วารสารการวัดผลการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB <p><strong>จุดมุ่งหมาย</strong><br />1. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และผลการวิจัยทางด้านการวัดผลการศึกษา สถิติ การวิจัยและจิตวิทยา <br />ทั้งทางด้านทฤษฎี การปฏิบัติ ตลอดจนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับด้านการศึกษา<br />2. เพื่อเป็นสื่อกลางสำหรับแลกเปลี่ยนข้อเท็จจริง เรื่องราว และความคิดเห็นระหว่างครู <br />นักการศึกษา นักวัดผลการศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไป</p> <p><strong>กำหนดออก ปีละ 2 ฉบับ</strong><br />ฉบับที่ 1 ของปี เดือนมกราคม–มิถุนายน ฉบับที่ 2 ของปี เดือนกรกฎาคม–ธันวาคม</p> <p>• บทความทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการกลั่นกรองบทความก่อนลงตีพิมพ์ <br />(Peer reviews) จากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่านต่อบทความ โดยผู้พิจารณาไม่ทราบ<br />ชื่อผู้แต่ง และ ผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-blind peer review)<br />• ข้อความและเนื้อหาในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความแต่เพียงฝ่ายเดียว<br />• การคัดลอกอ้างอิงต้องดำเนินการตามการปฏิบัติในวงวิชาการ และสอดคล้องกับกฎหมาย</p> <p>ISSN 3027-639X (Print)</p> <p>ISSN XXXX-XXXX (Online)</p> <p>*** วารสารฉบับนี้ มีชื่อปรากฏในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่ม 2</p> สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ th-TH วารสารการวัดผลการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา 3027-639X การพัฒนาแบบประเมินความพร้อมด้านทักษะทางสังคมของนักเรียน ระดับอนุบาลชั้นปีที่ 3 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/270000 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบ และพัฒนาแบบประเมินความพร้อมด้านทักษะทางสังคมของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 51 คน โดยอยู่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 31 คน และโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จำนวน 20 คน ด้วยวิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกเอกสาร และแบบบันทึกการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยสังเคราะห์เอกสาร นำมาวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสกัดให้ได้องค์ประกอบความพร้อมด้านทักษะทางสังคมของนักเรียน และพัฒนาแบบประเมินความพร้อมตามองค์ประกอบ จากนั้นตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบความเที่ยง ใช้การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยสรุปได้องค์ประกอบความพร้อมด้านทักษะทางสังคมของนักเรียน ทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ การสร้างมิตรภาพและการรักษาสัมพันธภาพ การจัดการอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง การรับรู้และเข้าใจมุมมองของผู้อื่น และการปฏิบัติตนเมื่ออยู่ร่วมกันในสังคม โดยออกแบบเครื่องมือเป็นรายการประเมินแบบเลือกตอบ (Checklist) ทั้งหมดจำนวน 31 รายการ มี 2 ตัวเลือก ได้แก่ ปฏิบัติได้และปฏิบัติไม่ได้ และผลการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.8 ด้านความเที่ยง มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.617 มีความตรงเชิงโครงสร้าง ได้ค่าน้ำหนักองค์ประกอบเชิงยืนยันอยู่ระหว่าง 0.031 - 0.082</p> ณัฐณิชา วิชาภรณ์ กนิษฐ์ ศรีเคลือบ Copyright (c) 2023 2023-12-30 2023-12-30 40 108 1 13 การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SSCS ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/270001 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SSCS ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SSCS ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก ตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพระแท่นดงรังวิทยาคาร ซึ่งกำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 31 คน ด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SSCS ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย (<em>M</em>) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (<em>SD</em>) และสถิติทดสอบที (t-test) แบบ Dependent</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียน (<em>M</em> = 42.10, <em>SD</em> = 7.97) โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SSCS ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก สูงกว่าก่อนเรียน (<em>M</em> = 9.32, <em>SD</em> = 1.25) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SSCS ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด <br>(<em>M</em> = 4.77, <em>SD</em> = 0.38)&nbsp;</p> กมลรัตน์ โพธิ์ทอง สรัญญา จันทร์ชูสกุล Copyright (c) 2023 2023-12-30 2023-12-30 40 108 14 27 ผลการปรับตัวทางสังคมที่่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสตอรีไลน์ และการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/270002 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์&nbsp; 2) เพื่อศึกษาระดับการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3) เพื่อเปรียบเทียบการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ และการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 2&nbsp; ห้องเรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เลือกจาก 6 ห้องเรียนมา 2 ห้องเรียน แล้วนำกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับมาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ จำนวน 30 คน กลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การเรียนแบบสตอรี่ไลน์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้การเรียนแบบร่วมมือ 3) แบบสอบถามการปรับตัวทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test Independent)</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ มีการปรับตัวทางสังคม หลังเรียนอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.37 มีค่าเบี่ยงเบนเท่ากับ 0.89&nbsp; 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีการปรับตัวทางสังคม หลังเรียนอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.06 มีค่าเบี่ยงเบนเท่ากับ 0.71 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ และการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีการปรับตัวทางสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01</p> ธีราพร บุญนอก ชุติมา วัฒนะคีรี ธนีนาฏ ณ สุนทร Copyright (c) 2023 2023-12-30 2023-12-30 40 108 28 39 การเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นด้วยการปรึกษาครอบครัว เชิงบูรณาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/270003 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น และ 2) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรม การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาผลการใช้โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น จำนวน 16 ครอบครัว ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ทำการสุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 ครอบครัว&nbsp; โดยมีเกณฑ์การคัดเข้ากลุ่มตัวอย่างดังนี้ เป็นพ่อแม่ที่มีความสมัครใจในการเข้าร่วมการทดลอง และมีคะแนนพฤติกรรมพ่อแม่ตั้งแต่ระดับน้อยลงมา ( &lt; 4.07) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.896 และโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า&nbsp;</p> <ol> <li class="show">โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น พัฒนาจากแนวคิดทฤษฎีและเทคนิคต่าง ๆ ของทฤษฎีการปรึกษาครอบครัวพฤติกรรมนิยม</li> <li class="show">ผลการใช้โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น พบว่า 1) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น มีคะแนนพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษาครอบครัว เชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น มีคะแนนพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น และ 2) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรม การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาผลการใช้โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น จำนวน 16 ครอบครัว ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ทำการสุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 ครอบครัว&nbsp; โดยมีเกณฑ์การคัดเข้ากลุ่มตัวอย่างดังนี้ เป็นพ่อแม่ที่มีความสมัครใจในการเข้าร่วมการทดลอง และมีคะแนนพฤติกรรมพ่อแม่ตั้งแต่ระดับน้อยลงมา ( &lt; 4.07) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.896 และโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า&nbsp;</p> <ol> <li class="show">โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น พัฒนาจากแนวคิดทฤษฎีและเทคนิคต่าง ๆ ของทฤษฎีการปรึกษาครอบครัวพฤติกรรมนิยม</li> <li class="show">ผลการใช้โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น พบว่า 1) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น มีคะแนนพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษาครอบครัว เชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น มีคะแนนพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> </ol> </li> </ol> สุวัชราพร สวยอารมณ์ เพ็ญนภา กุลนภาดล ประชา อินัง Copyright (c) 2023 2023-12-30 2023-12-30 40 108 40 50 แรงจูงใจ ทัศนคติและพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/270004 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษา และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 310 คน ทำการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามแรงจูงใจในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แบบสอบถามทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และแบบสอบถามพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีแรงจูงใจในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลาง มีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง มีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 86.77 มีระดับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบเสี่ยงมากที่สุด (ร้อยละ 37.42) รองลงมาคือ ระดับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบเสี่ยงต่ำ (ร้อยละ 36.45) และระดับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบอันตราย (ร้อยละ 26.13) แรงจูงใจและทัศนคติในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปเป็นแนวทางสร้างมาตรการป้องกัน ลด ละ เลิก พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์</p> ขวัญธิดา พิมพการ กฤษดา ทองทับ หทัยชนก เผ่าวิริยะ วุฒิพงษ์ เชื่อมนอก ภาวิดา ภูมิลุน Copyright (c) 2023 2023-12-30 2023-12-30 40 108 51 63 การพัฒนาเครื่องมือวัดทักษะการทำงานเป็นทีมของครูในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/270005 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดทักษะการทำงานเป็นทีมของครูในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เครื่องมือที่ใช้เป็นเครื่องมือวัดทักษะการทำงานเป็นทีมของครูในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นแบบสอบถามมีลักษณะ เป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ตัวอย่างวิจัยเป็นครูจำนวน 350 คน ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างตามความสะดวก (convenience sampling) จากการเก็บข้อมูลแบบออนไลน์และฉบับกระดาษ ผลการวิจัยพบว่า เครื่องมือวัดทักษะการทำงานเป็นทีม PLC ของครูที่พัฒนาขึ้นมีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC, .67-1.00) ความเที่ยง (Cronbach’s alpha coefficient, .845 - .881) และความตรงเชิงโครงสร้าง (<img title="x^{2}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?x^{2}"> (5, <em>N</em>=350)=3.495, <em>p</em>=.624, <em>RMSEA</em>=.000, <em>SRMR</em>=.004)</p> ธีรวัฒน์ ศรีบุรมย์ กนิษฐ์ ศรีเคลือบ Copyright (c) 2023 2023-12-30 2023-12-30 40 108 64 76 การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/270006 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน (2) ศึกษาผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน และ (3) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 &nbsp;ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) โดยมีแผนการทดลองเป็นแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนและสอบหลัง (One Group Pretest-Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้งานวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยที่ 1-4 (2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ (3) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ และ (4) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล ค่าดัชนีความสอดคล้อง และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า (1) การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ&nbsp; เพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน&nbsp; มีการตรวจสอบคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 4.85 (2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสูงขึ้นและมีผลของพัฒนาการเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 51.42 หลังจากได้รับการทดลองจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน (3) จากการศึกษาข้อมูลพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน พบว่านักเรียนมีความกระตือรือร้น มุ่งมั่นในการทำกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด มีแรงจูงใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้โดยสังเกตได้จากแต้มสะสม (Points) ที่มีอัตราเพิ่มอย่างต่อเนื่อง</p> อัญชนา จรตระการ อุดมลักษม์ กูลศรีโรจน์ พงศธร มหาวิจิตร Copyright (c) 2023 2023-12-30 2023-12-30 40 108 77 87 การสร้างแบบวัดคุณลักษณะของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/270007 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดคุณลักษณะของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร<br>วิโรฒ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวนทั้งสิ้น 365 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน (Two-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบคุณลักษณะของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 2 ฉบับ ฉบับละ 30 ข้อ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ 1 ฉบับ และแบบตรวจสอบรายการ 1 ฉบับ ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้</p> <ol> <li class="show">แบบวัดเชิงสถานการณ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.667 ถึง 1.000 มีค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.289 ถึง 0.659 มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.213 ถึง 0.688 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20) เท่ากับ 0.880 โดยที่แบบวัดเชิงสถานการณ์ ซึ่งประกอบด้วย 6 ด้าน คือ ด้านความอยากรู้อยากเห็น ด้านการริเริ่มสร้างสรรค์ ด้านความพยายามในการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ด้านความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมและสภาพแวดล้อม ด้านความเป็นผู้นำ และด้านความตระหนักถึงสังคมและวัฒนธรรม มีค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.142, 0.213, 0.211, 0.172, 0.180 และ 0.228 ตามลำดับ</li> <li class="show">แบบตรวจสอบรายการ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.667 ถึง 1.000 มีค่าความเชื่อมั่น (Alpha-Coefficient) ทั้ง 6 ด้าน เท่ากับ 0.882, 0.757, 0.825, 0.691, 0.598 และ 0.791 ตามลำดับ</li> </ol> นวรินทร์ ตาก้อนทอง Copyright (c) 2023 2023-12-30 2023-12-30 40 108 88 97 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/270008 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน&nbsp; 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 70 &nbsp;3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน&nbsp; กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมุทรปราการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวนนักเรียน 30 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) และใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Sampling Unit)&nbsp; เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ &nbsp;4) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า (t-test)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2) ความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3) ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมาก</p> ธัญญลักษณ์ สวัสดี ชุติมา วัฒนะคีรี สุพจน์ เกิดสุวรรณ์ Copyright (c) 2023 2023-12-30 2023-12-30 40 108 98 111 การศึกษาองค์ประกอบของพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/270010 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรมกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยดำเนินการวิจัย 2 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การศึกษาและกำหนดพฤติกรรมบ่งชี้เชิงนวัตกรรมของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรมจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำข้อมูลยืนยัน ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และขั้นที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 จากสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในภาคกลาง จำนวน 660 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ข้อมูลที่ได้นำมาตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">พฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การสำรวจความคิด การสร้างแนวคิดใหม่ การส่งเสริมความคิดให้เป็นที่ยอมรับ และการทำความคิดให้เกิดผล รวมทั้งหมด 13 ตัวบ่งชี้</li> <li class="show">โมเดลพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่า <img title="x^{2}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?x^{2}"> =70.394, df=53, P-value=.0552, RMSEA=0.022, SRMR=0.0133, CFI=0.998, GFI=0.984, AGFI=0.972</li> </ol> <p>&nbsp;</p> คณากร นาคอาจ ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม สรัญญา จันทร์ชูสกุล Copyright (c) 2023 2023-12-30 2023-12-30 40 108 112 126 ปัจจัยที่ส่งผลต่อกลุ่มแฝงความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครู: การวิเคราะห์กลุ่มแฝงแบบมีเงื่อนไข https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/270011 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>ชั้นเรียนนวัตกรรมเป็นชั้นเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนให้เกิดทักษะที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน โดยเน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้เชิงบวกและการสร้างความรู้ด้วยตนเองเพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาได้อย่างเต็มตามศักยภาพ ซึ่งการวิเคราะห์จัดกลุ่มครูจะเป็นฐานสารสนเทศในการส่งเสริมความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมได้ตรงตามศักยภาพของครู การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) วิเคราะห์กลุ่มแฝงความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครู 2) วิเคราะห์ตัวแปรที่ส่งผลต่อกลุ่มแฝงความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครู ตัวอย่างวิจัย คือ ครูที่สอนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 386 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม<br>ความคิดเห็นเกี่ยวกับโรงเรียนและชั้นเรียน มีลักษณะเป็นมาตรประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์กลุ่มแฝง และการวิเคราะห์กลุ่มแฝงแบบมีเงื่อนไข ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์ความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครูสามารถจำแนกครูออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ครูล้าหลังทางนวัตกรรม ซึ่งเป็นครูที่มีองค์ประกอบความเป็น<br>ชั้นเรียนนวัตกรรมต่ำทุกองค์ประกอบ จำนวน 77 คน (ร้อยละ 19.95) ครูเริ่มต้นความเป็นนวัตกร ซึ่งเป็นครูที่มีองค์ประกอบความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมปานกลางทุกองค์ประกอบ จำนวน 151 คน (ร้อยละ 39.20) และครูพัฒนานวัตกร ซึ่งเป็น<br>ครูที่มีองค์ประกอบความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมสูงทุกองค์ประกอบ จำนวน 158 คน (ร้อยละ 40.93) และโมเดลมีค่า Entropy = .93 LL = -6795.70 BLRT = 715.83 และ LMRA = 708.942 &nbsp;2) จากการวิเคราะห์ตัวแปรที่ส่งผลต่อ<br>กลุ่มแฝงความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครู พบว่า ตัวแปรที่ส่งผลต่อกลุ่มแฝงความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครู<br>คือสภาพแวดล้อมเชิงนวัตกรรมโดยโอกาสที่ครูจะอยู่ในกลุ่มแฝงครูเริ่มต้นความเป็นนวัตกรจะเพิ่มขึ้น 6.106 เท่าของ<br>กลุ่มแฝงครูล้าหลังทางนวัตกรรม เมื่อครูมีคะแนนสภาพแวดล้อมเชิงนวัตกรรมเพิ่มขึ้น 1 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญ<br>ทางสถิติที่ระดับ .05 (<em>OR</em> = 6.106, <em>p</em> = .046)</p> โยธณัฐ บุญโญ ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ Copyright (c) 2023 2023-12-30 2023-12-30 40 108 127 138 ประสบการณ์การเลิกเสพติดเกม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/270012 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>ความสนใจทางการวิจัยส่วนใหญ่มุ่งไปยังประเด็นเกี่ยวกับการเสพติดเกม ส่วนการศึกษาในประเด็นเกี่ยวกับการเลิกเสพติดเกมยังคงมีอยู่อย่างจำกัด งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาประสบการณ์การเลิกเสพติดเกมโดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ “การวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ” เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างร่วมกับการวาดภาพกับผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 5 คนที่มีประสบการณ์การเสพติดเกมและเลิกเสพติดเกมได้สำเร็จ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ากระบวนการเลิกเสพติดเกี่ยวเกมเกี่ยวข้องจุดเปลี่ยนที่สำคัญ 4 ประการดังนี้ 1) การรับรู้คุณค่าในตนเองต่ำ 2) ความมุ่งมั่นทำหน้าที่ตนเอง 