TY - JOUR AU - ศุภกิจเจริญ, อภิสิทธิ์ PY - 2021/12/28 Y2 - 2024/03/28 TI - นวัตกรรมการเล่าเรื่องข้ามสื่อเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนประเด็นสังคม JF - วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ JA - URU J. ISD. VL - 11 IS - 2 SE - บทความวิชาการ DO - UR - https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/250599 SP - 141-157 AB - <p>บทความวิจัยนี้ศึกษานวัตกรรมการเล่าเรื่องข้ามสื่อเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนประเด็นสังคม โดยเป็นวิจัยเชิงปฏิบัติติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเนื้อหาการเล่าเรื่องข้ามสื่อ (Transmedia) เพื่อสื่อสารประเด็นสังคม ผลการศึกษาพบว่า การใช้กระบวนการออกแบบเนื้อหาสื่อสารหลากช่องทาง สร้างประสบการณ์จากการรับรู้เนื้อหาสามารถนำไปสู่การลงมือทำพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสังคมนั้นได้ในชีวิตจริง โดยการสร้างเนื้อหาหลากรูปแบบพัฒนาการเปิดโลกเนื้อหา (Entry Point) ของการเล่าเรื่องข้ามสื่อด้วยปฏิสัมพันธ์บนสื่อออนไลน์ สำหรับการกลุ่มเป้าหมายอายุ 18-24 ปี กรอบการเล่าเรื่องที่เน้นความสนุกและตั้งคำถามต่อพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในสังคม ทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่าเรื่องและผู้รับสารได้ผ่านช่องทางออนไลน์ และการมีเนื้อหาและกิจกรรมประเภท “FAN CONTENT” ที่ท้าทายให้ทำเนื้อหาร่วมกันเพื่อกลับมาแลกเปลี่ยนกันบนสื่อออนไลน์ช่วยกระตุ้นการลงมือทำได้</p><p>ดังนั้นแล้วรูปแบบของการพัฒนากระบวนการสื่อสารแบบการเล่าเรื่องข้ามสื่อทำให้เห็นถึงกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม รวมไปถึงการใช้ประสบการณ์ที่หลากหลายเชื่อมผู้รับสารที่มีความสนใจที่แตกต่างเข้าสู่แก่นของเรื่องที่ต้องการสื่อสาร และกระบวนการสื่อสารข้ามสื่อเพื่อสื่อสารประเด็นสังคมที่สำคัญ โดยการเล่าเรื่องให้คนเกิดความรู้สึกร่วมด้วยการเชื่อมโยงประสบการณ์จากเนื้อหาสู่ชีวิตจริง จากนั้นมีเนื้อหาที่ทำให้คิดตาม คิดวิเคราะห์ วิพากษ์ และ คิดถึงสิ่งที่ตัวเองสามารถทำได้ ให้ทางออกกับการแก้ปัญหา เชิญชวนให้คิดว่าจะทำอะไร นำไปสู่การออกแบบกิจกรรม และการใช้สื่อเพื่อเป็นพื้นที่ให้ผู้รับสารได้ลงมือทำบางอย่างทั้งต่อเนื้อหาและต่อประเด็นนั้นในชีวิตจริง</p><p>บทความวิจัยนี้ศึกษานวัตกรรมการเล่าเรื่องข้ามสื่อเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนประเด็นสังคม โดยเป็นวิจัยเชิงปฏิบัติติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเนื้อหาการเล่าเรื่องข้ามสื่อ (Transmedia) เพื่อสื่อสารประเด็นสังคม ผลการศึกษาพบว่า การใช้กระบวนการออกแบบเนื้อหาสื่อสารหลากช่องทาง สร้างประสบการณ์จากการรับรู้เนื้อหาสามารถนำไปสู่การลงมือทำพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสังคมนั้นได้ในชีวิตจริง โดยการสร้างเนื้อหาหลากรูปแบบพัฒนาการเปิดโลกเนื้อหา (Entry Point) ของการเล่าเรื่องข้ามสื่อด้วยปฏิสัมพันธ์บนสื่อออนไลน์ สำหรับการกลุ่มเป้าหมายอายุ 18-24 ปี กรอบการเล่าเรื่องที่เน้นความสนุกและตั้งคำถามต่อพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในสังคม ทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่าเรื่องและผู้รับสารได้ผ่านช่องทางออนไลน์ และการมีเนื้อหาและกิจกรรมประเภท “FAN CONTENT” ที่ท้าทายให้ทำเนื้อหาร่วมกันเพื่อกลับมาแลกเปลี่ยนกันบนสื่อออนไลน์ช่วยกระตุ้นการลงมือทำได้</p><p>ดังนั้นแล้วรูปแบบของการพัฒนากระบวนการสื่อสารแบบการเล่าเรื่องข้ามสื่อทำให้เห็นถึงกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม รวมไปถึงการใช้ประสบการณ์ที่หลากหลายเชื่อมผู้รับสารที่มีความสนใจที่แตกต่างเข้าสู่แก่นของเรื่องที่ต้องการสื่อสาร และกระบวนการสื่อสารข้ามสื่อเพื่อสื่อสารประเด็นสังคมที่สำคัญ โดยการเล่าเรื่องให้คนเกิดความรู้สึกร่วมด้วยการเชื่อมโยงประสบการณ์จากเนื้อหาสู่ชีวิตจริง จากนั้นมีเนื้อหาที่ทำให้คิดตาม คิดวิเคราะห์ วิพากษ์ และ คิดถึงสิ่งที่ตัวเองสามารถทำได้ ให้ทางออกกับการแก้ปัญหา เชิญชวนให้คิดว่าจะทำอะไร นำไปสู่การออกแบบกิจกรรม และการใช้สื่อเพื่อเป็นพื้นที่ให้ผู้รับสารได้ลงมือทำบางอย่างทั้งต่อเนื้อหาและต่อประเด็นนั้นในชีวิตจริง</p> ER -