วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT <p>วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี (JLIT) เป็นวารสารระดับชาติ ตีพิมพ์เผยแพร่ 2 ครั้งต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการ ในสาขาการศึกษา สาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรม เทคโนโลยีการศึกษา รวมทั้งเทคโนโลยีและสหสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง หรือสาขาด้านเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ทำวิจัยหรือทำงานบริการวิชาการ เชิงบูรณาการศาสตร์ ทำให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ใหม่ ๆ สามารถนำผลงานหรือองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ สร้างคุณค่าและมีผลกระทบต่อการพัฒนาสังคม องค์กร โครงการ หรืออุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ </p> th-TH <p><strong>จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ </strong></p> <ul> <li class="show">กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์พิจารณาบทความที่มีรูปแบบและคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามข้อกำหนดเท่านั้น หากบทความนั้นไม่ตรงตามข้อกำหนด กองบรรณาธิการฯ มีสิทธิ์ในการปฏิเสธลงตีพิมพ์ <ul> <li class="show">ในการขอหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการฯจะออกให้ในกรณีที่บทความนั้นพร้อมที่จะลงตีพิมพ์โดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น</li> <li class="show">การพิจารณาบทความ (Peer review) ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีถือเป็นที่สิ้นสุด ผลงานวิชาการอาจไม่ได้ลงตีพิมพ์ในเล่มที่กำหนดไว้จนกว่าจะผ่านการพิจารณาบทความ (Peer Review) และพร้อมจะลงตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเท่านั้น</li> <li class="show">งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์และสัตว์จะต้องผ่านการประเมินโดยกรรมการจริยธรรมของต้นสังกัด</li> </ul> </li> <li class="show">บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร JLIT</li> </ul> <p>&nbsp;</p> [email protected] (รศ.ดร.ธเนศ ธนิตย์ธีรพันธ์) [email protected] (น.ส.ศุภาพิชญ์ โชติโก) Fri, 29 Dec 2023 22:36:59 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การส่งเสริมความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สินเชื่อด้วยมัลติมีเดียนาโนเลิร์นนิง สำหรับพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/261433 <p>มัลติมีเดียนาโนเลิร์นนิง (Multimedia Nano Learning) ถือเป็นกลยุทธ์ที่กำลังได้รับความนิยมการพัฒนาบุคลากรจากองค์กรชั้นนำ เพราะเป็นลักษณะหน่วยการเรียนรู้ขนาดเล็ก ผู้เรียนง่ายต่อการเข้าถึงโดยไม่จำกัดทั้งช่วงเวลาสถานที่ งานวิจัยนี้จึงมุ่งนำกลยุทธ์ดังกล่าวมาพัฒนาสื่อมัลติมีเดียนาโนเลิร์นนิงเพื่อส่งเสริมความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สินเชื่อของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พร้อมทั้งเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนจากสื่อดังกล่าว และเปิดให้เรียนรู้อย่างอิสระผ่านบทเรียนนาโนเลิร์นนิงบนแพลตฟอร์ม Line Official Application ซึ่งเป็นไปตามลักษณะ Learn Fast, Learn Well, and Learn all the Time. ตลอดจนเก็บข้อมูลโดยใช้แบบแบบทดสอบความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สินเชื่อก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบทดสอบคู่ขนาน ผลการวิจัย พบว่า ความรู้ด้านสินเชื่อของพนักงานหลังเรียน (X ̅=7.80, S.D. 3.66) มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นก่อนเรียน (X ̅=5.30, S.D. 1.54) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> วรากร พรหมมณี Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/261433 Fri, 29 Dec 2023 00:00:00 +0700 เฉดสีของกระดาษและการลามิเนตชนิดเงาส่งผลต่อสีของงานพิมพ์ออฟเซต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/262542 <p>วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษาสีของกระดาษ และการลามิเนตเงาส่งผลต่อสีของงานพิมพ์และการตัดสินใจยอมรับงานพิมพ์ของกลุ่มตัวอย่าง โดยเลือกกระดาษที่มีสีต่างกัน 3 ตัวอย่าง กระดาษชนิด A คือ กระดาษสีขาว กระดาษชนิด B คือ กระดาษสีขาวอมฟ้า และกระดาษชนิด C คือ กระดาษสีขาวอมแดง สร้างแม่พิมพ์ที่มีแบบทดสอบสีภาพพิมพ์และทำการพิมพ์ทดสอบลงบนกระดาษทั้ง 3 ชนิด จากนั้นนำตัวอย่างกระดาษทั้ง 3 ชนิดไปลามิเนตเงา นำมาเปรียบเทียบสี ขอบเขตสีของงานพิมพ์ และความแตกต่างสีของภาพพิมพ์บนกระดาษ 3 ชนิด ภาพพิมพ์ก่อนและหลังลามิเนตเงาบนกระดาษแต่ละชนิด ประเมินความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า สีของกระดาษมีผลต่อสีของงานพิมพ์ กระดาษเฉดสีขาวอมฟ้าให้ภาพพิมพ์แสดงขอบเขตสีช่วงสีน้ำเงินมากขึ้น ส่วนกระดาษที่มีสีขาวอมแดงก็จะทำให้ภาพพิมพ์ที่ได้แสดงขอบเขตสีช่วงสีแดงมากขึ้นเช่นกัน ส่วนการลามิเนตเงานั้นจะทำให้ภาพพิมพ์ที่ได้แสดงขอบเขตสีช่วงสีเหลืองเพิ่มขึ้น