วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT <p>วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี (JLIT) เป็นวารสารระดับชาติ ตีพิมพ์เผยแพร่ 2 ครั้งต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการ ในสาขาการศึกษา สาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรม เทคโนโลยีการศึกษา รวมทั้งเทคโนโลยีและสหสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง หรือสาขาด้านเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ทำวิจัยหรือทำงานบริการวิชาการ เชิงบูรณาการศาสตร์ ทำให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ใหม่ ๆ สามารถนำผลงานหรือองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ สร้างคุณค่าและมีผลกระทบต่อการพัฒนาสังคม องค์กร โครงการ หรืออุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ </p> คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี th-TH วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี 2773-9740 <p><strong>จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ </strong></p> <ul> <li class="show">กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์พิจารณาบทความที่มีรูปแบบและคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามข้อกำหนดเท่านั้น หากบทความนั้นไม่ตรงตามข้อกำหนด กองบรรณาธิการฯ มีสิทธิ์ในการปฏิเสธลงตีพิมพ์ <ul> <li class="show">ในการขอหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการฯจะออกให้ในกรณีที่บทความนั้นพร้อมที่จะลงตีพิมพ์โดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น</li> <li class="show">การพิจารณาบทความ (Peer review) ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีถือเป็นที่สิ้นสุด ผลงานวิชาการอาจไม่ได้ลงตีพิมพ์ในเล่มที่กำหนดไว้จนกว่าจะผ่านการพิจารณาบทความ (Peer Review) และพร้อมจะลงตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเท่านั้น</li> <li class="show">งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์และสัตว์จะต้องผ่านการประเมินโดยกรรมการจริยธรรมของต้นสังกัด</li> </ul> </li> <li class="show">บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร JLIT</li> </ul> <p>&nbsp;</p> การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับ แนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/268916 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต และเพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่พัฒนาขึ้น ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสยาม จำนวน 13 คน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ผลการวิจัยพบว่าได้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่ประกอบด้วย 1) สร้างความสนใจ (Motivate: M) 2) สำรวจตรวจสอบ (Investigate: I) 3) สร้างมโนทัศน์ (Conceptualize: C) และ 4) ประยุกต์ใช้มโนทัศน์ (Apply: A) และการวัดผลและประเมินผลโดยมีผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน นักศึกษาทีเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มีมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ศิรวิทย์ ปฐมชัยวาลย์ อารีรัตน์ ปฐมชัยวาลย์ อุบลวรรณ ส่งเสริม Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 4 1 19 26 การนิเทศการสอนวิทยาศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/269364 <p>การนิเทศการสอนวิทยาศาสตร์พบปัญหาดังนี้ 1) การขาดคุณภาพและความสามารถในการสอนวิทยาศาสตร์ของครู 2) การขาดความรู้และทักษะการนิเทศของผู้นิเทศการสอนวิทยาศาสตร์ 3) การขาดรูปแบบการนิเทศที่มีความเฉพาะเจาะจงกับการนิเทศการสอนวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้แนวทางการพัฒนาการนิเทศการสอนวิทยาศาสตร์ ได้แก่ 1) สนับสนุนในการฝึกอบรมครูวิทยาศาสตร์และผู้นิเทศ 2) ส่งเสริมให้ครูวิทยาศาสตร์ที่มีทักษะและความโดดเด่นมาสาธิต นิเทศ เป็นพี่เลี้ยง และให้คำแนะนำแก่ครูใหม่ 3) ส่งเสริมทีมครูวิทยาศาสตร์และผู้นิเทศให้ทำงานแบบร่วมมือรวมพลัง 4) สร้างและแบ่งปันการสาธิตผ่านเทคโนโลยีและวิธีการทางกายภาพ 5) ส่งเสริมและยกย่องครูวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพและมีความโดดเด่น จากนั้นสังเคราะห์กระบวนการนิเทศการสอนวิทยาศาสตร์จากการนิเทศแบบคลินิก ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การประชุมปรึกษาก่อนการสังเกตการสอน 2) การสังเกตการสอน 3) การวิเคราะห์และวางแผนกำหนดกลวิธีการประชุมหลังการสังเกตการสอน 4) การประชุมปรึกษาหลังการสังเกตการสอน และ 5) การวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศและการวางแผนการนิเทศต่อเนื่อง</p> ศิรวิทย์ ปฐมชัยวาลย์ มาเรียม นิลพันธุ์ ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 4 1 27 40 การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์โดยใช้ผู้นำเสนอแบบนาโนอินฟลูเอนเซอร์ร่วมกับกิจกรรมการสื่อสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เรื่องการเป็นผู้ประกอบการอาหารฮาลาลสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/272413 