@article{จำปาวัลย์_ศรีเครือดง_ฐิติโชติรัตนา_2022, title={พุทธจิตวิทยาแห่งมหาวิชชาลัยการส่งเสริมเศรษฐกิจแนวพุทธและจิตพอเพียง}, volume={7}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/256795}, abstractNote={<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบและองค์ความรู้ของรูปแบบพุทธจิตวิทยาแห่งมหาวิชชาลัยการส่งเสริมเศรษฐกิจแนวพุทธและจิตพอเพียง และ 2) เพื่อนำเสนอรูปแบบพุทธจิตวิทยาแห่งมหาวิชชาลัยการส่งเสริมเศรษฐกิจแนวพุทธและจิตพอเพียง โดยระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาเอกสาร การศึกษาภาคสนามถอดบทเรียนจากการเรียนรู้การปฏิบัติที่ดีของมหาวิชชาลัยต้นแบบ 2 กรณีศึกษา การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบพุทธจิตวิทยาแห่งมหาวิชชาลัยการส่งเสริมเศรษฐกิจแนวพุทธและจิตพอเพียง ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปราชญ์ภูมิปัญญา ครู นักบวช 2) หลักสูตร กิจกรรมฐานการเรียนรู้ 3) วิธีการ กระบวนการเรียน 4) เงื่อนเวลา 5) เครื่องมือประกอบการเรียนรู้และสื่อ 6) อาคาร สถานที่ และสิ่งแวดล้อม 7) กลุ่มเครือข่าย ภาคีเครือข่าย และ 8) การบริหารจัดการ และองค์ความรู้ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ 2) สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ 3) สังคม วัฒนธรรม ประเพณี ประวัติศาสตร์ และ 4) จิตใจ จิตวิญญาณ</p> <ol start="2"> <li>รูปแบบพุทธจิตวิทยาแห่งมหาวิชชาลัยการส่งเสริมเศรษฐกิจแนวพุทธและจิตพอเพียง เป็นรูปแบบการส่งเสริมพัฒนามนุษย์ด้วยกระบวนการศึกษาตามหลักไตรสิกขา โดยมี 8 องค์ประกอบ และองค์ความรู้ 4 ด้าน เป็นปัจจัยภายนอกตัวบุคคล คือ ปรโตโฆสะและกัลยาณมิตร ซึ่งเป็นปัจจัยนำเข้าส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงปัจจัยภายในตัวบุคคล คือ วิธีคิดหรือโยนิโสมนสิการ ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาปัญญาและสมาธิเกิดคุณลักษณะจิตใจที่เป็นความต้องการแบบฉันทะหรือจิตพอเพียง ส่งเสริมศีลเพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจแนวพุทธ โดยผลของรูปแบบ คือ ผลผลิต ทุน 4 ประเภท ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนสิ่งแวดล้อม และทุนทางกายภาพ และผลลัพธ์ ได้แก่ บุคคลเกิดความสุขของคฤหัสถ์ 4 และความสุขจากการให้ และเกิดผลในที่สุด คือสันติสุข</li> </ol>}, number={2}, journal={มจร การพัฒนาสังคม}, author={จำปาวัลย์ ตฏิลา and ศรีเครือดง สิริวัฒน์ and ฐิติโชติรัตนา วิชชุดา}, year={2022}, month={ก.ย.}, pages={283–295} }