มจร การพัฒนาสังคม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD <p><strong>วารสาร มจร การพัฒนาสังคม </strong><strong>ISSN (Print): 2539-5718, ISSN (Online): 2651-1215 </strong></p> <p>มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือบทความปริทัศน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการแก่นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์และนักศึกษา ในมิติเพื่อสนับสนุนการศึกษา การสอน การวิจัย โดยเน้นสาขาวิชาการพัฒนาสังคม สังคมวิทยา การพัฒนาชุมชม เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ รวมถึงสหวิทยาการอื่น ๆ เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p>บทความที่นำมาตีพิมพ์ในแต่ละฉบับ กองบรรณาธิการจะตรวจสอบความสมบูรณ์ตามรูปแบบเป็นขั้นแรก แล้วจัดส่งผู้ทรงคุณวุฒิร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) จำนวน 3 ท่าน ประเมินบทความตามเกณฑ์และแบบฟอร์มที่กำหนดในลักษณะเป็น Double-Blind Peer Review คือ ปกปิดรายชื่อผู้เขียนบทความและผู้เกี่ยวข้อง</p> <p>บทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 3 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) โดยรับพิจารณาตีพิมพ์ต้นฉบับของบุคคลทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ผลงานที่ส่งมาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร</p> <p>ทัศนะและข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่ความคิดของคณะผู้จัดทำ และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการฯ</p> <p>กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว</p> หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม ภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย th-TH มจร การพัฒนาสังคม 2539-5718 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพแม่ชีไทยสำนักแม่ชีรัตนไพบูลย์ กรุงเทพมหานคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/275892 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพแม่ชีไทย สำนักแม่ชีรัตนไพบูลย์ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้แทนแม่ชีไทยในสำนักแม่ชีรัตนไพบูลย์กรุงเทพมหานคร จำนวน 169 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน&nbsp; การวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า การส่งเสริมสุขภาพแม่ชีไทย สำนักแม่ชีรัตนไพบูลย์กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 72.2 ระดับมาก ร้อยละ 27.8 ผลการวิจัยพบว่าทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับมากกับการส่งเสริมสุขภาพแม่ชีไทย (r = 0.542) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value &lt; .01) แต่ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลด้านอายุ ระดับการศึกษา&nbsp; ระยะเวลาในการบวช ระยะเวลาที่มาพำนักในสำนักแม่ชีรัตนไพบูลย์ กรุงเทพมหานคร โรคประจำตัว การอบรมความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ และบรรยากาศองค์กรที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพแม่ชีไทย</p> <p>ผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะให้หัวหน้าสำนักแม่ชีรัตนไพบูลย์ กรุงเทพมหานคร ควรวางแผนกำหนดนโยบายและโครงการที่ชัดเจนในการส่งเสริมสุขภาพของแม่ชีไทย รวมทั้งให้ข้อมูลข่าวสารด้านการส่งเสริมสุขภาพ จากสื่อต่างๆ ส่งเสริมให้แม่ชีไทยมีความเข้าใจในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ รณรงค์การส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ให้แม่ชีไทยมีการส่งเสริมสุขภาพให้มากขึ้น จัดกิจกรรมที่หลากหลายในสำนักอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น สนับสนุนกระตุ้นให้แม่ชีเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อจะได้รับความรู้และทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับสุขภาพของตนเอง</p> ชูใจ ทุมนันท์ วิราสิริริ์ วสีวีรสิร์ Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 9 2 37 50 ชาติพันธุ์ชาวชอง : กลไกทางวัฒนธรรมและมิติของความหลากหลายทางชีวภาพ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/268590 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกบูรณาการทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชองในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และกลไกบูรณาการของชาติพันธุ์ชองในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับชาติพันธุ์อื่น รวมถึงการเสื่อมบทบาทของกลไกบูรณาการทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ชอง ตลอดจนข้อเสนอแนะบทบาทของชาติพันธุ์ชองกับการปรับตัวในกระแสการก้าวสู่สังคมสมัยใหม่ ในอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแนวประวัติศาสตร์ เทคนิคการวิจัยประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ผลการศึกษา พบว่า กลไกบูรณาการทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชอง มีการใช้ทุนทางสิ่งแวดล้อมในเขตป่าเขาคิชฌกูฏไม่ได้ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ แต่เป็นการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ สำหรับกลไกบูรณาการทางชาติพันธุ์ชองในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับชาติพันธุ์อื่น พบว่า กลุ่มคนชองในฐานะที่เป็นคนท้องถิ่นในอำเภอเขาคิชฌกูฏตั้งแต่อดีต สามารถที่จะดำรงอยู่ร่วมกับคนจีนและคนไทยที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานภายหลัง นอกจากนี้ กระบวนการเสื่อมบทบาทของกลไกบูรณาการความหลายหลายทางชีวภาพของชุมชนชองเขาคิชฌกูฏ เกิดจากการเข้ามาแทนที่ของระบบกรรมสิทธิ์ของรัฐในเขตป่าเขา ส่วนข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของชาติพันธุ์ชองกับการปรับตัวเพื่อก้าวสู่สังคมสมัยใหม่ คือ การใช้กระบวนการปลุกจิตสำนึกเพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมชอง ได้แก่ การอนุรักษ์ภาษาชองให้เป็นภาษาที่สองของชุมชน การเผยแพร่วัฒนธรรมชอง การฟื้นฟูวัฒนธรรมทางเศรษฐกิจของชองโดยอาศัยกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง</p> <p> </p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : กลุ่มชาติพันธ<strong>ุ์</strong>ชอง กลไกทางวัฒนธรรม ความหลากหลายทางชีวภาพ</p> มนัส พัฒนผล Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 9 2 14 24 การพัฒนารูปแบบการป้องกันยาเสพติดด้วยหลักพุทธธรรมในกลุ่มเด็กและเยาวชนของชุมชนแฟลตตำรวจส่วนกลางทุ่งสองห้อง กรุงเทพมหานคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/276439 <p>การพัฒนารูปแบบการป้องกันยาเสพติดด้วยหลักพุทธธรรมในกลุ่มเด็กและเยาวชนของชุมชนแฟลตตำรวจส่วนกลางทุ่งสองห้อง กรุงเทพมหานคร งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการป้องกันยาเสพติดด้วยหลักพุทธธรรมของชุมชน 2. เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการป้องกันยาเสพติดของชุมชนแฟลตตำรวจส่วนกลางทุ่งสองห้อง กรุงเทพมหานคร 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการป้องกันเสพติดด้วยหลักพุทธธรรมในกลุ่มเด็กและเยาวชนของชุมชนแฟลตตำรวจส่วนกลางทุ่งสองห้อง กรุงเทพมหานครโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) และการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ <br>1. ตัวแทนเจ้าหน้าที่ในองค์กรของรัฐบาล 2. ตัวแทนผู้นำครอบครัว 3.ตัวแทนผู้นำชุมชน รวมทั้งสิ้นจำนวน <br>25 คน</p> <p><strong>ผลการศึกษาพบว่า </strong></p> <p>การป้องกันยาเสพติดด้วยหลักพุทธธรรมในกลุ่มเด็กและเยาวชนของชุมชนแฟลตตำรวจส่วนกลางทุ่งสองห้อง กรุงเทพมหานคร</p> <p><strong>ระดับครอบครัว</strong></p> <p>การสร้างความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว</p> <ol> <li class="show">การสอดส่องพฤติกรรม และการแสดงออกของบุตรหลาน ว่ามีพฤติกรรมที่จะเป็นการนําไปสู่การติดยาเสพติด</li> <li class="show">2. การสร้างความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว โดยการอบรมสั่งสอน การพูดคุยกับ ลูกหลาน</li> <li class="show">พ่อแม่ผู้ปกครอง จะต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี แบบอย่างที่ถูกต้องให้กับบุตรหลาน</li> </ol> <p><strong>ระดับชุมชน</strong></p> <ol> <li class="show">1. การศึกษาสภาพชุมชน เพื่อวิเคราะห์ผู้นําชุมชน มุ่งเน้น การเข้าไปช่วยพัฒนาชุมชน</li> <li class="show">การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน มีการติดตามโดยใช้มาตรการแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน</li> <li class="show">จากครอบครัวสู่สถานศึกษา โดยผ่านกฎกติกาชุมชนโดยให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด</li> <li class="show">การใช้มาตรการทางสังคม โดยการกำหนดเป็นกฎกติกาที่เป็นที่ยอมรับ จากคนในชุมชนของชุมชน</li> <li class="show">การขจัดแหล่งอบายมุข แหล่งมั่วสุมและแหล่งจำหน่ายยาเสพติดในชุมชนแฟลตตำรวจส่วนกลางทุ่งสองห้อง กรุงเทพมหานคร</li> <li class="show">การสร้างกิจกรรมเสริมสร้างสำหรับเยาวชนในชุมชนแฟลตตำรวจส่วนกลางทุ่งสองห้อง กรุงเทพมหานคร เพื่อให้สามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น