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการในการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์โดยใช้ผู้นำเสนอแบบนาโนอินฟลูเอนเซอร์ร่วมกับกิจกรรมการสื่อสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เรื่องการเป็นผู้ประกอบการอาหารฮาลาลสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี 2) เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพสื่อวีดิทัศน์ 3) เพื่อประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์ และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์โดยใช้ผู้นำเสนอแบบนาโนอินฟลูเอนเซอร์ร่วมกับกิจกรรมการสื่อสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เรื่องการเป็นผู้ประกอบการอาหารฮาลาลสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสำรวจความต้องการ แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ แบบประเมินผลการรับรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ดำเนินการโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน จากผู้ที่เรียนในรายวิชา ETM 314 การสร้างเสริมประสบการณ์วิชาชีพทางเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชนในภาคการศึกษาที่ 2/2566 และยินดีตอบแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการศึกษาพบว่า ผลสำรวจความต้องการของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ร่วมกับกิจกรรมการสื่อสาร อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.58, S.D.=0.51) ผู้วิจัยจึงดำเนินการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์โดยใช้ผู้นำเสนอแบบนาโนอินฟลูเอนเซอร์ร่วมกับกิจกรรมการสื่อสาร ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (=4.86, S.D.=0.20) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดี (= 4.22, S.D.=0.62) ผลการประเมินการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างหลังชมสื่อและกิจกรรมสูงกว่าก่อนชมสื่อและกิจรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t-test=-8.24) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด ( 4.70, S.D.=0.45)</p> ชนัญญา ลายสาคร พรปภัสสร ปริญชาญกล กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ ไพฑูรย์ กานต์ธัญลักษณ์ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 4 1 41 54 การพัฒนากระบวนการเรียนรู้จากฐานทรัพยากรชุมชนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/272818 <p>งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ในด้านกระบวนการคิดและการสื่อสารของเยาวชนชายขอบ ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี โดยผู้วิจัยได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 2 - 6 จำนวน 60 คน ของโรงเรียนในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี โดยนำหลักการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ เส้นโค้งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ทักษะการเรียนรู้และการใช้พหุประสาทสัมผัส มาเป็นแกนหลักในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ร่วมกับขั้นตอนในการถ่ายทอดสู่เยาวชน 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 สร้างเยาวชนให้มีความสามารถในการเรียนรู้และมีพื้นที่ปลอดภัยโดยการพี่เลี้ยงเป็นต้นแบบ ขั้นที่ 2 พัฒนาความรู้และทักษะการคิดพื้นฐาน การจดบันทึก การฟัง และการตั้งคำถาม และ ขั้นที่ 3 ใช้ความรู้และทักษะในบริบทจริงและถ่ายทอดให้กับผู้อื่น และใช้ทรัพยากรที่มีในโรงเรียนหรือในชุมชนมาเป็นสื่อใน การเรียนการสอน ออกแบบให้กิจกรรมมีความต่อเนื่อง และมีระบบนิเวศการเรียนรู้ที่เหมาะสม ประเมินผลการออกแบบและผลลัพธ์การเรียนรู้ ด้วยการทำสนทนากลุ่ม การสังเกต และการจดบันทึก กับครูและเยาวชน พบว่าการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีการข้างต้น ช่วยให้เยาวชนมีความรู้และประสบการณ์การเรียนในรูปแบบใหม่ ส่งผลให้เกิดความใส่ใจและเห็นประโยชน์ของการเรียนมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาทักษะด้านการคิด ด้านการเรียนรู้และการใช้ชีวิต มากขึ้น การสื่อสาร ตลอดจนสามารถทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงตัวเองจากภายในได้อย่างแท้จริง</p> ปณัตดา ยอดแสง สมพงษ์ เผือกเอี่ยม Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 4 1 55 63 การเรียนรู้เชิงรุกเพื่อหลีกเลี่ยงการโดนกันตามกฎ COLREGs 1972 โดยการจำลองการเดินเรือผ่านเว็บแอปพลิเคชัน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/273159 <p>กฎ COLREGs 1972 เป็นสิ่งที่นักเดินเรือจำเป็นต้องเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้แบบบรรยายไม่สามารถทำให้เข้าใจได้เท่ากับการลงมือปฏิบัติจริงหรือเรียนรู้ผ่านระบบจำลอง แต่ข้อเสียคือมีค่าใช้จ่ายสูง รองรับผู้เรียนได้น้อย ทางศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีจึงได้พัฒนาระบบจำลองการเดินเรือขึ้นชื่อ CASim สำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเกี่ยวกับกฎ COLREGs 1972 การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ประเมินคุณภาพของระบบจำลองการเดินเรือ CASim โดยผู้เชี่ยวชาญ 2) เปรียบเทียบผลลัพธ์การเรียนรู้ที่จัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับระบบจำลองการเดินเรือ CASim กับการเรียนแบบดั้งเดิม และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนเดินเรือพาณิชย์ ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนตามแผนการเรียนวิชาการเข้ายามฝ่ายเดินเรือ ภาคการศึกษาที่ 1/2565 และ 1/2566 จำนวน 120 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ระบบจำลองการเดินเรือ CASim 2) แบบประเมินคุณภาพของ CASim 3) แบบทดสอบวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพของระบบจำลองการเดินเรือ CASim โดยผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับการใช้ระบบจำลองการเดินเรือ CASim สูงกว่าการเรียนรู้แบบดั้งเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก</p> ธนรุจ โรจน์มานะวงศ์ สุพัตรา ชะมะบูรณ์ อาริสา ธาตุเสถียร จตุพล จตุรภัทร Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 4 1 64 72 โครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ : การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อปลูกฝังทักษะในศตวรรษที่ 21 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/271583 <p>ระบบการศึกษาในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อต้อนรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เน้นการพัฒนาความรู้ ทักษะ และความสามารถที่จำเป็น ให้แก่ผู้เรียนเพื่อประสบความสำเร็จในการเผชิญหน้ากับเหตุการณ์จริงทางสังคม และเศรษฐกิจ และผู้เรียนที่มีสมรรถนะการเป็นพลเมืองที่ดีที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศและระบบสังคมโดยรวม งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษารูปแบบและประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ที่มีการนำร่องในวิทยาลัยในสังกัดของสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยมีมหาวิทยาลัยในบริเวณใกล้เคียงเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำและความช่วยเหลือในการดำเนินโครงการ หลักสูตรของโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์มีรายวิชาพื้นฐานเช่นเดียวกับสายสามัญ และมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาสาระวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาขางานช่าง รวมทั้งเกิดทักษะด้านการปฏิบัติงานอย่างเข้มข้นซึ่งอาศัยโครงงานที่หลอมรวมเนื้อหาสาระและทักษะปฏิบัติเข้าด้วยกัน และประยุกต์ใช้หลักการเรียนรู้เชิงบูรณาการแบบใช้โครงงานเป็นฐานที่มีความเชื่อมโยงกับปัญหาหรือสภาพความเป็นจริงในภาคประกอบการหรือภาคธุรกิจหลักของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าจุดเด่นของโครงการฯ คือ การนำโครงงานมาใช้เป็นแกนในการจัดการเรียนรู้ทั้งในส่วนของรายวิชาและการบูรณาการกับกิจกรรมขนานหลักสูตรที่มุ่งส่งเสริมสมรรถนะ แต่จุดอ่อนคือการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนที่มุ่งเน้นเนื้อหาสาระ และทักษะเฉพาะบางทักษะเท่านั้น ทำให้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ไม่เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรม สถานศึกษาควรเน้นเรื่องการบูรณาการการทำงานและการวิจัยในชั้นเรียนอย่างเป็นระบบ</p> วิศิษฎ์ศรี วิยะรัตน์ สริญญา เกิดไพบูลย์ คมกฤตย์ ชมสุวรรณ พิเชษฐ์ พินิจ อนุศิษฏ์ อันมานะตระกูล เอกรัตน์ รวยรวย สันติรัฐ นันสะอาง มงคล นามลักษณ์ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 4 1 1 12 บทบาทของปัญญาประดิษฐ์ในการศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/274911 <p>การเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีส่งผลกระทบอย่างมากต่อสังคมในทุกมิติ โดยเฉพาะในด้านการศึกษา บทความนี้กล่าวถึงการใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science Education) โดยมุ่งเน้นที่การใช้ AI เพื่อเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้และประสิทธิภาพการสอนให้ดีขึ้น &nbsp;ได้แก่ ระบบติวเตอร์ส่วนตัว (AI Tutoring System) การเรียนรู้ที่ปรับได้รายบุคคล (AI Adaptive Learning) ที่สนับสนุนการเรียนรู้โดยสามารถปรับให้เหมาะสมกับระดับความสามารถที่แตกต่างกันของผู้เรียนรายบุคคล ซึ่งช่วยพัฒนาผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ AI ยังสามารถลดภาระงานของผู้สอนและ ช่วยติดตามความก้าวหน้าการเรียนรู้ของนักเรียนในห้องเรียนได้แบบทันที ทำให้ผู้สอนสามารถมุ่งเน้นไปที่กิจกรรมการสอนที่สำคัญ สร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้ที่สูงขึ้น และเพิ่มการมีสวนร่วมกับผู้เรียน อย่างไรก็ตาม การนำ AI มาใช้ในการศึกษายังมีความท้าทายที่ผู้ใช้งานจำเป็นต้องศึกษาอย่างถี่ถ้วนเพื่อให้เข้าใจและสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI ได้อย่างรู้เท่าทันและมีประสิทธิภาพ</p> อภิญญา หิรัญญะเวช Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 4 1 13 18