วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ( Journal of Management and Development Ubon Ratchathani Rajabhat University) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU <p><strong>ประวัติการดำเนินงาน</strong><br /> วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เริ่มดำเนินการเผยแพร่ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2557 มีการเผยแพร่อย่างต่อเนื่องปีละ 2 ฉบับ <br /> ปี พ.ศ. 2560 วารสารฯ ได้รับการรับรองคุณภาพตามกรอบมาตรฐานของศูนย์อ้างอิงวารสารไทย กลุ่มที่ 2 (TCI: Thai Journal Citation Index Centre) <br /> ปี พ.ศ. 2563 - 2567 วารสารฯ ได้รับการรับรองคุณภาพตามกรอบมาตรฐานของศูนย์อ้างอิงวารสารไทย กลุ่มที่ 2 (TCI: Thai Journal Citation Index Centre) จากการประเมินคุณภาพวารสารในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 (พ.ศ. 2563 - 2567)<br /> ปัจจุบัน วารสารฯ ได้รับการรับรองคุณภาพตามกรอบมาตรฐานของศูนย์อ้างอิงวารสารไทย กลุ่มที่ 1 (TCI: Thai Journal Citation Index Centre) จากการประเมินคุณภาพวารสารในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 5 (พ.ศ. 2568 - 2572)</p> th-TH <p>บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นงานเขียนของนักวิจัยหรือนักวิชาการแต่ละท่านโดยเฉพาะ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของกองบรรณาธิการวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี<br />บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องทำการอ้างอิงมายังวารสาร</p> EditorJMD.UBRU@gmail.com (ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.อำไพ ยงกุลวณิช) jmd2018.ubru@gmail.com (วาสนา สิทธิผล) Tue, 31 Dec 2024 02:11:09 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 กลยุทธ์ทางการตลาด 5A ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผ้าคลุมฮิญาบ ของชาวมุสลิมในประเทศไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280353 <p>การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อผ้าคลุมฮิญาบของชาวมุสลิมในประเทศไทยโดยจำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ เพื่อศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าคลุมฮิญาบของชาวมุสลิมในประเทศไทย โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน และได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มเดียว การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยใช้ LSD ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคุณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และสถานภาพ ที่แตกต่างกันจะมีกระบวนการตัดสินใจซื้อผ้าคลุมฮิญาบของชาวมุสลิมในประเทศไทยแตกต่างกันทั้ง 5 ด้าน คือ ขั้นตระหนักถึงปัญหา ขั้นแสวงหาข้อมูล ขั้นประเมินทางเลือก ขั้นตอนการตัดสินใจซื้อ และขั้นพฤติกรรมหลังการซื้อ และรายได้ที่แตกต่างกัน<br>จะมีกระบวนการตัดสินใจซื้อผ้าคลุมฮิญาบของชาวมุสลิมในประเทศไทยแตกต่างกันในขั้นประเมินทางเลือก <br>และขั้นพฤติกรรมหลังการซื้อ กลยุทธ์ทางการตลาดด้านการรู้จักผลิตภัณฑ์ และด้านการตัดสินใจส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผ้าคลุมฮิญาบของชาวมุสลิมในประเทศไทยในภาพรวม</p> สุนิสา ตายูเคน, ปัญญาวัฒน์ จุฑามาศ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280353 Wed, 08 Jan 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนานักสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280354 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจและวิเคราะห์บริบทชุมชนท่องเที่ยวในอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี 2) ค้นหาเรื่องเล่าของชุมชนท่องเที่ยวในอำเภอสิรินธรจังหวัดอุบลราชธานี 3) กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการสร้างนักสื่อสารชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวในอำเภอสิรินธรจังหวัดอุบลราชธานี และ 4) พัฒนา<br>นักสื่อสารชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวในอำเภอสิรินธรจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มประชากรที่ศึกษา ได้แก่ นักท่องเที่ยวที่มาเยือนอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี และผู้นำชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 คน แบ่งเป็นนักท่องเที่ยว 300 คน และผู้นำชุมชน 100 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ข้อมูลเก็บรวบรวมผ่านแบบสอบถามสำหรับนักท่องเที่ยว การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับผู้นำชุมชน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง อายุ 36-45 ปี มีการศึกษาปริญญาโท อาชีพข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ และมีรายได้เฉลี่ย 30,001-50,000 บาท ซึ่งเหมาะสมกับกิจกรรมที่เน้นคุณภาพและความคุ้มค่า ในการเดินทาง ผู้ตอบส่วนใหญ่เดินทางกับคู่รัก ใช้รถยนต์ส่วนตัวเพื่อท่องเที่ยวและพักผ่อน ใช้เวลาเดินทาง 1 วัน และได้รับข้อมูลจากญาติหรือเพื่อน ส่วนกิจกรรมยอดนิยมคือการศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนและการรับประทานอาหาร 2) เรื่องเล่าโดดเด่นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้ เรื่องเล่าทางวัฒนธรรม เรื่องเล่าทางธรรมชาติ และเรื่องเล่าทางวิถีชีวิต 3) การกำหนดเกณฑ์การสร้างนักสื่อสารชุมชน ประกอบด้วย ทักษะด้านการเล่าเรื่อง การถ่ายทอดการเล่าเรื่อง และการฝีกอบรม 4) ผลการฝึกอบรมแสดงให้เห็นว่าความสามารถในการเล่าเรื่องของนักสื่อสารชุมชนเพิ่มขึ้น โดยคะแนนเฉลี่ยจากแบบประเมินตนเองก่อนและหลังการฝึกอบรมเพิ่มขึ้นจาก 3.2 เป็น 4.5 และทักษะการใช้สื่อดิจิทัลเพิ่มขึ้น โดยร้อยละ 85 ของนักสื่อสารสามารถผลิตและเผยแพร่เนื้อหาบนโซเชียลมีเดียได้ด้วยตนเอง</p> เอมีลี่ เวสท์บรุค Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280354 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมและการบริหารตามแบบจำลอง 7s ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การดำเนินงานของสหกรณ์ในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 6 จังหวัดอุบลราชธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280355 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมและการบริหารตามแบบจำลอง 7s ที่ส่งผลต่อ<br>การดำเนินงานของสหกรณ์ในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 6 จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นบุคลากรของสหกรณ์ในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 6 จังหวัดอุบลราชธานีจำนวน 346 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่าการมีส่วนร่วมและการบริหารตามแบบจำลอง 7s ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 6 จังหวัดอุบลราชธานี &nbsp;มีตัวแปรอิสระ 6 ตัวแปร ได้แก่ ด้านการดำเนินงาน ด้านระบบการจัดการ ด้านรูปแบบการบริหาร ด้านบุคลากร ด้านทักษะ และด้านค่านิยมร่วม แสดงว่าตัวแปรอิสระ 6 ตัวแปรนี้สามารถพยากรณ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 70.30</p> กันต์พงษ์ กิตติ์ธนกาญจน์, อนันต์ สุนทราเมธากุล, อัยรดา พรเจริญ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280355 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตร่มผ้าขิด ของกลุ่มผู้ผลิตชุมชนบ้านท่าช้าง ตำบลบากเรือ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280447 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาต้นทุนการผลิตร่มผ้าขิด และ 2) ศึกษาผลตอบแทนจากการผลิตร่มผ้าขิด ประชากร และตัวอย่าง คือสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตชุมชนบ้านท่าช้าง ตำบลบากเรือ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญคือ กลุ่มผู้ผลิตชุมชนบ้านท่าช้าง จำนวน 13 คน เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต และผลตอบแทน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนการผลิตร่มผ้าขิด จำนวน 180 คัน มีต้นทุนการผลิตรวม 22,718 บาทประกอบด้วย ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง 14,130 บาท คิดเป็นร้อยละ 62.20 ต้นทุนค่าแรงงานทางตรง 3,600 บาท คิดเป็นร้อยละ 15.85 และค่าใช้จ่ายการผลิต 4,988 บาท คิดเป็นร้อยละ 21.96 มีต้นทุนการผลิตร่มผ้าขิด 126.21 ต่อคัน และในการขายร่มผ้าขิดจำนวน 180 คัน ราคาคันละ 250 บาท จะมีรายได้รวม 45,000 บาท มีกำไรขั้นต้น 22,282 บาท และมีกำไรจากการดำเนินงาน 21,032 บาท ทั้งนี้ปัญหาและอุปสรรคที่พบ คือ ราคาต้นทุนของวัตถุดิบ แหล่งเงินทุน การวิเคราะห์ต้นทุน และความเชี่ยวชาญในการใช้สื่อโซเชียล</p> ประไพพิศ เลียบสื่อตระกูล, ก้องเกียรติ สหายรักษ์, เกรียงศักดิ์ รักภักดี Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280447 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพของจังหวัดอำนาจเจริญภายหลังสถานการณ์โควิด - 19 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280373 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและการตัดสินใจซื้อของผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพจังหวัดอำนาจเจริญของผู้บริโภคภายหลังสถานการณ์โควิด - 19<br>2) วิเคราะห์และยืนยันองค์ประกอบของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและการตัดสินใจซื้อของผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพ และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างจากผู้บริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเพื่อสุขภาพของจังหวัดอำนาจเจริญ โดยใช้สูตรทาโร่ <br>ยามาเน่ จำนวน 400 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย <br>ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติไค - สแควร์ ค่า Relative Chi-Square (CMIN/DF) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงสัมพัทธ์ <em>(</em>CFI) ค่า RMSEA และค่า RMR</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของผลิตภัณฑ์ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการตลาดทางตรง ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านการประชาสัมพันธ์และให้ข่าว ด้านการโฆษณา <br>และด้านการตลาดเชิงกิจกรรม การตัดสินใจซื้อ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการสอบถามและตอบ ด้านการรู้จักผลิตภัณฑ์ ด้านการสนับสนุน ด้านการชื่นชอบผลิตภัณฑ์ และด้านการตัดสินใจ สำหรับผลการวิเคราะห์และยืนยันองค์ประกอบของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ พบว่า เกิดการจับกลุ่มความสัมพันธ์ของตัวแปรใหม่เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) การประชาสัมพันธ์และการให้ข่าว 2) การส่งเสริมการขาย 3) การตลาดเชิงกิจกรรม และ 4) การโฆษณา ส่วนองค์ประกอบของการตัดสินใจซื้อ เกิดการจับกลุ่มความสัมพันธ์ของตัวแปรใหม่เป็น <br>3 กลุ่ม ได้แก่ 1) การรู้จักผลิตภัณฑ์ 2) การสนับสนุน และ 3) การตัดสินใจซื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 อีกทั้งการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการมีอิทธิพลทางตรงต่อการตัดสินใจซื้อ ซึ่งมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .179</p> <p>&nbsp;</p> โชฒกามาศ พลศรี, ศุภกัญญา เกษมสุข, วรรณณา ปิยะรัตน์มานนท์, วิลารักข์ อ่อนสีบุตร Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280373 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องสำคัญจากการสอบบัญชีกับค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280374 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องสำคัญจากการสอบบัญชีกับค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร โดยรวบรวมข้อมูลรายงานการเงินจากงบการเงิน รายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และ แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปีและรายงานประจำปี (แบบ 56-1 one report) ของบริษัทจากเว็บไซต์บริษัทและเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างใช้ในการศึกษาที่มีข้อมูลครบถ้วน จำนวนทั้งสิ้น 67 บริษัทเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง ปี พ.ศ. 2563 ถึง พ.ศ. 2565 เพื่อทำการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน และวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ</p> <p>จากการศึกษา พบว่าเรื่องสำคัญในการสอบบัญชีมีความสัมพันธ์กับค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าการที่ผู้สอบบัญชีระบุเรื่องสำคัญในการตรวจสอบบัญชีมีผลทำให้การกำหนดค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้พบว่า ตัวแปรควบคุม ขนาดของกิจการ และอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวมมีความสัมพันธ์กับค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ขนาดของกิจการ และความเสี่ยงในการดำเนินงานของกิจการที่มากขึ้นมีผลต่อการพิจารณาค่าธรรมเนียมสอบบัญชีที่สูงขึ้น และมีผลต่อการกำหนดค่าธรรมเนียมการตรวจสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี</p> กฤตยกมล ธานิสพงศ์, พัชราวดี กุลบุญญา, อรพิน บุญพงศ์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280374 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสามารถของนักบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพสารสนเทศทางการบัญชี จากการใช้งานระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ e-LAAS ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดมหาสารคาม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280376 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถของนักบัญชีในการใช้งานระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ e - LAAS ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม 2) ศึกษาคุณภาพของสารสนเทศทาง<br>การบัญชีจากการใช้งานระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ e-LAAS ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม <br>3) ศึกษาความสามารถของนักบัญชีที่มีผลต่อคุณภาพสารสนเทศทางการบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคามจำนวน 287 ราย ใช้การเลือกการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์โดยการใช้วิธีการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญต่อความสามารถของนักบัญชีด้านจรรยาบรรณวิชาชีพมากที่สุด โดยจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างโปร่งใส ยึดหลักความถูกต้อง มีคุณธรรมรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ในขณะเดียวกันควรมีความสามารถในการแก้ปัญหาจากการใช้งานระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ e-LAAS ได้อย่างตรงไปตรงมา นอกจากนี้การวิจัยยังพบว่า ความสามารถของนักบัญชีที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพสารสนเทศทางการบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่า ความรู้ความสามารถของนักบัญชีนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการทำงานเพื่อให้ได้ข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องแม่นยำ แสดงข้อมูลครบถ้วน เพื่อนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารในการดำเนินงานได้</p> ธัญญลักษณ์ แฝงตะคุ, วีระกิตติ์ เสาร่ม, กชนิภา วานิชกิตติกูล Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280376 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 คุณภาพชีวิตในการทำงานและบรรยากาศองค์กรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาคเขต 8 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280377 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงานและบรรยากาศองค์กรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาคเขต 8 และเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานและบรรยากาศองค์กรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาคเขต 8 จำแนกตามปัจจัยทางประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานการประปาส่วนภูมิภาคเขต 8 จำนวน 246 คน เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาค่าสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณและการวิเคราะห์ความแปรปรวน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การยอมรับความขัดแย้ง โครงสร้างขององค์กร และการทำงานร่วมกันมีอิทธิพลทำให้เกิดประสิทธิภาพการทำงาน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนการให้รางวัลและการลงโทษ ค่าตอบแทน และความอบอุ่นและการสนับสนุนมีอิทธิพลทำให้เกิดประสิทธิภาพการทำงาน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรทั้ง 6 ตัว สามารถร่วมกันพยากรณ์การเกิดประสิทธิภาพการทำงาน ได้ร้อยละ 74 เปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานและบรรยากาศองค์กรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาคเขต 8 จำแนกตามประชากรศาสตร์ พบว่า อายุต่างกัน มีความคิดเห็นด้านการยอมรับความขัดแย้ง โครงสร้างขององค์กร การทำงานร่วมกัน ค่าตอบแทน และความอบอุ่นและการสนับสนุนแตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการให้รางวัลและการลงโทษแตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตำแหน่งงาน และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นด้านการยอมรับความขัดแย้ง โครงสร้างขององค์กร การทำงานร่วมกัน การให้รางวัลและการลงโทษ ค่าตอบแทน และความอบอุ่นและการสนับสนุนแตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นด้านโครงสร้างขององค์กร การทำงานร่วมกัน การให้รางวัลและการลงโทษแตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการยอมรับความขัดแย้ง ค่าตอบแทน และความอบอุ่นและการสนับสนุนแตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> อนุสรณ์ ศรีหารัตน์, อโณทัย หาระสาร, ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280377 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามวัฒนธรรมเส้นทางบุญ ของจังหวัดอุบลราชธานี: มุมมองแนวคิดด้านการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280378 <p>งานวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามวัฒนธรรมเส้นทางบุญของจังหวัดอุบลราชธานี: มุมมองแนวคิดด้านการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามวัฒนธรรมเส้นทางบุญของจังหวัดอุบลราชธานี ตามแนวคิดการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามวัฒนธรรมเส้นทางบุญของจังหวัดอุบลราชธานี ตามแนวคิดการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ<br>กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มนักท่องเที่ยวที่ท่องเที่ยววัด ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมเส้นทางบุญจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ วัดหนองป่าพง วัดหลวง วัดพระธาตุหนองบัว วัดมหาวนาราม วัดทุ่งศรีเมือง วัดศรีอุบล<br>รัตนาราม วัดสุปัฏนารามวรวิหาร วัดเลียบ วัดใต้ วัดถ้ำคูหาสวรรค์วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว วัดสระประสานสุข ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทีและวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพรวมนักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามวัฒนธรรมเส้นทางบุญของจังหวัดอุบลราชธานี ตามแนวคิดการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.80 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านหัวใจสีเขียว มีระดับความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย 4.51 และมีระดับความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระดับมาก ได้แก่ ด้านแหล่งท่องเที่ยวสีเขียว ด้านบริการสีเขียว ด้านการเดินทางสีเขียว ค่าเฉลี่ย 4.11, 3.95, 3.92 ตามลำดับ มีระดับความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านชุมชนสีเขียว ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านกิจกรรมสีเขียว ค่าเฉลี่ย 3.45, 3.45, 3.19 ตามลำดับ 2) แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามวัฒนธรรมเส้นทางบุญของจังหวัดอุบลราชธานี ตามแนวคิดการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามแนวคิด 7 Greens ได้แก่ ด้านหัวใจสีเขียว <br>ควรประชาสัมพันธ์หรือมีกิจกรรมที่ทำให้นักท่องเที่ยวรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ด้านรูปแบบการเดินทางสีเขียว ควรมีบริการรถนำเที่ยวสาธารณะ หรือ มีจักรยานบริการนักท่องเที่ยว มีข้อมูลแสดงเส้นทาง และระยะทางของสถานที่ท่องเที่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง ด้านแหล่งท่องเที่ยวสีเขียว ควรมีการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวรักษาความสะอาดและรักษาสิ่งแวดล้อม การปลูกพืชสมุนไพรและรักษาความร่มรื่นในวัด และแทรกคำสอนเรื่องสิ่งแวดล้อมในการแสดงธรรมหรือเทศนา ด้านกิจกรรมสีเขียว <br>ควรส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวมีกิจกรรม ด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการท่องเที่ยว ด้านชุมชนสีเขียว ควรส่งเสริมให้ชุมชน บ้าน วัด และโรงเรียนมีส่วนร่วมกันดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมของสถานที่ท่องเที่ยว ด้านการบริการสีเขียว บริษัทนำเที่ยวควรมีส่วนร่วมในการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การให้คำแนะนำนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้านความรับผิดชอบ ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง</p> มัลลิกา บุตรทองทิม, ภราดา บุญรมย์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280378 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการส่งเสริมการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู โดยมีวัดศรีจันทร์ประดิษฐ์เป็นศูนย์กลาง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280448 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมบางปู โดยมีวัดศรีจันทร์ประดิษฐ์เป็นศูนย์กลาง และ 2) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมบางปู โดยมีวัดศรีจันทร์ประดิษฐ์เป็นศูนย์กลาง ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นผู้บริหาร หัวหน้า บริษัทต่าง ๆ และนักวิชาการที่มีความรู้ทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคม CSR จำนวน 10 คน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัด เพื่อดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 คน ผู้เข้าร่วมประชุมระดมสมอง ที่เป็นผู้บริหารบริษัท พระ มัคนายก ครู ผู้นำชุมชน ที่มีส่วนได้เสียกับการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม จำนวน 15 คน และผู้เข้าร่วมแบบการสนทนากลุ่ม คือ นักวิชาการที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม จำนวน 5 คน สำหรับ<br>การสังเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย ดำเนินการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา&nbsp;</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาหลัก มีดังนี้ การขาดการประสานงานระหว่างบริษัทและวัด ขาดความร่วมมือจากชุมชน การจัดกิจกรรมที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน การจัดกิจกรรมที่ไม่สอดคล้องกับเวลาทำงานของบริษัท&nbsp; และ 2) แนวทางการส่งเสริมการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมบางปู พบว่า ควรกำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงานที่เน้นความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างชัดเจน โดยระบุพันธกิจ จุดมุ่งหมาย และแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ของบริษัท และตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน หรือสอดคล้องกับความสนใจของชุมชน โดยให้โอกาสชุมชนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนและดำเนินกิจกรรม รวมถึงการประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้ทราบอย่างทั่วถึง โดยการใช้ช่องทางต่าง ๆ ในการสื่อสารกับชุมชน เช่น การจัดประชุม การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน เพื่อเพิ่มความสนใจและสนับสนุนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ๆ</p> ทัศไนย์ ขอนสี, นพวรรณ วิเศษสินธุ์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280448 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิภาพในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนและผลสัมฤทธิ์การดำเนินงาน ด้านบัญชีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280381 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของเทคโนโลยีบล็อกเชน <br>ซึ่งประกอบด้วย คุณภาพของระบบ คุณภาพของข้อมูล คุณภาพของการบริการ การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง และแรงกดดันในการแข่งขัน และศึกษาประสิทธิภาพของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานด้านบัญชี ซึ่งประกอบด้วย การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลทางการบัญชีที่ครบถ้วน ถูกต้อง การประมวลผลทางบัญชีที่รวดเร็ว การนำเสนอข้อมูลทางการบัญชีที่มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ <br>การเชื่อมโยงข้อมูลทางการบัญชีที่มีความปลอดภัย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรที่ศึกษา คือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 686 บริษัท ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารหรือผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีหรือหัวหน้าฝ่ายบัญชี ตอบกลับจำนวน 147 บริษัท วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า ด้านคุณภาพของข้อมูล ด้านการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง และด้านแรงกดดัน<br>ในการแข่งขัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพของเทคโนโลยีบล็อกเชน และประสิทธิภาพของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในงานด้านบัญชี ด้านการประมวลผลทางบัญชีที่รวดเร็ว ด้านการนำเสนอข้อมูลทางการบัญชีที่มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ และด้านการเชื่อมโยงข้อมูลทางการบัญชีที่มีความปลอดภัย ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานด้านบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> พัชรภรณ์ วิจิตรสมบูรณ์, สุวิทย์ ไวยทิพย์, พัทรียา เห็นกลาง, วรรณวิมล นาคทัด Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280381 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี ส่วนประสมการตลาด การสนับสนุนของภาครัฐ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และระดับของปัจจัยทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280385 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี ปัจจัยส่วนประสมการตลาด ปัจจัยการสนับสนุนของภาครัฐ <br>ปัจจัยการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และปัจจัยทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค และ <br>3) เพื่อเปรียบเทียบระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่<br>ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ <br>ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้บริโภคมีความคิดเห็นว่ารถยนต์ไฟฟ้าช่วยลดมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อม 2) ตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 6 ตัว ได้แก่ ผู้บริโภคมีระดับความคิดเห็นด้านทัศนคติให้ความสำคัญความรู้สึกมากที่สุด รองลงมาคือพฤติกรรม อีกทั้งกลุ่มอ้างอิง และสถานที่จัดจำหน่าย มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค และ 3) ปัจจัยทัศนคติด้านความรู้สึกมีค่า Beta ร้อยละ .40 ปัจจัยการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีค่า Beta ร้อยละ .21 ปัจจัยทัศนคติด้านพฤติกรรมมีค่า Beta ร้อยละ .19 และปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านสถานที่จัดจำหน่าย มีค่า Beta ร้อยละ .10 โดยปัจจัยเหล่านี้มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค<br>อีกทั้งปัจจัยด้านทัศนคติ และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค การสร้างการรับรู้เชิงบวกเกี่ยวกับประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมของรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการพัฒนาสถานที่จัดจำหน่ายให้เข้าถึงได้ง่ายและสะดวก ทั้งนี้แนวทางดังกล่าวยังสามารถสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคให้หันมาใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น</p> ศักดิพงศ์ ชัยชาญ, ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช, อัยรดา พรเจริญ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280385 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้ออุปกรณ์กีฬาของผู้บริโภค ในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280392 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้ออุปกรณ์กีฬาและ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการซื้ออุปกรณ์กีฬาของผู้บริโภคในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ ความเชื่อที่ผู้บริโภคมีต่อตราสินค้า ความสัมพันธ์กับความต้องการในปัจจุบัน และการรับรู้เนื้อหาสินค้าผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปที่เล่นกีฬาในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และประชาชนทั่วไปที่กำลังซื้อสินค้าอุปกรณ์กีฬาจากจุดจำหน่ายในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ <br>และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 21 - 31 ปี สถานภาพโสด และมีระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้เฉลี่ย 10,001 - 20,000 บาท ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้ออุปกรณ์กีฬา โดยเฉพาะปัจจัยด้านการรับรู้เนื้อหาสินค้าผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (ค่าเฉลี่ย = 4.27) รองลงมาคือความเชื่อที่ผู้บริโภคมีต่อตราสินค้า (ค่าเฉลี่ย = 4.12) และความสัมพันธ์กับความต้องการในปัจจุบัน (ค่าเฉลี่ย = 3.99) อีกทั้งการหาความสัมพันธ์ของการตัดสินใจกับความต้องการในปัจจุบัน ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย เท่ากับ .56 แสดงว่าปัจจัยทั้งหมดสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการซื้อได้ร้อยละ 56 จากผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดที่มุ่งเน้นการสร้างการรับรู้เนื้อหาสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นในตราสินค้าและความสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งเสริมพฤติกรรมการซื้ออุปกรณ์กีฬาในอนาคต</p> ขนิษฐา ศิลาโชติ, ธนศิตา ลี้หิรัญญพงศ์, ประกายดาว พันธ์พิพัฒน์, วิชุดา สวัสดี สังข์ทองหลาง Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280392 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน บริษัท ไทยสวิชบอร์ด แอนด์ เมตัลเวอร์ค จำกัด https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280394 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน แรงจูงใจในการทำงาน ความสุขในการทำงาน และประสิทธิภาพการทำงาน และ 2) เพื่อศึกษาความสุขในการทำงานในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงสภาพแวดล้อมในการทำงานและแรงจูงใจในการทำงานสู่การมีประสิทธิภาพในการทำงาน ของพนักงานบริษัท ไทยสวิชบอร์ด แอนด์ เมตัลเวอร์ค จำกัด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือคือแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 119 ตัวอย่าง ตามสูตรของ Yamane ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง .67-1.00 ทุกรายข้อ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัค<br>อยู่ระหว่าง .835 - .919 สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสภาพแวดล้อมในการทำงาน แรงจูงใจในการทำงาน ความสุขในการทำงาน และประสิทธิภาพในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04, 4.37, 3.95, และ 3.99 ตามลำดับ 2) ความสุขในการทำงานเป็นปัจจัยคั่นกลางที่เชื่อมโยงสภาพแวดล้อมในการทำงาน และแรงจูงใจในการทำงานสู่ประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีค่าผลคูณของขอบเขตล่างเท่ากับ .435 และมีค่าผลคูณของขอบบนเท่ากับ .818 งานวิจัยนี้จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้พนักงานเกิดความสุขในการทำงาน และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตต่อไป</p> พุทธรักษา เม่นน้อย, สุมาลี รามนัฏ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280394 