3) ความต้องการปฏิสัมพันธ์จากบุคคลรอบข้าง และ 4) การบริหารเวลาชีวิตที่มีประสิทธิภาพ ข้อค้นพบจากการวิจัยนำไปสู่การระบุแนวทางการบำบัดที่เหมาะสมสำหรับการช่วยเหลือบุคคลในการเลิกเสพติดเกม</p> <p>&nbsp;</p> กัญจน์ สุรเนตร ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล ประชา อินัง Copyright (c) 2023 2023-12-30 2023-12-30 40 108 139 153 การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในบริบทสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/270013 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในบริบทสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในบริบทสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในบริบทสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและนำมาตรวจสอบเพิ่มเติมกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 10 ท่าน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง&nbsp; 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในบริบทสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตตรวจราชการภูมิภาคตะวันตก จำนวน 567 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล คือ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในบริบทสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วม การเรียนรู้แบบร่วมมือ การสนับสนุนและการเป็นผู้นำร่วมกัน และสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุน มี 11 ตัวบ่งชี้&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลการวัดความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในบริบทสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจาก <img title="x^{2}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?x^{2}"> = 28.080,&nbsp; df = 26 , p = .354, CFI = 1.000, TLI = 0.999, RMSEA = 0.012, SRMR = 0.015 และ <img title="x^{2}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?x^{2}">/df = 1.08</p> พิจิตรา กุลจรัสอนันต์ สรัญญา จันทร์ชูสกุล ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม Copyright (c) 2023 2023-12-30 2023-12-30 40 108 154 166 การเสริมสร้างสัมพันธภาพคู่สมรสในชีวิตวิถีใหม่ด้วยการปรึกษารูปแบบผสมผสาน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/270014 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลของการปรึกษารูปแบบผสมผสานทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพคู่สมรสในชีวิตวิถีใหม่ในระยะก่อนการทดลองและระยะหลังการทดลอง และ 2) เปรียบเทียบผลของการปรึกษารูปแบบผสมผสานทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพคู่สมรสในชีวิตวิถีใหม่ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ คู่สมรสที่อาศัยอยู่ในจังหวัดระยอง ที่มีการจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่ 1 – 10 ปี สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 16 คู่ ผู้วิจัยแบ่งกลุ่มโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คู่ กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษารูปแบบผสมผสานทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้เข้ารับการปรึกษารูปแบบผสมผสานทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น ผลการศึกษาพบว่า คู่สมรสที่ได้รับการปรึกษารูปแบบผสมผสานทฤษฎี เน้นทางออกระยะสั้น มีคะแนนสัมพันธภาพคู่สมรสในชีวิตวิถีใหม่ สูงกว่าก่อนได้รับการได้รับปรึกษารูปแบบผสมผสานทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนสัมพันธภาพคู่สมรสในชีวิตวิถีใหม่ พบว่า สัมพันธภาพคู่สมรสในชีวิตวิถีใหม่หลังได้รับการปรึกษารูปแบบผสมผสานทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น สูงกว่าสัมพันธภาพคู่สมรสในชีวิตวิถีใหม่ที่ไม่ได้รับการปรึกษารูปแบบผสมผสานทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และภายหลังเสร็จสิ้นการปรึกษา เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ผู้วิจัยสัมภาษณ์คู่สมรสในกลุ่มทดลองด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง ผลการสัมภาษณ์พบว่า คู่สมรสที่ได้รับการปรึกษารูปแบบผสมผสานทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นมีความเข้าใจกัน มีการปรับอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมของตนเองนำไปสู่การหาทางออกที่เหมาะสมในชีวิตสมรสภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> พรปวีณ์ ศรีสุข เพ็ญนภา กุลนภาดล ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์ Copyright (c) 2023 2023-12-30 2023-12-30 40 108 167 177 การเสริมสร้างชุดความคิดในการดำเนินชีวิตของนักเรียนไทยที่ศึกษาต่อในต่างประเทศด้วยการปรึกษาออนไลน์ทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/270015 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนชุดความคิดในการดำเนินชีวิตของนักเรียนไทยที่ศึกษาต่อในต่างประเทศด้วยการปรึกษาออนไลน์ทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาในกลุ่มทดลองระหว่างระยะก่อนทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล และ 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนชุดความคิดในการดำเนินชีวิตของนักเรียนไทยที่ศึกษาต่อในต่างประเทศด้วยการปรึกษาออนไลน์ทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบวัดชุดความคิดในการดำเนินชีวิตที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 23 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 และ&nbsp;2) โปรแกรมการปรึกษาออนไลน์ทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาเพื่อเสริมสร้างชุดความคิดของนักเรียนไทยที่ศึกษาต่อในต่างประเทศ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนสัญชาติไทยที่ศึกษาในต่างประเทศอายุตั้งแต่ 