โครงการแลกขยะเพื่อความสัมพันธ์ในชุมชน โครงการลานกีฬาเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด โครงการดนตรีในสวน</li> <li class="show">การจัดที่ปรึกษาและแนะแนว เพื่อช่วยให้คำแนะนำและช่วยเหลือ เมื่อเยาวชนมีปัญหา</li> <li class="show">การพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชนแฟลตตำรวจส่วนกลางทุ่งสองห้อง กรุงเทพมหานคร การเพิ่มรายได้ของแต่ละบุคคล ลดความยากจนและความกดดันทางเศรษฐกิจ เช่น การฝึกอาชีพ การหารายได้พิเศษ เป็นต้น</li> </ol> <p>&nbsp;</p> ชินทัต อุบลแย้ม Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 9 2 25 36 คุณภาพชีวิตของแม่ชีไทยสูงอายุ สำนักแม่ชีรัตนไพบูลย์ กรุงเทพมหานคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/275854 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของแม่ชีไทยสูงอายุ สำนักแม่ชีรัตนไพบูลย์ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 173 คน เป็นแม่ชีไทยสูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-74 ปี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 19 มิถุนายน – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตของแม่ชีไทยสูงอายุโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 43.82 ระดับปานกลางร้อยละ 42.33 และระดับน้อย ร้อยละ 13.85&nbsp; การเข้าถึงบริการสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตของแม่ชีไทยสูงอายุ มีค่า r=0.343 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value&lt;0.05) และแรงสนับสนุนทางสังคมมีค่า r=0.321 ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตของแม่ชีไทยสูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value&lt;0.05)</p> <p>&nbsp;ผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะให้นำไปประยุกต์ใช้พัฒนาและปรับปรุง ด้านการจัดการ การเข้ารับบริการสุขภาพของแม่ชีไทยสูงอายุ สมควรได้รับการตรวจสุขภาพก่อนประชาชนทั่วไป ส่วนด้านแรงสนับสนุนทางสังคม ควรได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในเรื่องปัจจัย สิ่งของและข้อมูลข่าวสารพร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน</p> จันทร์เพ็ญ จันราสี วิราสิริริ์ วสีวีรสิร์ Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 9 2 1 13 การส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติกผ่านการเรียนรู้ทางนาฏยศิลป์ : ความต้องการและความคาดหวังของผู้ปกครอง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/269375 <p>การศึกษา การส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติกผ่านการเรียนรู้ทางนาฏยศิลป์ : ความต้องการและความคาดหวังของผู้ปกครอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและคาดหวังของผู้ปกครองเด็กออทิสติกที่มีต่อการจัดการเรียนรู้นาฏยศิลป์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ในเด็กออทิสติก&nbsp; โดยมีประเด็นความต้องการและความคาดหวังในการส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ในเด็กออทิสติก&nbsp; โดยกลุ่มประชากรที่ศึกษา คือ กลุ่มผู้ปกครองของเด็กออทิสติกอายุระหว่าง 5–12 ปี&nbsp; ในศูนย์การศึกษาพิเศษและหน่วยบริการการศึกษาพิเศษ&nbsp; ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร&nbsp;</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่าด้านข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เพศ&nbsp; อายุ สถานภาพสมรส ข้อมูลเกี่ยวกับบุตร ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ ด้านความคิดเห็นและประสบการณ์ และ ด้านความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาออทิสติก มีความสัมพันธ์กับความต้องการและความคาดหวังที่มีต่อการเรียนรู้นาฏยศิลป์&nbsp; เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ในกลุ่มเด็กออทิสติก โดยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อความต้องการและความคาดหวังต่อการจัดการเรียนรู้นาฏยศิลป์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ในกลุ่มเด็กออทิสติก&nbsp; โดยรวมอยู่ในระดับ “มาก”&nbsp; โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 53.7 และร้อยละ 62.5&nbsp; ตามลำดับ</p> เตชสิทธิ์ รัศมีวงศ์พร Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-01 2024-09-01 9 2 51 64 ความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/268634 <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">การวิจัยนี้ต่อไป 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่ต้องการความต้องการของนิเทศภายในของสถานศึกษา และ2) ภายในวิเคราะห์ความต้องการที่จำเป็นของนิเทศของสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาโดมโลหะตัวอย่าง การวิจัยคือครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารวม 384 คนกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตัวอย่างระดับของเครซี่และมอร์แกนองค์ประกอบการวิจัยส่วนใหญ่เป็นแบบมาตราส่วนตรวจค่า 5 ระดับมีค่าความเที่ยงเท่ากับเท่ากับ 0.99 สถิติและข้อมูลส่วนใหญ่คือข้อมูลที่ต้องติดตามค่าส่วนการควบคุมมาตรฐาน วิเคราะห์ PNI ผลการวิจัยภายในพบว่าระดับของสภาพปัจจุบันของนิเทศของสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา โลหะสำรวจในส่วนประกอบ ระดับปานกลาง ( = 3.06, SD = 0.56) ระดับสภาพที่ต้องการของนิเทศภายในของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาของกรุงโรมในความเข้มข้นมาก ( = 4.47, SD = 0.56) และความสามารถของ นิเทศภายในของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาของชาวยิวจากมากที่สุดไปน้อยสุดคือที่ 1 คือการแก้ไขการนิเทศ (PNI </span></span><sub><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">modified&nbsp; </span></span></sub><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"> =0.49) นั่นคือที่ 2 นั่นคือรายงานผลการนิเทศ (PNI </span></span><sub><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">modified&nbsp; </span></span></sub><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"> = 0.46) ในลำดับที่ 3 มีการดำเนินการเท่ากัน 2 ในนั้นคือวิเคราะห์สภาพปัญหาของโรงเรียนในกำกับนิเทศ (PNI </span></span><sub><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">modified&nbsp; </span></span></sub><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"> =0.45) ตามลำดับ</span></span></p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">สำคัญคำ:</span></span></strong><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">การนิเทศภายใน; </span><span style="vertical-align: inherit;">สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอิสลาม; </span><span style="vertical-align: inherit;">ความต้องการที่จำเป็น</span></span></p> นฤทัย ลา Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-01 2024-09-01 9 2 65 73 ความต้องการจำเป็นของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/268324 <p>The objectives of this research article are 1) to study the level of current reality. and the desired conditions of the student care and support system of educational institutions under the Primary Educational Service Area Office. 2) To study the necessary needs of the student care and support system of educational institutions under the Primary Educational Service Area Office. The sample group used in the research was 384 teachers under the Primary Educational Service Area Office. The sample size was determined using Crazy and Morgan's table. The research instrument is a questionnaire with a 5-level rating scale with a reliability of 0.99. Statistics used in data analysis are mean, standard deviation, and PNI analysis method. The results of the research found that 1) the current level of actual conditions and the condition that you want it to be of the operation of the student care and support system of the educational institution Under the jurisdiction of the Primary Educational Service Area Office Overall, it was at a high level (= 3.86, S.D. = 0.57) and when considering each aspect, it was found that it was at a high level in all 5 areas. The desired condition for the operation of the student care and support system of the educational institution. Under the jurisdiction of the Primary Educational Service Area Office Overall, it is at the highest level (= 4.73, S.D. = 0.40) and when considering each aspect, it is found that it is at the highest level in all 5 areas. 