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อสินค้ากลุ่มขนมหวานระดับพรีเมียมในเครือ ของบริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จํากัด (มหาชน) ภายใต้การดูแลของ Top Chef Thailand ผ่านร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่นของกลุ่มผู้บริโภค Generation Z ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280399 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในปัจจุบันรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภค Generation Z เน้นความสะดวกรวดเร็วตอบโจทย์ความรีบเร่งกับชีวิตประจำวัน จึงเป็นเหตุให้อาหารพร้อมรับประทานผ่านร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่นได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกลุ่มขนมหวานระดับพรีเมียมเป็นที่น่าจับตามองเนื่องจากสามารถเรียกกระแสความสนใจจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อสินค้ากลุ่มขนมหวานระดับพรีเมียมในเครือของบริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จํากัด (มหาชน) ภายใต้การดูแลของ Top Chef Thailand ผ่านร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่นของกลุ่มผู้บริโภค Generation Z ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี ผ่านแบบสอบถามรูปแบบออนไลน์ โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามสะดวกเป็นผู้บริโภคอายุระหว่าง 20-26 ปี ที่มีความสนใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กลุ่มขนมหวานระดับพรีเมียมในร้านค้าสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น จำนวน 400 คน โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p>จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่<br>จัดจำหน่าย ปัจจัยการรับรู้คุณค่าด้านคุณภาพ ด้านราคา ด้านอารมณ์ และปัจจัยอิทธิพลของเชฟที่มีชื่อเสียงส่งผลต่อการตั้งใจซื้อสินค้ากลุ่มขนมหวานระดับพรีเมียมในเครือของบริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จํากัด (มหาชน) ภายใต้<br>การดูแลของ Top Chef Thailand ผ่านร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่นของกลุ่มผู้บริโภค Generation Z ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ .05 โดยมีค่าอิทธิพลพยากรณ์ คิดเป็นร้อยละ 71.60 จึงสะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจควรมีการพัฒนาและเสริมสร้างปัจจัยดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นพื้นฐานการสร้างความมั่นคงในการประกอบธุรกิจ ในภาวะที่ตลาดมีการแข่งขันสูง เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตต่อไปในอนาคตได้อย่างยั่งยืน</p> จุฑามาศ โจนประโคน, ชยุตพงศ์ สุรฉัตร, อัมพิกา สันทาลุนัย, อารยา พงศ์ดํารงศักดา, ทัชชกร สัมมะสุต Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280399 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้แอปพลิเคชัน ChatGPT ของนักการตลาด https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280403 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้แอปพลิเคชัน ChatGPT ประกอบด้วยปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ด้านการรับรู้ประโยชน์ ด้านทัศนคติ และด้านความไว้วางใจที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้แอปพลิเคชัน ChatGPT โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ และกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มนักการตลาดในประเทศไทย จำนวน 400 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regresstion Analysis) และการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีมีเพียงปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งาน ปัจจัยด้านทัศนคติ รวมถึงปัจจัยด้านความไว้วางใจ ส่งผลต่อความตั้งใจใช้แอปพลิเคชัน ChatGPT ของนักการตลาด</p> พวงทิพย์ ศิริสุข, นันทวัน อัครพรพรหม, สุภัชชา ชังโชติ, จิราภา รัตนวิจิตร, นิภา นิรุตติกุล Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280403 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280405 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยในการทำงานของพนักงานคลังสินค้ากรณีศึกษาบริษัท ABC จำกัด 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานคลังสินค้ากรณีศึกษาบริษัท ABC จำกัด 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานคลังสินค้า กรณีศึกษาบริษัท ABC จำกัด และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยในการทำงานมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานคลังสินค้า กรณีศึกษาบริษัท ABC จำกัด โดยกลุ่มตัวอย่างคือพนักงานคลังสินค้า กรณีศึกษาบริษัท ABC จำกัด จำนวน 134 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบความแปรปรวน F-test โดยการหาค่าความต่างของค่าเฉลี่ย ANOVA และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD การทดสอบระดับความสัมพันธ์ของปัจจัยในการทำงานกับประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยในการทำงานของพนักงานคลังสินค้ามีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก <br>2) ประสิทธิภาพในการทำงานมีระดับประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานคลังสินค้า กลุ่มเพศ อายุ การศึกษา ตำแหน่งงาน และรายได้ มีประสิทธิภาพในการทำงานไม่แตกต่างกัน 4) ปัจจัยในการทำงานของพนักงานคลังสินค้าส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัยในการทำงานทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจที่ทำงานด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และด้านความมั่นคงก้าวหน้าในการทำงานสามารถร่วมอธิบายการเปลี่ยนแปลงของประสิทธิภาพในการทำงาน ได้ร้อยละ 46.