มจร การพัฒนาสังคม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD <p><strong>วารสาร มจร การพัฒนาสังคม </strong><strong>ISSN (Print): 2539-5718, ISSN (Online): 2651-1215 </strong></p> <p>มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือบทความปริทัศน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการแก่นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์และนักศึกษา ในมิติเพื่อสนับสนุนการศึกษา การสอน การวิจัย โดยเน้นสาขาวิชาการพัฒนาสังคม สังคมวิทยา การพัฒนาชุมชม เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ รวมถึงสหวิทยาการอื่น ๆ เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p>บทความที่นำมาตีพิมพ์ในแต่ละฉบับ กองบรรณาธิการจะตรวจสอบความสมบูรณ์ตามรูปแบบเป็นขั้นแรก แล้วจัดส่งผู้ทรงคุณวุฒิร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) จำนวน 3 ท่าน ประเมินบทความตามเกณฑ์และแบบฟอร์มที่กำหนดในลักษณะเป็น Double-Blind Peer Review คือ ปกปิดรายชื่อผู้เขียนบทความและผู้เกี่ยวข้อง</p> <p>บทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 3 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) โดยรับพิจารณาตีพิมพ์ต้นฉบับของบุคคลทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ผลงานที่ส่งมาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร</p> <p>ทัศนะและข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่ความคิดของคณะผู้จัดทำ และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการฯ</p> <p>กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว</p> th-TH [email protected] (รองศาสตราจารย์ ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง) [email protected] (นายณรงค์ชัย คงเพ็ชร) Fri, 05 Apr 2024 11:48:52 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 เศรษฐศาสตร์การศึกษา: มิติความเหลื่อมล้ำที่ซ่อนตัวอยู่ภายใต้โครงสร้างการศึกษาไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/261544 <p>บทความวิชาการนี้ต้องการเผยให้เห็นถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในการจัดการศึกษาที่เกิดจากโครงสร้าง โดยใช้เศรษฐศาสตร์การศึกษาในการฉายภาพให้เห็นตัวบ่งชี้ความเหลื่อมล้ำในการศึกษา เช่นโรงเรียนพระปริยัติธรรม โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โดยผู้เขียนได้เปรียบเทียบกับโรงเรียนนานาชาติที่จัดการเรียนการสอน ค่าใช้จ่ายแตกต่างจากโรงเรียนที่กล่าวมาข้างต้น ฉะนั้นแล้วตัวบ่งชี้นึงที่เห็นได้ชัดกับค่านิยมการส่งลูกเข้าเรียนในระดับประถมหรือระดับมหาวิทยาลัยสิ่งหนึ่งที่เด่นชัดได้ที่สุดคือการติวเพราะการติวส่งผลมาด้วยกับค่าใช้จ่ายที่บิดามารดาที่จะต้องแบกรับ คณะผู้เขียนได้เปรียบเทียบข้อมูลอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและอันดับมหาวิทยาลัยในโลก มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงเหล่านี้บวกมาด้วยกับค่าใช้จ่ายที่ผู้ปกครองจะต้องแบกรับ และความเป็นชายขอบทางการศึกษาเพราะความเป็นชายขอบไม่ได้เกิดขึ้นโดด ๆ เกิดจากการกระทำขึ้นแล้วทั้งสิ้นและนำปรากฏการณ์ที่อยู่ในโลกออนไลน์มาเปรียบเทียบกับการบริหารจัดการของภาครัฐที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้น คณะผู้เขียนยังได้ฉายภาพให้เห็นถึงการเมืองและความเป็นการเมืองที่สัมพันธ์กับการจัดการนโยบายการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ อีกมากมาย ผนวกกับการรวมศูนย์อำนาจ ระบบอำนาจนิยม ความเป็นผู้ใหญ่ผู้น้อยในสังคมการศึกษา งานชิ้นนี้ต้องการเผยให้เห็นถึงความรุนแรงในเชิงโครงสร้างของระบบการศึกษาไทย</p> ณฐยา ราชสมบัติ, พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ, พระมหาอุดร อุตฺตโร, ปริญญา นิกรกุล Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/261544 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 พุทธวิธีการบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/260870 <p>บทความวิชาการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอแนวคิดพุทธวิธีการบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เพื่อใหเกิดการรับรูและตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการบริหารการศึกษาในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การบริหารถือว่าเป็นศาสตร์หนึ่งที่มีองค์ประกอบในด้านความรู้ หลักการ และกฎเกณฑ์ที่นำมาจากศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาหาความรู้ในหลักการบริหาร แล้วนำไปสู่การปฏิบัติจริง การบริหารจะประสบความสำเร็จได้นั้นจึงขึ้นอยู่กับความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารหรือผู้นำองค์กรในการประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารไปสู่การปฏิบัติจริงได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ ในการบริหารการศึกษานอกจากจะอาศัยหลักการ แนวคิดและทฤษฎีการบริหารตามศาสตร์สมัยใหม่แล้ว ยังต้องอาศัยการประยุกต์ใช้หลักการบริหารตามแนวพุทธธรรมที่เหมาะสม การบริหารการศึกษาเชิงพุทธจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาเป็นหลักสำคัญในการขับเคลื่อนการบริหารการศึกษาให้เกิดการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 ที่มีจุดมุ่งหมายตามมาตรา 6 ที่ว่า“การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” ซึ่งพุทธวิธีการบริหารการศึกษาดังกล่าวแบ่งเป็น 3 ด้าน คือด้านการบริหารตน ได้แก่ หลักพรหมวิหาร 4 ด้านการบริหารคน ได้แก่ หลักสังคหวัตถุ 4 และด้านการบริหารงาน ได้แก่ หลักอิทธิบาท 4 หลักธรรมทั้งหมดเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงได้ทรงกำหนดแนวทางในการปฏิบัติตนดังกล่าวไว้เป็นเวลานานนับพันปีมาแล้ว แต่หลักการและแนวทางดังกล่าวยังคงมีความเป็นปัจจุบัน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล</p> <p>&nbsp;</p> วรินทร์ธรา ภัคอัมพาพันธ์, พระราชวชิรเมธี, พระมหาอุดร อุตฺตโร Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/260870 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 กระบวนการบำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนกระทำความผิดตามแนววิถีพุทธ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/260270 <p>เด็กและเยาวชนเป็นช่วงวัยที่กำลังเรียนรู้ ครอบครัวเป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดของสังคม บ้านและครอบครัว นับว่าเป็นสถาบันสังคมที่มีความสำคัญอันดับแรก ในการที่จะสร้างลักษณะนิสัยและบุคลิกภาพของเด็ก ถ้าภายในบ้านหรือครอบครัวมีความผาสุก ทุกคนมีความสามัคคีกลมเกลียวกันเป็นอย่างดี บิดา มารดา มีความห่วงใยในตัวลูก โดยเอาใจใส่อุปการะเลี้ยงดู และพยายามอบรมบ่มนิสัยในทางที่ดีงามแก่บุตร ย่อมทำให้บุตรเกิดความรักพ่อแม่ มีความอบอุ่นและมีแต่ความสุขรวมทั้งรับสิ่งดีงามเข้ามาในชีวิต ทำให้เด็กเจริญเติบโตด้วยดี พร้มอทั้งมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ด้วยสภาพแวดล้อมของสังคมในยุคปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทั้งข้อมูลข่าวสาร สื่อ สิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น ติ๊กต๊อก ไลน์ อินสตาแกรมต์ เฟสบ๊ค สิ่งเหล่านี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ที่จะนำเด็กและเยาวชนไปสู้ความผิดพลาด เสียหาย เกิดนำไปสู่การกระทำความผิดทางกฎหมายบ้านเมือง ทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ และอาจตกเป็นเยื่อของการล่อลวงต่างๆ ได้ ตามที่เป็นข่าวกันมานัดต่อนัดแล้ว ซึ่งจะส่งผลเสียอย่างมากกับตัวเด็กและเยาวชน และจะเห็นได้ว่าหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่า ทุกอย่างเกิดแต่เหตุ ดังนั้นจึงได้นำหลักอริยสัจ ๔ มาช่วยแก้ปัญหา ด้วยการให้เด็กและเยาวชนมองให้เห็นปัญหาที่แท้จริง ตามลำดับ คือ 1. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก 2. สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา 3. นิโรธ คือ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา 4. มรรค คือ แนวปฏิบัติการแก้ปัญหา ถ้าเด็กและเยาวชนเข้าใจกระบวนการของหลักอริยสัจ 4 ก็ย่อมจะสามารถดำเนินชีวิตใจสังคมได้อย่างเข้าใจและมีความสุขตลอดไป</p> ณายา เทพธรณินทรา, เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/260270 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 พระราชบัญญัติการศึกษากับการจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/261888 <p>บทความเรื่อง พระราชบัญญัติการศึกษากับการจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ สำหรับบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เพื่อจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องถูกต้องตามบริบทตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และเพื่อการจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ แนวคิดที่สามารถสรุปได้ดังนี้ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติของการจัดการศึกษาสำหรับประเทศไทยโดยมีคำสำคัญ คือพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขซึ่งในทุกมาตราสามารถส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนนำไปสู่การจัดการเรียนรู้อันนำสู่การพัฒนาคนในศตวรรษที่ 21 ยุคโลกาภิวัตน์มีผลกระทบต่อการจัดการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษา คุณภาพของการจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์จึงต้องเป็นการศึกษาที่สามารถทำให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อประโยชน์สำหรับชีวิตประจำวันในการปฏิบัติหน้าที่และการศึกษาต่อ การจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ โดยเฉพาะครูต้องเปลี่ยนแปลงแนวการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับทักษะที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ทักษะสำคัญที่จำเป็นต้องใช้ในยุคโลกาภิวัตน์เป็นทักษะที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่คนต้องมีการปรับตนเองด้วยการเพิ่มทักษะใหม่ และการเพิ่มทักษะใหม่ที่จำเป็นต่อการศึกษาต้องสามารถทำให้ผู้เรียนนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ</p> ลักขณา กสิกรรม, พระมหาอุดร อุตฺตโร Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/261888 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนแบบพึ่งพาตนเองของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในเขตภาคกลางตอนล่าง 1 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/264919 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ การจัดสวัสดิการชุมชนแบบพึ่งพาตนเอง และวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 2) พัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนแบบพึ่งพาตนเองของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนแบบพึ่งพาตนเองของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนแบบพึ่งพาตนเองของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในเขตภาคกลางตอนล่าง 1 ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เป็นการศึกษาสภาพการณ์ และการปฏิบัติที่เป็นเลิศ โดยคณะกรรมการและสมาชิกของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต รวมทั้งสิ้น 30 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกต การรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบและการพัฒนารูปแบบฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้กับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านหนองมะตูม ตำบลดอนแร่ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบทดสอบความรู้ การจัดเวทีเสวนา การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 4 ประเมินและปรับปรุงรูปแบบฯ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถามความพึงพอใจ และแนวทางการถอดบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และถอดบทเรียนด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา &nbsp;</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการณ์ คนในชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด มีการออมเงินร่วมกัน &nbsp;ทำให้มีเงินทุนในการประกอบอาชีพ และใช้จ่ายในยามเจ็บไข้ได้ป่วย แล้วขยายผลเป็นการช่วยเหลือด้านอื่นๆ การปฏิบัติที่เป็นเลิศของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต พบว่ามาจากการที่คณะกรรมการและสมาชิกของกลุ่มฯมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต&nbsp; มีส่งเสริมให้ประชาชนมีการออมเงิน เป็นการรวมตัวกันของชาวบ้าน เพื่อช่วยเหลือตนเอง ซึ่งกันและกัน โดยการประหยัดทรัพย์ และปลูกฝังสมาชิกกลุ่มด้วยการใช้คุณธรรม การจัดสวัสดิการชุมชนเกิดจากการออมเงิน แล้วแบ่งให้คนที่มีความต้องการเงินทุนไปประกอบอาชีพ ได้มีการนำผลกำไรของกลุ่มมาจัดสวัสดิการ โดยระบบการจัดสวัสดิการที่ดีควรให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วม โดยตกลงกติกาและใช้ร่วมกัน จากความต้องการของคนในชุมชน 2. ผลการพัฒนารูปแบบชื่อว่า “TONMAI Model” ได้แก่ 1) T - Trust (ความไว้วางใจ) 2) O - Opportunities (โอกาส) 3) N - Networking (เครือข่าย) 4) M – Management (การจัดการ) 5) A – Activity (กิจกรรม) 6) I – Impression (ความประทับใจ) ที่ผ่านการรับรองแล้ว &nbsp;3. ผลการทดลองรูปแบบ ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การจัดเวทีเสวนาของสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ และ 4. &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ผลของการประเมินมีความพึงพอใจในภาพรวมของกลุ่มทดลองที่มีต่อรูปแบบฯอยู่ในระดับมาก และผลการถอดบทเรียน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตมีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาคนในชุมชนให้มีการดำเนินชีวิต และเรียนรู้การทำงานร่วมกันในรูปแบบ“กระบวนการกลุ่ม” และใช้ “สัจจะออมทรัพย์” เป็นเครื่องมือในการสร้างวินัยการออมของสมาชิกเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในระดับชุมชน และใช้ผลกำไรของกลุ่มนำมาแบ่งปัน และช่วยเหลือกันเป็นสวัสดิการในชุมชน ดูแลตั้งแต่เกิดแก่เจ็บตาย และพัฒนาการศึกษาของคนในชุมชน รวมถึงนำเงินมาใช้ในการพัฒนาสาธารณะประโยชน์ร่วมกันของคนชุมชน รวมถึง วัด ศาสนสถานในชุมชนด้วย และสะท้อนว่า คนในชุมชนชนบทจนเงินแต่ไม่จนน้ำใจ" อยู่ร่วมกันแบบสามัคคีรักใคร่กลมเกลียว เป็นวิถีของการพึ่งพาตนเอง ให้ความช่วยเหลือเอื้ออาทรซึ่งกันและกันของคนในชุมชน</p> ธนิศร ศรีก๊กเจริญ, นรินทร์ สังข์รักษา, วรรณวีร์ บุญคุ้ม Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/264919 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาปัญหาในการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการช่วยเหลือคนพิการด้านการเคลื่อนไหวให้เข้าถึงสิทธิของคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/266443 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในการปฏิบัติงานและแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการช่วยเหลือคนพิการด้านการเคลื่อนไหวตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 &nbsp;โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วย วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จำนวน&nbsp;&nbsp;&nbsp; 243 คน และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ประธานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครนายก ประธานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์อำเภอบ้านนา และเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครนายก ที่รับผิดชอบงานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 3 คน ผลการศึกษาพบว่า มีปัญหาในการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการช่วยเหลือคนพิการด้านการเคลื่อนไหว ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อพิจารณาปัญหารายด้าน พบว่า ปัญหาด้านความรู้ เป็นประเด็นสำคัญที่สุด รองลงมา คือ ปัญหาการปฏิบัติงานในพื้นที่ และปัญหาส่วนบุคคล ตามลำดับสำหรับแนวทางในการพัฒนา พบว่า ควรมุ่งเน้นการอบรมส่งเสริมความรู้แบบพี่สอนน้องทั้งแบบ ออนไลน์และในพื้นที่ควรปฏิบัติงานเป็นทีม ควรเพิ่มทักษะในการเขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก และควรสนับสนุนส่งเสริมให้มีการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์</p> ณิชานันท์ เสมาทอง, มาดี ลิ่มสกุล Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/266443 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การขับเคลื่อนมาตรการและแนวการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการบริหารจัดการของ ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/266826 <p>บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่องการขับเคลื่อนมาตรการและแนวทาง<br>การเฝ้าระวัง การป้องกันและบริหารจัดการของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส<br>โคโรนา 2019 (ศบค.) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และถอดบทเรียนในการขับเคลื่อนมาตรการและ<br>แนวทางการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการบริหารจัดการ ศบค. ภายใต้กรอบการอ้างอิงทางความคิดเดิม <br>และเพื่อมุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงของกรอบการอ้างอิงทางความคิดต่อการขับเคลื่อนมาตรการและ<br>แนวทางการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการบริหารจัดการ ศบค. ภายหลังการแพร่ระบาดระลอกที่ 1 <br>ของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย รวมทั้ง เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคดังกล่าว โดยการวิจัยนี้อาศัยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง รวมทั้ง การศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ศบค. มีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงทั้ง 