2) Assessment of the needs and necessities of operating the student support system. Educational institutions under the Primary Educational Service Area Office The most important priority is the development and promotion of students (PNI<sub>modified</sub>= 0.27). &nbsp;</p> เนตรนภิส สุขปลั่ง ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์ อรสา จรูญธรรม Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-01 2024-09-01 9 2 74 82 การส่งเสริมคุณค่าวิถีเกษตรกับการท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/270896 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ซึ่งสามารถนำมาสร้างโอกาสให้เอื้อต่อการเป็นแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 2) ค้นหาแนวทางส่งเสริมการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่มาสร้างโอกาสเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยไม่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมของชุมชน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้นำชุมชน ชุมชน และกลุ่มผู้ผลิต ผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในชุมชนตำบลสาวชะโงก ผลการวิจัยพบว่า ในพื้นที่ตำบลสาวชะโงกซึ่งมีแม่น้ำบางปะกงไหลผ่าน เป็นพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษ คือ มีสามน้ำ ได้แก่ น้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรที่เพาะปลูกในพื้นที่ตำบลสาวชะโงก เช่น มะม่วง มะพร้าว หมาก ผักขึ้นฉ่าย และหัวไชเท้า เป็นต้น มีชื่อเสียงในเรื่องรสชาติและความอร่อย ขณะเดียวกันประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ตำบลสาวชะโชกมีเชื้อสายจีน และมีวิถีชีวิตสัมพันธ์กับการประกอบอาชีพปลูกผลไม้และพืชเศรษฐกิจผสมผสาน โดยใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างระหว่างร่องสวน นอกจากนี้พื้นที่ตำบลสาวชะโงกยังมีสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมและความเชื่อท้องถิ่น ได้แก่ รูปหล่อหลวงพ่อเหลือ โรงเจปั้นกิ๊มยืออี๊ตั่ว และแหล่งเรียนรู้ศิลปะมวยไทย ได้แก่ ค่ายมวย ป. ประมุข เป็นต้น จากความหลากหลายของทรัพยากรด้านการเกษตร การมีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นด้านวัฒนธรรม และความเชื่อท้องถิ่นดังกล่าว ส่งผลให้พื้นที่ตำบลสาวชะโงกเอื้อต่อการนำมาสร้างโอกาสเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีเกษตรเพื่อสร้างแหล่งจูงใจและทางเลือกใหม่ให้แก่นักท่องเที่ยวได้ และขณะเดียวกันเกษตรกรในพื้นที่ยังมีโอกาสจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรอื่นๆ จากแหล่งผลิตโดยตรง ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผลดีต่อเกษตรกรและส่งผลให้อาชีพเกษตรกรรมของชุมชนเกิดความยั่งยืนสืบไป</p> บุญยอด ศรีรัตนสรณ์ วงเดือน ไม้สนธิ์ Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 9 2 83 99 แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วันละบาทตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/270307 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประโยชน์และข้อจำกัดในการดำเนินงานของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วันละบาท (2) เพื่อออกแบบแนวทางการดำเนินงาน การให้บริการที่ดีขึ้นในอนาคตและหาแนวทางการเพิ่มการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วันละบาท ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์โดยการสนทนากับกลุ่มตัวอย่าง 50 คน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัย มีดังนี้ จากการศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วันละบาท ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ผลลัทธ์ที่ได้มาจากการปฯระเมินคุณภาพของกองทุนสวัสดิการชุมชนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เป็นผลมาจากการสัมภาษณ์ประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 5 กลุ่ม จำนวน 50 คนและผลจากความร่วมมือ การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการและหน่วยงานต่างๆที่คอยให้การสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง&nbsp; สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการเข้ามีส่วนร่วมของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วันละบาทมีดังนี้&nbsp; ความเชื่อมั่นในการทำงานของคณะกรรมการ มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้จากการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ที่ต้องแจ้งในที่ประชุมด้วยทุกครั้ง การตรวจสอบบัญชีเงินฝากของธนาคาร ความมั่นคงในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นไปตามกฎ ระเบียบและข้อบังคับของกลุ่ม การร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมประจำเดือน การทำบุญในวันสำคัญต่างๆ การมอบสวัสดิการในงานศพที่มีคนเยอะๆเพื่อประชาสัมพันธ์ให้บุคคลทั่วไปได้รู้จักกับกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วันละบาทให้มากยิ่งขึ้น การช่วยเหลือสมาชิกกลุ่มฯอย่างเต็มที่ เต็มใจและเต็มความสามารถเพื่อที่จะให้กลุ่มฯและสมาชิกอยู่ต่อได้อีกนาน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ข้อเสนอแนะจากการวิจัยแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วันละบาท สามารถทำให้มีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น พัฒนาสมาชิกให้เป็นแกนนำได้ การได้รับความเชื่อถือจากบุคคลทั่วไปโดยผลมาจากการประเมินคุณภาพของกองทุนสวัสดิการชุมชนที่อยู่ในระดับเกณฑ์ที่ดีและผลตอบรับที่ได้จากการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานต่างๆอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วันละบาท ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ดำเนินงานต่อไปได้และไม่ล่มเหมือนกับกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วันละบาทของตำบลอื่น ๆ</p> <p>&nbsp;</p> พรทิพย์ เรืองรักษ์ เดชรัต สุขกำเนิด ใมตรี อินเตรียะ Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 9 2 100 107 รูปแบบการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร (กรณีศึกษาโรงเรียนศึกษานารี) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/275853 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาวิธีการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อวิเคราะห์ความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างนักเรียนโรงเรียนศึกษานารี จำนวน 341 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าหมวด และครุ จำนวน 6 ท่าน นักเรียนกลุ่มกิจกรรม จำนวน 6 ท่านวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <ol> <li class="show">ความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านความรับผิดชอบในการศึกษาเล่าเรียน ด้านความรับผิดชอบต่อสถานศึกษา ด้านความรับผิดชอบต่อครอบครัว และด้านความรับผิดชอบต่อสังคม</li> <li class="show">วิธีการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร มีความขยันหมั่นเพียร มีความตั้งใจจริง อดทนต่อสิ่งที่ไม่พึงพอใจต่าง ๆ มีความตั้งใจศึกษาเล่าเรียนทุกรายวิชามุ่งปลูกฝังให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ ส่งเสริมพรสวรรค์ที่มีในตัวของนักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น โรงเรียนเป็นสถานที่ให้ความรู้แก่นักเรียนและเป็นสถานที่ที่นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน ครอบครัวเป็นแหล่งสำคัญในการให้ความรัก ความอบอุ่นและกำลังใจแก่สมาชิกเพื่อให้สามารถต่อสู้และมีกำลังใจในการดำเนินชีวิตในสังคม ส่งเสริมให้เยาวชนรู้จักช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่ช่วยปลูกจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นในตัวเองได้มีจิตสาธารณะและเสียสละเพื่อสังคม</li> <li class="show">วิเคราะห์ความรับผิดชอบต่อสังคมของเยาวชนในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เมื่อมีปัญหาพบว่าไม่เข้าใจในบทเรียนก็พยายามศึกษาค้นคว้า ด้วยตัวเองเสมอผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ การศึกษาของนักเรียนประสบผลสำเร็จ มีความขยันหมั่นเพียร มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษาร่วมกิจกรรมส่งเสริมตามหลักสูตรของโรงเรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สนองความสามารถเฉพาะทาง หรือส่งเสริมพรสวรรค์ที่มีในตัวของนักเรียน แบ่งเบาภาระซึ่งกันและกันตามความสามารถของตน ไม่นำความเดือดร้อนมาสู่ครอบครัวครอบครัว แบ่งเบาภาระของพ่อแม่ ดูแลเอาใจใส่บิดามารดาให้เหมือนกับที่บิดามารดาดูแลเอาใจใส่ตน <br>ช่วยสอดส่องพฤติกรรมของบุคคลที่จะเป็นภัยต่อสังคม ส่งเสริมให้เยาวชนรู้จักช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่ช่วยปลูกจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นในตัวเองได้ มีจิตสาธารณะและเสียสละเพื่อสังคม</li> </ol> พระปุณณาณัฏฐ์ สุรปญฺโญ (บุญญรัตน์ปภากร) Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 9 2 126 140 การศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษา เพื่อสร้างทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/272664 <p>บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษา <br>เพื่อสร้างทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้<br>ทางสังคมศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลใน 4 