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> วริทรินทร์ สิริเกียรติศรุต, สมยศ อวเกียรติ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280405 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลกระทบของความรู้ในสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้ที่มีต่อประสิทธิภาพการวางแผนภาษี ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280428 <p>การวิจัยเรื่อง ผลกระทบของความรู้ในสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้ที่มีต่อประสิทธิภาพการวางแผนภาษีของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาระดับและความสัมพันธ์ของความรู้ในสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีเงินได้ประเภทเงินเดือนกับประสิทธิภาพของ<br>การวางแผนภาษีเงินได้ 2) ทดสอบผลกระทบของความรู้ในสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่มีต่อประสิทธิภาพการวางแผนภาษีเงินได้ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 จำนวน 306 คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้เกี่ยวกับการหักค่าใช้จ่าย การหักค่าลดหย่อน และการชำระภาษีและการ<br>ยื่นแบบ มีผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการวางแผนภาษีโดยรวม 2) ความรู้ในสิทธิประโยชน์ทางภาษีมีผลต่อประสิทธิภาพการวางแผนภาษีเงินได้ ดังนี้ 2.1) ความรู้เกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน การหักค่าใช้จ่าย และการหักค่าลดหย่อน มีผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการวางแผนภาษีในการหลีกเลี่ยงโทษปรับ 2.2) การหักค่าใช้จ่ายและการหักค่าลดหย่อน มีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการวางแผนภาษีในการลดการตรวจสอบจากภาครัฐ <br>2.3) การหักค่าลดหย่อนและการชำระภาษีและการยื่นแบบ มีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการวางแผนภาษีในความถูกต้องและครบถ้วนตามกฎหมายภาษี และ 2.4) การหักค่าใช้จ่ายและการหักค่าลดหย่อน มีผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการวางแผนภาษีในการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุด ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรให้ข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร เพื่อให้ประชาชนผู้มีรายได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องและนำไปสู่ความสมัครใจในการเสียภาษีอากร</p> ขนิฐา นิลรัตนานนท์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280428 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลกระทบของห่วงโซ่คุณค่าที่มีผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเจียระไนพลอย อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280429 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา 1) ระดับห่วงโซ่คุณค่าของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเจียระไนพลอย 2) ระดับความได้เปรียบในการแข่งขัน และ 3) ผลกระทบของห่วงโซ่คุณค่าที่มีผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเจียระไนพลอย อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม ประชากร ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเจียระไนพลอย อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 326 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับห่วงโซ่คุณค่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ระดับความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเจียระไนพลอย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ 3) ห่วงโซ่คุณค่าด้านโลจิสติกส์<br>ขาเข้า ด้านโลจิสติกส์ขาออก ด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร และด้านการจัดการทรัพยากร มีผลกระทบต่อความได้เปรียบในการแข่งขันในทิศทางบวก และพบว่าห่วงโซ่คุณค่าด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีมีผลกระทบต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเจียระไนพลอยในทิศทางลบ ส่วนตัวแปรอิสระ 2 ตัว คือ ด้านการผลิตและดำเนินงาน และด้านการตลาดและการขาย ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .792 และตัวแปรอิสระทั้งหมดอธิบายการผันแปรของตัวแปรตามได้ร้อยละ 62.70</p> <p>&nbsp;</p> จุฑารัตน์ บุบผามาลัย, วีระกิตติ์ เสาร่ม, กิตติชัย เจริญชัย Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280429 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 เส้นทางความสัมพันธ์ของการออกแบบผ้าทอของกลุ่มสตรีผ้าทอที่มีอิทธิพลต่อ ความพึงพอใจและการตัดสินใจใช้ผ้าทอของผู้บริโภค ตำบลบ้านทราย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280431 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นด้านการออกแบบและการออกแบบกราฟฟิก</p> <p>ความพึงพอใจ และการตัดสินใจใช้ผ้าทอของผู้บริโภคผ้าทอ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างโครงสร้างการออกแบบ ความพึงพอใจ และการตัดสินใจใช้ผ้าทอของผู้บริโภคผ้าทอ และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยการออกแบบและการออกแบบกราฟฟิก ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและการตัดสินใจใช้ผ้าทอของผู้บริโภคผ้าทอของกลุ่มสตรีผ้าทอ ตำบลบ้านทราย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคจำนวน 260 คน โดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน เพื่อทดสอบสมติฐานจากเทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านการออกแบบผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อวัสดุที่ใช้มากที่สุด รองลงมาเป็นด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอ สำหรับปัจจัยด้านการออกแบบกราฟิกผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อขนาด น้ำหนัก หรือปริมาณมากที่สุด รองลงมาคือความเป็นเอกลักษณ์ และ เครื่องหมายการค้า และปัจจัยด้านความพึงพอใจของผู้บริโภคพึงพอใจกับคุณภาพของเนื้อผ้าทอมากที่สุด รองลงมาเป็นความหลากหลายของผ้าทอ และความสวยงามของผ้าทอ สำหรับความสัมพันธ์เชิงเหตุผลพบว่า การออกแบบมีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจผู้บริโภคเชิงลบ การออกแบบกราฟฟิกมีความสัมพันธ์ทางตรงต่อการตัดสินใจใช้ผ้าทอผ่านความพึงพอใจเชิงบวก และปัจจัยการออกแบบมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภค (b=-.091*) ในทิศทางตรงกันข้าม และการออกแบบกราฟฟิก <br>มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจต่อความพึงพอใจของผู้บริโภค (b=.936*) ในทิศทางเดียวกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ดังนั้นผู้ดำเนินการผลิตผ้าทอจะต้องให้ความสำคัญต่อการออกแบบ และการออกแบบกราฟฟิกเพื่อสร้างความพึงพอใจให้ผู้บริโภค</p> โสพิศ คำนวนชัย, นุชจรา บุญถนอม Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280431 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีต่อการตัดสินใจซื้อผักผลไม้แปรรูป ในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280432 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีต่อการตัดสินใจซื้อผักผลไม้แปรรูปในร้านค้าปลีกสมัยใหม่กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บตัวอย่างผู้ซื้อผักผลไม้แปรรูปในร้านค้าปลีกสมัยใหม่จำนวน 