5 ระลอกอยู่ตลอดเวลา ศบค. <br>ตั้งต้นสมมติฐานแนวทางด้วยองค์ความรู้ในอดีตที่ยังไม่ชัดเจนมากพอ กระทั่งเกิดการทดสอบด้วยปัญหา<br>และอุปสรรคต่างๆ ที่เป็นเงื่อนไขอันซับซ้อนเรื่อยมา ทั้งในเชิงการบังคับใช้และผ่อนคลายมาตรการ <br>กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม และชนิดของเชื้อไวรัส จนเกิดการพิจารณา ไตร่ตรอง และสะท้อนคิดเป็น<br>แนวทางการขับเคลื่อนมาตรการในแต่ละช่วงเวลา กระทั่งสุดท้าย ในระลอกที่ 5 ศบค. ได้ตกผลึกและ<br>สร้างกรอบการอ้างอิงทางความคิดสุดท้ายขึ้น โดยในมิติการขับเคลื่อนมาตรการ คือ การดำเนินวิถีชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมอย่างปกติสุข ร่วมกับการคงอยู่ของเชื้อไวรัสโควิด 19 อย่างสมดุลในระยะยาว <br>และในมิติการบริหารจัดการ คือ การคาดการณ์สถานการณ์และการปรับตัวขององค์กรให้สอดคล้องต่อสถานการณ์ภายนอกอย่างตรงไปตรงมา นอกจากนี้ ยังพบปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนมาตรการและการบริหารจัดการทั้งหมด 13 ประเด็น ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือหลักที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้สู่<br>การเปลี่ยนแปลงของ ศบค. ก็ว่าได้</p> ณัฐ นาคเกษม, สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์ Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/266826 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีใหม่ของคนเมืองเชิงพุทธบูรณาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/263464 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีใหม่ของคนเมืองเชิงพุทธบูรณาการ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ &nbsp;1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตวิถีใหม่ของคนเมืองในจังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่นำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีใหม่ของคนเมืองในจังหวัดนนทบุรี และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีใหม่ของคนเมืองเชิงพุทธบูรณาการ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการพรรณนาวิเคราะห์&nbsp;</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตวิถีใหม่ของคนเมืองในจังหวัดนนทบุรีในท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประสบปัญหาทางด้านครอบครัว เกิดจากการเปลี่ยนแปลงค่านิยมเกี่ยวกับการสร้างครอบครัวซึ่งมีปัจจัยเชิงสาเหตุจากด้านเศรษฐกิจ ส่วนปัญหาด้านสังคมเกิดการหลอกลวงผ่านการสื่อสารสมัยใหม่ และปัญหาด้านจิตใจ ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งมีปัญหาด้านจิตใจ แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีใหม่ของคนเมืองเชิงพุทธบูรณาการ โดยการนำหลักพุทธธรรม และกิจกรรมของคณะกรรมการชุมชน มาเป็นกรอบแนวทางการการพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพุทธบูรณาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านครอบครัว ใช้หลักฆราวาสธรรม กับส่งเสริมสร้างสายใยรักในครอบครัว ทำให้ลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 2) ด้านเศรษฐกิจ ใช้หลัก&nbsp;&nbsp;&nbsp; ทิฏฐธัมมิกัตถะ กับส่งเสริมให้ประชาชนดำเนินชีวิตตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้สามารถพึ่งตนเองและมีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง 3) ด้านสังคม ใช้หลักศีล 5 กับจัดให้มีศูนย์รวมจิตใจสร้างพลัง&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ยึดเหนี่ยวจิตใจคนในชุมชน ทำให้มีความจริงใจต่อกัน และเกิดความสามัคคีช่วยเหลือกันในสังคม และ 4) ด้านจิตใจ ใช้หลักจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน กับส่งเสริมให้สมาชิกทุกครอบครัวถือศีลปฏิบัติธรรม ทำให้คนส่วนใหญ่มีสุขภาพจิตแข็งแรงขึ้น สามารถดำเนินชีวิตในช่วงการแพร่ของโรคระบาดได้อย่างปกติสุข&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> ภัทรานิษฐ์ กัปโก Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/263464 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การบูรณาการหลักเบญศีลและเบญจธรรมในการใช้ยันต์ในสังคมไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/259971 <p>ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการใช้ยันต์ในสังคมไทย ๒) เพื่อศึกษาหลักเบญจศีลและเบญจธรรม ที่นำมาใช้บูรณาการกับการใช้เลขยันต์ไทย ๓) เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการบูรณาการหลักเบญจศีลและเบญจธรรม