รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ปณิตา แก้วกระจ่าง

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การดำเนินการวิจัยดำเนินการโดย  1) การศึกษาสภาพภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้เครื่องมือศึกษาความต้องการที่จำเป็น ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบหลักของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม (Ethical Leadership) มี 30 องค์ประกอบ ยืนยันเพิ่มเติมองค์ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  2) การสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยนำสภาพของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนา นำมาร่างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) การประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อหาความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ ในการนำรูปแบบไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus group) พบว่ามีความถูกต้องและความเหมาะสมภาพรวมอยู่ระดับมาก ความถูกต้อง ( =4.39, S.D.=0.51) และความเหมาะสม ( =4.42, S.D.=0.50) 4.42 และการประเมินโดยผู้บริหารระดับปฏิบัติการ จำนวน 40 คน พบว่ามีความเป็นไปได้และมีความเป็นประโยชน์ภาพรวมอยู่ระดับมาก ความเป็นไปได้ ( =4.46, S.D.=0.48) และความเป็นประโยชน์ ( =4.40, S.D.=0.47)


              ผลการวิจัยได้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ COWE Modelประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิดและหลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมที่ต้องพัฒนา ประกอบด้วย ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 3.1) ด้านจริยธรรมต่อตนเอง 3.2) ด้านจริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน 3.3) ด้านจริยธรรมต่อสถานศึกษาและสังคม  4) ขั้นตอนการพัฒนา ประกอบด้วย 4 ขั้น ดังนี้ 4.1) การเตรียมการ 4.2) การประเมินก่อนการพัฒนา 4.3) การพัฒนา 4.4) การประเมินหลังการพัฒนา  5) เงื่อนไขความสำเร็จ
ของการนำไปใช้ ที่มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก และเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ 4.42 พบว่า มีค่ามากกว่าเกณฑ์ 3.5 มีความเหมาะสมในการนำไปใช้


คำสำคัญ: รูปแบบ; ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม;  ผู้บริหารสถานศึกษา;  โรงเรียนมัธยมศึกษา

Article Details

Section
Research Article

References

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2548). “ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมสำหรับคนไทย: อดีตปัจจุบันและอนาคต” ในเอกสารประกอบการประชุมปฏิบัติการเรื่องการใช้และการผลิตผลงานวิจัยทางจิตพฤติกรรมศาสตร์เพื่อประโยชน์ แก่สังคมไทย. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยแม่บท: การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ทองอินทร์ วงศ์โสธร. (2538). ภาวะผู้นำ: เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและระบบการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประภาศรี สีหอำไพ. (2543). พื้นฐานการศึกษาทางศาสนา และจริยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระเทวินทร์ เทวินโท. (2544). พุทธจริยศาสตร์. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้ง.
วริยา ชินวรรโณ. (2546). จริยธรรมในวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก: ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการ ประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities: Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607–610.
Sergiovanni, T. J., & Burlingame, M. (1992). Educational Governance and Administration. 3rd ed. Needham Heights, MA: Allyn and Bacon.