ขั้นตอนประกอบด้วย 1) การวางแผนการ<br>จัดการเรียนรู้ 2) การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน (ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป) 3) สื่อการจัดการเรียนรู้ 4) การวัด<br>ประเมินผลการเรียนรู้งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการค้นคว้าวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก<br>โดยการค้นคว้าวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเจาะจง คือ นักเรียนระดับ <br>ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 50 คน (จำแนกเป็น 10 กลุ่มผู้เรียน กลุ่มละ 5 คน) และครูผู้สอนรายวิชาสังคม<br>ศึกษาระดับชั้นมัธยมตอนต้น จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 60 คน ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดกิจกรรมการ<br>เรียนรู้สังคมศึกษา เพื่อสร้างทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วยบทบาทของครูผู้สอน <br>และนักเรียนมีส่วนร่วมกันในการพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ทั้งด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย <br>ตั้งแต่กระบวนการวางแผนการจัดการเรียนรู้ สู่การในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป <br>ร่วมกับการพัฒนาสื่อการจัดการเรียนการสอนและมีการวัดประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน เพื่อสร้างทักษะความ<br>เข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล อันเป็นทักษะสำคัญในการพัฒนาการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมพลเมืองไทยให้<br>เป็นพลเมืองวิวัฒน์ (Global Citizen) และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัลและโลกในศตวรรษที่ 21</p> พัศวุฒิ สาระ สิรวิชญ์ ปันตะ พีรภาส สมพริ้ง ลัลลลิต ประทุมชนกกุล พิมพ์ตะวัน จันทัน Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 9 2 141 153 ระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการเรียน ตลอดชีวิต สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/267056 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการเรียนตลอดชีวิต 2) เพื่อประเมินความต้องการเกี่ยวกับระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการเรียนตลอดชีวิต 3) เพื่อพัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการเรียนตลอดชีวิต 4) เพื่อประเมินและรับรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิของการพัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการเรียนตลอดชีวิต 5) เพื่อนำเสนอระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการเรียนตลอดชีวิต สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยทำการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้าน รวมจำนวนทั้งสิ้น 15 รูป/คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ นำผล การสังเคราะห์ วิเคราะหขอมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธี 6’C Technic และใช้การตรวจสอบแบบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล (Methodological triangulation) &nbsp;เพื่อตรวจสอบ และยืนยันความถูกต้องของข้อมูล และดำเนินการจัดสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) จากผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้าน รวมจำนวนทั้งสิ้น 13 รูป/คน เพื่อตรวจสอบคุณภาพการพัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการเรียนตลอดชีวิต ให้สมบูรณ์ จากนั้นนำเสนอระบบที่ได้ไปประเมินยืนยันระบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ด้วยการประเมินเฉพาะด้านประเมินความตรง (Validity) ความเที่ยง (Reliability) และการหาฉันทามติ (Consensus) ว่ามีความสมบูรณ์ในเนื้อหาสาระ คุณภาพ คุณลักษณะ คุณค่า ความเหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (Connoisseurship) จำนวน 5 ท่าน และสรุปข้อค้นพบ และสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่</p> <p>ผลการวิจัยมีดังนี้</p> <p>1) คุณลักษณะองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการเรียนตลอดชีวิต พบว่า <strong>องค์ประกอบที่ 1.0 บริบท (</strong><strong>Context)</strong> คือ ระบบการสอนสังคมศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ ดังนี้ (1) ระบบการพัฒนาด้านครูผู้สอน (2) ระบบการพัฒนาด้านเนื้อหา (3) ระบบการพัฒนาด้านสื่อการสอน (4) ระบบการพัฒนาด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และ(5) ระบบการพัฒนาด้านการวัดและประเมินผลการเรียน ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่เหมาะสมในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล 2) การปรับปรุงเป้าหมายการเรียน 3) เทคโนโลยีในการวัดและประเมินผล และ4) การนำเสนอผลการเรียน <strong>องค์ประกอบที่ 2.0 ปัจจัยนำเข้า (</strong><strong>Input)</strong> คือ การบูรณาการสอนตามหลักอิทธิบาท 4 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ มีดังนี้ (1) การสอนให้นักเรียนจักฉันทะ (ความพอใจ) (2) การสอนให้นักเรียนจักวิริยะ (ความเพียร (3) การสอนให้นักเรียนจักจิตตะ (ความคิด) (4) การสอนให้นักเรียนจักวิมังสา (ความไตร่ตรอง) <strong>องค์ประกอบที่ 3.0 กระบวนการ (</strong><strong>Process) </strong>คือ การส่งเสริมการเรียนตลอดชีวิต ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ มีตังนี้ (๑) ทักษะด้านการเรียนด้วยตนเอง (2) ทักษะการ (3) ทักษะการอยู่ร่วมกัน (4) ทักษะชีวิต (5) ทักษะอาชีพ และ(6) ทักษะด้าน และการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ มี 4 ประการ มีดังนี้ (1) ด้านสภาพแวดล้อม (2) ด้านการมีส่วนร่วม (3) ด้านการบริหารจัดการ และ(4) ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน</p> <p>2) ระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการเรียนตลอดชีวิต พบว่า <strong>องค์ประกอบที่ 4.0 ผลลัพธ์(</strong><strong>Output)</strong> คือ แบบจำลองระบบการสอนพระปริยัติธรรมตามคุณลักษณะ 5 ประการ CHATCHAI MODEL มีดังนี้ (1) เรียนดี ประกอบด้วย&nbsp; 1) ส่งเสริมให้นักเรียนมีเป้าหมายในการเรียน 2) ส่งเสริมให้นักเรียนมีเห็นคุณค่าของการเรียน และ๓) ส่งเสริมให้นักเรียนสนุกกับการเรียนสิ่งใหม่ๆ (2) กิจกรรมเด่น ประกอบด้วย 1) ส่งเสริมกิจกรรมนักพูดนักเทศ 2) ส่งเสริมกิจกรรมฝึกทักษะโครงงานวิทยาศาสตร์ และ3) ส่งเสริมกิจกรรมสร้างนวัตกรรมสมัยใหม่ (3) เน้นคุณธรรม ประกอบด้วย 1) ส่งเสริมให้นักเรียนมีความซื่อสัตย์สุจริต 2) ส่งเสริมให้นักเรียนมีจิตอาสา และ3) ส่งเสริมให้นักเรียนอุทิศตนเพื่อส่วนรวม (4) นำวิชาการ ประกอบด้วย 1) ส่งเสริมให้นักเรียนคิดเป็น 2) ส่งเสริมให้นักเรียนวิเคราะห์เป็น และ3) ส่งเสริมให้นักเรียนแยกแยะเป็น (5) พัฒนาการอาชีพ ประกอบด้วย 1) ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะด้านภาษา 2) ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะด้านการสื่อสาร และ๓) ส่งเสริมให้นักเรียนเก่งด้านเทคโนโลยี และ<strong>องค์ประกอบที่ 5.0 การตรวจสอบและการปรับปรุง (</strong><strong>Feedback)</strong> คือ นำข้อมูล แบบจำลองระบบการสอนพระปริยัติธรรมตามคุณลักษณะ 5 ประการ CHATCHAI MODEL กลับเข้า สู่ระบบเพื่อใช้ ในการปรับปรุงปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตระบบให้มีความเหมาะสมต่อไป</p> <p>3) ผลประเมินและรับรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิของการพัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการเรียนตลอดชีวิต โดยพิจารณาจากเกณฑ์ (Rating Scale) 5 ระดับ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมทุกด้าน เท่ากับ 5.00</p> พระมหาฉัตรชัย ธมฺมวรเมธี Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 9 2 154 168 โครงการฝึกอบรมอาสาสมัครเพื่อเป็นพี่เลี้ยงสามเณรในโครงการเมตตาธรรม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : การถอดบทเรียน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/268747 <p>บทวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนเกี่ยวกับโครงการฝึกอบรมอาสาสมัครเพื่อเป็นพี่เลี้ยงสามเณรในโครงการเมตตาธรรม เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากหัวหน้าโครงการและวิทยากรผู้ฝึกอบรมที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับโครงการฝึกอบรม จำนวน 8 รูป/คน และยังเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่มจากผู้เข้าฝึกอบรมอาสาสมัครเพี่อเป็นพี่เลี้ยงสามเณร จำนวน 8 รูป ศึกษาโดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อถอดบทเรียนแบบการเรียนรู้หลังการดำเนินงาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ได้บทเรียน 4 กลุ่ม ได้แก่&nbsp; (1) บทเรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการ&nbsp; (2) บทเรียนเกี่ยวกับการอบรมอาสาสมัคร&nbsp; (3) บทเรียนเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม และ (4) บทเรียนเกี่ยวกับการอบรมสามเณร บทเรียนแต่ละกลุ่มยังประกอบด้วยบทเรียนย่อยดังนี้ (1) บทเรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการประกอบด้วยบทเรียนด้านการประสานงานและบทเรียนด้านทีมงาน&nbsp; (2) บทเรียนเกี่ยวกับการอบรมอาสาสมัคร ประกอบด้วยบทเรียนเกี่ยวกับแรงจูงใจของอาสาสมัคร บทเรียนด้านลักษณะของอาสาสมัคร และบทเรียนเกี่ยวกับการจัดอบรมอาสาสมัคร (3) บทเรียนเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม ประกอบด้วยบทเรียนด้านภาวะผู้นำและบทเรียนด้านการทำงานภายในทีม (4) บทเรียนเกี่ยวกับการอบรมสามเณร ประกอบด้วยบทเรียนด้านทักษะการถ่ายถอดและบทเรียนด้านการอบรมสามเณรที่มีลักษณะอบรมยาก</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong>: ถอดบทเรียน; กระบวนการฝึกอบรม; อาสาสมัคร; พี่เลี้ยงสามเณร</p> พระมหาสิงหา ไข่อำพร Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 9 2 169 178 การเสริมสร้างพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดอุทัยธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/276190 <p>การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดอุทัยธานี 2. เพื่อพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดอุทัยธานี 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดอุทัยธานี การวิจัยเป็นแบบผสมวิธี (Mix Methods Reserch) คือ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยประชากรคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1 ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 285 คน และกลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้กิจกรรม จำนวน 15 คน และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired Sample t-test และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <ol> <li class="show">พฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดอุทัยธานี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ ด้านความรับผิดชอบต่อชุมชน รองลงมาคือ ด้านความรับผิดชอบต่อครอบครัว ด้านความรับผิดชอบต่อโรงเรียน และด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน</li> <li class="show">กิจกรรมเสริมสร้างพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดอุทัยธานี ประกอบด้วย (2) จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอาด จัดระเบียบสิ่งของ และแยกขยะ (1) วางแผนดำเนินกิจกรรม โดยให้นักเรียนร่วมกันกำหนด (2.1) ปัญหาในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนที่ต้องการแก้ไข (2.2) สาเหตุของปัญหา (2.3) เป้าหมาย และตัวชี้วัดความสำเร็จ (2.4) หลักธรรมที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม (2.5) แนวทางแก้ไขปัญหา (3) ดำเนินกิจกรรมและสรุปผล และ (4) ติดตามผลการทำกิจกรรม พบว่า หลังการทำกิจกรรมเสริมสร้างพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน สูงกว่า ก่อนทำกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001</li> <li class="show">แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดอุทัยธานี พบว่า หากต้องการให้บังเกิดผลอย่างยั่งยืน ควรเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งครอบครัว โรงเรียน ชุมชนหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายอื่น ๆ โดยเน้นให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมลงมือทำกิจกรรมหรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจด้วยตนเอง อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และมีการกำกับ ติดตาม แนะนำ และประเมินผล โดยผู้ปกครองและครู</li> </ol> พระมหาสุริยา ปวรชโย (ท่อนแก้ว) Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 9 2 179 193 การจัดการความเครียดตามหลักพระพุทธศาสนาของคนไทยในเมืองลอสแอนเจลิส https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/276191 <p>วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการความเครียดตามหลักพระพุทธศาสนาของคนไทยในเมืองลอสแอนเจลิส” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1. เพื่อศึกษาความเครียดของคนไทยในเมืองลอสแอนเจลิส 2. เพื่อศึกษาการจัดการความเครียดตามหลักพระพุทธศาสนาของคนไทยในเมืองลอสแอนเจลิส และ 3. เพื่อเสริมสร้างพุทธวิธีการจัดการความเครียดของคนไทยในเมืองลอสแอนเจลิส</p> <p><strong>ผลการวิจัย พบว่า </strong></p> <ol> <li class="show">ความเครียด คือ อาการของการคิดไม่ตก ว้าวุ่น หาทางออกไม่ได้ มีความกังวลอยู่เสมอ มีความคิดที่ไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน ซึ่งมาจากปัญหาความกังวลในการเลี้ยงลูกเพื่อให้ลูกมีการศึกษาและชีวิตที่ดี จากการทำงานที่หนักเกินไป แรงกดดันตามข่าวทีวี เพื่อน ครอบครัว หน้าที่การงาน จากปัญหาจากสถานการณ์โรคโควิด-19 จากปัญหาเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีค่าครองชีพที่สูงขึ้น และจากโรคภัยไข้เจ็บ ความเครียดนั้น ได้ส่งผลกระทบหลายทางด้วยกัน แยกได้ดังนี้ คือ 1. ส่งผลกระทบต่อร่างกาย 2. ผลกระทบทางจิตใจ 3. ผลกระทบต่อครอบครัว คนรอบข้าง 4. ผลกระทบต่อที่ทำงาน 5. ผลกระทบต่อสังคม</li> <li class="show">การจัดการความเครียดโดยทั่วไปนั้นพุทธศาสนิกชนจะใช้วิธีดังนี้ คือ การไม่คาดหวังสูงเกินไป การยอมรับตามความเป็นจริง การคุยกับนักจิตบำบัด การหากิจกรรมทางกายภาพบำบัด เช่น ไปเที่ยว เดินป่า อ่านหนังสือ ทำอาหาร ออกกำลังกาย รวมถึงการอยู่กับเพื่อน โดยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาสามารถช่วยจัดการกับความเครียดได้ดีมาก มีดังนี้ คือ 1. ทาน ศีล 2. การสวดมนต์ไหว้พระ 3 การเจริญสมาธิภาวนา 4. ศีล สมาธิ ปัญญา 5. ไตรลักษณ์ 6. โยนิโสมนสิการ 7. อริยสัจ 4</li> <li class="show">รูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ ของทางวัด ใช้ในการจัดการความเครียดตามหลักพระพุทธศาสนาสามารถประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาความเครียดได้ดีมาก โดยมีข้อมูลเพื่อเสริมสร้างพุทธวิธีจัดการความเครียดให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป คือ 1. การจัดงานสงกรานต์ควรจัดให้มีความสนุกสนาน 2. ควรให้มีการปฏิบัติธรรมที่ยาวขึ้น 3. อยากให้พระอาจารย์ในแต่ละวัดได้เอาหลักธรรมที่กล่าวมาเบื้องต้นนั้น มาประกอบการสอน ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ อธิบายให้ทุกคนได้เห็นภาพชัดมากขึ้น เพราะคนไทยยังขาดความเข้าใจเรื่องการ 4. ควรส่งเสริมให้วัดมีการสอนเด็กรุ่นใหม่ให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น โดยมอบหมายงานให้เขา 5. อยากให้พระอาจารย์ศึกษาเรื่อง Mindset ของคนที่นี่ เพราะคนที่นี่ต้องการโอกาสที่จะได้พูดและแชร์เปลี่ยนประสบการณ์ต่าง ๆ ของเขา เมื่อเขารู้สึกดี ใจเปิด คนเหล่านี้จะมาวัดและมาทำบุญเอง เพราะคนไทยที่โตที่นี่จะไม่ชอบการกดดันและความคาดหวัง</li> </ol> <p>องค์ความรู้ใหม่ ผู้วิจัยสรุปเป็นโมเดล “รูปแบบการจัดการความเครียดตามหลักพระพุทธศาสนาของคนไทยในเมืองลอสแอนเจลิส” ไว้ว่า D-BICG / D-APC / H-D-FORU Model</p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> พระมหาอภิชาติ วชิรชโย (กิจันทร์) Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 9 2 194 204 การพัฒนาศักยภาพแนวทางการท่องเที่ยวอารยธรรมโบราณสถานศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/277073 <p>บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่องการพัฒนาศักยภาพแนวทางการท่องเที่ยวอารยธรรมโบราณสถานศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวักเพชรบูรณ์ การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวอารยธรรมโบราณสถานศรีเทพ 2) เพื่อสร้างแนวทางในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวอารยธรรมโบราณสถานศรีเทพ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน ใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง เจ้าหน้าที่โบราณสถาน เจ้าหน้าที่วัฒนธรรมจังหวัด ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับชุมชน เลือกแบบเจาะจง จำนวน 20 ท่าน</p> <ol> <li class="show">ศักยภาพการท่องเที่ยวอารยธรรมโบราณสถานศรีเทพ การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวมีความสะดวก มีหลายเส้นทาง การรองรับนักท่องเที่ยวมีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่ครบครัน ด้านการสนับสนุนนักท่องเที่ยวได้รับความรู้และความเข้าใจจากการท่องเที่ยว มีการพัฒนาบุคลากรของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ มีการจัดตั้งคณะกรรมการภายใน ด้านการจัดการมีการจัดกิจกรรมกับชุมชนให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมกับชุมชน เช่น การพักโฮมสเตร์ การมีส่วนร่วมในด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน มีการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวภายในชุมชน มีการส่งเสริมการจัดทำผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เช่น การทำไอศกรีมเป็นสัญลักษณ์ของชุมชนศรีเทพ มีการปักผ้าแบบดั้งเดิม ลายปักผ้าปักไปตามจินตนาการ ขึ้นลายปักโดยไม่มีการวาดลายก่อน ไม่ใช้เครื่องจักในการปัก ผ้าที่ปักออกมาจึงกลายเป็นหนึ่งผืนหนึ่งลายเดียวในโลกที่ไม่ซ้ำแบบกัน การรักษาความปลอดภัย มีการติดตั้งกล้องวงจรปิด และเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา ด้านสถานที่พักอยู่ในแหล่งชุมชน