15-20 ปี ได้ไปศึกษาในต่างประเทศ มีความสมัครใจที่จะเข้าร่วมโครงการวิจัย และมีคะแนนชุดความคิดในการดำเนินชีวิตจากการประเมินด้วยแบบวัดชุดความคิดในการดำเนินชีวิตที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นอยู่ในระดับต่ำ (คะแนน 0-27) จำนวน 20 คน ผู้วิจัยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 10 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองจะได้รับการปรึกษาออนไลน์ทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาจำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที และกลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับการปรึกษาออนไลน์ทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญา วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า คะแนนชุดความคิดในการดำเนินชีวิตของนักเรียนไทยที่ศึกษาต่อในต่างประเทศที่ได้รับการปรึกษาออนไลน์ด้วยทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาระยะหลังทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษาออนไลน์ด้วยทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญามีคะแนนชุดความคิดในการดำเนินชีวิตสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการปรึกษาออนไลน์ด้วยทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าการปรึกษาออนไลน์ด้วยทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาสามารถเสริมสร้างชุดความคิดในการดำเนินชีวิตของนักเรียนไทยที่ศึกษาต่อในต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> อภิสรา พงษ์ชมพร เพ็ญนภา กุลภาดา ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์ Copyright (c) 2023 2023-12-30 2023-12-30 40 108 178 188 ผลการจัดการเรียนรู้ดนตรีเบื้องต้นของนักเรียนวงโยธวาทิต ตามแนวคิดแฮร์โรว์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/270016 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะปฏิบัติดนตรีเบื้องต้น ของนักเรียนวงโยธวาทิต โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนวงโยธวาทิต ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนวงโยธวาทิต ประเภทเครื่องเป่าลมไม้ และเครื่องเป่าทองเหลือง โรงเรียนในเครือสารสาสน์เขตการปกครองที่ 10 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 10 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ Warm – ups 6 เรื่อง&nbsp; ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ Performance 4 เรื่อง ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับการปฏิบัติดนตรีเบื้องต้น 2 เรื่อง และแผนการจัดการเรียนรู้ดนตรีเบื้องต้น ของนักเรียนวงโยธวาทิต ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ของวงโยธวาทิต โรงเรียนสารสาสน์วิเทศนครปฐม 12 แผน โดยได้ดำเนินการศึกษาทดลองตามแผนวิจัยขั้นพื้นฐาน (Pre-Experimental Research) แบบหนึ่งกลุ่ม ทำการประเมินทั้งก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (One Group Pretest – Posttest Design) เปรียบเทียบทักษะปฏิบัติดนตรีเบื้องต้นของนักเรียนวงโยธวาทิตโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ เนื่องจากตัวอย่างมีขนาดเล็ก(n=10) เพื่อให้การทดสอบสมมติฐานมีความน่าเชื่อถือผู้วิจัยจึงใช้สถิตินอนพาราเมตริก (nonparametric statistics) มาใช้ในการทดสอบ สถิติพาราเมตริกใช้ Dependent t-test สถิตินอนพาราเมตริกใช้ Wilcoxon signed – ranks test</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบทักษะปฏิบัติดนตรีเบื้องต้น ของนักเรียนวงโยธวาทิต โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ จากการทดสอบโดยใช้สถิติพารามิเตอร์และสถิติไม่ใช้พารามิเตอร์ พบว่ามีความสอดคล้อง ทั้งสองวิธี โดยพบว่า ทักษะการปฏิบัติดนตรีเบื้องต้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสิถิติ ที่ระดับ .01 2) นักเรียนวงโยธวาทิต มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ ที่นักเรียนมีความพึงพอใจสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ดนตรีเบื้องต้น ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ไปถ่ายทอดให้กับผู้อื่นได้ การจัดการเรียนรู้ดนตรีเบื้องต้นตามแนวคิดของแฮร์โรว์ ช่วยให้นักเรียนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น และการจัดการเรียนรู้ดนตรีเบื้องต้น ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ สร้างสรรค์ดนตรีในครัวเรือนได้</p> นฤดล จันทรเพ็ชร์ สุพจน์ เกิดสุวรรณ์ ทองปาน บุญกุศล Copyright (c) 2023 2023-12-30 2023-12-30 40 108 189 201 การประเมินโครงการการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ STEAM สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โดยใช้รูปแบบซิปป์: กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/270017 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ STEAM สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ใช้รูปแบบซิปป์: กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 270 คน ผู้บริหารโครงการ ได้แก่ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ หัวหน้างานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และหัวหน้างานวัดผลและประเมินผล จำนวน 4 คน และอาจารย์ผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ศิลปะ และคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับงานวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลประเมินโครงการการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ STEAM ของอาจารย์และผู้บริหารโครงการ ด้านสภาพแวดล้อม