วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU <p><strong>วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์<br />ISSN 2821-9708 (Online) </strong><strong> </strong></p> <p><strong>เกี่ยวกับวารสาร</strong><br /> วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เปิดตีพิมพ์ในบทความวิจัย โดยเป็นฉบับภาษาไทยและสามารถส่งบทความออนไลน์ได้ที่ <a href="https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/about/submissions" target="_blank" rel="noopener">Submissions</a> <strong><img src="https://so04.tci-thaijo.org/public/site/images/cherdvongseang/newdata12.gif" alt="newdata12.gif" /> </strong>วารสารดังกล่าวเป็นเวทีทางปัญญาสำหรับการทำงานในสาขาสหวิทยาการด้านสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ซึ่งตีพิมพ์ 2 ฉบับ เป็นประจำทุกปี<br /> - ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน)<br /> - ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม)</p> <p><strong>ขอบเขตของวารสาร<br /></strong> วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เปิดรับบทความที่กล่าวถึงประเด็นต่อไปนี้:<strong><br /></strong></p> <ul> <li><span class="JsGRdQ">General Social Sciences </span><span class="JsGRdQ">: สังคมศาสตร์ทั่วไป <br /><strong>(การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, วิถีชีวิตของคน ชุมชน ท้องถิ่น, การขับเคลื่อนชุมชนบนฐานนโนบายและวิถีชีวิต)</strong></span></li> <li><span class="JsGRdQ">Communication </span><span class="JsGRdQ">: การสื่อสาร <br /></span></li> <li><span class="JsGRdQ">Education</span><span class="JsGRdQ"> : การพัฒนาทางการศึกษา <br /><strong>(พัฒนาสมรรถนะกำลังคน, ชุมชน ท้องถิ่น, การเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม, การเรียนรู้ตลอดชีวิต)</strong></span></li> <li><span class="JsGRdQ">Development</span><span class="JsGRdQ"> : การพัฒนา <br /><strong>(การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจยกระดับคุณภาพชีวิต ของคน ชุมชน ท้องถิ่น)</strong></span></li> <li><span class="JsGRdQ">Health</span> <span class="JsGRdQ">(Social Sciences)</span><span class="JsGRdQ"> : สุขภาพ (สังคมศาสตร์) <br /><strong>(การพัฒนาสุขภาวะของคนในชุมชน ท้องถิ่นทุกช่วงวัย)</strong></span></li> </ul> <p><strong>ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์ <br /></strong> บทความวิจัย</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์<br /></strong> <span lang="TH">ภาษาไทย </span></p> <p><strong><span lang="TH">ค่าธรรมเนียมการเผยแพร่<br /></span></strong><span lang="TH"> จำนวน <strong>2,000 </strong>บาท<strong> (สำหรับบุคคลภายในมหาวิทยาลัยฯ)<br /></strong> จำนวน <strong>3,500</strong> บาท<strong> (สำหรับบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยฯ)</strong></span></p> <p><span lang="TH"><strong>** ธนาคารกรุงไทย สาขามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เลขที่บัญชี : 661-0-17818-6**<br /><br /></strong><em><strong>หมายเหตุ</strong> : ผู้ส่งบทความต้องชำระค่าธรรมเนียมหลังจากที่กองบรรณาธิการพิจารณาเบื้องต้น และก่อนจะดำเนินการส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) พิจารณาบทความ ทั้งนี้ถ้าบทความ “ถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ (Rejected)”กองบรรณาธิการจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมให้กับผู้นิพนธ์ในทุกกรณี</em><strong><br /></strong></span></p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่<br /></strong> <span lang="TH">ฉบับที่ </span>1 <span lang="TH">มกราคม - มิถุนายน</span><br /> <span lang="TH">ฉบับที่ </span>2 <span lang="TH">กรกฎาคม - ธันวาคม<br /><br /></span><strong><span class="JsGRdQ">การเขียนเอกสารอ้างอิง<br /></span></strong><span class="Y2IQFc" lang="th"> การอ้างอิงควรเป็นไปตามมาตรฐานที่สรุปของ APA(7)</span></p> <p><span class="Y2IQFc" lang="th"><strong>กระบวนการ Review<br /></strong> บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) จาก<strong>ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน</strong> (บทความผู้นิพนธ์ภายนอก จะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ส่วนบทความผู้นิพนธ์ภายใน ได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร) โดยผู้ทรงคุณวุฒิพิจาราณาบทความที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ ทั้งนี้จะมี<strong>รูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบ ชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) </strong></span><span class="Y2IQFc" lang="th"><span lang="TH">โดยวารสารมีขั้นตอนดำเนินการจัดพิมพ์ดังนี้</span><br /> 1. <span lang="TH">กองบรรณาธิการวารสารฯ จะตรวจสอบความสมบูรณ์และถูกต้องของต้นฉบับ</span> <br /> 2. <span lang="TH">จัดส่งต้นฉบับให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (</span>Peer Review) <span lang="TH">ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อ่านประเมินต้นฉบับ บทความละ 3</span> <span lang="TH">ท่าน</span> <br /> 3. <span lang="TH">ส่งให้ผู้เขียนแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ (</span>Peer Review) <span lang="TH">สามารถอธิบายหรือชี้แจงข้อสงสัย ผ่านบรรณาธิการ</span> <br /> 4. <span lang="TH">กองบรรณาธิการวารสารฯ ตรวจสอบความถูกต้อง และจัดพิมพ์ต้นฉบับ</span> <br /> 5. <span lang="TH">จัดส่งต้นฉบับให้กับโรงพิมพ์ ดำเนินการจัดทำรูปเล่ม</span> <br /> 6. <span lang="TH">กองบรรณาธิการวารสารฯ ดำเนินการเผยแพร่วารสาร<br /><br /></span></span><span class="Y2IQFc" lang="th"><strong>บรรณาธิการวารสาร<br /></strong>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญา จันทร์ตรง<strong><br /></strong>ศูนย์ส่งเสริมบัณฑิตศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต <br />มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์<br />เลขที่ 27 ถนนอินใจมี ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์<br />โทรศัพท์สายตรง: 089-9617457<br />Email: </span>tanyajantrong@gmailcom</p> <h2><strong>Indexed in<br /> <img src="https://so06.tci-thaijo.org/public/site/images/socjourn/tci_30.png" /> </strong><img src="https://so06.tci-thaijo.org/public/site/images/socjourn/scholar_logo_30.png" /> <a href="https://www.tci-thaijo.org/" target="_blank" rel="noopener"><img src="https://so06.tci-thaijo.org/public/site/images/socjourn/thai-jo_30x.png" width="164" height="27" /></a> <a href="https://portal.issn.org/resource/ISSN/2774-0315" target="_blank" rel="noopener"><img src="https://so06.tci-thaijo.org/public/site/images/socjourn/ISSN_150x.png" width="105" height="30" /></a> </h2> th-TH <p><strong>แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ </strong><strong>การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ</strong></p> <p> </p> tanyajantrong@gmail.com (อาจารย์ ดร.ธัญญา จันทร์ตรง (บรรณาธิการ)) lita.litaphat@gmail.com (คุณลิตาพัชร์ ธนเสรีพัฒนชัย) Mon, 16 Dec 2024 10:23:44 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ความต้องการจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การบริหารจัดการสมองของเด็กปฐมวัยสำหรับครูผู้ดูแลเด็ก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/274708 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัยของครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร จำนวน 25 คน นักวิชาการศึกษา จำนวน 5 คน ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 323 คน รวมทั้งสิ้น 353 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลใช้โดยการแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ และการหาค่าเฉลี่ย สูตรคำนวณด้วยเทคนิค Modified Priority Need Index หรือ (PNImodified)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัยของครูผู้ดูแลเด็ก มีดังนี้ ความต้องการจำเป็นในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ความต้องการจำเป็นในการพัฒนา 3 อันดับแรก พบว่า 1. ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย (PNI = 1.07) 2. สามารถจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัย (PNI = 0.84) และ 3. สามารถนำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การบริหารจัดการสมองในเด็กปฐมวัย ไปพัฒนาเด็กปฐมวัย (PNI = 0.83) และตามลำดับ</p> อรพร ทับทิมศรี, ประสงค์ สายหงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/274708 Wed, 28 Aug 2024 00:00:00 +0700 กลไกการมีส่วนร่วมและมาตรการในการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ในโรงเรียนของรัฐ และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/274715 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการมีส่วนร่วมและมาตรการในการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ในโรงเรียนของรัฐและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เปรียบเทียบโรงเรียนของรัฐ กับ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถึงมาตรการในการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ มีวิธีการวิจัย โดยการสัมภาษณ์ ผู้ปกครอง นักเรียน โรงเรียน บุคลากรทางการศึกษา ผู้เกี่ยวข้องในชุมชน ตลอดจนผู้นำศาสนา ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่โรงเรียนของรัฐ กับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามตั้งอยู่ครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสีย</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ครู ผู้ปกครอง และชุมชน มีความตระหนักต่อปัญหาการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ในโรงเรียนอย่างมาก โดยเฉพาะความกังวลของการเป็นนักสูบหน้าใหม่ในประเด็นบุหรี่ไฟฟ้า โรงเรียนมีกลไกในการป้องกันนักสูบหน้าใหม่อยู่บ้างแล้วแต่อาจจะยังไม่เข้มงวดเท่าที่ควร เช่น ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระบบ Student Care ส่วนชุมชนอาจมีบางชุมชนรณรงค์ผ่านคุตบะฮ์ (ละหมาดใหญ่ประจำสัปดาห์ของมุสลิม คือละหมาดวันศุกร์) เป็นต้น ส่วนกลไกสนับสนุนทางสังคมที่มีส่วนช่วยส่งเสริมการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ในโรงเรียนของรัฐและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า บ้าน (ครอบครัว/ผู้ปกครอง) โรงเรียน และชุมชน ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการหนุนเสริมการเข้าไปกลายเป็นนักสูบหน้าใหม่ได้หากร่วมมือกันอย่างจริงจัง</p> สุไรยา หนิเร่, สุรชัย ไวยวรรณจิตร, รุ่งโรจน์ ชอบหวาน, โรฮาณีย์ ปูเต๊ะ, มูฮำหมัดราพีร์ มะเก็ง Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/274715 Wed, 11 Sep 2024 00:00:00 +0700 ความรุนแรงที่ปรากฏในเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/274775 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความรุนแรงที่ปรากฏในเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524-2566 จำนวน 15 เล่ม โดยใช้ทฤษฎีความรุนแรงของโยฮัน กัลตุง (Johan Galtung, 1996) มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบความรุนแรงใน 3 ลักษณะ ได้แก่ 1. ความรุนแรงทางตรง ประกอบด้วยความรุนแรงด้านร่างกาย การประทุษวาจา ทรัพย์สิน และเพศ 2. ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ประกอบด้วยความรุนแรงด้านการศึกษา เพศ อาชีพ ตำแหน่ง และสถานภาพทางสังคม และ 3. ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม ประกอบด้วยความรุนแรงด้านภาษาและเพศ นอกจากนี้ความรุนแรงทางตรงที่ปรากฏในเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์นั้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์จริงในสังคม โดยมีปรากฏการณ์ของอำนาจ อุดมการณ์ และความขัดแย้ง โดยเฉพาะอำนาจปิตาธิปไตยที่หยั่งรากลึกในสังคมไทย จึงทำให้เกิดความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิง ซึ่งเป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม ที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้</p> ไพลิน อินคำ, วัชรินทร์ แก่นจันทร์, วรัญญา ยิ่งยงศักดิ์, ศราวุธ หล่อดี Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/274775 Thu, 25 Jul 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการบริหารจัดการโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนตำรวจ ตระเวนชายแดน สังกัดกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 344 อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/274821 <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย และวิธีการดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การศึกษาสภาพ และปัญหาการบริหารจัดการโครงการฯ ทำการศึกษาจากประชากรทั้งหมด ได้แก่ ครูใหญ่ ครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 344 อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เจ้าหน้าที่งานบริการด้านการศึกษา สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 จังหวัดตาก ผู้บริหารและอาจารย์ผู้เกี่ยวข้องในโครงการฯ เจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ที่เกี่ยวข้องในโครงการฯ จำนวน 101 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. การศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการโครงการฯ ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้ที่มีความรู้ในโครงการฯ ผู้ที่มีประสบการณ์หรือมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการฯ และนักวิชาการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 17 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า สภาพการบริหารจัดการโครงการฯ ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด μ= 4.57 (σ=0.27) โดยแยกเป็นรายด้าน พบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการวางแผน μ= 4.65 (σ=0.25) ด้านการตรวจสอบ μ= 4.54 (σ=0.28) ด้านการปรับปรุงการดำเนินการอย่างเหมาะสม μ = 4.54 (σ=0.28) ส่วนด้านการลงมือปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก μ = 4.41( σ=0.46) ปัญหาการบริหารจัดการโครงการฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง μ=3.73 (σ=0.15) โดยแยกเป็นรายด้าน พบว่ามีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการตรวจสอบ μ = 4.06 (σ=0.22) ส่วนด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการวางแผน μ = 3.60 (σ=0.24) ด้านการลงมือปฏิบัติ μ = 3.67 (σ=0.31) ด้านการปรับปรุงการดำเนินการอย่างเหมาะสม μ = 3.84 (σ=0.29) และแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการโครงการฯ สามารถสรุปแนวทางที่สำคัญในแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านการวางแผน กำหนดแผน กิจกรรม/โครงการ ให้มีความสอดคล้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ความถี่ = 13) ด้านการลงมือปฏิบัติ การจัดหา สิ่งสนับสนุนอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานควรดูความเหมาะสมกับพื้นที่หรือบริบทนั้น ๆ และการจัดสรรงบประมาณให้มีความเหมาะสมต่อการดำเนินงาน (ความถี่ = 15) ด้านการตรวจสอบ มีแผนการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลหลังการดำเนินงาน (ความถี่ = 14) ด้านการปรับปรุงการดำเนินการอย่างเหมาะสม มีการวางแผนปรับปรุงผลการดำเนินงานในโครงการฯ (ความถี่ = 14)</p> วิราพัตร กาวิละพันธ์, ปาจรีย์ ผลประเสริฐ Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/274821 Wed, 25 Sep 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วยเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร จังหวัดกำแพงเพชร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/275484 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาความต้องการ และปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับจากการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วย พัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วย และศึกษารายได้ของเกษตรกรที่เกิดจากการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วย จังหวัดกำแพงเพชร การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยเก็บข้อมูลจากลูกค้าที่คาดว่าจะซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับจากการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วย จำนวน 323 คน ตัวแทนหรือบุคลากรของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วย ตำบลเทพนคร อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 25 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วย จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน </p> <p>ผลการวิจัยพบว่าลูกค้ามีความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ได้รับจากการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วย ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์วัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วย คือ ด้านผลิตภัณฑ์ในประเด็นความปลอดภัย ด้านราคาในประเด็นระดับราคาที่สามารถยอมรับได้ ด้านการส่งเสริมการตลาด ในประเด็นการประชาสัมพันธ์ถึงประโยชน์ของการนำวัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วยมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ประเด็นมีระบบการจัดจำหน่ายผ่านออนไลน์ ผลจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วย คือ ภาชนะใส่อาหารประเภทถ้วย ชาม ภายใต้ชื่อ “อิ่มสุข” ที่ผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมขององค์ประกอบผลิตภัณฑ์ภาชนะวัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วยในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="X\bar{}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?X\bar{}" />= 4.66) และรายได้ของเกษตรกรที่เกิดจากการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วย ได้รับจากการจำหน่ายกาบกล้วยตากแห้ง และผลิตภัณฑ์ภาชนะจากกาบกล้วยใส่อาหารประเภทถ้วย ชาม ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์</p> เพชรา บุดสีทา, อำไพ แสงจันทร์ไทย Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/275484 Wed, 24 Jul 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการส่งเสริมและเผยแพร่ศักยภาพ การใช้สื่อดิจิทัลเพื่อภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/275864 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. การเข้าถึงและความสามารถในการใช้สื่อดิจิทัลของผู้สูงอายุ และ 2. การใช้สื่อดิจิทัลเพื่อสร้างภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ และ 3. แนวทางการส่งเสริมและเผยแพร่ศักยภาพการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 3 คนที่เป็นอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) มีการใช้สื่อดิจิทัลสื่อใด สื่อหนึ่ง เพื่อสร้างภาวะพฤฒพลังด้านใดด้านหนึ่ง 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว 2. ด้านการมีส่วนร่วมในสังคม และ 3. ด้านการสร้างงานสร้างรายได้ โดยมีผู้ติดตามในสื่อดิจิทัลสื่อใดสื่อหนึ่งอย่างน้อย 5,000 คนขึ้นไป และผู้ให้ข้อมูลหลักต้องเป็นผู้ได้รับรางวัลหรือการยกย่องเชิดชูเกียรติในระดับประเทศขึ้นไป</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุเข้าถึงการใช้สมาร์ตโฟนและโซเชียลมีเดียได้ โดยเรียนรู้การใช้งานจากลูกหลาน หน่วยงานรัฐ หลักสูตรออนไลน์ และศึกษาด้วยตนเอง แรงจูงใจในการผลิตคลิปวิดีโอเกิดจากลูกที่ต้องการให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทำ ความต้องการสร้างประโยชน์ให้คนในสังคม ฯลฯ ซึ่งเนื้อหาที่ผลิตมาจากความรู้ ประสบการณ์ ความถนัดและความเป็นตัวตน ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว การมีส่วนร่วมในสังคมและสร้างรายได้ </p> <p>ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการส่งเสริมและเผยแพร่ศักยภาพการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุไทยโดย 1. ทัศนคติ ความรู้ ประสบการณ์ และความเป็นตัวตนของผู้สูงอายุเป็นต้นทุนที่สร้างภาวะพฤฒพลัง 2. การเชื่อมประสานของคนในครอบครัว 3. การสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ และ 4. การสนับสนุนจากหน่วยงานภาคเอกชน</p> มัณฑนา ภาคสุวรรณ์, นภาวรรณ อาชาเพ็ชร Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/275864 Fri, 27 Sep 2024 00:00:00 +0700 ผลการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนกองทุนการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/276051 <p>การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการจำเป็นของผู้บริหาร ครู และชุมชน พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นภูมิปัญญาบ้านโละโคะ จากการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และศึกษาผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่นภูมิปัญญาบ้านโละโคะ สำหรับการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะสื่อสารภาษาไทย กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ครู ผู้บริหาร และนักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 โดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ หลักสูตรท้องถิ่นภูมิปัญญาบ้านโละโคะ, แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทยตามแนวทางทวิ/พหุภาษา โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน, แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที่ทดสอบค่าทีแบบอิสระ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า โรงเรียนบ้านหนองแดน สาขาบ้านโละโคะ อยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า จังหวัดกำแพงเพชร เป็นโรงเรียนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร ครู ผู้บริหาร จำนวน 7 คน นักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 จำนวน 79 คน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ม้งปกาเกอะญอ มีความต้องการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทย สำหรับหลักสูตรท้องถิ่นภูมิปัญญาบ้านโละโคะ จากการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะการสื่อสารภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางทวิ/พหุภาษา โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด </p> ยุทธนา พันธ์มี Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/276051 Mon, 16 Sep 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดอุตรดิตถ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/277160 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมและศึกษาผลการพัฒนาศักยภาพครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในจังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 15 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการพัฒนา แบบประเมินคุณภาพของขั้นตอนและเนื้อหาการพัฒนาฯ แบบทดสอบวัดความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินผลการฝึกปฏิบัติ และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าดัชนีประสิทธิผลและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน </p> <p>ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในจังหวัดอุตรดิตถ์ มีขั้นตอนในการพัฒนา 5 ขั้นตอนประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ประชุมสอบถามปัญหาและความต้องการในการพัฒนา ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อออกแบบเนื้อหาการพัฒนาครู ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาครูโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ ขั้นตอนที่ 4 การนิเทศติดตาม ขั้นตอนที่ 5 การดำเนินการปรับปรุงขั้นตอนการฝึกอบรม ผลการพัฒนาครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจังหวัดอุตรดิตถ์โดยเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการอบรมด้วยแบบทดสอบวัดความรู้ พบว่ามีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.8593 และครูที่เข้ารับการอบรมทุกคนมีผลงานสื่อการจัดการเรียนรู้ตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีความพึงพอใจต่อการเข้ารับการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด</p> เชาวฤทธิ์ จั่นจีน Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/277160 Fri, 29 Nov 2024 00:00:00 +0700