https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/issue/feed
วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี
2024-12-31T00:00:00+07:00
รศ.ดร.ธเนศ ธนิตย์ธีรพันธ์
journal.fiet@kmutt.ac.th
Open Journal Systems
<p>วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี (JLIT) เป็นวารสารระดับชาติ ตีพิมพ์เผยแพร่ 2 ครั้งต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการ ในสาขาการศึกษา สาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรม เทคโนโลยีการศึกษา รวมทั้งเทคโนโลยีและสหสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง หรือสาขาด้านเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ทำวิจัยหรือทำงานบริการวิชาการ เชิงบูรณาการศาสตร์ ทำให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ใหม่ ๆ สามารถนำผลงานหรือองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ สร้างคุณค่าและมีผลกระทบต่อการพัฒนาสังคม องค์กร โครงการ หรืออุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ </p>
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/279605
เกษตรอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร : กลไกการพัฒนาชนบทตามรอยพระยุคลบาท สี่ทศวรรษประสบการณ์และบทเรียนจากโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 จังหวัดสกลนคร (พ.ศ 2523 – 2565)
2024-12-03T10:19:53+07:00
สุเมธ ท่านเจริญ
sumate.tan@kmutt.ac.th
เบญจวรรณ ดำรงค์กิจการ
benjawan@m.com
<p>โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 จ.สกลนคร เป็นหนึ่งในโครงการตามพระราชดำริที่มีเป้าหมายในการพัฒนาชนบทแบบบูรณาการ โดยเริ่มจากการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนผ่านการส่งเสริมการเกษตรในระบบเกษตรอุตสาหกรรม เช่น การส่งเสริมการปลูกมะเขือเทศและพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ พร้อมทั้งการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โรงงานนี้ยังทำหน้าที่เป็นต้นแบบของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในชนบท ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรและสร้างวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในระยะต่อมา โรงงานหลวงเปลี่ยนสถานภาพจากโครงการส่วนพระองค์ที่เป็นวิสาหกิจเพื่อการพัฒนา เป็นบริษัทดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ที่เป็นธุรกิจเอกชนเต็มรูปแบบเพื่อผลกำไร อย่างไรก็ตามยังก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ลดการอพยพแรงงาน และส่งเสริมเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญสำหรับอนาคต</p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/267675
ความพร้อมในการเรียนออนไลน์ของนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิในสถานการณ์ความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019
2023-09-20T09:08:24+07:00
พัชรี ศรีน้อย
Srinoi2536@gmail.com
มงคล นามลักษณ์
mongkhon.nar@kmutt.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความพร้อมในการเรียนออนไลน์ของนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ ในสถานการณ์ความไม่แน่นอนของโรคไวรัสโควิด-19 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ จำนวน 352 คน ซึ่งถูกเลือกแบบสุ่มแบบชั้นภูมิ จากทั้ง 11 แผนกวิชา เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามความพร้อมในการเรียนออนไลน์ 8 ด้าน และความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อดี ปัญหาและอุปสรรคในการเรียนออนไลน์ ที่ปรับปรุงจากงานวิจัยในอดีต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่าความพร้อมในการเรียนออนไลน์ของนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิโดยรวม ด้านปัจจัยภายนอก อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.36, S.D. = 0.88) และด้านปัจจัยภายใน อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.39, S.D. = 0.85) นักเรียนนักศึกษาหญิงแสดงระดับความพร้อมสูงกว่านักเรียนนักศึกษาชายอย่างมีนัยสำคัญในด้านแรงจูงใจในการเรียนออนไลน์ นักศึกษาระดับ ปวส. มีความพร้อมมากกว่านักเรียนระดับ ปวช.ในด้านอุปกรณ์เทคโนโลยี การควบคุมตนเอง แรงจูงใจในการเรียน และการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการสื่อสารออนไลน์ นักเรียนนักศึกษาสายพานิชยการมีความพร้อมสูงกว่านักเรียนนักศึกษาสายช่างอุตสาหกรรมอย่างมีนัยสำคัญ ในด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต และด้านแรงจูงใจในการเรียน นอกจากนี้พบว่าข้อดีของการเรียนออนไลน์ที่นักเรียนนักศึกษาให้ความสำคัญมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ 1) สามารถเรียนรู้เนื้อหาซ้ำด้วยตนเอง 2) ความสะดวกในการเรียนอยู่ที่ไหนก็เรียนได้ และ 3) ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเรียน ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการเรียนออนไลน์ที่นักเรียนนักศึกษาให้ความสำคัญมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ 1) ไม่สามารถฝึกทักษะในวิชาภาคปฏิบัติได้จริง 2) มีการบ้านเพิ่มมากขึ้น และ 3) เนื้อหายากที่จะเข้าใจด้วยการเรียนออนไลน์อย่างเดียว</p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/270849
การพัฒนากิจกรรมการโค้ชรูปแบบออนไลน์ เพื่อการรับรู้ความสามารถในการแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตของนักศึกษา
2024-04-29T08:40:08+07:00
ณัฏฐิรา ศุขไพบูลย์
nattila@vru.ac.th
เทิดทูน ไทศรีวิชัย
Terdton@m.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนากิจกรรมการโค้ชรูปแบบออนไลน์เพื่อการรับรู้ความสามารถในการแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการโค้ชรูปแบบออนไลน์เพื่อการรับรู้ความสามารถในแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตของนักศึกษา และ 3) เพื่อสอบถามความคิดเห็นของโค้ชจิตอาสาที่มีต่อกิจกรรมการโค้ชรูปแบบออนไลน์เพื่อการรับรู้ความสามารถในแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ฯ ปีที่ 1-4 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการโค้ชรูปแบบออนไลน์ 2) แบบสอบถามของนักศึกษา และ 3) แบบสอบถามของโค้ชจิตอาสา สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมการโค้ชรูปแบบออนไลน์สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแก้ปัญหา ในการดำเนินชีวิตของนักศึกษาได้ โดยก่อนรับการโค้ชระดับเกณฑ์มาก ( = 4.26, S.D = 0.74) ระหว่างรับการโค้ชระดับเกณฑ์มาก ( = 4.43, S.D = 0.56) หลังรับการโค้ชระดับเกณฑ์มาก ( = 4.44, S.D = 0.47) งานวิจัยนี้จึงสามารถเป็นแนวทางหนึ่งในการจัดกิจกรรมให้กับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพื่อช่วยส่งเสริมทักษะการดำเนินชีวิตให้นักศึกษา ซึ่งสอดคล้องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และยุทธศาสตร์วิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ พ.ศ. 2566-2570</p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/273104
การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจากการฝึกบูรณาการเรียนรู้ร่วมกับการทำงาน ของนักศึกษาภายใต้หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
2024-05-02T11:31:44+07:00
พลศักดิ์ เลิศหิรัญปัญญา
phonsak.ler@kmutt.ac.th
<p>ปัจจุบันตลาดแรงงานนั้นมีความต้องการบุคคลที่มีความสามารถทั้งในด้านความรู้ และทักษะ รวมถึงสามารถที่จะทำงานได้ทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สำเร็จการศึกษาใหม่ หลักสูตรจึงควรมีการเตรียมพร้อมและปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นจากสภาพความเป็นจริงของการดำเนินการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลจากการฝึกบูรณาการเรียนรู้ร่วมกับการทำงานของนักศึกษา งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของนักศึกษาจากการฝึกบูรณาการเรียนรู้ร่วมกับการทำงาน ของนักศึกษาภายใต้หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยทำการศึกษาจากกลุ่มประชากร ได้แก่ นักศึกษาที่ฝึกบูรณาการเรียนรู้ร่วมกับการทำงานภายใต้หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 61 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแปลผลระดับสภาพปัญหาและความต้องการ ผลจากการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาของนักศึกษาที่พบมากที่สุด ได้แก่ ด้านความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ ในประเด็นความรู้ความเข้าใจในงานประจำที่ตนเองรับผิดชอบ โดยมีระดับปัญหาในระดับปานกลาง (μ= 2.85, σ =1.16) และความต้องการของนักศึกษาที่พบมากที่สุด ได้แก่ ด้านความต้องการด้านบุคคล ในประเด็นให้พี่เลี้ยงเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ โดยมีระดับความต้องการในระดับมาก (μ= 3.55, σ =1.25) ผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นข้อมูลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการฝึกบูรณาการเรียนรู้ร่วมกับการทำงานให้มีประสิทธิภาพต่อไป</p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/274249
การพัฒนาระบบจำหน่ายสังฆทานออนไลน์ กรณีศึกษาร้านขวัญเรือน
2024-08-20T14:14:51+07:00
สุรเชษฐ์ จันทร์งาม
surachet.c@chandra.ac.th
พชร วัชรวิภา
Pachara@m.com
ตุลยทรรศ ประสพสิน
Tunyathat@m.com
กฤตพจน์ พรมสา
Kittapot@m.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และออกแบบระบบจำหน่ายสังฆทานออนไลน์ กรณีศึกษาร้านขวัญเรือน <br>2) พัฒนาระบบจำหน่ายสังฆทานออนไลน์ กรณีศึกษาร้านขวัญเรือน และ 3) ประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบจำหน่ายสังฆทานออนไลน์ กรณีศึกษาร้านขวัญเรือน โดยวิธีการดำเนินงานประกอบด้วย การวิเคราะห์และออกแบบระบบโดยใช้ Use Case Diagram, Class Diagram และ Sequence Diagram การพัฒนาระบบใช้ภาษา PHP ใช้โปรแกรม Apache ในการจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์เป็น Web Server และใช้ฐานข้อมูลเป็น MySQL กลุ่มตัวอย่างจำนวน 33 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระบบจำหน่ายสังฆทานออนไลน์ที่ได้ทำการออกแบบและพัฒนานั้น สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย โดยระบบมีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ระดับที่ดี สามารถแสดงข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน มีระดับผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบจำหน่ายสังฆทานออนไลน์ อยู่ที่ค่าเฉลี่ย ( X = 4.21, S.D. = 0.64) ซึ่งความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก</p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/276048
การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับนิทรรศการเพื่อส่งเสริมการรับรู้ เรื่องการถ่ายภาพเพื่อการโฆษณาสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
2024-09-18T11:33:48+07:00
พงศ์ภัค เรืองฤาหาร
Pongpak@m.com
สรกฤช มณีวรรณ
Sorakrich@m.com
ดารุวรรณ ศรีแก้ว
daruwan.sri@kmutt.ac.th
กุลธิดา ธรรมวิภัชน์
kuntida.tha@kmutt.ac.th
<p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสำรวจความต้องการของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับนิทรรศการเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการถ่ายภาพเพื่อการโฆษณาสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับนิทรรศการเรื่องการถ่ายภาพเพื่อการโฆษณา 3) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังชมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับนิทรรศการเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการถ่ายภาพเพื่อการโฆษณา และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับนิทรรศการเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการถ่ายภาพเพื่อการโฆษณาของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 ในรายวิชา ETM 344 การถ่ายภาพขั้นสูงเพื่องานโฆษณา สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา จำนวน 30 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จากผู้เข้าชมนิทรรศการและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้น ผลการวิจัยพบดังนี้ ผลการสำรวจความต้องการในการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับนิทรรศการเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการถ่ายภาพเพื่อการโฆษณา พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76, S.D. = 0.51) คุณภาพด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดี ( = 4.30, S.D. = 0.47) คุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดี ( = 4.42, S.D. = 0.40) ผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างหลังชมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับนิทรรศการสูงกว่าก่อนชมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความพึงพอใจต่อการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับนิทรรศการเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการถ่ายภาพเพื่อการโฆษณาของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.93, S.D. = 0.26) สรุปได้ว่า ผลการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับนิทรรศการเพื่อส่งเสริมการรับรู้ เรื่องการถ่ายภาพเพื่อการโฆษณา สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่พัฒนาขึ้นนั้นมีคุณภาพและสามารถนำไปใช้ได้จริง</p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/277362
การใช้แพลตฟอร์มอัตโนมัติเพื่อติดตามคะแนนการเรียนรายบุคคลสำหรับการศึกษา ออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ
2024-10-31T08:37:25+07:00
อรยา สุขนิตย์
oraya.s@rmutsv.ac.th
สุรสิทธิ์ ศักดา
Surasit@m.com
วลัยรัชช์ นุ่นสงค์
Walairach@m.com
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการใช้แพลตฟอร์มอัตโนมัติเพื่อติดตามคะแนนการเรียนรายบุคคลสำหรับการศึกษาออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ โดยการนำเทคโนโลยีไลน์บอท เป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างผู้เรียนและผู้สอนด้วยระบบตอบกลับอัตโนมัติจากข้อมูลผลการเรียนและข้อความตอบกลับที่ผู้สอนบันทึกไว้ใน googlesheet ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลกันผ่านสถานการณ์ต่างๆ ด้วยแพลตฟอร์มอัตโนมัติ make กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือนักศึกษาที่ศึกษาจำนวน 30 คนและอาจารย์ผู้สอนจำนวน 5 คน โดยประเมินผลการใช้ประโยชน์ด้วยแบบสอบถาม พบว่า 1) กลุ่มนักศึกษามีความเห็นถึงความเหมาะสมในการนำไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับ มากที่สุด กลุ่มผู้สอนมีความเห็นในความเหมาะสมในการนำไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด โดยทั้ง 2 กลุ่มมีความคิดเห็นไปในแนวทางเดียวกัน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p>
2024-12-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี