https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/issue/feed
วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ( Journal of Management and Development Ubon Ratchathani Rajabhat University)
2024-06-30T17:45:14+07:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.อำไพ ยงกุลวณิช
EditorJMD.UBRU@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong>ประวัติการดำเนินงาน</strong><br /> วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เริ่มดำเนินการเผยแพร่ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2557 มีการเผยแพร่อย่างต่อเนื่องปีละ 2 ฉบับ ปี พ.ศ. 2560 วารสารฯ ได้รับการรับรองคุณภาพตามกรอบมาตรฐานของศูนย์อ้างอิงวารสารไทย กลุ่มที่ 2 (TCI: Thai Journal Citation Index Centre) และปัจจุบัน วารสารฯ ยังคงคุณภาพตามกรอบมาตรฐาน TCI กลุ่มที่ 2 จากการประเมินคุณภาพวารสารในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 (พ.ศ. 2563 - 2567)</p>
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/275459
การพัฒนาด้านสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร
2024-06-30T17:30:40+07:00
สมภพ จูโล่ห์
somphopj@hotmail.com
พุฒิธร จิรายุส
somphopj@hotmail.com
<p>บทความเรื่องการพัฒนาด้านสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้และความรับผิดชอบต่อแนวทางการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนขององค์กร การพัฒนาที่ยั่งยืนคือการดำเนินธุรกิจไม่ว่าขนาดใหญ่หรือเล็กจำเป็นต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายหลายด้านธุรกิจต้องปรับตัวและพัฒนาตนเองอยู่เสมอเพื่อให้สามารถอยู่รอดและเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนจึงเป็น “เรื่องสำคัญ” ที่ทุกธุรกิจต้องมีการวางแผนจัดการและบูรณาการตามลักษณะขององค์กร</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/275460
แนวทางการบริหารจัดการที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอดในภาวะวิกฤตของสายการบินต้นทุนต่ำ
2024-06-30T17:35:22+07:00
ณัฏฐน์ บุณยวิชญ์กานนท์
boytmk@gmail.com
พุฒิธร จิรายุส
boytmk@gmail.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอดในภาวะวิกฤตของสายการบินต้นทุนต่ำ ผลการศึกษาถือเป็นองค์ความรู้ใหม่สำหรับแนวทางการบริหารจัดการที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอดในภาวะวิกฤตของสายการบินต้นทุนต่ำ ที่รู้จักในนาม AIC MODEL ประกอบด้วยแนวทางสำคัญ 3 ประการ คือ 1) ปรับตัว หมายถึง ผู้ประกอบการต้องมีความรู้ความเข้าใจทั้งในเรื่องการบริการจัดการธุรกิจให้ประสบความสำเร็จและอยู่รอด และต้องเข้าใจวิกฤตการณ์จริงที่เกิดขึ้นเพื่อประมวลเป็นองค์ความรู้ในการปรับแนวทางหรือทิศทางดำเนินธุรกิจให้อยู่รอด 2) ปรับปรุง หมายถึง นำเอาข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาปรับใช้เพื่อปรับปรุงองค์การให้เหมาะสมกับบริบททางธุรกิจและสถานการณ์วิกฤตที่เกิดเพื่อให้องค์การสามารถดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จและอยู่รอดได้ในภาวะวิกฤต และ 3) เปลี่ยนแปลง หมายถึง การปรับเปลี่ยนองค์การอาจเป็นการปรับเปลี่ยนทั้งหมดที่เรียกว่า “พลิกโฉม” หรือปรับเปลี่ยนบางแผนกที่เป็นจุดอ่อนเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาด </p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/275421
การบริหารจัดการองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของบุคลากรสำนักงานป้องกัน ควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
2024-06-29T19:47:42+07:00
มรรคณาวี รุ่งแสง
makkhanawee.rs@gmail.com
รชต สวนสวัสดิ์
makkhanawee.rs@gmail.com
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการองค์กร และระดับของความผูกพัน<br>ของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข<br>2) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของบุคลากรสำนักงานป้องกัน ควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างจะเป็นบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 149 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ในการวิเคราะห์ข้อมูลของปัจจัยการบริหารจัดการองค์กรมีภาพรวมอยู่ใน<br>ระดับสำคัญมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.92 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน จะพบว่า อยู่ในระดับสำคัญมากที่สุด คือ <br>ด้านการจัดองค์กร คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.31 และอยู่ในระดับสำคัญมาก ได้แก่ ด้านงบประมาณ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.92 ด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.87 และด้านวัสดุและอุปกรณ์ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.61จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยการบริหารจัดการองค์กร ในด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านวัสดุและอุปกรณ์ และด้านการจัดองค์กร มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ส่วนด้านงบประมาณไม่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/275435
การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยง กรณีศึกษา สวนสัตว์อุบลราชธานี
2024-06-30T13:18:20+07:00
กมลชนก เจือจันทร์
thanchuda.p@ubu.ac.th
ธารชุดา พันธ์นิกุล
thanchuda.p@ubu.ac.th
<p>งานวิจัยนี้เป็นการนำหลักการบริหารความเสี่ยงมาประยุกต์ใช้จริงกับหน่วยงานกรณีศึกษา คือ สวนสัตว์อุบลราชธานี ตามกรอบแนวคิด COSO ERM 2017 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุความเสี่ยงในองค์กร ประเมินระดับความเสี่ยง และจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อให้ความเสี่ยงต่าง ๆ มีระดับลดลงจนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ การศึกษานี้ได้ทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงของฝ่ายต่าง ๆ 6 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและประชาสัมพันธ์ ฝ่ายพัฒนาสวนสัตว์ ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายบำรุงสัตว์ และฝ่ายอนุรักษ์วิจัยและสุขภาพสัตว์ โดยให้บุคลากรในแต่ละฝ่ายทำการระดมสมอง เพื่อระบุความเสี่ยงโดยวิเคราะห์แยกประเภทความเสี่ยงทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านการดําเนินงาน ความเสี่ยงด้านการเงิน และความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ</p> <p>ผลการระบุความเสี่ยงในฝ่ายต่าง ๆ สรุปได้ว่าสวนสัตว์อุบลราชธานีมีความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ จำนวน 12 ข้อ ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงานจำนวน 116 ข้อ ความเสี่ยงด้านการเงิน 4 ข้อ และความเสี่ยงด้าน<br>การปฏิบัติตามกฎระเบียบ จำนวน 6 ข้อ และจากการประเมินความเสี่ยง ดำเนินการทบทวนและเสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไขความเสี่ยงแล้ว สรุปผลได้ดังต่อไปนี้ ความเสี่ยงในระดับสูงมาก จากเดิมจำนวน 28 ข้อ ลดลงเหลือ 4 ข้อ ความเสี่ยงระดับสูง จำนวน 65 ข้อ ลดลงเหลือ 11 ข้อ ความเสี่ยงปานกลางจากจำนวน 26 ข้อ เพิ่มเป็น 54 ข้อ และความเสี่ยงต่ำจากจำนวน 19 ข้อ เพิ่มเป็น 69 ข้อ เนื่องจากความเสี่ยงระดับสูงและสูงมาก ลดระดับลงมาอยู่ในระดับกลางและระดับต่ำแทน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ หากสวนสัตว์อุบลราชธานีต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยง ควรมีการทบทวน ปรับปรุง และพัฒนากระบวนการบริหารความเสี่ยงในความเสี่ยงที่เหลือ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับการบริหารความเสี่ยงตามกรอบแนวคิด COSO ERM 2017 ต่อไป</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/275436
การพัฒนายกระดับรายได้เกษตรกรบ้านกกตูม กกกอก เกษตรสมบูรณ์ อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
2024-06-30T13:37:30+07:00
นันทกาญจน์ เกิดมาลัย
nnueangsittha@gmail.com
ชนินทร์ วะสีนนท์
nnueangsittha@gmail.com
วราธร พรหมนิล
nnueangsittha@gmail.com
เมธาวี ยีมิน
nnueangsittha@gmail.com
นิรมล เนื่องสิทธะ
nnueangsittha@gmail.com
พัลลภ จันทร์กระจ่าง
nnueangsittha@gmail.com
<p> การวิจัยพัฒนายกระดับรายได้เกษตรกรบ้านกกตูม กกกอก เกษตรสมบูรณ์ อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพทรัพยากรชุมชนพื้นที่บ้านกกตูม กกกอก เกษตรสมบูรณ์ และเพื่อยกระดับรายได้จากความรู้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มกับทรัพยากรชุมชนโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ใช้การสังเกต การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์</p> <p> ผลการศึกษาศักยภาพทรัพยากรชุมชนของพื้นที่บ้านกกตูม กกกอก และเกษตรสมบูรณ์ พบว่า สภาพและข้อจำกัดของกลุ่มเป้าหมาย 15 ครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ทำนา ทำไร่มัน สวนยาง ทอผ้าทำผ้าขาวม้า วิถีชีวิตความเป็นอยู่ทำการเกษตรเป็นหลัก ศักยภาพมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นพื้นที่เชิงเขา 3 ลูก ภูหลวง ภูตากมอง ภูหินเหล็กไฟ <br>3 ถ้ำ ห้วยทราย ห้วยบังทราย ห้วยกะซะ ผลการยกระดับรายได้จากการให้ความรู้ทำให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ใหม่ เกิดการสร้างกลุ่มผู้ประกอบการใหม่จากบ้านกกตูม กกกอก และเกษตรสมบูรณ์ ตำบลกกตูม จัดตั้งชื่อกลุ่ม “สามกกสมบูรณ์” กำหนดตราผลิตภัณฑ์ในชื่อ “ภูหลวง” ผลิตภัณฑ์ใหม่ คือเห็ดสามรส ใช้วัตถุดิบจากฐานทรัพยากรของชุมชน เพื่อให้เกิดความยั่งยืน รายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น จำนวน 2,097 บาท (สูงสุด 12,000 บาท ต่ำสุด 800 บาท) ซึ่งมีส่วนต่างที่เพิ่มขึ้น จำนวน 24,000 บาท เฉลี่ยรายได้ที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 50 ต่อปี</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/275437
การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนมันเทศญี่ปุ่นโดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ชุมชนนาเจริญ-นากระตึบ ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
2024-06-30T13:54:19+07:00
สิรวิชญ์ ปิ่นคำ
sirawit.baac@reru.ac.th
ลลิตา พิมทา
sirawit.baac@reru.ac.th
<p> งานวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาศักยภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบและแปลงสาธิตทดลอง และยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบมันเทศญี่ปุ่น ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้นำชุมชน 2 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน 2 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดจำหน่าย 1 คน สมาชิกกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนนาเจริญ-นากระตึบ 10 คน อาจารย์มหาวิทยาลัย 1 คน นักศึกษา 10 คน รวมจำนวน 26 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม 26 ชุด <br>การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล</p> <p>ศักยภาพของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนอยู่ในระดับมาก ในด้านความมีชื่อเสียง ด้านคุณค่าผลิตภัณฑ์ และด้านกิจกรรมการผลิต ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของผลิตภัณฑ์ชุมชน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนมันเทศญี่ปุ่นต้นแบบ ตามแนวคิดส่วนประสมทางการตลาด 4C’s คือ (1) ด้านการรับรู้ปัญหาของลูกค้า การพัฒนาตราสินค้า การสร้างชื่อตราสินค้า โลโก้ ฉลาก และบรรจุภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ (2) ด้านต้นทุนของลูกค้า การตั้งราคาที่สอดคล้องกับมูลค่าของผลิตภัณฑ์ (3) ด้านความสะดวกของลูกค้า การสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายให้ครอบคลุม (4) ด้านการสื่อสารการตลาดให้เกิดพฤติกรรมการซื้อและความพึงพอใจอย่างสูงสุด การยกระดับผลิตภัณฑ์ต้นแบบมันเทศญี่ปุ่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก เช่น ด้านการสื่อสารการตลาด ด้านความสะดวกของลูกค้า และด้านต้นทุนของลูกค้า สมาชิกชุมชนยอมรับและเข้าใจวิธีการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาแปลงสาธิตร่วมกัน จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำพาความสำเร็จ การเรียนรู้การตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน ความเชื่อมั่นในผู้นำชุมชนที่มีความสามารถจึงเป็นการสร้างแรงบันดาลใจต่อการพัฒนาศักยภาพของสมาชิก</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/275439
การยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการยื่นแบบและชำระภาษี ผ่านอินเทอร์เน็ต (E-Filing) ของนิติบุคคลในเขตสำนักงานสรรพากร พื้นที่กรุงเทพมหานคร 29
2024-06-30T15:27:47+07:00
ศรารัศม์ รุ่งกิตติ์พิภัทร์
rungkitpipat.sasi@gmail.com
จิระพงค์ เรืองกุน
rungkitpipat.sasi@gmail.com
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการยอมรับเทคโนโลยี และการตัดสินใจเลือกใช้บริการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของการตัดสินใจเลือกใช้บริการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต จำแนกตามปัจจัยการประกอบกิจการ 3) ศึกษาปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต และ 4) วิเคราะห์อิทธิพลของศีลธรรมทางภาษีในฐานะตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับเทคโนโลยี กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนิติบุคคลในเขตสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 29 จำนวน 370 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการหาค่า t-test, <br>F-test และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี ทั้งหมด 12 ด้าน ด้านความคาดหวังในประสิทธิภาพมีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 และผลการตัดสินใจเลือกใช้บริการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 2) นิติบุคคลที่มีการประกอบกิจการ ทุนจดทะเบียน จำนวนพนักงาน ผู้ทำบัญชี มีประสบการณ์ในการยื่นแบบและชำระภาษีแตกต่างกัน แต่มีการตัดสินใจเลือกใช้บริการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตไม่แตกต่างกัน 3) ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีทุกด้าน ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต และ 4) ศีลธรรมทางภาษี ไม่ได้เป็นตัวแปรกำกับของความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับเทคโนโลยี ด้านคุณภาพของระบบและด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/275440
การเรียนรู้จากประสบการณ์จริงและกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเข้าศึกษา ในมหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก อีอีซี
2024-06-30T15:36:12+07:00
ศตวรรษ บุญผสม
sattawatboonp@pim.ac.th
สายพิณ ปั้นทอง
sattawatboonp@pim.ac.th
<p> การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงมีอิทธิพล<br>ต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา และ 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพล<br>ในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรีของทุก<br>คณะวิชา ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 300 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล <br>คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 18-20 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีระดับการศึกษาก่อนการเข้ารับศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และมีรายได้ครอบครัว <br>10,001 – 20,000 บาทต่อเดือน ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้แก่ ด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านการสร้างอาชีพ ด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p<.01) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ได้แก่ ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ด้านช่องทางการจัดการเรียนการสอน ด้านบุคลากรทางการศึกษา และด้านกระบวนการการจัดการเรียนการสอน มีอิทธิพลต่อการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก อีอีซี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p<.05) และมีระดับการตัดสินใจในเข้าศึกษาต่ออยู่ที่ร้อยละ 72.10</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/275441
การสร้างแบรนด์และส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการรับรู้คุณค่า ผลิตภัณฑ์ชุมชนของจังหวัดลำปาง
2024-06-30T15:44:22+07:00
อัจฉรา เมฆสุวรรณ
atchara@g.lpru.ac.th
ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช
atchara@g.lpru.ac.th
พอใจ สิงหเนตร
atchara@g.lpru.ac.th
ปัทมา อภิชัย
atchara@g.lpru.ac.th
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบอิทธิพลของการสร้างแบรนด์และส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการรับรู้คุณค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่าง คือนักท่องเที่ยวที่ซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของจังหวัดลำปาง ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์<br>การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p> ผลการศึกษา พบว่าอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ส่วนประสมทางการตลาด (b = .352) และการสร้างแบรนด์ (b = .230) มีอิทธิพลต่อการรับรู้คุณค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทำให้เห็นว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ได้รับรู้ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากการกระตุ้นทางการตลาดของผู้ประกอบการทำให้ตัดสินใจเลือกซื้อได้ง่ายมากขึ้น อย่างไรก็ตามการสร้างแบรด์ก็เป็นสิ่งจำเป็นของการซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนเช่นเดียวกัน</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/275442
ความเกี่ยวข้องของข้อมูลบัญชีและการจัดการกำไรของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2024-06-30T15:53:30+07:00
อนุวัฒน์ ภักดี
ph@chandra.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลกระทบของการจัดการกำไรต่อความเกี่ยวข้องของข้อมูลบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การวิจัยนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย จากข้อมูลทั้งหมด 4,164 ตัวอย่าง ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปี ระหว่างปีพ.ศ. 2547 – 2561</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าบริษัทที่มีระดับการจัดการกำไรสูงส่งผลกระทบต่อความเกี่ยวข้องของข้อมูลบัญชีต่อราคาหลักทรัพย์ ซึ่งบริษัทที่มีระดับการจัดการกำไรสูงจะลดความเกี่ยวข้องของข้อมูลกำไร แต่เพิ่มความเกี่ยวข้องของมูลค่าตามบัญชี ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าในบริบทของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งถือเป็นประเทศตลาดเกิดใหม่ข้อมูลบัญชีที่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากการจัดการกำไร คือ ข้อมูลกำไร ดังนั้น นักลงทุนที่สนใจลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยควรนำปัจจัยด้านการจัดการกำไรไปใช้สนับสนุนการตัดสินใจ</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/275443
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ในเขตสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 29
2024-06-30T15:59:27+07:00
เกษร ระมั่ง
kessa192@gmail.com
ภัทรา สุขะสุคนธ์
kessa192@gmail.com
<p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ในเขตสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 29 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ในเขตสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 29 จำแนกตามข้อมูลผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ในเขตสำนักงานพื้นที่กรุงเทพมหานคร 29 จำนวน 333 คน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าเอฟ หรือ ANOVA และ LSD</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยได้คะแนนในภาพรวมเฉลี่ยเท่ากับ 28.77 คะแนน จากคะแนนเต็ม 35 คะแนน เมื่อแยกตามรายด้าน พบว่า ด้านข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ได้คะแนนเฉลี่ย 10.33 คะแนน จากคะแนนเต็ม 12 คะแนน ด้านการคำนวณภาษี ได้คะแนนเฉลี่ย 10.31 คะแนน จากคะแนนเต็ม 13 คะแนน ด้านการชำระภาษี ได้คะแนนเฉลี่ย 4.93 คะแนน จากคะแนนเต็ม 6 คะแนน และด้านบทลงโทษ ได้คะแนนเฉลี่ย 3.20 คะแนน จากคะแนนเต็ม 4 คะแนน 2) ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ที่มีระดับการศึกษา ประเภทธุรกิจออนไลน์ ระยะเวลาในการดำเนินกิจการ แหล่งที่มาของรายได้หลักและช่องทางการยื่นเสียภาษีแตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลที่ได้จากการวิจัยนี้ จะช่วยให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 29 ใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุง<br>กลยุทธ์การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแก่ผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ต่อไป</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/275444
ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ
2024-06-30T16:05:10+07:00
จรรยา ชูทับ
chanya@tsu.ac.th
อรจันทร์ ศิริโชติ
chanya@tsu.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ จำนวน 248 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า Independent t-test F-test และเปรียบเทียบรายคู่ โดยวิธีของ Least -Significant Different (LSD)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงตามลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านจิตใจ ด้านบรรทัดฐาน และด้านการคงอยู่ในองค์กร ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยทักษิณที่มีอายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และหน่วยงานที่สังกัดแตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์กรในภาพรวมแตกต่างกันที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม .897 และผลการเปรียบเทียบรายคู่ โดยวิธี LSD พบว่า ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ จำแนกตามปัจจัยพื้นฐาน ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน สถานภาพ และรายได้ มีความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกัน ทั้ง 3 ด้าน คือด้านจิตใจด้านการคงอยู่ในองค์กร และด้านบรรทัดฐาน และอายุมีความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกันในด้านจิตใจและด้านการคงอยู่ในองค์กร</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/275447
ความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐ ในเทศบาลแขวงเซกอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
2024-06-30T16:11:38+07:00
อาเล็กไชพอน เข็มมะไล
aleksayphone.G62@ubru.ac.th
วลัยพร สุขปลั่ง
aleksayphone.G62@ubru.ac.th
ประนอม คำผา
arkaraphonceo@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐในเทศบาลแขวงเซกอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรภาครัฐในเทศบาลแขวงเซกอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งงาน แผนกที่ปฏิบัติงาน และรายได้ต่อเดือน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรภาครัฐที่ปฏิบัติงานในเทศบาลแขวง<br>เซกอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 272 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ค่าสถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวด้วยการทดสอบเอฟ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยด้านบรรทัดฐานของสังคมส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านคุณภาพของงาน ค่าที่พยากรณ์ได้ร้อยละ 38 ปัจจัยด้านบรรทัดฐานของสังคมส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านปริมาณงาน ค่าที่พยากรณ์ได้ร้อยละ 23 ปัจจัยด้านจิตใจ และด้านบรรทัดฐานของสังคมส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านเวลาที่ใช้ในการทำงาน ค่าที่พยากรณ์ได้ร้อยละ 31 และ 2) การเปรียบเทียบปัจจัยด้านส่วนบุคคล อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งงาน และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านจิตใจ ด้านการคงอยู่ และด้านบรรทัดฐานของสังคม มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/275448
ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพข้อมูลทางการบัญชี การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี บล็อกเชนกับประสิทธิผลการตัดสินใจของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2024-06-30T16:20:57+07:00
เบญจวรรณ วงศ์สุวรรณ
benjawan-won@rmutp.ac.th
สุวิทย์ ไวยทิพย์
benjawan-won@rmutp.ac.th
พัทรียา เห็นกลาง
benjawan-won@rmutp.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีกับ<br>ประสิทธิภาพการตัดสินใจ โดยมีตัวแปรแทรกเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน งานวิจัยนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 672 บริษัท ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล มีสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการตัดสินใจ</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/275450
แนวทางความสำเร็จของการใช้ระบบ SAP ในบริษัท แมคคีย์ ฟู้ด เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด
2024-06-30T16:29:03+07:00
นราภรณ์ จรัสสุนทรกูล
naraponj.2528@gmail.com
สิทธิชัย ฝรั่งทอง
naraponj.2528@gmail.com
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับแนวทางความสำเร็จของการใช้ระบบ SAP ในบริษัท <br>แมคคีย์ ฟู้ด เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด และ 2) เพื่อเปรียบเทียบแนวทางความสำเร็จของการใช้ระบบ SAP ในบริษัท แมคคีย์ ฟู้ด เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ใช้งานระบบ SAP ของบริษัท แมคคีย์ ฟู้ด เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 180 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วยการเปรียบเทียบพหุคูณแบบ LSD</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า แนวทางความสำเร็จของการใช้ระบบ SAP ในบริษัทฯ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยลำดับค่าระดับความสำคัญจากมากที่สุดไปน้อยที่สุดได้ดังนี้ ปัจจัยด้านผู้ใช้งาน ปัจจัยด้านทีมให้คำปรึกษา ปัจจัยด้านองค์กร และปัจจัยด้านคุณภาพระบบ ตามลำดับ สำหรับการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงานในบริษัท แผนกหรือสังกัด และระดับตำแหน่งงานแตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นของปัจจัยความสำเร็จของการใช้ระบบ SAP มาในบริษัทฯ แตกต่างกัน ตามลำดับ ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุและความถี่ในการใช้ระบบ SAP แตกต่างกันมีระดับความสำคัญของปัจจัยความสำเร็จของการใช้ระบบ SAP มาในบริษัทฯ ไม่แตกต่างกัน จากการผลการวิจัยนี้ทำให้ทราบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ระบบ SAP ของพนักงาน ซึ่งบริษัทฯ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มศักยภาพของพนักงานในการใช้ระบบ SAP เช่น การจัดอบรมพนักงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการปฏิบัติงานและเกิดความคุ้นชินกับการใช้ระบบให้มากยิ่งขึ้น </p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/275451
ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย
2024-06-30T16:36:12+07:00
สุวิทย์ ไวยทิพย์
mantana.c@rmutp.ac.th
ปัทมา พยุงวงศ์
mantana.c@rmutp.ac.th
บุญเรียม ทะไกรราช
mantana.c@rmutp.ac.th
ก้องเกียรติ สหายรักษ์
mantana.c@rmutp.ac.th
มันทนา รังษีกุล
mantana.c@rmutp.ac.th
<p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิภาพระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์ของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในประเทศไทย โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าของกิจการ ผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีจำนวน 361 บริษัทในประเทศไทย ซึ่งเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมในปี พ.ศ. 2565 และวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง</p> <p>ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างตามสมมติฐานพบว่า โมเดลจำลองสมการเชิงโครงสร้างมีความเหมาะสมกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square=574.59, df=298, RMSEA=.51, CFI=.970, CMN/DF= 1.928) และผลการทดสอบสมติฐานการวิจัยครั้งนี้พบว่าการสนับสนุนผู้บริหาร ความสามารถขององค์กร คุณภาพการบริการ และคุณภาพของระบบ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการรับรู้ประโยชน์จากการใช้ และการรับรู้ความง่ายในการใช้งานของระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์ และการรับรู้ประโยชน์จากการใช้งาน และการรับรู้ความง่ายในการใช้งานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความพึงพอใจจากการใช้ระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์ อีกทั้งความพึงพอใจจากการใช้มีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพจากการใช้ระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์ ในทางตรงกันข้ามผลการวิจัยพบว่าแรงกดดันจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจไม่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน และการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานระบบ และการรับรู้ความง่ายในการใช้งานมีอิทธิพลเชิงลบต่อการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์ซึ่งมีความขัดแย้งกับงานวิจัยในอดีตเป็นส่วนใหญ่</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/275452
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นหนี้ของครัวเรือนเกษตรกร กรณีศึกษา อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
2024-06-30T16:46:11+07:00
แพรวไพลิน จันทรโพธิ์ศรี
praewpailin.j@acc.msu.ac.th
วิชนี เอี่ยมชุ่ม
praewpailin.j@acc.msu.ac.th
เบญจมาภรณ์ สมบัติธีระ
praewpailin.j@acc.msu.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจำนวนหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกร อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรจำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการวิเคราะห์การถดถอยโทบิท (Tobit Regression)</p> <p> จากผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด มีสถานะมีหนี้จำนวน 311 ครัวเรือน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจำนวนหนี้สินของครัวเรือนภาคเกษตร คือ อายุ สถานภาพสมรส ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนต่อปี ขนาดที่ดินที่ใช้ในการเพาะปลูกการมีที่ดินทำการ เกษตรเป็นของตนเอง พฤติกรรมการเล่นการพนัน พฤติกรรมทางการเงิน เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการเป็นหนี้ของเกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพ ทางผู้วิจัยแนะนำให้ภาครัฐควบคุมค่าครองชีพและต้นทุนทำการเกษตร รวมทั้งการควบคุมดูแลให้การพนันเข้าถึงยากมากขึ้น รวมทั้งภาครัฐควรส่งเสริมพฤติกรรมทางการเงินให้เกษตรกรซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการลดหนี้สินของเกษตรกร</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/275453
สภาพปัญหาและการพัฒนายกระดับรายได้วิสาหกิจชุมชนผงผักสู่ผลิตภัณฑ์ชงดื่ม ตามเกณฑ์มาตรฐานเชิงพาณิชย์
2024-06-30T16:53:37+07:00
นันทกาญจน์ เกิดมาลัย
nnreangsittha@gmail.com
ชนินทร์ วะสีนนท์
nnreangsittha@gmail.com
นิรมล เนื่องสิทธะ
nnreangsittha@gmail.com
สาคร อินทะชัย
nnreangsittha@gmail.com
<p> การวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและการพัฒนายกระดับรายได้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทำผงนัวบ้านยางโล้นสู่ผลิตภัณฑ์ชงดื่มตามเกณฑ์มาตรฐานเชิงพาณิชย์ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกต กลุ่มตัวอย่าง เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทำผงนัวบ้านยางโล้น ตำบลโคกภู อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร ผู้ผลิตวัตถุดิบ นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ รวมทั้งสิ้น 30 คน สถิติที่ใช้ในการการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอการวิจัยแบบการพรรณนา</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมผงผักปรุงรส “ผงนัวยางโล้น” เป็นผลิตภัณฑ์หลักผลิตจากวัตถุดิบพืช ผัก สมุนไพร จำนวน 13 ชนิด ด้วยวิธีตากแห้ง แล้วบดละเอียด ใช้ทำให้รสชาติอาหารกลมกล่อม ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ผงผักปรุงรสสูตรดั้งเดิม สูตรเจ และผงปิ้งย่าง ลักษณะสภาพและปัญหาผงผักปรุงรสเป็นผงสีเขียวกลิ่นผักเข้มไม่พึงประสงค์ ไม่ละลายน้ำ ข้อจำกัดผลิตภัณฑ์ ดังนี้ ด้านปัจจัยนำเข้า