ที่พักมีราคาที่เหมาะสม และมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นครบ ด้านความสะดวกในการใช้บริการ มีลานจอดรถ มีร้านค้า ด้านความปลอดภัย มีกล้องวงจรปิด ด้านความเชื่อเรื่องโบราณสถานสำคัญทำให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจมาเที่ยวชม</li> <li class="show">แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวอารยธรรมโบราณสถานศรีเทพ ประกอบด้วย ทุนทางวัฒนธรรม การมีส่วนร่วม ประสบการณ์ร่วมของนักท่องเที่ยวกับชุมชน กิจกรรมการท่องเที่ยว การสื่อสาร และการจัดการแหล่งท่องเที่ยว</li> </ol> พระราชพัชรธรรมเมธี Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 9 2 205 223 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มพร้อมดื่มของวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงอุงและญิงยวนบางกล่ำ จังหวัดสงขลา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/269152 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัตถุดิบพื้นบ้านของชุมชนบางกล่ำที่สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องดื่มพร้อมดื่มเพื่อกระบวนการผลิตเครื่องดื่มพร้อมดื่มให้ได้มาตรฐานและการพัฒนาเครื่องดื่มพร้อมดื่มในเชิงพาณิชย์ของวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงอุงและญิงยวนบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ประชากร คือ ผู้นำและสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงอุงและญิงยวนบางกล่ำจังหวัดสงขลา จำนวน 7 คน และนักท่องเที่ยวหรือผู้มาศึกษาดูงานในชุมชน ซึ่งไม่สามารถทราบจำนวน จากสูตรของดับเบิลยู จีโคชาร์ล (W.G. Cochran, 1977) <br>ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 384 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <p>ความพึงพอใจของผู้มาศึกษาดูงานที่มีต่อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มพร้อมดื่มของวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงอุงและญิงยวนบางกล่ำ จังหวัดสงขลา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.68 ) พิจารณาปัจจัยแต่ละข้อทุกข้อมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด เมื่อเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากที่สุดไปหาค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดได้ดังนี้ รสชาติของเครื่องดื่ม (= 4.85) รองลงมาคือสีสันของเครื่องดื่ม (= 4.84) รสชาติเครื่องดื่มที่ได้รับเหมาะสมกับราคา (= 4.73)&nbsp; ตราสินค้าจดจำได้ง่าย (= 4.70) ความทันสมัยของบรรจุภัณฑ์ (= 4.65) &nbsp;ความชอบเครื่องดื่มโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.64) ราคาเครื่องดื่มเหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณ (= 4.63) ปริมาณของเครื่องดื่ม (= 4.60)&nbsp; และมีป้ายบอกราคาเครื่องดื่มชัดเจน (= 4.51)</p> รวิวรรณ พวงสอน มนัสสวาส กุลวงศ์ กาญจนพัฐ กลับทับลัง Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 9 2 224 236 กระบวนการปรับตัวของชุมชนเพื่อความอยู่รอดในพื้นที่ท่องเที่ยว : กรณีศึกษาชุมชนอัมพวา ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/275835 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิถีชีวิต ผลกระทบ และวิธีการปรับตัวของชุมชนเพื่อความอยู่รอดในพื้นที่ท่องเที่ยว กรณีศึกษาชุมชนอัมพวา ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม <br>2) ศึกษากระบวนการปรับตัวของชุมชนเพื่อความอยู่รอดในพื้นที่ท่องเที่ยว กรณีศึกษาชุมชนอัมพวา ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำชุมชน และประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนตลาดอัมพวา ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <ol> <li class="show">วิถีชีวิต ผลกระทบ และวิธีการปรับตัวของชุมชน การเปลี่ยนแปลงของตลาดน้ำอัมพวาตลอดเวลาที่ผ่านมากลุ่มนายทุนเข้ามาซื้อกิจการต่อจากคนในพื้นที่เกือบหมด แต่คงแก้ไขปัญหายาก เพราะชาวบ้านธรรมดาคงไม่มีทางสู้กับกลุ่มทุนได้ เงินเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเงินเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนและมีบทบาทในชีวิตประจำวัน โดยระบบเศรษฐกิจ<br>จะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับระบบการหมุนเวียนของเงิน ซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องใช้เงินในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการในการอยู่รอดภายในสังคม</li> <li class="show">กระบวนการปรับตัวของชุมชนเพื่อความอยู่รอดในพื้นที่ท่องเที่ยว กรณีศึกษาชุมชน<br>อัมพวา ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม คือ การได้รับประโยชน์ของชุมชนอัมพวา การทำให้ชุมชนมีรายได้จากการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยตรง ได้แก่ ธุรกิจร้านอาหารธุรกิจขายของที่ระลึก ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจที่พัก นอกจากนี้ยังกระจายผลประโยชน์ในทางอ้อม ซึ่งเป็นผลพวงจากการท่องเที่ยว ได้แก่ การตกปลาและตกกุ้ง แต่เดิมที่ขายส่งให้แก่พ่อค้าคนกลางปรับเปลี่ยนเป็น ขายให้นักท่องเที่ยวโดยตรง ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นรายได้ส่วนใหญ่ที่เกิดจากการท่องเที่ยวของตลาดน้ำอัมพวามักตกไปอยู่กับผู้ประกอบการธุรกิจนอกพื้นที่มากกว่าผู้ประกอบการธุรกิจของคนในชุมชน เนื่องจากคนในชุมชนมักประกอบธุรกิจขนาดเล็ก ใช้เงินในการลงทุนไม่มากประกอบกับวิถีชีวิตดั้งเดิม เป็นวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย <br>ไม่ชอบการแข่งขัน ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการตลาดอย่างเพียงพอทำให้คนในชุมชนบางส่วนกลายเป็นแรงงานให้กับนักลงทุน</li> <li class="show">ควรจัดอบรมให้ความรู้ ทำความเข้าใจร่วมกันใน เรื่องของการท่องเที่ยว และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการโดยคำนึงถึงศักยภาพและความต้องการของส่วนรวม เป็นสำคัญเช่น ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบรรจุภัณฑ์ การสร้างผลิตภัณฑ์แบบใหม่เหมือกับต่างประเทศหรือกลุ่มอาชีพที่พัฒนาแล้ว มีการประชาสัมพันธ์ หน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ควรวางแผนส่งเสริมให้ชาวบ้านได้เรียนรู้วิธี การพัฒนาแบบพึ่งตนเองการบริหารจัดการ และชุมชนอัมพวา โดยอาจจัดให้มีกลุ่มอนุรักษ์ หรือกลุ่มให้คำปรึกษาเพื่อความอยู่รอดในพื้นที่ท่องเที่ยว ให้โอกาสทุกคนได้ร่วมกันคิด วางแผน แสดงความคิดเห็น ตัดสินใจว่าสิ่งใดคือสิ่งที่ดีที่สุด และถูกต้องที่สุดสำหรับชุมชนอัมพวา ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตเพื่อเป็นรากฐานของพื้นที่ท่องเที่ยวที่ดีในวันนี้และในวันข้างหน้าให้ยั่งยืนตลอดไป</li> </ol> <p>&nbsp;</p> ศศกมลภัค ศิริวัฒน์กุลวงศ์ Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 9 2 251 266 คุณค่าสบู่กัญชาเพื่อสุขภาพ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/269008 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสารประกอบของสบู่กัญชา และ 2. เพื่อศึกษาประโยชน์ของสารประกอบของสบู่กัญชาที่มีต่อสุขภาพ โดยใช้การทดสอบสารประกอบจากสบู่สมุนไพรโดยการเข้าห้องทดลองด้วยวิธี การวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญ Cannabinoids (THC , CBD) ในสบู่สมุนไพรด้วยเครื่อง Liquid Chromatography – Mass Spectrometer (LC-MS/MS) และหาสารประกอบสำคัญของสบู่สมุนไพรด้วยวิธี เทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโตรเมทรี (Gas Chromatography-Mass Spectrometry; GC-MS) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญ Cannabinoids (THC, CBD) ในสบู่สมุนไพรด้วยเครื่อง ไม่พบสารTetrahydrocannabinol (THC) และ Cannabidiol (CBD) ในสบู่สมุนไพร และผลการทดสอบปริมาณสารประกอบในสบู่สมุนไพร พบสารประกอบในสบู่สมุนไพร 6 ชนิด&nbsp; 2. ประโยชน์ของสารประกอบของสบู่กัญชา (1) 1,5,5-Trimethy-6-methylene-cyclohexene ใช้เป็นส่วนประกอบในอุตสาหกรรมกลิ่นเพื่อสร้างกลิ่นในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (2) beta-Citronellol สามารถใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ที่มีเป้าหมายในการควบคุมกลิ่นไม่พึงประสงค์ และลดการเกิดอาการอักเสบ (3) Geraniol มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบและปรับสภาพของผิวหนัง มีฤทธิ์ต้านเชื้อราและสามารถใช้ในการควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อรา และ (4) Tetradecanoic acid ใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตเครื่องหอมและเครื่องสำอาง และมีบทบาทในการควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย</p> สโรชินี ศิริวัฒนา Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 9 2 267 274 การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของ ผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/274231 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ และ 3) นำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 372 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2. ด้านการตรวจสอบ 3. ด้านการปรับปรุง และ 