วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU <p><strong>วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา<br />ISSN 2821-9708 (Online) </strong><strong> </strong></p> <p><strong>เกี่ยวกับวารสาร</strong><br /> วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เปิดตีพิมพ์ในบทความวิจัย โดยเป็นฉบับภาษาไทยและสามารถส่งบทความออนไลน์ได้ที่ <a href="https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/about/submissions" target="_blank" rel="noopener">Submissions</a> <strong><img src="https://so04.tci-thaijo.org/public/site/images/cherdvongseang/newdata12.gif" alt="newdata12.gif" /> </strong>วารสารดังกล่าวเป็นเวทีทางปัญญาสำหรับการทำงานในสาขาสหวิทยาการด้านสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ซึ่งตีพิมพ์ 2 ฉบับ เป็นประจำทุกปี<br /> - ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน)<br /> - ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม)</p> <p><strong>ขอบเขตของวารสาร<br /></strong> วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เปิดรับบทความที่กล่าวถึงประเด็นต่อไปนี้:<strong><br /></strong></p> <ul> <li><span class="JsGRdQ">General Social Sciences </span><span class="JsGRdQ">: สังคมศาสตร์ทั่วไป </span></li> <li><span class="JsGRdQ">Communication </span><span class="JsGRdQ">: การสื่อสาร </span></li> <li><span class="JsGRdQ">Education</span><span class="JsGRdQ"> : การศึกษา </span></li> <li><span class="JsGRdQ">Development</span><span class="JsGRdQ"> : การพัฒนา </span></li> <li><span class="JsGRdQ">Health</span> <span class="JsGRdQ">(Social Sciences)</span><span class="JsGRdQ"> : สุขภาพ (สังคมศาสตร์) </span></li> </ul> <p><strong>ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์ <br /></strong> บทความวิจัย</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์<br /></strong> <span lang="TH">ภาษาไทย </span></p> <p><strong><span lang="TH">ค่าธรรมเนียมการเผยแพร่<br /></span></strong><span lang="TH"> จำนวน <strong>2,000 </strong>บาท<strong> (สำหรับบุคคลภายในมหาวิทยาลัยฯ)<br /></strong> จำนวน <strong>3,500</strong> บาท<strong> (สำหรับบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยฯ)</strong></span></p> <p><span lang="TH"><strong>** ธนาคารกรุงไทย สาขามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เลขที่บัญชี : 661-0-17818-6**<br /><br /></strong><em><strong>หมายเหตุ</strong> : ผู้ส่งบทความต้องชำระค่าธรรมเนียมหลังจากที่กองบรรณาธิการพิจารณาเบื้องต้น และก่อนจะดำเนินการส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) พิจารณาบทความ ทั้งนี้ถ้าบทความ “ถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ (Rejected)”กองบรรณาธิการจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมให้กับผู้นิพนธ์ในทุกกรณี</em><strong><br /></strong></span></p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่<br /></strong> <span lang="TH">ฉบับที่ </span>1 <span lang="TH">มกราคม - มิถุนายน</span><br /> <span lang="TH">ฉบับที่ </span>2 <span lang="TH">กรกฎาคม - ธันวาคม<br /><br /></span><strong><span class="JsGRdQ">การเขียนเอกสารอ้างอิง<br /></span></strong><span class="Y2IQFc" lang="th"> การอ้างอิงควรเป็นไปตามมาตรฐานที่สรุปของ APA(7)</span></p> <p><span class="Y2IQFc" lang="th"><strong>กระบวนการ Review<br /></strong> บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) จาก<strong>ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน</strong> (บทความผู้นิพนธ์ภายนอก จะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ส่วนบทความผู้นิพนธ์ภายใน ได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร) โดยผู้ทรงคุณวุฒิพิจาราณาบทความที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ ทั้งนี้จะมี<strong>รูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบ ชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) </strong></span><span class="Y2IQFc" lang="th"><span lang="TH">โดยวารสารมีขั้นตอนดำเนินการจัดพิมพ์ดังนี้</span><br /> 1. <span lang="TH">กองบรรณาธิการวารสารฯ จะตรวจสอบความสมบูรณ์และถูกต้องของต้นฉบับ</span> <br /> 2. <span lang="TH">จัดส่งต้นฉบับให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (</span>Peer Review) <span lang="TH">ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อ่านประเมินต้นฉบับ บทความละ 3</span> <span lang="TH">ท่าน</span> <br /> 3. <span lang="TH">ส่งให้ผู้เขียนแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ (</span>Peer Review) <span lang="TH">สามารถอธิบายหรือชี้แจงข้อสงสัย ผ่านบรรณาธิการ</span> <br /> 4. <span lang="TH">กองบรรณาธิการวารสารฯ ตรวจสอบความถูกต้อง และจัดพิมพ์ต้นฉบับ</span> <br /> 5. <span lang="TH">จัดส่งต้นฉบับให้กับโรงพิมพ์ ดำเนินการจัดทำรูปเล่ม</span> <br /> 6. <span lang="TH">กองบรรณาธิการวารสารฯ ดำเนินการเผยแพร่วารสาร<br /><br /></span></span><span class="Y2IQFc" lang="th"><strong>บรรณาธิการวารสาร<br /></strong>อาจารย์ ดร.