วัตถุดิบปลูกตามครัวเรือนกลุ่มสมาชิก พึ่งพิงน้ำฝนตามธรรมชาติเป็นหลัก น้ำเพาะปลูกวัตถุดิบไม่เพียงพอ ใช้น้ำใต้ดินพลังงานไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟด้วยน้ำมันเบนซิน ด้านกระบวนการผลิต อุปกรณ์ชั้นตากวัตถุดิบเสื่อมสภาพ ผุ กร่อน เกิดสนิมเนื่องจากวัสดุเป็นเหล็ก ผลิตภัณฑ์ยังไม่ผ่านการตรวจวัดคุณภาพ การตลาดลูกค้าเป้าหมายเน้นกลุ่มผู้รักสุขภาพ ด้านผลผลิต ตราผลิตภัณฑ์ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตราสินค้าถูกต้องตามกฎหมาย ช่องทางการจำหน่ายออฟไลน์การแสดงสินค้าตามงานภาครัฐจัดขึ้น สื่อออนไลน์ โฆษณา คลิป วีดีโอ ยังมีไม่มาก การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สร้างมูลค่าเพิ่ม จากผักโขมสดกิโลกรัมละ 35 บาท เมื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ บิวติ-วี-ดริ้ง (Beauti-V-Drink) สามารถเพิ่มช่องทาง<br>การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายขึ้นและยังเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 2,500 บาท เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น จำนวน 25,000 – 60,000 บาท/ปี ซึ่งมีส่วนต่างเพิ่มขึ้น จำนวน 35,000 บาท เฉลี่ยรายได้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 35 ต่อปี</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/275455
อิทธิพลของคุณภาพการบริการที่มีต่อความพึงพอใจของลูกค้า และภาพลักษณ์ฝ่ายรายได้ ส่วนบัญชีและอากร สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
2024-06-30T17:06:14+07:00
ชนัตถ์ ไชยานนท์
109392@customs.go.th
จิระพงค์ เรืองกุน
109392@customs.go.th
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการบริการ ความพึงพอใจของลูกค้า และภาพลักษณ์ฝ่ายรายได้ ส่วนบัญชีและอากร สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของคุณภาพการบริการที่มีต่อความพึงพอใจของลูกค้าและภาพลักษณ์ฝ่ายรายได้ ส่วนบัญชีและอากร สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนหรือผู้มาใช้บริการ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ด้วยความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น <br> ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพการบริการอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 ความพึงพอใจของลูกค้าอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 และภาพลักษณ์อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 <br>2) การวิเคราะห์อิทธิพลของคุณภาพการบริการที่มีต่อความพึงพอใจของลูกค้า และภาพลักษณ์ฝ่ายรายได้ส่วนบัญชีและอากร สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square/df = 3.234, P = .000 ,CIF = 0.974, TLI = .964, RMSEA = .075 และ SRMR = .025) ผลการวิจัยยังพบว่าคุณภาพการบริการและความพึงพอใจของลูกค้ามีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์ในแต่ละด้านแตกต่างกัน</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/275456
องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความตระหนักรู้การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ของเจเนอเรชันวายในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
2024-06-30T17:15:06+07:00
กัญจิญา จิรกาลสิริ
Praweena.k@ubru.ac.th
อัยรดา พรเจริญ
Praweena.k@ubru.ac.th
ภิมภ์วิมล ปรมัตถ์วรโชติ
Praweena.k@ubru.ac.th
ดุสิต จักรศิลป์
Praweena.k@ubru.ac.th
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความตระหนักรู้การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลของเจเนอเรชันวาย ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคือคนเจเนอเรชันวาย ในเขตจังหวัดอุบลราชธานีจำนวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความตระหนักรู้การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลของ<br>เจเนอเรชันวายในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านทรัพยากรทางการเงิน ด้านความเสี่ยงจากความไม่แน่นอน ด้านระบบเศรษฐกิจ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ร่วมกันพยากรณ์ความตระหนักรู้การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลของเจเนอเรชันวายในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ได้ร้อยละ 73 โดยองค์ประกอบด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านทรัพยากรทางการเงิน ด้านความเสี่ยงจากความไม่แน่นอน <br>ด้านระบบเศรษฐกิจ และด้านสังคมและวัฒนธรรม มีอิทธิพลต่อความตระหนักรู้การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลของเจเนอเรชันวาย ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024