แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาร้านอาหารริมทางในแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ

Main Article Content

ฐิติพัฒน์ ภาคพรต

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะประชากรศาสตร์ ปัจจัยการเลือกบริโภคอาหารริมทาง และพฤติกรรมการบริโภคอาหารริมทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และเพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาร้านอาหารริมทาง ในแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ดำเนินการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย ซึ่งได้มาด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ใช้แบบสอบถามฯ แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาฯ และแบบประเมินแนวทางฯเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวต่างชาติเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุ 21-30 ปี อาชีพรับจ้าง รายได้ทั้งครอบครัวต่อปีมากกว่า 30,000 ดอลลาร์ มีสัญชาติอยู่ในกลุ่มประเทศเอเชีย และมีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี โดยมีปัจจัยการเลือกบริโภคอาหารริมทางจากโปรโมชัน ส่วนลดอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.60 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55 มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารจะคำนึงถึงรสชาติของอาหารอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.68 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49 โดยนักท่องเที่ยวระบุสิ่งที่ร้านอาหารริมทางควรปรับปรุงและแก้ไขที่มีความสำคัญเป็นอันดับที่ 1 ได้แก่ ความสะอาดและสุขอนามัยมากที่สุด 2) แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาร้านอาหารริมทางในแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสื่อกระตุ้นภายนอก ด้านความรู้สึกนึกคิดของนักท่องเที่ยว และด้านการตอบสนองของนักท่องเที่ยว มีผลการประเมินแนวทางจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.43

Article Details

Section
Research Article

References

ทิพารัตน์ สัญพงศ์. (2557). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อการบริโภคอาหารริมบาทวิถี กรณีศึกษาเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์หลักสูตรศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์)
นพรัตน์ บุญเพียรผล. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณภาพบริการของธุรกิจร้านอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวนานาชาติในเขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. Veridian E-Journal, Silpakorn University, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน 2560, หน้า 61-76.
บัณฑิต อเนกพูนสุข. (2560). Food on the Move. วารสาร TAT Review Magazine, ไตรมาสที่ 1 มกราคม- มีนาคม 2017, หน้า 8-19.
เบญญาภา อยู่โพธิ์ทอง. (2557). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวนานาชาติเกี่ยวกับอาหารไทยริมบาทวิถีกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันนา ศุภผล และ เจริญชัย เอกมาไพศาล. (2562). ปัจจัยคุณภาพอาหารและทัศนคติที่มี อิทธิพลต่อการรับรู้ ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่มีต่ออาหารริมทางในแง่ของความปลอดภัย กรณีศึกษา: ย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการ (WMS Journal of Management), 8(1) (มกราคม-เมษยายน 2562), 10-23.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : บริษัท ธีระฟิล์ม
และไซเท็กซ์ จำกัด.
สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.). (2562). ผลการสำรวจพฤติกรรมการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย, ไตรมาสที่ 1 ปี 2562, หน้า 5-6.
สิรินาฏ ศิริสุนทร. (2556). วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). สถานการณ์การท่องเที่ยวโลกที่สำคัญ. รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว, ฉบับที่ 5 กรกฏาคม - กันยายน 2559, หน้า 4.
Griffin Shea. 2018. Best 23 cities for street food from Miami to Tokyo. Culinary Journeys, (Online) [cited 15 January 2018]. Available from CNN Website http://edition.cnn.com/
travel/article/best-cities-street-food/index.html
Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & row.