วารสารครุทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER <p>คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีนโยบายมุ่งพัฒนางานวิชาการของคณะและสร้างพื้นที่การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการของคณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งนักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาทั้งภายในและภายนอก จึงได้ดำเนินการจัดทำวารสารครุทรรศน์ (Journal of UBRU Educational Review) ในปี พ.ศ.2564 โดยเริมฉบับปฐมฤกษ์ปีที่ 1 ฉบับที่ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2564<br />วารสารครุทรรศน์ เป็นวารสารอีเล็กทรอนิกส์ (Online) ได้รับการอนุมัติ ISSN (Online) จากสำนักหอสมุดแห่งชาติตามลำดับดังนี้<br />-วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2564 ได้รับ ISSN: 2773-9821 (Online) <br />- วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2567 ISSN: 3027-7620 (Online) <br />กองบรรณาธิการจะมุ่งมั่นพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) จนกว่าจะได้รับการรับรองมาตรฐานในที่สุด</p> คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี th-TH วารสารครุทรรศน์ 3027-7620 ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้การยืดเหยียดร่างกายแบบอยู่กับที่ด้วยยางยืดที่มีต่อความอ่อนตัวของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโนนชาดผดุงวิทย์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/277558 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้การยืดเหยียดร่างกายแบบอยู่กับที่ด้วยยางยืดที่มีต่อความอ่อนตัวของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโนนชาดผดุงวิทย์ ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโนนชาดผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2567 จำนวน 14 คน ประกอบด้วย นักเรียนชาย จำนวน 3 คน นักเรียนหญิงจำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้การยืดเหยียดร่างกายแบบอยู่กับที่ด้วยยางยืด 2) แบบทดสอบความอ่อนตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยด้วยค่าที (<em>t</em>-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของความอ่อนตัวของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนการฝึกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.09 เซนติเมตร ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.40 เซนติเมตร และหลังการฝึกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.03 เซนติเมตร ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.80 เซนติเมตร และ 2) ค่าเฉลี่ยของความอ่อนตัว หลังการทดลองของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ศักดา สวัสดิ์วร ณัฐวุฒิ ฉิมมา สตาร์ ปาซิโร ณัฐธิดา รักโคตร กิตติพงศ์ มาตสาร Copyright (c) 2024 วารสารครุทรรศน์ 2024-12-06 2024-12-06 4 3 1 9 การพัฒนาระบบบริหารจัดการนิเทศการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/270309 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการนิเทศการสอนในสถานศึกษา 2) พัฒนาระบบนิเทศการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในสถานศึกษาและ 3)ประเมินประสิทธิผลของระบบนิเทศการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูหัวหน้าวิชาการ และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 จำนวน 310 คน โดยใช้ตารางของ Krejcie &amp; Morgan เก็บรวบรวมข้อมูลมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.98 แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการนิเทศการสอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 มีสภาพการปฏิบัติโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก แต่ประเด็นที่ยังมีสภาพปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย และควรนำไปสู่การพัฒนาระบบคือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับการนิเทศการสอน การรักษามาตรฐานการนิเทศการสอนให้เป็นในรูปแบบเดียวกัน และการลดการใช้กระดาษ รวมถึงการประมวลผลที่รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น 2) การประเมินประสิทธิผลของระบบนิเทศการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 พบว่า มีประสิทธิผล อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการจัดเก็บข้อมูล มีประสิทธิผลสูงสุด 3) ความพึงพอใจในการใช้ระบบนิเทศการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในสถานศึกษา พบว่าด้านประสิทธิภาพของระบบตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ สุดารัตน์นิสรีน อุไรวรรณ อาภาภรณ์ พิชยาณัณต์ Copyright (c) 2024 วารสารครุทรรศน์ 2024-12-06 2024-12-06 4 3 10 26 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเกม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/274981 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2. เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชา คณิตศาสตร์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเกม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนการุ้งวิทยาคม อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แบบฝึกทักษะ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเกม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดย Dependent samples t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเกม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเกม มีเจตคติที่มีต่อวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับมาก</p> หทัยทิพย์ พันธ์ศรี ธิติมา สงวนเผ่า ภัทริณี คงชู ฐิติชญาน์ คงชู Copyright (c) 2024 วารสารครุทรรศน์ 2024-12-06 2024-12-06 4 3 27 39 การศึกษาประสิทธิภาพการพัฒนาแบบฝึกทักษะกีตาร์บลูแกรส ตามแนวคิดสมรรถนะ ในรายวิชาปฏิบัติกีตาร์ไฟฟ้า ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/276065 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาแบบฝึกทักษะกีตาร์บลูแกรส ตามแนวคิดสมรรถนะ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการพัฒนาแบบฝึกทักษะกีตาร์บลูแกรส ตามแนวคิดสมรรถนะ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (E1/E2) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 13 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระบียบวิธีวิจัย (Research and Development) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แบบฝึกทักษะกีตาร์บลูแกรสตามแนวคิดสมรรถนะ ประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ 6 หน่วยการเรียนรู้ แบบทดสอบท้ายหน่วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน และเกณฑ์การวัดประเมินผล และ สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาแบบฝึกทักษะกีตาร์บลูแกรสตามแนวคิดสมรรถนะ ประกอบไปด้วย 3 สมรรถนะ ดังนี้ 1. ด้านความรู้ทางดนตรี (Music knowledge) 2. ด้านทักษะทางดนตรี (Music skill) และ 3. เจตคติ/คุณลักษณะ (Attitude/Attribute) 2) แบบฝึกทักษะกีตาร์บลูแกรสตามแนวคิดสมรรถนะ มีประสิทธิภาพ 87.11/89.24 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80</p> รพีพล หล้าวงษา ธนพล ตีรชาติ ณัฐวัฒน์ โฆษิตดิษยนันท์ Copyright (c) 2024 วารสารครุทรรศน์ 2024-12-06 2024-12-06 4 3 40 54 ทิศทางการวิจัยด้านการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในประเทศไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/276441 <p>การเรียนการสอนแบบ Active Learning ไม่ใช่แนวคิดหรือเทคนิคที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ แต่เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีการพัฒนามาตลอดเวลา และมีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และธรรมชาติวิชาว่าจะนำการเรียนการสอนแบบ Active Learning ไปใช้ใน ขั้นตอนไหนของการสอน งานวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้ในการเก็บ และวิเคราะห์ ข้อมูล โดยผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในประเทศไทย โดยเฉพาะ ในระดับอุดมศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 – 2565 คณะผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมจากบทความวิจัย จากระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย (Thai Journals Online (ThaiJo)) จำนวนทั้งสิ้น 139 บทความ พบว่า การเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นกระบวนการเรียน การสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ เช่น การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การระดมสมอง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการทำ กรณีศึกษา เป็นต้น โดยกิจกรรมที่นำมาใช้ควรช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมี วิจารณญาณ การสื่อสาร/นำเสนอ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม บทบาทของผู้เรียน นอกจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน และผู้เรียน กับผู้เรียนด้วยกันด้วย ผู้สอนควรลดบทบาทในการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียนในลักษณะการบรรยายลง และเพิ่มบทบาท ในการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเรียนรู้</p> วทัญญู นาวิเศษ เปรมยุดา เดชบุญ Copyright (c) 2024 วารสารครุทรรศน์ 2024-12-06 2024-12-06 4 3 55 64 ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับระบบงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา อำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/272351 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ภายในสถานศึกษา อำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา อำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับระบบงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา อำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 5 คน และครู จำนวน 157 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตามสัดส่วนของครูแต่ละโรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.984 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารเชิงกลยุทธ์ภายในสถานศึกษา อำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) สภาพการดำเนินงานระบบงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา อำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับระบบงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา อำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> ธงชัย จันทร์กระจ่าง ธีระพัฒน์ ช้อยนิยม ดรัณภพ สุวรรณโน ณัฐภูมิ จับคล้าย ธนากร ชมภูเครือ สถิรพร เชาวน์ชัย Copyright (c) 2024 วารสารครุทรรศน์ 2024-12-06 2024-12-06 4 3 65 79 การพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/275121 <p>การวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนอนุบาลพิบูลมังสาหารวิภาคย์วิทยากร ตำบลพิบูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 27 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมรูปแบบการทดลอง สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ชุดกิจกรรมการทดลอง จำนวน 18 ชุด และแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 15 ข้อ ผลการวิจัยพบว่าเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับการพัฒนาด้วยการใช้ชุดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01</p> ปนิดาพร เทสันตะ ทิพากร บุญกุลศรีรุ่ง Copyright (c) 2024 วารสารครุทรรศน์ 2024-12-06 2024-12-06 4 3 80 95 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหัวข้อการจัดทำงบการเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วยวงจร PAOR สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชีปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/278930 