุกพล่าน จัดกิจกรรมอบรม ด้านการวัดผลประเมินผล ประเมินก่อน ระหว่าง และหลังการปฏิบัติ ประเมินด้วยการสัมภาษณ์ สนทนา ประเมินด้วยการสังเกต การบริหารงบประมาณ งบประมาณของวัด งบประมาณบริจาค งบประมาณจากองค์กรอื่น

  2. รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา พบว่า รูปแบบการบริหารหลักสูตร โดยใช้หลักไตรสิกขา ด้วยการวางแผน การจัดหาผู้รับผิดชอบสอน จัดทำหลักสูตร การจัดหาสื่อ อุปกรณ์เทคโนโลยี การจัดหางบประมาณที่จะใช้ การนำหลักสูตรไปใช้ การประเมินผล และปรับปรุงแก้ไข

3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทั้ง 4 ด้าน ทั้ง 5 รูปแบบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

Section
Research Article

References

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2555). มหาสติปัฏฐานสูตร ทางสู่พระนิพพาน, พระพพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.9, M.A, Ph.D.), ตรวจชำระ, พระคันธสาราภิวงศ์ แปลและเรียบเรียง. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทยการพิมพิ์.
มคอ.2 หลักสูตร พธ.ม. สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา, รายละเอียดของหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา, [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www. Slideshare.net/mahaoath/ss-สืบค้นเมื่อวันที่ [12 กุมภาพันธ์. 2562]
ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553