และจะมีผลกระทบต่อสีเขียวบนภาพพิมพ์มากที่สุด ภาพพิมพ์บนกระดาษชนิด A ก่อนและหลังลามิเนตเงามีค่าความแตกต่างสีน้อยที่สุด เมื่อนำภาพพิมพ์ที่ได้จากกระดาษทั้ง 3 ชนิด มาให้กลุ่มตัวอย่างเลือก พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มากกว่า ร้อยละ 50 เลือกภาพพิมพ์ที่ได้จากกระดาษชนิด A โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า ภาพพิมพ์ที่ได้จากกระดาษพิมพ์ชนิด A ให้สีของภาพพิมพ์ที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด</p> พงศ์ยุทธ์ จั่นทอง Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/262542 Fri, 29 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/263431 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ 3) เพื่อหาประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 จำนวน 34 คน จากวิทยาลัยเทคโนโลยีสุวรรณภูมิบริหารธุรกิจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีคุณภาพในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.45 ค่าประสิทธิภาพของบทเรียนเท่ากับ 84.93/88.63 ค่าประสิทธิผลทางการเรียนรู้ของผู้เรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.84 ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.67</p> จุฑามาศ เทียนสว่าง, อลิสา ทรงศรีวิทยา Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/263431 Fri, 29 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้โปรแกรมตารางงาน ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/263452 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หาประสิทธิภาพของบทเรียน หาประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และหาความพึงพอใจของผู้ใช้งานบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การใช้โปรแกรมตารางงาน ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีสุวรรณภูมิบริหารธุรกิจ จังหวัดสมุทรปราการ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 34 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้โปรแกรมตารางงาน ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.35 ค่าประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เท่ากับ 84.06 / 85.78 ค่าประสิทธิผลทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.35 ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64</p> ปิยฉัตร สมพงษ์, อลิสา ทรงศรีวิทยา Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/263452 Fri, 29 Dec 2023 00:00:00 +0700 การสำรวจทัศนคติของผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่มีต่อเทคโนโลยี จักรวาลนฤมิตรในการเรียนภาษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/264666 <p>This research aims to explore the attitudes of English as Foreign Language learners towards virtual reality technology in language learning and to highlight the most recent developments and future possibilities in the field of VR technology usage in language learning. In this study, one-group pre- and post-test design was used to collect and analyze the data on students' attitudes before and after. Additionally, an explanation of VR learning experiences in English classes (GE course) was provided in detail. The questionnaires were analyzed to determine the students' perspectives on the use of VR technology in English language education. After gaining an understanding and trial of VR technology in language learning, the students' attitudes toward VR interactivity in language learning was significantly different, as shown by the results. With a mean score of 4.57, the results showed that English as Foreign Language learners had a positive view of VR technology as a way to learn a language in immersive learning. Most of the interviewees' points of view fell into three main categories: 1) interaction, 2) concentration, and 3) memorization. Future study directions are recommended in order to determine the implications of virtual reality on language acquisition.</p> สุธาสินี ขุนทองนุ่ม Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/264666 Fri, 29 Dec 2023 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบปรับตัวเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศตามนโยบายการจัดการอาชีวศึกษา 4.0 ของประเทศไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/265111 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะ องค์ประกอบ และนำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบปรับตัวเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศตามนโยบายการจัดการอาชีวศึกษา 4.0 ของประเทศไทย โดยการศึกษาจากเอกสารและข้อมูลเชิงประจักษ์รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ จำนวน 15 คน แล้วพัฒนาเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบปรับตัวเชิงกลยุทธ์ 3 ด้าน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนตัว การพัฒนางานเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ และการพัฒนาบุคลากรและการปรับตัววิถีใหม่ จากนั้นนำไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและบุคลากรของสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จำนวน 426 คน การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การตรวจสอบองค์ประกอบด้วยวิธีวิทยาวิจัยสามเส้าด้านข้อมูล และการยืนยันร่างแนวทางโดยวิธีการสนทนาอิงผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำแบบปรับตัวของผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมุ่งสู่ความเป็นเลิศตามนโยบายการจัดการอาชีวศึกษา 4.0 ของประเทศไทยมี 9 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การสร้างบารมีและแรงบันดาลใจ (2) การคำนึงถึงปัจเจกบุคคลและทำงานเป็นทีม (3) การมีกลยุทธ์และแสวงหาโอกาสในการปรับตัว (4) การสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษา (5) การสร้างวัฒนธรรมองค์กรเชิงบวก (6) การสร้างบรรยากาศและค่านิยมร่วมเชิงสร้างสรรค์ (7) การมีวุฒิภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม (8) การปรับเปลี่ยนแนวคิดและกระตุ้นทางปัญญา และ (9) การพัฒนาทักษะเชิงดิจิทัลเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารให้มีภาวะผู้นำที่ปรับตัวเชิงกลยุทธ์ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับอาชีวศึกษาเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศตามนโยบายการจัดการอาชีวศึกษา 4.0 ของประเทศไทย</p> พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, ปภาภัทร แสงแก้ว, ปรางทิพย์ เสยกระโทก Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/265111 Fri, 29 Dec 2023 00:00:00 +0700 ชุดสื่อเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง โรคซึมเศร้า ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/265353 <p>โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง ทำให้ผู้ที่เป็นรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า ไม่มีใครสนใจ รู้สึกสิ้นหวัง เป็นภัยเงียบที่นำไปสู่การทำร้ายตัวเองทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าโรคนี้จะรักษาไม่ได้ มันมีโอกาสรักษาให้หายได้ เพียงต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้นจะดีกว่าไหม ถ้าเรามีความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง โรคซึมเศร้า เพื่อให้สามารถดูแลตัวเองและคนรอบข้างได้อย่างปลอดภัย ซึ่งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดสื่อเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง โรคซึมเศร้า 2) ศึกษาคุณภาพของชุดสื่อ 3) เปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง โรคซึมเศร้า ก่อนและหลังรับชมผ่านชุดสื่อ 4) วิเคราะห์คะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพตามองค์ประกอบ 5) ประเมินความพึงพอใจ ระยะเวลาในการทำวิจัยตั้งแต่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ถึง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) ชุดสื่อเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง โรคซึมเศร้า 2) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อ 3) แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง โรคซึมเศร้าก่อนเรียนและหลังเรียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการศึกษาพบว่า 1) ชุดสื่อประกอบด้วย 1. สื่ออินโฟกราฟิก จำนวน 9 แผ่น 2. สื่อโมชันกราฟิก 1 คลิป ความยาว 10.28 นาที 2) คุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (<img title="\small \bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\small&amp;space;\bar{X}" /> = 5.00, S.D. = 0.00) คุณภาพด้านสื่ออยู่ในระดับดีมาก (<img title="\small \bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\small&amp;space;\bar{X}" /> = 4.82, S.D. = 0.30) 3) กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง โรคซึมเศร้า หลังรับชม (<img title="\small \bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\small&amp;space;\bar{X}" /> = 41.67) สูงกว่าก่อนรับชม (<img title="\small \bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\small&amp;space;\bar{X}" /> = 34.27) ชุดสื่อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมผ่านเกณฑ์จำนวนมากที่สุดอยู่ในระดับปฏิสัมพันธ์ รองลงมาอยู่ในระดับพื้นฐานและระดับวิจารณญาณ โดยคิดเป็นร้อยละ 96.67, 93.33 และร้อยละ 93.33 ตามลำดับ 5) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\small \bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\small&amp;space;\bar{X}" /> = 4.78, S.D. = 0.19) เนื่องจากได้มีการออกแบบเนื้อหาโดยใช้คำอธิบายที่สั้น