รูปแบบการพัฒนาครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

Supreecha Krusri
วินัย ทองภูบาล
ศิริพันธ์ ติยะวงศ์สุวรรณ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาครู 2. ศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครู 3. สร้างรูปแบบการพัฒนาครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนขนาดเล็ก 166 โรง ขนาดกลาง 134 โรง ขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษ 79 โรง ทั้งหมด 379 โรง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 758 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย     ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า PNI    ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบการพัฒนาครู ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) กระบวนการ มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ร่วม การร่วมแรงร่วมใจร่วมมือรวมพลัง การเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ ภาวะผู้นำร่วม การปฏิบัติจริงร่วมกันและการสะท้อนผลการปฏิบัติ 2) วิธีการพัฒนาครู มี 6 วิธี ได้แก่ การเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำวิจัย การศึกษาเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน การพัฒนาตนเอง การฝึกอบรมสัมมนาและประชุมเชิงปฏิบัติการ 2. สภาพและความต้องการจำเป็น เรียงลำดับตามค่าดัชนีลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) การมีวิสัยทัศน์ร่วม ได้แก่ การตระหนักร่วม การกำหนดเป้าหมายความสำเร็จ 2) การร่วมแรงร่วมใจร่วมมือรวมพลัง ได้แก่การสร้างความเข้าใจในงาน  การพึงพาอาศัยกัน 3) การเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ ได้แก่ การใฝ่เรียนรู้ การนำความรู้ไปปฏิบัติ 4) ภาวะผู้นำร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสเป็นผู้นำ การให้คำแนะนำในการปฏิบัติ 5) การปฏิบัติจริงร่วมกัน ได้แก่ การสืบเสาะหาแนวทางปฏิบัติ การทำงานเป็นทีม 6) การสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ การพัฒนางาน การมีพันธสัญญา 3. รูปแบบมีชื่อว่า 6 cross 6 Model ประกอบด้วย แนวคิดและหลักการ วัตถุประสงค์ ระบบและกลไก วิธีการดำเนินงาน การประเมินผล เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้

Article Details

Section
Research Article

References

กิตติพงษ์ ลือนาม. (2558). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา การวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ฐาปณัฐ อุดมศรี. (2558). รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด, (2554). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). สองหัวดีกว่าหัวเดียว บทบาทของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. ในการประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2561. ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ : พลังครูขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาไทย (น. 16-25). กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าของ สกสค.
วรรณวดี มาลําพอง. (2557). การวิจัยกับการพัฒนากระบวนการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น. 13(4). 28-37.
สมคิด สกุลสถาปัตย์. (2552). รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลในการปฏิรูปการศึกษาแบบ ยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการบริหารจัดการคุณภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
_______. (2561). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2561. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
_______. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2562. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2558). กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูโรงเรียนเอกชน วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bennis, W. and Nanus, B. Leader. (1985) New York: Harper & Row.
Eisner, Elliot W. (1976). “Educational connoisseurship and criticism : Their form and functions in education evaluation.” Journal Aesthetic Education. 10(3) : 192-193.