400 คน <br>กำหนดตัวอย่างตามสัดส่วน และทำการเก็บตัวอย่างแบบเจาะจง โดยการทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ภาพลักษณ์ตราสินค้าด้านชื่อตราสินค้าโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ชื่อตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แปรรูปที่ต้องแสดงให้เห็นถึงความเป็นไทย รองลงมาคือชื่อตราสินค้าต้องเป็นที่รู้จักซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก ต่อมาพบว่าภาพลักษณ์ตราสินค้าด้านเอกลักษณ์ที่โดดเด่นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเช่นกัน สำหรับผลที่ได้จากการทดสอบสมมติฐานพบว่าภาพลักษณ์ตราสินค้ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผักผลไม้แปรรูปในร้านค้าปลีกสมัยใหม่<br>โดย พบว่าภาพลักษณ์ตราสินค้าด้านเครื่องหมายการค้ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผักผลไม้แปรรูปมากที่สุด รองลงมาคือด้านการออกแบบหรือหีบห่อบรรจุภัณฑ์และด้านที่มีอิทธิพลต่ำที่สุดคือด้านชื่อตราสินค้า โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อีกทั้งชื่อตราสินค้า เครื่องหมายการค้า และการออกแบบหีบห่อบรรจุภัณฑ์สามารถอธิบายการให้ความสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อผักผลไม้แปรรูปได้ร้อยละ 56.3</p> กิติศักดิ์ พาหุรักษ์, พีรภาว์ ทวีสุข Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280432 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ชุมชนภูไทบ้านบุ่งเลิศ ตำบลบุ่งเลิศ อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280438 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบอิทธิพลของรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ชุมชนภูไทบ้านบุ่งเลิศ ตำบลบุ่งเลิศ อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 320 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ชุมชนภูไทบ้านบุ่งเลิศ ตำบลบุ่งเลิศ อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ดมีความเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยรวมและเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร ด้านการจัดการเกี่ยวกับบุคคลากรในองค์กร ด้านการอำนวยการ ด้านการประสานงานตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ด้านการรายงานการปฏิบัติงาน และด้านการบริหารงบประมาณ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ชุมชนโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านเอกลักษณ์ขององค์กร ด้านชื่อเสียง ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ด้านการให้บริการ และด้านการติดต่อระหว่างบุคคล จากการวิเคราะห์อิทธิพล พบว่า 1) รูปแบบการท่องเที่ยว ด้านการประสานงานตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ มีความสัมพันธ์และอิทธิพลเชิงบวกกับภาพลักษณ์ชุมชนภูไทโดยรวม 2) รูปแบบการท่องเที่ยว ด้านการรายงาน การปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์กับอิทธิพล เชิงบวกกับภาพลักษณ์ชุมชนภูไทโดยรวม 3) รูปแบบการท่องเที่ยว ด้านการบริหารงบประมาณ มีความสัมพันธ์กับอิทธิพลเชิงบวกกับภาพลักษณ์ชุมชนภูไทโดยรวม โดยตัวแปรทั้งหมดมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ ร้อยละ 47.20</p> รุ่งอรุณ ชัยศิริรัตน์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280438 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและสมรรถนะในงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 3 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280439 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและสมรรถนะในงาน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 3 การวิจัยครั้งนี้เป็น<br>การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 327 คน โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและสมรรถนะในงาน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 3 มีตัวแปรต้น 5 ตัว ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ ด้านจริยธรรม และด้านการทำงานเป็นทีม แสดงว่าตัวแปรอิสระทุกตัวสามารถพยากรณ์ตัวแปรตามได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 86.00</p> เพ็ญนภา อุ้มบุญ, อนันต์ สุนทราเมธากุล, ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280439 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 นักบัญชีนิติวิทยาเข้าใจกลโกงด้วยทฤษฎี 5 เหลี่ยมการทุจริต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280442 <p>การเข้าใจสาเหตุกลโกงของการทุจริตเป็นทักษะสำคัญของนักบัญชีนิติวิทยา เพื่อประเมินความเสี่ยง<br>และประเมินความเหมาะสมของแนวทางป้องกันทุจริตขององค์กร รวมถึงการวางแผนการตรวจสอบ การสอบสวนเพื่อให้ตรวจพบที่เร็วขึ้นได้ ทฤษฎีห้าเหลี่ยมการทุจริตเป็นการอธิบายแนวคิดสาเหตุของการทุจริต ประกอบด้วยสาเหตุหลัก 5 ประการ คือ 1) โอกาสของการทุจริต 2) แรงจูงใจหรือแรงกดดัน 3) การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง <br>4) การมีศักยภาพความสามารถในการกระทำผิด และ 5) ความหยิ่งยโสทะนงตน ทั้งนี้ตามทฤษฎีการทุจริตในประเภทต่าง ๆ จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีองค์ประกอบอย่างน้อย 3 ประการ ตามทฤษฎีสามเหลี่ยมทุจริต กล่าวคือ ผู้ที่จะทำการทุจริตส่วนใหญ่เกิดจากอารมณ์ แรงปรารถนาเชิงลบ ภาระหนี้สิน ฯลฯ เมื่อเห็นโอกาสหรือช่องทางที่ตอบสนองกับอารมณ์และแรงปรารถนาได้ อีกทั้งขาดการคิด วิเคราะห์ แยกแยะเพื่อยับยั้งการกระทำ และสุดท้ายก็จะตัดสินใจลงมือทำผิดแล้วมักจะหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองว่าสิ่งที่ทำนั้นเหมาะสมแล้ว ดีแล้ว ในขณะเดียวกันพฤติกรรมเสริมด้านอื่นก็เป็นแรงขับเพิ่มเติมให้มีการกระทำทุจริต ตามทฤษฎีสี่เหลี่ยมและห้าเหลี่ยมการทุจริต คือ การที่มีศักยภาพสามารถควบคุมหรือกำหนด กฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่เอื้อประโยชน์หรือการใช้อำนาจในการจัดการคนที่ขวางทางของตนเอง การยึดมั่นถือมั่น ตำแหน่งหน้าตาทางสังคมไว้ กลัวการสูญเสียความสำคัญ ดังนั้นแล้วเมื่อการทุจริตเกิดจากพฤติกรรมแรงปรารถนาเชิงลบของบุคคล ระบบการคัดเลือกบุคลากรและวัฒนธรรมขององค์กรที่มุ่งเน้นด้าน คุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม ควบคู่ไปกับการบริหารธุรกิจอย่างยั่งยืนจึงสำคัญมาก</p> ชุติมา อวยผล, กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/280442 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700