กระชับ ชัดเจน ทำให้ผู้รับชมสามารถเข้าใจเรื่องนั้น ๆ ได้อย่างตรงกัน</p> ศิรินฤดี ยศโสทร, อรวรรณ งอยผาลา, ประภัสสร วงษ์ดี, วัลลภา วาสนาสมปอง Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/265353 Fri, 29 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/266505 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง 2) เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง 3)เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีจับฉลากห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) สื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง 2) แบบประเมินคุณภาพของสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง ผลการศึกษาพบว่า สื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง ที่สร้างขึ้นมีลักษณะเป็นสื่อวีดิทัศน์ที่ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับเนื้อหาที่อยู่ภายในได้ ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาได้อย่างอิสระ สื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ มีคุณภาพเนื้อหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( <img title="\small \bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\small&amp;space;\bar{X}" /> = 4.64, S.D. = 0.49) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่ออยู่ในระดับดี ( <img title="\small \bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\small&amp;space;\bar{X}" /> = 4.26, S.D. = 0.52) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนมีคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง อยู่ในระดับมากที่สุด(<img title="\small \bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\small&amp;space;\bar{X}" /> = 4.86, S.D. = 0.36 ) จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนได้</p> ญาณิศา สุวรรณปาล, ภัสกร ตั้งชาญตรงกุล, เพียงเพ็ญ จิรชัย, ไพฑูรย์ กานต์ธัญลักษณ์ Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/266505 Fri, 29 Dec 2023 00:00:00 +0700 สิ่งท้าทายและโอกาสของการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/269262 <p>การเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันได้มีผลกระทบต่อการเรียนการสอนในวิชาต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในสาขาวิชาการพิมพ์ ที่เนื้อหายังเน้นไปที่กระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์ทั่วไปประเภทหนังสือ วารสาร โฆษณาและบรรจุภัณฑ์ เป็นหลัก ในขณะที่ความเป็นจริงมูลค่าของอุตสาหกรรมการพิมพ์ทั้งของโลกและไทยจะมาจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่นำเทคโนโลยีการพิมพ์ไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและนำไปใช้งานได้มากกว่า ประกอบกับเทคโนโลยีอุบัติใหม่เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้กระบวนการผลิตงานพิมพ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น อัตโนมัติ คุณภาพสูง และลดต้นทุน รวมทั้งแนวคิดธุรกิจนวัติกรรมและยั่งยืน ซึ่งยังเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการองค์ความรู้เหล่านี้เข้าไปช่วย ทำให้บุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ผสมดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่ง</p> อรัญ หาญสืบสาย Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/269262 Fri, 29 Dec 2023 00:00:00 +0700 การรู้การประเมิน : การประเมิน ความก้าวหน้าในการเรียนรู้ และ การกำหนดเกรดที่ถูกต้องและเป็นธรรมตามแนวคิดการจัดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/263350 <p>กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ประกาศใช้รูปแบบการจัดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์ (Outcome-Based Education-OBE) เพื่อขับเคลื่อนอุดมศึกษาไทย หลักคิดสำคัญของ OBE คือ กำหนดภาพที่ชัดเจนของสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องรู้ เข้าใจ และทำได้ จัดโครงสร้างการสอน และออกแบบการประเมินเพื่อให้มั่นใจว่าผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอการรู้การประเมินที่เป็นแก่นสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดีขึ้นตามความมุ่งหมายของ OBE ที่ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในทุกระดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สอนต้องเรียนรู้และสร้างความเข้าใจ การรู้การประเมินประกอบด้วยการประเมิน ความก้าวหน้าในการเรียนรู้ และการกำหนดเกรดที่ถูกต้องและเป็นธรรม บทความนำเสนอรายละเอียดทั้งในแง่มโนทัศน์และการปฏิบัติในเบื้องต้นเพื่อสะท้อนภาพทฤษฎีให้เห็นเป็นรูปธรรม ทั้งนี้เพื่อปรับเปลี่ยนการประเมินให้สอดคล้องกับหลักการของ OBE</p> พิเชษฐ์ พินิจ, อนุศิษฏ์ อันมานะตระกูล, เอกรัตน์ รวยรวย Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/263350 Fri, 29 Dec 2023 00:00:00 +0700