4. ด้านการวางแผน&nbsp; พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุ พบว่า 1. ด้านกระบวนการบริหารงาน ส่งผลต่อปัจจัยการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ มี 2 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติ และด้านการปรับปรุง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่า กระบวนการบริหารงาน ร่วมกันทำนายบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุดังกล่าว ได้ร้อยละ 54.5 และ 2. ด้านสุขภาวะทางกาย การดูแลเอาใจใส่ต่อสุขภาพมีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย ด้านสุขภาวะทางสังคม ปัจจัยที่ส่งต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมผู้สูงอายุ ด้านสุขภาวะทางจิตใจ ผลที่เกิดจากการปฏิบัติฝึกอบรมเข้าใจสภาพความเป็นจริงของชีวิต และด้านสุขภาวะทางจิตวิญญาณ การฝึกจิตให้ยึดมั่นอยู่ในคุณธรรม ฝึกปฏิบัติสมาธิจิตให้เข้มแข็ง และ 3) การบูรณาการหลักพุทธธรรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า กระบวนการบริหารจัดการ การออกระเบียบมาตรการใหม่ ย่อมเป็นความก้าวหน้าต่อการบริหารจัดการ และการส่งเสริมการบริหารด้วย ในทางกลับกันถ้าแนวทางหรือมาตรการใด ไม่เอื้อต่อการบริหารจัดการ ย่อมทำให้เสียประโยชน์ ดังนั้น การบูรณาการหลักพละ 4 เพื่อให้เกิดการส่งเสริมการบริหารจัดการมากยิ่งขึ้น ได้แก่ ด้านกำลังความรู้ (ปัญญาพละ) ด้านนำสู่การปฏิบัติ (วิริยพละ) ด้านซื่อสัตย์สุจริต (อนวัชชพละ) และด้านมีจิตอาสา (สังคหพละ) โดยร่วมกับกระบวนการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดการบริหารงานอย่างมีคุณภาพ ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบ และการปรับปรุง</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>ผู้สูงอายุ, การบริหาร, สุขภาวะ, หลักพละ 4</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> แสนสุริยา รักเสมอ พิเชฐ ทั่งโต เติมศักดิ์ ทองอินทร์ Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-03 2024-09-03 9 2 300 314 การศึกษาปัญหาและแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงบประมาณของ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/268524 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา&nbsp; 2) เปรียบเทียบความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานงบประมาณเกี่ยวกับปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานงบประมาณ&nbsp; จำแนกตามตำแหน่ง&nbsp;&nbsp; ประสบการณ์ปฏิบัติงาน&nbsp;&nbsp; และขนาดของสถานศึกษา 3) ศึกษาแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานงบประมาณสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต&nbsp; 33&nbsp; โดยใช้&nbsp; แบบสอบถาม&nbsp;&nbsp;&nbsp; สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล&nbsp; ได้แก่&nbsp; ค่าร้อยละ&nbsp; ค่าเฉลี่ย&nbsp; ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน&nbsp; ค่า t&nbsp; และค่า&nbsp; F &nbsp;ใช้กลุ่มตัวอย่าง &nbsp;จำนวนทั้งสิ้น 154 คน&nbsp; &nbsp;&nbsp;</p> <p>ผลการวิจัย&nbsp;&nbsp; พบว่า</p> <ol> <li class="show">สภาพปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา&nbsp; สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33&nbsp;&nbsp; ทั้ง&nbsp; 7&nbsp; ด้าน&nbsp;&nbsp;&nbsp; พบว่า&nbsp; ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานงบประมาณมีความเห็นต่อปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก&nbsp;</li> <li class="show">ผลการเปรียบเทียบความเห็นเกี่ยวกับปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา&nbsp; ข้าราชการครูที่มีตำแหน่งต่างกัน&nbsp; มีความคิดเห็น&nbsp; โดยรวมไม่แตกต่างกันและเมื่อพิจาณาเป็นรายด้านพบว่า&nbsp; แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05&nbsp; ข้าราชการครูที่มีประสบการณ์การปฏิบัติต่างกัน&nbsp; มีความคิดเห็น&nbsp; โดยรวมไม่แตกต่างกัน&nbsp; และเมื่อพิจาณาเป็นรายด้านพบว่า&nbsp; แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05&nbsp; ข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกัน&nbsp; มีความคิดเห็น&nbsp; โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน</li> <li class="show">แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการของสถานศึกษา พบว่า&nbsp; ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานด้านนี้ค่อนมาก&nbsp; เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ&nbsp;&nbsp;&nbsp; ควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมเพื่อตรวจสอบการรายงานผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมผ่านเว็บไซต์สำนักงาน&nbsp;&nbsp; ทุกสิ้นปีงบประมาณ&nbsp;&nbsp; และมีการจัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สินทุกประเภทให้ครบถ้วน&nbsp; ถูกต้อง</li> </ol> <p><strong>คำสำคัญ</strong>: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, บริหารงานงบประมาณ ,สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต&nbsp; 33</p> สาวิภักดิ์ กันนุฬา Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 9 2 288 299 แนวทางการพัฒนาระบบการเลี้ยงโคขุนของวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุนบ้านฮางโฮงตำบล ธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/275646 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคของการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุน และศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบการเลี้ยงโคขุนของวิสาหกิจชุมชนที่เหมาะสม ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโฮมฮัก ฮางโฮง ตำบลธาตุเชิงชุม ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li class="show">ปัญหาอุปสรรคของการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุน ที่สำคัญที่สุดมี 3 ด้าน คือ (1) ด้านการผลิตเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรยังต้องเรียนรู้และพัฒนาประสบการณ์ในการเลี้ยงโคขุนในการคัดเลือกพันธุ์ การให้อาหาร การบำรุง การฉีดวัคซีน การดูแลรักษาโรค ปัญหาที่ถือว่าสำคัญที่สุด คือปัญหาเรื่องต้นทุนในการเลี้ยงโคขุน รองลงมาคือ ปัญหาการดูแลและป้องกันโรค ปัญหาแหล่งอาหาร และปัญหาการคัดเลือกและผสมพันธุ์ ตามลำดับ (2) ด้านการตลาด พบปัญหาในเรื่องถูกกดราคาจากพ่อค้าในระดับท้องถิ่น โดยที่ถือว่าสำคัญที่สุด คือปัญหาในเรื่องการขายโคขุนในราคาที่เป็นธรรม (3) ปัญหาในด้านการบริหารจัดการ เนื่องจากวิสาหกิจชุมชนโฮมฮัก ฮางโฮง พึ่งเริ่มก่อตั้งได้ 2 ปี จำนวนสมาชิกยังไม่มาก จึงยังไม่พบปัญหาในด้านการบริหารจัดการมากนั้น</li> <li class="show">แนวทางการพัฒนาระบบการเลี้ยงโคขุนของวิสาหกิจชุมชนที่เหมาะสม โดยสรุป คือ <br>(1) ด้านการผลิตเลี้ยงสัตว์ ต้องมีการหาแหล่งอาหารหยาบคุณภาพดี เรียนรู้การผลิตอาหารข้นเอง มีผู้ที่มีประสบการณ์เป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้เลี้ยงรายใหม่ มีการเยี่ยมคอกแบ่งปันความรู้และเทคนิคในการเลี้ยง การใช้ประโยชน์จากมูลสัตว์ในการทำปุ๋ยหมักใช้เองและนำไปจำหน่ายสร้างรายได้ การใช้องค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านให้โคขุนมีสุขภาพที่ดี (2) ด้านการตลาด ต้องติดต่อกับตลาดรับซื้อระดับบนโดยตรง โดยเชื่อมต่อกับเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน คอกกลางโคขุนจังหวัดสกลนคร ทวาปี ซึ่งเป็นเครือข่ายระดับจังหวัด สร้างคอกกลางโคขุนจังหวัด มีมาตรฐาน GFM ในการผลิต การรวบรวมโคก่อนขุนที่มีคุณภาพ ส่งให้สมาชิกและรับซื้อโคขุนจากสมาชิกเครือข่าย ส่งเสริมให้สมาชิกเลี้ยงแม่พันธุ์โค โดยการกู้เงิน ธกส. มีการสื่อสารให้ผู้บริโภคมั่นใจในมาตรฐานการผลิต (3) ด้านการบริหารจัดการ เน้นหลักการธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการกลุ่มสมาชิก สร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างต่อเนื่อง ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการเป็นเครื่องมือ พัฒนาระบบข้อมูล การจัดการด้านบัญชีและการเงิน รวมถึงพัฒนาพื้นที่สำหรับการจัดอบรม ประชุม การทำแปลงปลูกหญ้าเนเปีย การทำโรงผลิตอาหารข้น เพื่อเป็นแหล่งศึกษาดูงานและเรียนรู้ของสมาชิกในอนาคต</li> </ol> <p>ข้อเสนอแนะของผู้วิจัยต่อการพัฒนา คือ (1) ด้านการผลิตเลี้ยงสัตว์ วิสาหกิจชุมชนโฮมฮัก ฮางโฮง ควรมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านวิชาการ เช่น มหาวิทยาลัย หรือกรมปศุสัตว์ ให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการเลี้ยงโคขุนอย่างมีคุณภาพ และต่อยอดการพัฒนา (2) ด้านการตลาด ควรให้ความสำคัญกับการสื่อสารผ่านสื่อโซเชียลมีเดียให้มากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้รู้จัก (3) ด้านการบริหารจัดการ ควรมีการศึกษาเรียนรู้จากบทเรียนของวิสาหกิจชุมชนอื่นๆ ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการ และนำมาประยุกต์ใช้ รวมถึงเชื่อมต่อกับทรัพยากรในพื้นที่ โดยการบรรจุแผนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนไว้ในแผนแม่บทชุมชน แผนขององค์กรปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong></p> วิรพร