วารสารครุทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER <p>คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีนโยบายมุ่งพัฒนางานวิชาการของคณะและสร้างพื้นที่การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการของคณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งนักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาทั้งภายในและภายนอก จึงได้ดำเนินการจัดทำวารสารครุทรรศน์ (Journal of UBRU Educational Review) ในปี พ.ศ.2564 โดยเริมฉบับปฐมฤกษ์ปีที่ 1 ฉบับที่ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2564<br />วารสารครุทรรศน์ เป็นวารสารอีเล็กทรอนิกส์ (Online) ได้รับการอนุมัติ ISSN (Online) จากสำนักหอสมุดแห่งชาติตามลำดับดังนี้<br />-วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2564 ได้รับ ISSN: 2773-9821 (Online) <br />- วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2567 ISSN: 3027-7620 (Online) <br />กองบรรณาธิการจะมุ่งมั่นพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) จนกว่าจะได้รับการรับรองมาตรฐานในที่สุด</p> th-TH piyaporn.p@ubru.ac.th (ผศ.ดร.ปิยาภรณ์ พิชญาภิรัตน์) rattana.p@ubru.ac.th (รศ.ดร.รัตนะ ปัญญาภา) Sat, 27 Apr 2024 19:51:11 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/266020 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยกำหนดรูปแบบการทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/9 โรงเรียนบัวขาว จำนวน 46 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษาที่พัฒนาขึ้นนี้มีชื่อว่า RLRSA Model โดยมีองค์ประกอบดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นทบทวนความรู้เดิม ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ ขั้นสรุป และ ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ 2) ประสิทธิภาพ (E1/E2) ของ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เท่ากับ 87.13 /85.00 ถือว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3) ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ช่อทิพย์ เลิศล้ำ Copyright (c) 2024 วารสารครุทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/266020 Sat, 27 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมตระการพืชผลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/270459 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัย เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 โรงเรียนมัธยมตระการพืชผล ได้จากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียน แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 3 แผน ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เมื่อเทียบจากค่าเฉลี่ยคะแนนทดสอบระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนเพิ่มขึ้น คะแนนคิดเป็นร้อยละ 9.75 อย่างมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ศุภกร สาริราช , วรรณภา โคตรพันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารครุทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/270459 Sat, 27 Apr 2024 00:00:00 +0700 วัฒนธรรมองค์กรในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/271014 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาวัฒนธรรมองค์กรในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2และ2) เปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์กรในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการบริหารสถานศึกษา และขนาดของสถานศึกษากลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 94 คน ครูผู้สอน จำนวน 220 คน รวม 314 คนโดยสุ่มตัวอย่างแบบโควตา ผู้บริหารร้อยละ 30 ครูร้อยละ 70 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าความสอดคล้องระหว่าง 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและเมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยการใช้วิธีของฟิชเชอร์ผลการวิจัยพบว่า: 1) วัฒนธรรมองค์กรในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ผลการเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์กรในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการบริหารสถานศึกษาในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน</p> สุทธิดา ศรีนวลจันทร์, เสริมทรัพย์ วรปัญญา, ภัสยกร เลาสวัสดิกุล Copyright (c) 2024 วารสารครุทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/271014 Sat, 27 Apr 2024 00:00:00 +0700 การส่งเสริมทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมปั้นแป้งโดว์ตามแบบ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/264862 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมปั้นแป้งโดว์ตามแบบและเพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมปั้นแป้งโดว์ตามแบบ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยเพศชายและหญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 10 คน ของโรงเรียนบ้านโพธิ์มูลเพียเภ้า เป็นการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 1 ห้องเรียน ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ได้แก่ วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ วันละ 30 นาที เวลา 09.00 – 09.30 น. จำนวน 24 ครั้ง เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมปั้นแป้งโดว์ตามแบบ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา IOC ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test for Dependent Samples ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมปั้นแป้งโดว์ตามแบบ จำนวน 24 ครั้ง มีทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัยที่ดียิ่งขึ้น พิจารณาจากผลคะแนนรวมเฉลี่ยทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัยที่สูงขึ้นหลังจากทดลอง 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมปั้นแป้งโดว์ตามแบบ พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัย เท่ากับ 24.90 และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัย เท่ากับ 46.50 มีแนวโน้มคะแนนสูงขึ้น</p> อรพิมล ภักดี, นันทิตา โสภาพิศ, พัศมณฉัตร ปาคุต Copyright (c) 2024 วารสารครุทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/264862 Sat, 27 Apr 2024 00:00:00 +0700 การจัดกิจกรรมกลางแจ้งเชื่อมโยงภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถในการเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/264860 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกลางแจ้งเชื่อมโยงภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านโพธิ์มูลเพียเภ้า ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 4 จำนวน 10 คน ใช้ระยะเวลาในการรวบรวมข้อมูล 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เครื่องมือวัด ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที เครื่องมือทดลอง ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมกลางแจ้งเชื่อมโยงภาษาอังกฤษ จำนวน 24 กิจกรรม และ2) สื่อประกอบการเล่นกิจกรรมกลางแจ้งผลการวิจัย พบว่า 1) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกลางแจ้งเชื่อมโยงภาษาอังกฤษ มีการพัฒนาความสามารถในการเข้าใจคำศัพท์ที่ดียิ่งขึ้น พิจารณาจากผลคะแนนรวมเฉลี่ยความสามารถในการเข้าใจภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยที่สูงขึ้นหลังจากทดลอง 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อน และหลังการจัดกิจกรรมกลางแจ้งเชื่อมโยงภาษาอังกฤษ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษเท่ากับ 44.1 และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษเท่ากับ 55.4 มีแนวโน้มคะแนนสูงขึ้น</p> ญาดา เกิดสุข, พัศมณฉัตร ปาคุต, สุมิตรา แสงอุทัย Copyright (c) 2024 วารสารครุทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/264860 Sat, 27 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความสามารถในการสอนของครูตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ระยะเข้าสู่วิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/271151 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการสอนของครูตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น&nbsp; ระยะเข้าสู่วิชาชีพ&nbsp; สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี&nbsp; เขต 3&nbsp; กลุ่มเป้าหมาย&nbsp; ได้แก่&nbsp; ครูตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นฯ รุ่นบรรจุปี 2565&nbsp; จำนวน&nbsp; 7&nbsp; คน&nbsp; ซึ่งบรรจุในเขตพื้นที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่กลุ่มผู้วิจัยเป็นทีมนิเทศ&nbsp; เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบประเมินความสามารถในการสอนของครูตามโครงการฯ&nbsp; เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แผนการจัดการเรียนรู้ของครูแต่ละคน&nbsp; และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการสอนของครูในขณะเปิดชั้นเรียน&nbsp; วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ&nbsp; สถิติที่ใช้ในการวิจัย&nbsp; ได้แก่&nbsp; ค่าเฉลี่ย&nbsp; ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน&nbsp; และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย&nbsp; พบว่า&nbsp; ความสามารถในการสอนของครูตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น&nbsp; ระยะเข้าสู่วิชาชีพ&nbsp; สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี&nbsp; เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก&nbsp; โดยครูมีความสามารถมากที่สุดในด้านการบูรณาการ CBL และมีความสามารถน้อยที่สุดในด้านการบูรณาการ CLIL&nbsp; ซึ่งเป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาครูต่อไป</p> ปริญา ปริพุฒ, รัตนะ ปัญญาภา, จันทร์รุ่ง สัณฑมาศ, ประภัสสร ผลสินธ์, พีรกฤต เครือลุนทีระยุทธ, ศิริวรรณ จันทร์แจ้ง Copyright (c) 2024 วารสารครุทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/271151 Sat, 27 Apr 2024 00:00:00 +0700 การดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/271092 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 และ 2) เปรียบเทียบการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่การปฏิบัติงาน ประสบการณ์ในการบริหาร และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู รวม 314 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และ การทดสอบ LSD ของฟิชเชอร์ผลการวิจัยพบว่า1) การดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่การปฏิบัติงาน ประสบการณ์ในการบริหารและขนาดของสถานศึกษา พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามวุฒิการศึกษาพบว่าไม่แตกต่างกัน</p> เนติกาญจน์ ปักษาศร, ภูวดล จุลสุคนธ์, สรรชัย ชูชีพ Copyright (c) 2024 วารสารครุทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/271092 Sat, 27 Apr 2024 00:00:00 +0700 การแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพเพื่อสร้างเป้าหมาย สู่โลกอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/264470 <p>ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และการประกอบอาชีพการเปลี่ยนแปลงทำให้บางอาชีพสูญหาย และมีอาชีพเกิดใหม่เป็นวัฏจัก อาชีพบางอาชีพที่ตอนนี้สูญหายในขณะที่บางอาชีพเกิดขึ้นใหม่ตามวัฏจักรของการพัฒนาทางเทคโนโลยี ส่งผลต่อเยาวชนในวัยศึกษาเล่าเรียนซึ่งเป็นวัยที่สำคัญในการวางรากฐานให้กับตนเองเพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนอันจะนําไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคตทำให้การกำหนดเป้าหมายแห่งความสำเร็จของเยาวชนเกิดความยุ่งยาก การแนะแนวอาชีพจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่มุ่งส่งเสริมนักเรียน ให้รู้จักตนเอง มีทักษะทางชีวิต สามารถพัฒนาและเลือกเรียนในสาขาที่จะสามารถต่อยอดไปถึงอาชีพในอนาคตได้ หากนักเรียนสามารถกำหนดเป้าหมายได้ ก็จะทำให้นักเรียนดำเนินชีวิตอย่างประสบความสำเร็จ และมีความสุข การแนะแนวอาชีพจึงเป็นหัวใจสำคัญของการส่งเสริมนักเรียนวัยรุ่นให้เข้าใจตนเอง วางแผน สร้างเป้าหมายชีวิต ให้สามารถตัดสินใจเลือกอาชีพที่ตนเองได้</p> จุฑารัตน์ เรณุมาน, ดวงนภา อ่อนเหลือ, ชลัดดา บุญมาก, ปอยขวัญ เขมา, สถิรพร เชาวน์ชัย Copyright (c) 2024 วารสารครุทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/264470 Sat, 27 Apr 2024 00:00:00 +0700 จิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/270460 <p>วิชาชีพครูในปัจจุบันเป็นสิ่งที่สำคัญในมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศต่างตระหนักและให้ความสำคัญ เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าว่าชาชีพครูเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ ที่มีความสำคัญ มีความรักและเมตตา เอาใจใส่ มีความกรุณาในการเลือกสิ่งดีงามมาจัดการเรียนการสอน ออกแบบการเรียนรู้ที่อิงเนื้อหาวิชา และวิชาชีวิตสอดแทรกเข้าไปอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว เป็นเรื่องที่เราควรกระทำในฐานะผู้รับบทบาทหน้าที่การสอนซึ่งสิ่ง ๆ หนึ่งจะเกิดขึ้นได้ จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีต้นแบบที่ดี มีความจำเป็นในการพยายามเปลี่ยนแปลงตนเองเป็นบุคคคลแห่งการเรียนรู้ทั้งภายนอกและภายใน เรื่องราวที่ถูกสั่งสมเป็นประสบการณ์แต่การทำงานเป็นสิ่งที่ได้มากกว่าประสบการณ์คืองานด้านจิตตปัญญาศึกษาที่ค่อย ๆ แทรกซึมลงไปในตัวผู้เรียนผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ อาทิ การเลือกที่จะอยู่กับตนเอง หรือเราเรียกว่า การรู้สึกตัว การมองตนเอง เห็นตนเองอยู่เสมอ มีสติ ตระหนักรู้เรื่องราว ทบทวนตนเองบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดความจริง ความดี ความงาม</p> สิริรัตน์ นาคิน Copyright (c) 2024 วารสารครุทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JER/article/view/270460 Sat, 27 Apr 2024 00:00:00 +0700