พบว่า ภาพรวมของการประเมินด้านสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}"> = 4.61) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ภาพรวมของการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}"> = 4.39 ) ด้านกระบวนการ พบว่า ภาพรวมของการประเมินด้านกระบวนการอยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}"> = 4.58 ) และด้านผลผลิต พบว่า ภาพรวมของการประเมินด้านผลผลิตอยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}"> = 4.51 ) 2) ผลประเมินโครงการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ STEAM ของผู้เรียน ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ภาพรวมของการประเมินปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}"> = 4.50 ) ด้านกระบวนการ พบว่า ภาพรวมของการประเมินกระบวนการอยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}"> = 4.54 ) และด้านผลผลิต พบว่า ภาพรวมของการประเมินด้านผลผลิตอยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}"> = 4.53 ) 3) ผลประเมินตามตัวชี้วัดการประเมินโครงการการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ STEAM พบว่า ตัวชี้วัดการประเมินโครงการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ STEAM ประกอบด้วย 4 ตัว ได้แก่ ความเหมาะสมด้านสภาพแวดล้อม ความเหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้า ความเหมาะสมด้านกระบวนการ และความเหมาะสมด้านผลผลิต ทุกตัวชี้วัดมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 3.50 คะแนนขึ้นไป มีผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด</p> เพ็ญนภา ประสิทธิ์ อุไร จักษ์ตรีมงคล กาญจนา ตระกูลวรกุล Copyright (c) 2023 2023-12-30 2023-12-30 40 108 202 212 การพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินการอบรมครูสะเต็มศึกษาระดับประถมศึกษา ด้วยการประเมินผลกระทบโดยใช้ทฤษฎีเป็นฐาน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/270018 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ ได้แก่ (1) ผลกระทบของการอบรมครูสะเต็มศึกษาด้วยการประเมินโดยใช้ทฤษฎีเป็นฐาน (2) การอบรมครูสะเต็มศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การร่างทฤษฎีโปรแกรม ขั้นตอนที่ 2. การทำความเข้าใจบริบทของโปรแกรม ขั้นตอนที่ 3 การคาดการณ์ความแตกต่าง ขั้นตอนที่ 4 การประเมินสมมติฐาน ขั้นตอนที่ 5 การวิเคราะห์ข้อเท็จจริง ขั้นตอนที่ 6 การใช้วิธีการเชิงผสม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย&nbsp; เป็นครูที่เข้าร่วมอบรมครูสะเต็มศึกษา จำนวน 6 คน แบ่งตามขนาดโรงเรียน ได้แก่ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล แบบสัมภาษณ์ ใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) ทฤษฎีโปรแกรมการอบรมครูสะเต็มศึกษา ประกอบด้วย ได้แก่ โครงการอบรมครูสะเต็มศึกษา ได้แก่ เจตคติที่ดีต่อการสอนสะเต็มศึกษา ความรู้ด้านเนื้อหารายวิชา ความรู้การจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษา และทักษะการสอนแบบสะเต็มศึกษา และ ได้แก่ คุณภาพนักเรียน (2) ผลกระทบของการอบรมครูสะเต็มศึกษาตามทฤษฎีโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย การอบรมครูสะเต็มศึกษา เจตคติที่ดีการสอนสะเต็มศึกษา ความรู้ด้านเนื้อหารายวิชา ความรู้การจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษา ทักษะการสอนสะเต็มศึกษา และคุณภาพนักเรียน พบว่า&nbsp; ทั้ง 6 ตัวบ่งชี้โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี</p> ธัญญรัศม์ ทองคำ กาญจนา ตระกูลวรกุล Copyright (c) 2023 2023-12-30 2023-12-30 40 108 213 222 การพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครู ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/270019 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ด้วยแนวคิดการประเมินโดยใช้ทฤษฎีเป็นฐาน (2) ผลการประเมินการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตามทฤษฎีโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับใด วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ขั้นตอนที่ 2. การประเมินการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารไปปฏิบัติในสถานศึกษา เก็บข้อมูลโดยใช้ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมิน มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 59 ข้อ แบบสัมภาษณ์ในการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้<strong> (</strong><strong>1) </strong>ทฤษฎีโปรแกรมที่มีสำหรับประเมินการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วยองค์ประกอบของทฤษฎีโปรแกรม 3 ด้าน ได้แก่ ตัวแทรกแซง ประกอบด้วย การพัฒนาครู การประเมินตนเอง การสื่อสารภาษาอังกฤษของครู และการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวกำหนด ประกอบด้วย การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เจตคติที่ดีต่อการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของครู ความมั่นใจในการสื่อสารของครู และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอน ผลลัพธ์ ประกอบด้วย พฤติกรรมการสอนของครู และความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน (2) ผลการประเมินผลกระทบของการประเมินการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย การพัฒนาครู&nbsp; การสื่อสารภาษาอังกฤษของครู การใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ การรับรู้ความสามารถทางภาษาของตนเอง เจตคติต่อการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ความมั่นใจในการสื่อสารของครู ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ พฤติกรรมการสอนภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสาร จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ อยู่ในระดับมาก การประเมินตนเอง ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนของครู ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ อยู่ในระดับปานกลาง</p> ปรมะ พรหมเครือ เรืองเดช ศิริกิจ กาญจนา ตระกูลวรกุล Copyright (c) 2023 2023-12-30 2023-12-30 40 108 223 237 การประเมินกลยุทธ์การนำตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่สำคัญตามวัตถุประสงค์ (OKRs) ไปปฏิบัติในงานสาธารณสุขของจังหวัดราชบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/270020 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการนำกลยุทธ์ที่สำคัญตามวัตถุประสงค์ (OKRs) ไปปฏิบัติในงานสาธารณสุข ของจังหวัดราชบุรี โดยโดยเป็นการประเมินกลยุทธ์ของนโยบายการประเมินที่ใช้ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่สำคัญตามวัตถุประสงค์(OKRs) ซึ่งครอบคลุมการประเมินกลยุทธ์ทั้งตัวกลยุทธ์ กระบวนการ และผลลัพธ์ของนโยบาย ในการประเมินครั้งนี้เน้นประเมินการนำนโยบายการประเมินงานสาธารณสุขไปปฏิบัติ ตามกรอบการประเมินของ Patton and Patrizi (2010) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ลักษณะของกลยุทธ์ องค์ประกอบของกลยุทธ์&nbsp; แนวคิดขององค์กร และการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารของหน่วยงานสาธารณสุขในจังหวัดราชบุรี จำนวน 21 คน หัวหน้ากลุ่มงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี จำนวน 8 คน และผู้รับผิดชอบงานยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาล/สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 21 คน รวม 50 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้สำหรับงานวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แบบประเมินเกี่ยวกับลักษณะของกลยุทธ์ แบบประเมินเกี่ยวกับองค์ประกอบของกลยุทธ์ แบบตรวจสอบรายการสำหรับแนวคิดขององค์กร และแบบสอบถามเกี่ยวกับการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ลักษณะของกลยุทธ์ พบว่า ภาพรวมลักษณะของกลยุทธ์อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดมีผลประเมินอยู่ในระดับดี โดยที่ ตัวชี้วัดความน่าสนใจ และความมีประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 4.90 รองลงมา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 ได้แก่ ความชัดเจน ความเป็นรูปธรรม ความสามารถบรรลุผลได้ การสื่อความหมายได้ และความสามารถประเมินตรวจสอบได้ และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 คือ ความสมเหตุสมผลน่าเชื่อถือ 2) องค์ประกอบของกลยุทธ์ พบว่า ภาพรวมองค์ประกอบของกลยุทธ์อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดมีผลประเมินอยู่ในระดับดี โดยที่ตัวชี้วัดความสัมพันธ์องค์ประกอบของกลยุทธ์อยู่บนฐานของการคิดเชิงระบบ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 4.60 รองลงมา คือ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบกลยุทธ์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 3)&nbsp; องค์ประกอบแนวคิดขององค์กร พบว่า ภาพรวมผลประเมินแนวคิดขององค์กรอยู่ในระดับพอใช้ เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ส่วนใหญ่ตัวชี้วัดอยู่ในระดับดี ได้แก่ การแสดงหลักฐานการพัฒนากลยุทธ์ การวางแผนกลยุทธ์บนพื้นฐานแนวคิดองค์กร การสร้างความ ตกลงร่วมกันเกี่ยวกับกลยุทธ์ การดำเนินงานขององค์กรตามแนวทางของกลยุทธ์ ความสอดคล้องของพันธกิจขององค์กร 4) การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ พบว่า ภาพรวมผลประเมินการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดการยอมรับนโยบายของผู้ปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.53 รองลงมา ได้แก่ การแสดงหลักฐานของการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ การจัดสรรทรัพยากรขององค์กร และความเข้าใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ของผู้ปฏิบัติ</p> สมภพ ห่วงทอง เรืองเดช ศิริกิจ ปิยพงษ์ คล้ายคลึง Copyright (c) 2023 2023-12-30 2023-12-30 40 108 238 248 ภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้นำนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/270021 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประเทศที่พัฒนาแล้วจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ในประเทศ&nbsp; เนื่องจากว่าหากคนในประเทศมีคุณภาพแล้วจะสามารถทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้อย่างมหาศาล และสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศร่วมกันให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงมีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาภาวะผู้นำ โดยเฉพาะการพัฒนาภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้นำนักเรียนที่จะเป็นรากฐานสำคัญของประเทศ เพราะผู้นำนักเรียนที่เป็นเด็กและเยาวชนดังกล่าวที่เป็นคณะกรรมการนักเรียน หัวหน้าคณะสี หัวหน้าชมรม/ชุมนุม/กิจกรรม และหัวหน้าชั้นเรียน ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะเป็นพลังในในการขับเคลื่อนเพื่อนนักเรียนคนอื่น ๆ ต่อไป จึงเป็นการสร้างเยาวชนที่ดีที่จะเป็นพลังสำคัญของชาติต่อไปในอนาคต ภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) การเคารพตนเอง ผู้อื่น และสังคม 2) ความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม 3) การไม่ถือตนเป็นใหญ่ใช้เหตุผลในการทำงาน และ 4) การมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม</p> <p>&nbsp;</p> ธีรวัฒน์ เลื่อนฤทธิ์ โกศล มีคุณ Copyright (c) 2023 2023-12-30 2023-12-30 40 108 249 258