โกษาแสง เดชรัตน์ สุขกำเนิด Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 9 2 237 250 การพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/275416 <p>บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานดุษฎีนิพนธ์เรื่อง การพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุ และนำเสนอการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์โดยการ บูรณาการหลักพุทธธรรม รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 387 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการเชิงพรรณนา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">ประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li class="show">ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ปัจจัยการบริหารส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 50.40 หลักภาวนา 4 ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 57.80 และ ปัจจัยการบริหารและหลักภาวนา 4 ร่วมกันส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ร้อยละ 65.50</li> <li class="show">พัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการบูรณาการหลักพุทธธรรม พบว่า ประสิทธิผลการบริหารจัดการสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุ มีปัจจัยพื้นฐาน คือ ปัจจัยการบริหาร นำมาบูรณาการหลักพุทธธรรม คือ หลักภาวนา 4 ประกอบด้วย 1.กายภาวนา 2.สีลภาวนา 3.จิตภาวนา 4.ปัญญาภาวนา</li> </ol> เครือวัลย์ มโนรัตน์ สุรินทร์ นิยมางกูร ธัชชนันท์ อิศรเดช Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-01 2024-09-01 9 2 315 327 การพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/267697 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์&nbsp; 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์&nbsp; และ 3. เพื่อนำเสนอการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการประยุกต์ตามหลักอปริหานิยธรรม 7 การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูปหรือคน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง&nbsp; วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน</p> <p>&nbsp;ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ตอบว่า การผลิตบุคลากรของเทศบาลให้มีความรู้ ความสามารถ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย ปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ ได้รับการยอมรับจากชุมชน จึงทำให้เทศบาลได้รับการพัฒนาต่อไป</li> <li>ปัจจัยที่ส่งผลต่อต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ปัจจัยการบริหารส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลได้ร้อยละ 27.6 และหลักอปริหานิยธรรม 7 ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ร้อยละ 41.7 แสดงว่าปัจจัยการบริหารและหลักอปริหานิยธรรม 7&nbsp; ส่งผลร่วมกันต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</li> <li>การพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ มี 2 แนวทางคือ 1.ปัจจัยการบริหาร ได้แก่ 1) บุคลากร&nbsp; 2) เงินทุน&nbsp; 3) วัสดุอุปกรณ์&nbsp; 4) การบริหารจัดการ และ 2.หลักอปริหานิยธรรม 7 ได้แก่ 1) ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน&nbsp; 2) เริ่มและเลิกประชุมอย่างพร้อมกัน&nbsp; 3) เทศบาลยึดหลักจริยธรรมในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม&nbsp; 4) เทศบาลรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน&nbsp; 5) เทศบาลให้ความช่วยเหลือบุคลากร&nbsp; 6) เทศบาลและประชาชนร่วมมือกันจัดการสิ่งแวดล้อม 7) การกำหนดที่ทิ้งขยะ และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม</li> </ol> ปิยวัช ละคร Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-01 2024-09-01 9 2 328 342 ทุนทางสังคม ปัจจัยส่งเสริมให้องค์กรการเงินชุมชนดำเนินการไปสู่ความสำเร็จ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/271839 <p>องค์กรการเงินชุมชน (Community Finance Institution: CFI) เป็นสถาบันการเงินที่ตั้งอยู่ภายในชุมชนและให้บริการทางการเงินแก่สมาชิกในชุมชน โดยอาศัยทุนทางสังคม (Social Capital) เป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงาน ได้แก่ เครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สถาบัน และองค์กรในชุมชน ซึ่งมีความไว้วางใจกัน ความร่วมมือ และการทำงานร่วมกัน ส่งผลให้การดำเนินงานขององค์กรการเงินชุมชนช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสมาชิก จากการศึกษางานวิจัยต่าง ๆ พบว่า ทุนทางสังคมเป็นปัจจัยส่งเสริมให้องค์กรการเงินชุมชนดำเนินการไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบเครือข่ายความสัมพันธ์ที่ช่วยให้ องค์กรการเงินชุมชนสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และทรัพยากรร่วมกัน ส่งผลให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการประสานความร่วมมือของสมาชิกและภาคีเครือข่ายในชุมชน อีกทั้งรูปแบบความร่วมมือกันยังช่วยส่งเสริมให้องค์กรการเงินชุมชน บรรลุเป้าหมายร่วมกันกับสมาชิกและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการมีส่วนร่วมของสมาชิกและภาคีเครือข่ายในชุมชน พร้อมทั้งสามารถปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที ผ่านการประสานความร่วมมือของสมาชิกและภาคีเครือข่ายในชุมชน ดังนั้น การพัฒนาทุนทางสังคมให้มีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กรการเงินชุมชน ในการส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสมาชิก ทั้งนี้องค์กรการเงินชุมชนควรให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ ความร่วมมือ และการทำงานร่วมกันภายในชุมชน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่ความสำเร็จ</p> พระปุญญาพัฒน์ แสงวงค์ดี Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 9 2 108 117 การบังเกิดของพระศรีอริยเมตไตรย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/276340 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของพระศรีอริยเมตไตรย ด้วยวิธีการศึกษาพระไตรปิฎกเอกสารและหนังสือ. จากเหตุการณ์เดือน มีนาคม ๒๕๖๔ ที่มีอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประกาศตนว่าเขาเป็นพระศรีอริยเมตไตรย. เขาอ้างว่าจะมาช่วยให้ทุกคนบนโลกปลอดภัยจากสิ่งไม่ดี. เป็นเหตุให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อสังคมโซเชียลเป็นจำนวนมาก.และมีประชาชนจำนวนมากหลงเชื่อ. ผลการการศึกษาพบว่า การบรรลุเป็นพระศรีอริยเมตไตรยก็คือการบรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง. การจะเป็นพระพุทธเจ้าได้นั้นต้องผ่านขบวนการที่เรียกว่าการสร้างบารมี.การสร้างบารมีต้องทำอย่างไร,ระยะเวลามากน้อยแค่ไหนและต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้างจึงจะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าได้. บทความเรื่อง "การบังเกิดของพระศรีอริยเมตไตรย". จะชี้เห็นว่าการทุกคนสามารถสร้างบารมีเป็นพะพุทธเจ้าได้ การสร้างบารมีเป็นพระพุทธเจ้าต้องมีองค์ประกอบใดบ้าง. โดยศึกษาประวัติการสร้างบารมีของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า</p> พระปลัดเกื้อกูล สุภนนฺโท (พงศนันทน์) Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 9 2 118 125 บทบาทและแนวทางปฏิบัติตนของนักศึกษาวิชาชีพครู https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/268705 <p>บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและแนวทางปฏิบัติตนของนักศึกษาวิชาชีพครู ตามหลักสูตรครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพของการปฏิบัติตนเป็นนักศึกษาวิชาชีพครูในสถานศึกษา ซึ่งมีแนวคิดหลักอยู่ 3 องค์ประกอบ คือ 1)ความสำคัญของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษา 2)บทบาทของบุคคลต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับนักศึกษาวิชาชีพครู 3)แนวทางในการปฏิบัติตนของนักศึกษาวิชาชีพครู</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จากการศึกษาค้นคว้าเอกสาร บทความ และนำมาเรียบเรียงพบว่าการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์ ของสถาบันการศึกษา และมหาวิทยาลัยต่างๆ มีแนวทางในการปฏิบัติการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่คล้ายคลึงกัน และมีความแตกต่างกันในบางกรณี โดยได้ยึดข้อบังคับ ระเบียบแบบแผนของคุรุสภา และความเป็นอัตลักษณ์ของสถาบัน หรือมหาวิทยาลัยนั้นๆ โดยมุ่งเน้นในนักศึกษาวิชาชีพครู เป็นครูที่สมบูรณ์แบบตามเจตคติที่ดีงามของสังคม โดยการทำเอาความรู้ในภาคทฤษฎีที่ได้เรียนรู้ในมหาวิทยาลัย ไปปฏิบัติจริงในสถานศึกษา ซึ่งนอกจากการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนแล้ว นักศึกษาวิชาชีพครูต้องได้รับภาระงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนอีกด้วย การทำงานร่วมกับผู้อื่น วิธีการแก้ไขปัญหา รวมไปถึงกระบวนต่างๆ ที่ช่วยขัดเกลานักศึกษาวิชาชีพครูให้เป็นครูที่สมบูรณ์แบบ</p> สันติ กินรี Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 9 2 275 287