ธัญญา จันทร์ตรง<strong><br /></strong>ศูนย์ส่งเสริมบัณฑิตศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต <br />มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์<br />เลขที่ 27 ถนนอินใจมี ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์<br />โทรศัพท์สายตรง: 089-9617457<br />Email: [email protected]<strong><br /></strong></span></p> <h2><strong>Indexed in<br /> <img src="https://so06.tci-thaijo.org/public/site/images/socjourn/tci_30.png" /> </strong><img src="https://so06.tci-thaijo.org/public/site/images/socjourn/scholar_logo_30.png" /> <a href="https://www.tci-thaijo.org/" target="_blank" rel="noopener"><img src="https://so06.tci-thaijo.org/public/site/images/socjourn/thai-jo_30x.png" width="164" height="27" /></a> <a href="https://portal.issn.org/resource/ISSN/2774-0315" target="_blank" rel="noopener"><img src="https://so06.tci-thaijo.org/public/site/images/socjourn/ISSN_150x.png" width="105" height="30" /></a> </h2> ศูนย์ส่งเสริมบัณฑิตศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ th-TH วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 2821-9708 <p><strong>แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ </strong><strong>การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ</strong></p> <p> </p> “มาตาลดา” กับทัศนคติและการยอมรับต่อครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศ ของกลุ่มผู้ชม Gen Z https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/269592 <p>งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและการยอมรับต่อครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศ ของกลุ่มผู้ชม GEN Z ที่ได้รับชมละคร “มาตาลดา” เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ ผู้ชมละครโทรทัศน์ “มาตาลดา” ที่เป็นกลุ่ม Gen Z จำนวน 413 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation)</p> <p>ผลการศึกษาด้านทัศนคติและการยอมรับต่อครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับชมละคร “มาตาลดา” โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ส่วนผลการทดสอบระดับความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการรับชมละคร “มาตาลดา” กับทัศนคติที่มีต่อครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศ และการยอมรับต่อครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศของกลุ่มผู้ชม GEN Z พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญในระดับสูง ผลการศึกษานี้จึงสนับสนุนแนวคิดอิทธิพลของละครโทรทัศน์ต่อกลุ่มวัยรุ่น</p> เสริมศิริ นิลดำ กรกนก นิลดำ ชนะภัย สั่งแก้ว ดนุนัย จีนน้ำใส พิมพ์ชนก ไชยนนท์ ภัทรดนัย บุญศรี วรนุช ลิสุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-13 2024-04-13 14 1 J.ISD 269592 แนวทางการสร้างความยั่งยืนอาชีพเกษตรกลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านสันธาตุ ตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/270607 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการผลิตข้าวที่มีความสัมพันธ์กับความยั่งยืนในอาชีพเกษตร และออกแบบแนวทางสร้างความยั่งยืนให้แก่กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่บ้านสันธาตุ ตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ ใช้สมาชิกของกลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านสันธาตุเป็นกลุ่มตัวอย่างปฏิบัติการวิจัย การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการจำเพาะเจาะจง คือ เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรังในฤดูกาล ปี พ.ศ. 2566-2567 จำนวน 50 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผลด้วยใช้ค่าสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาอุปสรรคด้านการผลิตภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัญหาโรคและแมลงมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น และน้อยที่สุด ได้แก่ ปัญหาการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว ส่วนปัญหาอุปสรรคด้านการตลาดภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัญหาราคาตกต่ำมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ การ ถูกกดราคารับซื้อผลผลิต และน้อยที่สุดได้แก่ ปัญหาข้าวล้นตลาด</p> <p>ความยั่งยืนในอาชีพเกษตรภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยความยั่งยืนด้านสังคมมีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ </p> <p>แนวทางการสร้างความยั่งยืนด้านการผลิต ได้แก่ การเสริมความรู้ในเรื่องโรคและแมลง ส่งเสริมการทำการเกษตรผสมผสานและแบบอินทรีย์ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ การจัดกิจกรรมการจัดการความรู้เพื่อยกระดับการทำนา ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ส่วนทางด้านการตลาด ได้แก่ การใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อต่อรองกับผู้รับซื้อ การสร้างยุ้งฉางในการเก็บข้าว พัฒนายุวเกษตรกรเพื่อต่อยอดอาชีพเกษตร วิเคราะห์ปัญหาการตลาดและขอรับการช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ แสวงหาความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชนในพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว</p> กษิดิศ ใจผาวัง เสริมศิริ นิลดำ ศิริพรรณ จีนะบุญเรือง นิเวศ จีนะบุญเรือง ดรัณภพ อุดแน่น Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-02-28 2024-02-28 14 1 J.ISD 270607