@article{กิตติบุญถวัลย์_ชื่นฉ่ำ_เชื้อทอง_2022, title={ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียน}, volume={7}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/256393}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียน โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยเชิงพรรณนา ประชากร คือ นักเรียนอายุ 7 - 14 ปีในจังหวัดสระบุรี  สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนได้กลุ่มตัวอย่าง 397 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติพรรณนาและการหาค่าสหสัมพันธ์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ (M=45.55,SD =5.76) โดย ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการจัดการตนเอง และด้านการตัดสินใจเพื่อสุขภาพ อยู่ในระดับไม่ดี เด็กวัยเรียนมีความเข้าใจเรื่องการออกกำลังกายและการแก้ปัญหาเมื่อเกิดความไม่สบายใจเพียงร้อยละ 44.17 <br />และร้อยละ 51.17 ส่วนทักษะด้านการเข้าถึงข้อมูลอยู่ในระดับดี ทักษะด้านการสื่อสารสุขภาพ และการรู้เท่าทันสื่อ อยู่ในระดับพอใช้ พฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (M =37.89, SD=5.58) แต่ค่าเฉลี่ยต่ำในเรื่องการดื่มน้ำอัดลม/เครื่องดื่มที่มีรสหวานและการออกกำลังกาย การศึกษานี้พบว่าปัจจัยเอื้อด้านครูอนามัย <br />และครอบครัว มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ</strong></p> <p>1.ควรพัฒนาทักษะด้านความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการออกกำลังกาย และเรื่องการแก้ปัญหาเมื่อเกิดความไม่สบายใจแก่เด็กวัยเรียน</p> <ol start="2"> <li>ลดพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงในเด็กวัยเรียน</li> </ol> <p>3. ส่งเสริมให้ครูอนามัย และครอบครัวพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ</p>}, number={2}, journal={มจร การพัฒนาสังคม}, author={กิตติบุญถวัลย์ ประไพ and ชื่นฉ่ำ จีราภรณ์ and เชื้อทอง ศักดิ์มงคล}, year={2022}, month={ก.ย.}, pages={71–84} }