วารสารวิชาการศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JAS_CPRU <p><strong>วัตถุประสงค์ของวารสาร</strong> <br /> 1. เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ด้านศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์<br /><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และผู้สนใจ</span> ได้มีโอกาสเสนอ<br /> ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย และวิทยานิพนธ์ในสาขาวิชาศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ <br /> และสาขาที่เกี่ยวข้อง</p> คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ th-TH วารสารวิชาการศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 2408-0993 การจัดการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JAS_CPRU/article/view/267858 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ กีฬาช่วยพัฒนาสุขภาพและพลานามัยที่ดีของประชาชน และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากกีฬา การจัดการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศจะต้องอาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนและการจูงใจ ความพร้อมของนักกีฬา การบริหารจัดการองค์กร วิทยาศาสตร์การกีฬา สถานที่ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก ผู้ฝึกสอน ผู้เชี่ยวชาญกีฬา การคัดเลือกนักกีฬา การฝึกซ้อม การจัดประสบการณ์ในการแข่งขัน งบประมาณ เป็นต้น มีแนวโน้มที่จะนำเวชศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะองค์ความรู้และงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา โครงสร้างและกระบวนการจัดการพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ ระบบฐานข้อมูลนักกีฬาเยาวชน ระบบการให้เงินอุดหนุนอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบการคัดเลือกผู้ฝึกสอนกีฬา เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องอาศัยนโยบายที่สำคัญและมีความชัดเจน เช่น การจัดสรรงบประมาณที่เน้นผลสำเร็จในการจัดการกีฬาโดยมีคณะกรรมาธิการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะลงทุน นโยบายการเพิ่มจำนวนนักกีฬาใหม่เพื่อสร้างความต่อเนื่อง นโยบายการพัฒนานักกีฬาที่มีพรสวรรค์ขึ้นมาทดแทนอย่างต่อเนื่อง นโยบายด้านการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาระดับชาติ และนานาชาติซึ่งจะช่วยพัฒนาความสามารถนักกีฬาอย่างยั่งยืน นโยบายด้านการช่วยเหลือทางการศึกษา และอาชีพหลังการเป็นนักกีฬา ซึ่งเป็นการสร้างความรู้สึกมั่นคงและเป็นหลักประกันให้นักกีฬามุ่งมั่นและทุ่มเท นอกจากนี้ควรจัดทำแผนระยะยาวสำหรับการผลิตและพัฒนาบุคลากรกีฬาของชาติในแต่ละวิชาชีพให้ได้มาตรฐานและเพียงพอ และการกีฬาแห่งประเทศไทยควรจัดทำแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางเพื่อให้ทุกหน่วยงานด้านการกีฬาใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน</p> บรรจบ บุญจันทร์ อริสา นพคุณ มยุรฉัตร จรัญญา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-29 2024-06-29 11 1 147 158 ทักษะผู้บริหารสถานศึกษาศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JAS_CPRU/article/view/275376 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานวิชาการโรงเรียน 2) ศึกษาทักษะผู้บริหารสถานศึกษาศตวรรษที่ 21 3) ศึกษาทักษะผู้บริหารสถานศึกษาศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 338 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ กำหนดขนาดตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) ทักษะผู้บริหารสถานศึกษาศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ทักษะด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล 3) ทักษะผู้บริหารสถานศึกษาศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์ ทักษะด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล ทักษะการทำงานเป็นทีม และทักษะการสื่อสาร มีอิทธิพลร่วมกันต่อการการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างทักษะผู้บริหารสถานศึกษาศตวรรษที่ 21 กับการบริหารงานวิชาการโรงเรียน เป็น .898 สามารถอธิบายความแปรปรวนการบริหารงานวิชาการโรงเรียน ได้ร้อยละ 80.70</p> กฤตเมธ เกิดบ้านเป้า บรรจบ บุญจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-29 2024-06-29 11 1 1 13 การสร้างแผนที่ทางน้ำเพื่อแก้ปัญหาและจัดการน้ำโดยชุมชนบ้านโนนแต้ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JAS_CPRU/article/view/275382 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการการแก้ปัญหาและจัดการน้ำโดยชุมชน บ้านโนนแต้ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ และ 2) ศึกษาแนวทางการทำแผนที่ทางน้ำและการจัดการน้ำชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาทรัพยากรน้ำ บ้านโนนแต้ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ คณะกรรมบริหารจัดการน้ำชุมชนโนนแต้และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 17 คน ได้มาแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบบสรุปอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุมชนบ้านโนนแต้ มีหนองน้ำสองแห่งคือ หนองแซง และหนองน้ำขุ่นโดยมีคลองน้อยเป็นทางน้ำที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำชี ซึ่งขาดออกจากกันทำให้เกิดน้ำท่วมในฤดูฝน สาเหตุเกิดจากการขยายพื้นที่เกษตรกรรมทับทางน้ำ ชุมชนโนนแต้แก้ไขปัญหาโดยขุดลอกหนองน้ำเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง แต่ไม่สามารถบรรเทาได้ จึงประสานการสนับสนุนกับเครือข่ายภายนอกด้านงบประมาณโครงการเชื่อมต่อคลองเพื่อให้น้ำเดินทางได้สะดวก โดยเฉพาะการเชื่อมต่อหนองน้ำต่าง ๆ ในชุมชนกับแม่น้ำชี มีการทำประตูเปิด-ปิด บริเวณจุดเชื่อมต่อเส้นทางน้ำเพื่อบริหารจัดการน้ำในช่วงเวลาวิกฤต 2) แนวทางการทำแผนที่ทางน้ำและการจัดการน้ำชุมชนเพื่อแก้ปัญหาโดยระดมความคิดแบบมีส่วนร่วมกับเครือข่ายภายนอกใช้เทคโนโลยีพิกัดอัตราส่วน คำนวณปริมาณและทิศทางของน้ำ และร่วมทำผังน้ำ มีคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำชุมชนโนนแต้เป็นผู้บริหารจัดการการใช้น้ำ</p> อนุสรณ์ พัฒนศานติ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-29 2024-06-29 11 1 14 27 ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JAS_CPRU/article/view/275384 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน 2) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูวิชาการ จำนวน 192 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การวัดประเมินผลการเรียนการสอน 2) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพ 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการ ด้านการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพ และด้านการกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา มีอิทธิผลร่วมกันต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยด้านที่มีอิทธิพลสูงสุด คือ ด้านการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างด้านเหล่านี้กับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน เป็น .676 และสามารถอธิบายความแปรปรวนการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 6 ได้ร้อยละ 45.7</p> ญาณิสา สมอเผื่อน บรรจบ บุญจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JAS_CPRU/ 2024-06-29 2024-06-29 11 1 28 41 ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JAS_CPRU/article/view/275385 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียน 2) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 346 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลของโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ 3) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการกำหนดทิศทางขององค์การและด้านการกำหนดกลยุทธ์ มีอิทธิพลร่วมกัน ต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างองค์ประกอบเหล่านี้กับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์เป็น .792 และองค์ประกอบเหล่านี้สามารถอธิบายความแปรปรวนประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ ได้ร้อยละ 62.7</p> วนิดา หยั่งบุญ บรรจบ บุญจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-29 2024-06-29 11 1 42 54 แนวทางการพัฒนาการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JAS_CPRU/article/view/275386 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา 3) หาแนวทางการพัฒนาการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครู จำนวน 331 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การเปรียบเทียบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสถานศึกษาขนาดกลางมีการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสูงกว่าสถานศึกษาขนาดเล็กและขนาดใหญ่ 3) แนวทางการพัฒนาการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่า ควรพิจารณามาตรฐานการศึกษาโดยมีการจัดประชุมกับฝ่ายวิชาการของโรงเรียนควรใช้เทคนิค SWOT ในการวิเคราะห์เพื่อปรับแผนพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาใช้กระบวนการ PLC ในโรงเรียน ควรสร้างความสามัคคีในการทำงานร่วมกัน ควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดกรอบการประเมิน ควรมีการเผยแพร่อย่างกว้างขวางในรูปแบบ Facebook line website</p> <p><strong> </strong></p> สมโชค ไชยดี บรรจบ บุญจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-29 2024-06-29 11 1 55 67 ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JAS_CPRU/article/view/275387 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ใช้วิธีการวิจัยแบบเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และด้านความสำเร็จของการดำเนินการ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านครูที่ปรึกษา 3) ปัจจัยด้านคณะทำงาน ด้านครู ด้านการสนับสนุนจากหน่วยงาน และด้านผู้บริหาร มีอิทธิผลร่วมกันต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุด คือ ด้านครู รองลงมา คือ ด้านการสนับสนุนจากหน่วยงาน ด้านคณะทำงาน และด้านผู้บริหาร ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างปัจจัยเหล่านี้กับประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 เป็น .791 และปัจจัยเหล่านี้สามารถอธิบายความแปรปรวนประสิทธิผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ได้ร้อยละ 62.6</p> จุฑารัตน์ มั่นรักคง บรรจบ บุญจันทร์ Copyright (c) 2024 Journal of Arts and Science Chaiyaphum Rajabhat University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-29 2024-06-29 11 1 68 80 การวิเคราะห์ความยากง่ายของบทอ่านภาษาอังกฤษในเอกสารประกอบการสอนโดยใช้โคห์เมตริกซ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JAS_CPRU/article/view/266960 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระดับความยากง่ายของการอ่านและวิเคราะห์ลักษณะด้านภาษาของบทอ่านภาษาอังกฤษในเอกสารประกอบการสอนโดยใช้โคห์เมตริกซ์ ซึ่งลักษณะด้านภาษานี้ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบ คือ คุณลักษณะการเล่าเรื่องความเรียบง่ายเชิงโครงสร้าง, ความเป็นรูปธรรมของคำ, ความเชื่อมโยงแบบอ้างถึงและความเชื่อมโยงเชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือบทอ่านภาษาอังกฤษจำนวน 20 บทอ่านในเอกสารประกอบการสอน ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้รวบรวม เรียบเรียง และปรับใช้ และ โปรแกรมโคห์เมตริกซ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยค้นพบว่าความยากง่ายของบทอ่านภาษาอังกฤษในเอกสารประกอบการสอนอยู่ในระดับปานกลางสำหรับผู้อ่านความยากง่ายของบทอ่านนี้อยู่ระหว่างระดับมัธยมปลายถึงระดับปริญญาตรีตอนต้น สำหรับลักษณะด้านภาษาของบทอ่านนั้น มีความเป็นรูปธรรมของคำอยู่ในระดับสูง ในขณะที่คุณลักษณะการเล่าเรื่อง ความเรียบง่ายเชิงโครงสร้างความเชื่อมโยงแบบอ้างอิงและความเชื่อมโยงเชิงลึก อยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิจัยยังระบุด้วยว่าบทอ่านสำหรับการฝึกทักษะการอ่านจำเป็นต้องเลือกอย่างเหมาะสม เพราะบทอ่านที่เหมาะสมกับผู้อ่านจะทำให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์มากกว่าจากการฝึกอ่านโดยใช้บทอ่านเหล่านี้ </p> ดิษฐวัฒน์ ทองสุข Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-29 2024-06-29 11 1 81 93 การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT เพื่อส่งเสริมการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิจารณญาณ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JAS_CPRU/article/view/268843 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) บทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบวัดการคิดวิจารณญาณ 5) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ค่า Paired t- test ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT พบว่า มีประสิทธิภาพ E1/E2 = 82.60/84.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์กำหนด 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ พบว่า นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ พบว่า นักศึกษามีการคิดวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05. 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจในการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจ โดยรวม อยู่ที่ระดับมากที่สุด</p> ศิรินันท์ ถนัดค้า Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-29 2024-06-29 11 1 94 106 การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JAS_CPRU/article/view/269069 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานหน่วยการเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 28 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 84.02/83.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> จิตรลดา หนันทุม นิลรัตน์ โคตะ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-29 2024-06-29 11 1 107 119 การพัฒนาทักษะการออกเสียงในระบบสัทอักษรพินอิน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยสื่อมัลติมีเดียร่วมกับแบบฝึกทักษะ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JAS_CPRU/article/view/269167 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาจีน ด้วยสื่อมัลติมีเดียร่วมกับแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบทักษะการออกเสียงในระบบสัทอักษรพินอิน ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3) เปรียบเทียบทักษะการออกเสียงในระบบสัทอักษรพินอินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนเมื่อเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนชุมชนบ้านจอก (คอนสวรรค์วิทยากร) จำนวนนักเรียน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) การจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อมัลติมีเดียร่วมกับแบบฝึกทักษะ 2) แบบ ทดสอบการออกสียง จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อมัลติมีเดียร่วมกับแบบฝึกทักษะ หน่วยการเรียนรู้ สัทอักษรพินอิน มีประสิทธิภาพ 87.47/83.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 70/70 2) ทักษะการออกเสียงในระบบสัทอักษรพินอิน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ทักษะการออกเสียงในระบบสัทอักษรพินอินหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> นพวรรณ แก้วหนองแดง เกษกนก วรรณวัลย์ Copyright (c) 2024 Journal of Arts and Science Chaiyaphum Rajabhat University https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-22 2024-04-22 11 1 120 132 ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JAS_CPRU/article/view/270514 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ประสิทธิภาพการสอนของครู และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2โดยใช้วิธีการวิจัยแบบสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 จำนวน 297 คนกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซีและมอร์แกน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การสร้างขวัญกำลังใจของครู 2) ประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านการมีความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในระดับค่อนข้างสูง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .662</p> นริศรา กาฬเพ็ญ สรรฤดี ดีปู่ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-29 2024-06-29 11 1 133 146