https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/issue/feed วารสารครุทรรศน์ 2023-12-27T00:00:00+07:00 ผศ.ดร.ปิยาภรณ์ พิชญาภิรัตน์ [email protected] Open Journal Systems <p>คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีนโยบายมุ่งพัฒนางานวิชาการของคณะและสร้างพื้นที่การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการของคณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งนักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาทั้งภายในและภายนอก จึงได้ดำเนินการจัดทำวารสารครุทรรศน์ (Journal of UBRU Educational Review) ในปี พ.ศ.2564 โดยเริมฉบับปฐมฤกษ์ปีที่ 1 ฉบับที่ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2564<br />วารสารครุทรรศน์ เป็นวารสารอีเล็กทรอนิกส์ (Online) ได้รับการอนุมัติ ISSN (Online) จากสำนักหอสมุดแห่งชาติตามลำดับดังนี้<br />-วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2564 ได้รับ ISSN: 2773-9821 (Online) <br />- วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2567 ISSN: 3027-7620 (Online) <br />กองบรรณาธิการจะมุ่งมั่นพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) จนกว่าจะได้รับการรับรองมาตรฐานในที่สุด</p> https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/268062 ความต้องการและปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2023-10-26T12:26:40+07:00 พัชนี กุลฑานันท์ [email protected] ชัษษพณขิ์ จันวงค์เดือน [email protected] <p>งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า และกลุ่มที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการสอนในโรงเรียนเอกชนและรัฐบาลที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 100 คน ปีการศึกษา 2565 โดยเป็นกลุ่มที่คาดหวังว่า มีความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21-25 ปี การศึกษา ระดับปริญญาตรี จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร และ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทำงานเอกชน และทำงานในโรงเรียนเอกชน 2) ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 98 คน จากทั้งหมด 100 คน โดยมีความประสงค์เพื่อต้องการ ใบประกอบวิชาชีพ ในการสอบเข้ารับข้าราชการครู ผู้ตอบมีความเชื่อมั่นในมาตรฐานของหลักสูตร อยากให้เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาแบบคิดจากหน่วยกิตที่ลงทะเบียน ต้องการเรียนวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น. การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน อยากให้เน้นเนื้อหาสาระที่เป็นสื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลเน้นทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ และ 3) ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย รองลงมาด้านการส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านค่าใช้จ่ายและสวัสดิการในการศึกษา</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารครุทรรศน์ (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/265381 การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์ เพื่อการปรับทัศนคติและพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของผู้เรียน ในรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี 2023-07-01T08:54:24+07:00 ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ [email protected] จิรานุวัฒน์ เหมันต์ลำเต็ม [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้เรียน ฝึกสมาธิ และพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้เรียนก่อนและหลังการเรียนการพับโอริกามิ โดยเรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร คณะครูและนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านพันเสด็จนอก จำนวน 32 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยการจับสลาก ได้นักเรียนจำนวน 1 ห้องเรียนจาก 3 ห้องเรียน เป็นนักเรียนชั้น ป.6/1 จำนวน 22 คน คณะครูจำนวน 8 คน และรองผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 2 คนเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI 2) แบบประเมินพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ Pre-Test และ Post-Test ผลการวิจัยพบว่า1) ผลการพับโอริกามิโดยการเรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI สร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ สร้างสมาธิและพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ทำให้ผู้เรียนมีสมาธิสูงขึ้นทุกคน โดยผู้เรียนแต่ละคนมีการพัฒนาโดยใช้ระยะเวลาที่แตกต่างกัน 2) ผลการเปรียบเทียบการพับโอริกามิโดยการเรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ก่อนและหลังเรียนพบว่าผู้เรียนมีสมาธิหลังเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนรู้ โดยค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ5.79 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.16 แสดงว่าการพับโอริกามิโดยการเรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ทำให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์และมีสมาธิมากขึ้น ข้อเสนอแนะ 1) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่นักเรียนใช้ศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถภาพปานกลางขึ้นไป และมีการต่อลำโพงและหูฟังให้กับนักเรียนด้วย 2) โทรศัพท์ที่นักเรียนใช้ศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรมีสรรถภาพปานกลางขึ้นไป เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานบทเรียน 3) ครูผู้สอนหรือผู้สนใจที่จะนำกิจกรรมโอริกามิไปบูรณาการกับการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน ควรทำความเข้าใจ กับแผนการจัดกิจกรรมโอริกามิให้ละเอียดเพื่อให้เข้าใจขั้นตอนการสอน 4) ครูควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เนื่องจากเด็กแต่ลละคนมีการเรียนรู้ที่ต้องใช้ระยะเวลาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างกัน</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารครุทรรศน์ (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/264792 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2023-08-16T09:27:59+07:00 สุพรรษา สุวรรณชาตรี [email protected] ปาลิดา สายรัตทอง พัฒนพิชัย [email protected] วิมลมณี นิลมณี [email protected] ซูไลดา สะดี [email protected] นูรยัสมินทร์ สหสันติวรกุล [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และ 2) ศึกษาคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดตานีนรสโมสร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และแบบทดสอบการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ก่อนและหลังฝึกอบรม การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วย t-test แบบ Paired samples test และ One Sample test ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมแบ่งออกเป็น 4 ฐานกิจกรรม ดังนี้ 1. รู้จักฉัน รู้จักเธอ รู้ (ทัน) สื่อออนไลน์ 2. ถอดจิตพินิจสื่อ 3. โปรดใช้ฉันให้เกิดประโยชน์ 4. เอาชีวิตรอดในสื่อออนไลน์ ใช้เวลากิจกรรมละ 1.5 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 6 ชั่วโมง 2) คุณภาพของหลักสูตร พบว่า นักเรียนที่เข้าร่วมหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีคะแนนการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์เฉลี่ยหลังเข้าอบรมโดยภาพรวม สูงกว่าก่อนเข้าอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลังการใช้หลักสูตรฝึกอบรมการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ของนักเรียนชั้นประถมตอนปลายสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารครุทรรศน์ (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/266970 แนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 2023-08-22T12:50:10+07:00 ยุวดี พงษ์ธนธรณ์ พงษ์ธนธรณ์ [email protected] เกรียงศักดิ์ ศรีสมบัติ [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 และ 2) ศึกษาแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้ปฏิบัติงานพัสดุของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 210 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 70 คน และครู จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความสำคัญของความต้องการจำเป็น</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด ตามลำดับ และความต้องการจำเป็นในการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษา โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการเก็บ การบันทึก การเบิกจ่าย ด้านการจัดซื้อจัดจ้าง ด้านการยืม ด้านการบำรุงรักษาและตรวจสอบ และด้านการจำหน่ายพัสดุ ตามลำดับ 2) การศึกษาแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษา พบ 6 แนวทาง ได้แก่ ควรมีส่วนร่วมในการจัดทำคู่มือการจัดซื้อจัดจ้าง ควรจัดระบบขั้นตอนในการขอเบิก-จ่าย และเก็บรักษาพัสดุ ควรมีการตรวจสอบก่อนรับพัสดุคืนทุกครั้ง ควรเอาใจใส่ในการซ่อมบำรุงพัสดุให้ใช้งานได้อยู่เสมอ ควรจัดทำเอกสารหลักฐานในการจำหน่ายพัสดุให้มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ และควรสนับสนุนให้บุคลากรเข้ารับการอบรมพัฒนาความรู้ในการปฏิบัติงานพัสดุ</p> <p> </p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารครุทรรศน์ (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/267525 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของนักเรียน ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิครัตนบุรี สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดสุรินทร์ 2023-10-04T14:07:14+07:00 ปิยะพงษ์ พรหมบุตร [email protected] <p>การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิครัตนบุรี สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการคิดเชิงคำนวณ และ4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิครัตนบุรี สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2/1 จำนวน 34 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ประชากรเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความสามารถในการคิดเชิงคำนวณ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (Paired t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงคำนวณ ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ (1) สร้างแรงบันดาลในใจการเรียนรู้ (2) ขั้นตัดสินใจในการทำงาน (3) ขั้นฝึกฝน (4) ขั้นผลลัพธ์จากการเรียนรู้ และ (5) ขั้นเผยแพร่ผลงาน และประสิทธิภาพของรูปแบบ E<sub>1</sub>/E<sub>2 </sub>เท่ากับ 84.65/89.41 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดเชิงคำนวณหลังเรียนสูงกว่าหรือเท่ากับเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิครัตนบุรี สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารครุทรรศน์ (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/257857 การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ 2022-11-10T13:43:18+07:00 อิชยา กองไชย [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อสังเคราะห์งานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาการฟังและการพูดภาษาอังกฤษทุกระดับชั้น ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2558-2563โดยวิธีการวิเคราะห์อภิมาน โดยประเด็นที่มุ่งศึกษาได้แก่ 1) ลักษณะและปริมาณของงานวิจัย 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าขนาดอิทธิพลจากผลการวิจัยที่เกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นงานวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา ที่เป็นวิทยานิพนธ์ในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนภายในประเทศที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ระหว่างปี พุทธศักราช 2553-2563ที่สามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูล จำนวน 30 เรื่อง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ข้อมูลพื้นฐานของงานวิจัยทั้ง 30เรื่องที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏมีจำนวนงานวิจัยมากที่สุดและสาขาหลักสูตรและการสอนมีจำนวนงานวิจัยมากที่สุด รองลงมาคือสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ปีที่มีการทำการวิจัยมากที่สุดคือ ปีพ.ศ.2555รูปแบบที่ใช้ในการจัดการ เรียนการสอนมากที่สุดคือ การสอนภาษาอังกฤษโดยการสื่อสาร ระดับชั้นที่มีการทำการวิจัยมากที่สุดคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง มากที่สุดอยู่ในช่วงระหว่าง 10-20 ชั่วโมง การเลือกกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะใช้ประการศึกษาขนาดของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในช่วง 11-30คน แบบแผนที่ใช้ในการวิจัยมากที่สุดคือ One Group Pretest-posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการทำการทดลองส่วนใหญ่เป็น แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ และแบบแสดงความคิดเห็น 2) เปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อทักษการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ พบว่าค่าขนาดอิทธิพลของการจัดการเรียนการสอนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่ารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างกันส่งผลทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารครุทรรศน์ (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/269300 การพัฒนาความสามารถและผลสัมฤทธิ์ในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคบาร์โมเดล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2023-12-11T08:53:47+07:00 วรัญญา วิสัยศรี [email protected] ปาริชาติ ประเสริฐสังข์ [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคบาร์โมเดลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคบาร์โมเดล และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคบาร์โมเดล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโคกกกม่วง จำนวน 16 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคบาร์โมเดล 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคบาร์โมเดล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เท่ากับ 77.41/76.56 2. ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนสูงกว่าหลังเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนสูงกว่าหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารครุทรรศน์ (Online) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/269405 ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการพัฒนาการสร้างทีมงานของ กลุ่มโรงเรียน ร้อย,พรรณ,สาคร,บุรี 2023-12-19T10:58:16+07:00 ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ [email protected] บารนี โสภา [email protected] <p>การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการในการสร้างทีมงาน สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนร้อยพรรณสาครบุรี 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการสร้างทีมงานสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนร้อยพรรณสาครบุรี การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการสร้าง ทีมงาน สำหรับผู้บริหาร กลุ่มโรงเรียนร้อยพรรณสาครบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากร กลุ่มโรงเรียนร้อยพรรณสาครบุรี จำนวน 136 คน ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการสร้างทีมงานสำหรับผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนร้อยพรรณสาครบุรี ศึกษาสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) จำนวน 3 โรงเรียน ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความ ต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการสร้างทีมงานโดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการสร้างบรรทัดฐาน ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการประเมินผล ด้านการก่อตั้งทีม และด้านการ วางแผน ตามลำดับ 2) ระดับสภาพที่พึงประสงค์ของการสร้างทีมงาน โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการก่อตั้งทีม ด้านการสร้างบรรทัดฐาน ด้านการ ประเมินผล ด้านวางแผน และด้านการปฏิบัติงาน ตามลำดับ และ 3) การพัฒนาแนวทางการสร้างทีมงานสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนร้อยพรรณสาครบุรีประกอบด้วย 1 ด้าน แนวปฏิบัติ ได้แก่ 1) แนวทางด้วยหลักปฏิบัติ (Discipline) แบ่งเป็น 5 ด้าน มีแนวปฏิบัติ 40 ข้อ</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารครุทรรศน์ (Online)