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการใช้วงจร PAOR (Plan-Act-Observe-Reflect) ในการสอนหัวข้อ "การจัดทำงบการเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัด" สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชีชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักศึกษา 29 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนด้วยวงจร PAOR และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบเดิม งานวิจัยใช้การทดสอบก่อนและหลังการเรียนเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และใช้แบบสำรวจความพึงพอใจในการประเมินความคิดเห็นของนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่าวิธีการสอนด้วยวงจร PAOR ทำให้นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเพิ่มขึ้นจาก 55.23% เป็น 78.45% ซึ่งแสดงถึงประสิทธิภาพในการเพิ่มความเข้าใจในเนื้อหา นอกจากนี้ นักศึกษายังแสดงความพึงพอใจในระดับสูงต่อวิธีการสอนนี้ โดยเฉพาะในด้านการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์จริงและผลการเรียนรู้โดยรวม ข้อค้นพบหลักคือ วงจร PAOR มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและเพิ่มการมีส่วนร่วมของนักศึกษาได้อย่างมีนัยสำคัญ</p> สุดาทิพย์ เกษจ้อย Copyright (c) 2024 วารสารครุทรรศน์ 2024-12-10 2024-12-10 4 3 96 107 การพัฒนาวงดนตรีสู่ระดับชาติและนานาชาติ: URU Band มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/276768 <p>บทความนี้สร้างขึ้นเพื่อนำเสนอการพัฒนาสู่เวทีระดับชาติและนานาชาติ ของวง URU Band มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นแนวทางในการพัฒนาและสร้างวงดนตรีสู่เวทีระดับชาติและนานาชาติ ของวง URU Band มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ในครั้งนี้ คือจุดเริ่มต้นของหลายสิ่ง หลายอย่างไปพร้อม ๆ กัน มีกระบวนการการวางแผนการดำเนินงาน การคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมวง URU Band การเลือกบทเพลง กระบวนการฝึกซ้อมและการปรับวง สู่การได้เข้าร่วมแสดงในงาน “เทศกาลดนตรีนานาชาติ” วันที่ 29 – 31 กรกฎาคม 2565 ณ หอประชุมไพรพะยอม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มากกว่าการได้แสดงทักษะด้านดนตรีและความเป็นเอกลักษณ์ของวง URU Band มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ในเวทีระดับชาติและนานาชาติ คือ การได้เชื่อมสัมพันธ์กับพี่น้องดนตรีในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เข้าร่วมแสดง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านดนตรีและประสบการณ์ ทำให้นักศึกษาและหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ได้พัฒนาทุกอย่างไปพร้อม ๆ กัน นักศึกษามีสมรรถนะหลักที่ 3 สามารถบูรณาการการจัดการเรียนรู้ดนตรีควบคู่กับชุมชนและมีทักษะทางดนตรีที่พัฒนา มีสมรรถนะรองที่ 3 มีทักษะทางดนตรีในระดับพัฒนาและมีสมรรถนะรองที่ 4 สามารถควบคุมวงดนตรีในแต่ละประเภทได้ ซึ่งเกิดจากการได้แสดงดนตรีในหนึ่งครั้งนี้ สามารถทำให้ปรับปรุงและพัฒนาสู่เวทีระดับต่อ ๆ ไป อย่างต่อเนื่อง จากรุ่นสู่รุ่น ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณมหาวิทยาลัยที่ได้ให้การสนับสนุนทุก ๆ อย่าง เพื่อให้โอกาสกับนักศึกษาในครั้งนี้ การพัฒนาวงดนตรีสู่ระดับชาติและนานาชาตินั้นจะมีองค์ประกอบในการสร้างและกระบวนการจากพื้นฐานสู่ระดับสากล ประกอบด้วย การวางแผนการดำเนินงาน, รูปแบบของวงที่จะทำการแสดง, การคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมวง URU Band, การเลือกบทเพลง และกระบวนการฝึกซ้อมและการปรับวง</p> ปฐมพงษ์ ธรรมลังกา Copyright (c) 2024 วารสารครุทรรศน์ 2024-12-06 2024-12-06 4 3 108 120 การสร้างระบบการสอนปฏิบัติกลองชุดด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก: ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ชี้นำ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/276702 <p>การจัดการเรียนการสอนปฏิบัติกลองชุด เป็นการสอนเครื่องมือปฏิบัติทางดนตรีที่ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญในการสอนอยู่หลายพื้นที่เชิงรุก คือ รูปแบบสำคัญที่มีส่วนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และเป็นการจัดการเรียนการสอนที่สามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพรูปแบบหนึ่ง บทความวิชาการนี้ สร้างจากการเก็บรวบรวมข้อมูล จากการจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษา และอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลพร้อมกับนำเสนอเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจปรับเปลี่ยนรูปแบบกระบวนการสอนปฏิบัติกลองชุดประเด็นสำคัญ บทความนี้ประกอบด้วย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ การสอนแบบรู้เชิงรุกและผู้ชี้นำ ดังนี้ ผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้สอน ทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับผู้เรียน การเรียนการสอนปฏิบัติกลองชุดที่เป็นศาสตร์ทางการปฏิบัติทักษะเฉพาะ ประกอบด้วย 1)แนวคิด และองค์ประกอบหลักของผู้สอน และ 2)เนื้อหา และองค์ประกอบหลักของบทเรียน การสอนแบบรู้เชิงรุก คือ รูปแบบและวิธีการของแนวทางการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในกระบวนการเรียนรู้ โดยมีการกระตุ้นให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้ ประกอบด้วย การวัดผลและประเมินความก้าวหน้า และกิจกรรมการเรียนปฏิบัติกลองชุดเชิงรุก ผู้ชี้นำที่จะส่งเสริมใหเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เปิดกว้าง กระตุ้นการคิดวิเคราะห์ และวิจารณญาณ ประกอบด้วย ลักษณะและบทบาทของผู้ชี้นำ และ อุปสรรค์ของผู้ชี้นำ</p> กำพร ประชุมวรรณ ธีรวุฒิ มูลเมืองแสน สุวัตน์ ดวงรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารครุทรรศน์ 2024-12-06 2024-12-06 4 3 121 138