สภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตสุขภาพที่ 9

Main Article Content

sita Futrakul
วินัย ทองภูบาล
เพชรสุดา ภูมิพันธุ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตสุขภาพที่ 9 ตัวแปรต้น  ได้แก่ องค์ประกอบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตสุขภาพที่ 9 จำนวน 10 องค์ประกอบ  ตัวแปรตาม  ได้แก่  สภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตสุขภาพที่ 9  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตสุขภาพที่ 9 จำนวน 274 คน  เครื่องมือมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ของ Likert Scale (1967) หาคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ตรวจสอบดัชนีความสอดคล้อง (The Index of Item Objective Congruence : IOC) ได้ค่า 0.95 นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (Try out) กับผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน  และนำแบบสอบถาม ไปหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (Item total correlation) และหาความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามทั้งฉบับโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha coefficient) ตามวิธีของ Cronbach ได้ค่า  0.98  การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งและรับแบบสอบถามทางไปรษณีย์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธี Modified priority needs index (PNI modified) ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตสุขภาพที่ 9 จำนวน 9 องค์ประกอบ  ได้แก่ การโน้มน้าวจิตใจ การตระหนักรู้  การรับฟังอย่างตั้งใจ การกระตุ้นและให้กำลังใจ การสร้างมโนทัศน์ การมุ่งมั่นพัฒนาคน การพิทักษ์รักษาบุคลากร การเห็นอกเห็นใจ และการสร้างชุมชน ตามลำดับ

Article Details

Section
Research Article

References

กนกอร สมปราชญ์. (2558). ภาวะผู้นำและภาวะผู้นำการเรียนรู้สำหรับผู้บริหาร สถานศึกษา. ขอนแก่น: สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลติดดาว (รพ.สต.ติดดาว). กรุงเทพฯ : กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข.
ก้าวสู่การเป็นผู้นำที่ดีอย่างที่ทุกองค์กรต้องการ. (ออนไลน์). (อ้างเมื่อ 16 เมษายน 2563). จาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190605-leadership/
คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. (ม.ป.ป.). วิสัยทัศน์. (ออนไลน์). (อ้างเมื่อ 17 เมษายน 2563). จาก https://www.vajira.ac.th/b/
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.
พิเชฐ บัญญัติ. (ม.ป.ป.). การบริหารเชิงกลยุทธ์. (ออนไลน์). อ้างเมื่อ 17 เมษายน 2563, จาก www.hed.go.th
วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. (2560). การศึกษาภาระงานและผลิตภาพกำลังคนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. ขอนแก่น: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทิพยวิสุทธิ์.
ศมานันท์ พงษ์สว่าง. (ม.ป.ป.). ผู้นำกับการโน้มน้าวใจ. (ออนไลน์). (อ้างเมื่อ 17 เมษายน 2563). จาก https://2www.me/eafu8
สมบูรณ์ ตันยะ. (2545). การประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.
สัมมา รธนิธย์. (2556). ภาวะผู้นำของผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุชิต สวัสดิ. (ม.ป.ป.) การพัฒนาสมรรถนะหลัก (สำหรับข้าราชการใหม่). (ออนไลน์). (อ้างเมื่อ 20 เมษายน 2563). จาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/aptitude_development.pdf
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.
Greenleaf,R.K. (2002). Servant leadership: A journey into the nature of legitimate power and greatness. New York: Paulist Press.
Likert, Rensis. 1967. “The Method of Constructing and Attitude Scale”, Reading in Attitude Theory and Measurement. P.90-95. Fishbeic, Matin, Ed. New York : Wiley & Son.