เพื่อการใช้เลขยันต์ในสังคมไทย งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร นำเสนอในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ สรุปผลการวิจัยพบว่า</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับรูปแบบ สูตร และ ขั้นตอนประกอบเลขยันต์ไทย พบว่า ประกอบไปด้วยทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ หลักการจากคัมภีร์ปถมัง และภาพวาดจากอิทธิพลความเชื่อต่างๆ มาเป็นปัจจัยในการประกอบเลขยันต์ และแบ่งขั้นตอนการใช้ยันต์เป็น ขั้นตอนก่อนการใช้ยันต์ ขั้นตอนการใช้ยันต์ และขั้นตอนหลังการใช้ยันต์หรือการประสิทธิ เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานในด้านต่างๆของคนในสังคมไทย</p> <p>ผลการวิเคราะห์พบว่าหลักเบญจศีลและเบญจธรรมที่ถูกนำมาใช้บูรณาการกับการใช้เลขยันต์ไทยมีดังนี้คือเบญจศีล ได้แก่ ปาณาติบาต,อทินนาทาน,กาเมสุมิจฉาจาร,มุสาวาท และ สุราเมระยะ และ เบญจธรรม ได้แก่ เมตตากรุณา, สัมมาอาชีวะ, กามสังวร, สัจจะ และ สติสัมปชัญญะ</p> <p>ดังนั้นผู้วิจัยได้จัดทำเป็นคู่มือการใช้เลขยันต์เชิงพุทธบูรณาการสำหรับผู้ใช้ยันต์ยุคใหม่ ๗ ขั้นดังนี้คือ ๑) การจัดเครื่องบูชาหรือมณฑลพิธีโดยปราศจากการบูชายัญ ๒) การสมาทานศีล ๕ ๓) การกล่าวโองการสาธยายคุณพระรัตนตรัย และ สาธยายคุณอานิสงส์ศีล ๕ &nbsp;๔) การสวมมงคลรัตน์ ๕) การทำยันต์ประเภทต่างๆจากหลักเบญจธรรม ๖) การประสิทธิยันต์ให้กับผู้รับยันต์นำไปใช้ โดยวิธีการรับสัจจะผ่านการสมาทานศีล ๕ ๗) การให้โอวาทเพื่อรักษาสิริจากอานิสงส์ของเบญจศีลและเบญจธรรม โดยผู้ใช้ยันต์สามารถใช้ศึกษาและปฏิบัติตามได้อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อเป็นกุศโลบายในการรักษาศีล และ เป็นกุศโลบายในการเจริญสมาธิ ตามหลักไตรสิกขาในพระพุทธศาสนาในลำดับต่อไป</p> วุฒินันท์ ป้องป้อม Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/259971 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพของคนพิการทางการเห็นในภูมิภาคตะวันตก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/266992 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพการณ์ ความต้องการและพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพของคนพิการทางการเห็นในภูมิภาคตะวันตกโดยเก็บรวมรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ <strong>ขั้นตอนที่ 1</strong> ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน โดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย 2 แหล่ง คือการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) ซึ่งระบุว่าเป็นคนพิการทางการเห็นรายใหม่ จำนวน 154 ราย และคนพิการทางการเห็นที่มาใช้บริการทั่วไป จำนวน 30 ราย ใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็น<em>แบบสอบถาม</em> วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน <strong>ขั้นตอนที่ 2 </strong>การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย&nbsp; โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง &nbsp;เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน <strong>ขั้นตอนที่ 3</strong>&nbsp; การทดลอง กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้พิการทางการมองเห็น จำนวน 30 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรม&nbsp; และแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบที และ<strong>ขั้นตอนที่ 4</strong> การประเมินและปรับปรุงรูปแบบ โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นคนพิการทางการเห็น จำนวน 30 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจรูปแบบ และแนวทางการถอดบทเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่&nbsp; ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>&nbsp;ผลการวิจัย </strong></p> <ol> <li class="show">ข้อมูลพื้นฐานการดำเนินงานการสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มคนพิการทางการเห็น โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านที่มีค่ามากที่สุด ได้แก่ ด้านปัจจัยสังคม และสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนสุขภาพ รองลงมาได้แก่ ด้านทัศนคติและการเสริมพลังตนเอง และน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการจัดการสุขภาพตนเอง และ</li> <li class="show">การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพคนพิการทางการเห็น ได้รูปแบบชื่อว่า “MIND Model” ประกอบด้วย M: mind จิตใจความรู้สึกนึกคิดต่อตนเองและสังคม I: Intervention การจัดกิจกรรมหรือวิธีการรักษาฟื้นฟู N: Network เครือข่ายการทำงานคนพิการ และ D: Disability ความพิการหรือโรคที่เป็น โดยผลการทดลองใช้รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพคนพิการทางการเห็นกับกลุ่มทดลอง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง การเปรียบเทียบความรู้การอบรมก่อนและหลังการอบรม คะแนนเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> </ol> ปุญญาวีร์ อาราเม, นรินทร์ สังข์รักษา, วรรณวีร์ บุญคุ้ม Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/266992 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาครู https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/267193 <p>บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาครู มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการจำเป็นผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาครู <br />2) วิเคราะห์สาเหตุความต้องการจำเป็นผู้ของนำด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาครู และ 3) ศึกษแนวทางการพัฒนาผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาครู เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาครูจากมหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในภูมิภาคตะวันตก โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <ol> <li>1. การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม พบว่า การประเมินตนเองเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นอยู่ อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก สิ่งที่คาดหวัง พบว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยด้านความคิดสร้างสรรค์มีค่าสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านอุดมการณ์และการพัฒนาศิลปวัฒนธรรม ด้านทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ และด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี</li> <li>สาเหตุความต้องการจำเป็นของผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม 8 ด้าน ได้แก่ ด้านบริหาร ด้านวิชาการ ด้านกิจกรรมนักศึกษา ด้านบุคลากร ด้านสภาพแวดล้อมภายในสถาบันอุดมศึกษา ด้านสภาพแวดล้อมภายนอกสถาบันอุดมศึกษา ด้านงบประมาณ และด้านนักศึกษา</li> <li>3. แนวทางการพัฒนาผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ แผนพัฒนานักศึกษา การพัฒนางานวิจัยไปใช้ในงานด้านศิลปวัฒนธรรม มีการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมในการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมนักศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในสถาบันด้านศิลปวัฒนธรรม บุคลากรอำนวยความสะดวกและให้บริการด้านศิลปวัฒนธรรม มีสถานที่ดำเนินกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม ใช้เทคโนโลยีพัฒนากิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม การส่งเสริมความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือในด้านศิลปวัฒนธรรม สนับสนุนการจัดสรรงบประมาณ การสร้างให้นักศึกษาเป็นผู้นำศิลปวัฒนธรรม และเชิดชูเกียรตินักศึกษาที่ทำกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม</li> </ol> <p> </p> ทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา, วรรณวิสา บุญมาก Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/267193 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 โมเดลสมการโครงสร้างพุทธานุสสติในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/262509 <p>โมเดลสมการโครงสร้างพุทธานุสสติในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยา &nbsp;&nbsp;&nbsp;คือ &nbsp;การพัฒนาสติอย่างมีระบบในการปฏิบัติกรรมฐาน&nbsp; ด้วยการระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ มีวิปัสสนาจารย์ผู้เป็นพหูสูต &nbsp;รู้จริตของผู้ปฏิบัติเป็นพื้นฐาน&nbsp; &nbsp;ทำให้การเจริญกรรมฐานที่ตรงกับจริตของผู้ปฏิบัติเกิดการพัฒนาของสติ&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;มีวิจารณญาณในการสร้างความสมดุลของความเพียร และเกิดสมาธิในการใช้ชีวิตประจำวัน &nbsp;&nbsp;ความต่อเนื่องของการพัฒนาสี่ด้าน &nbsp;&nbsp;ก่อเกิดศรัทธาศรัทธาจากความสำเร็จตามลำดับขั้นของการใช้ชีวิต สู่ดวงปัญญาของผู้ตื่นรู้และเบิกบาน สามารถพิจารณาเหตุปัจจัยได้อย่างถูกต้อง &nbsp;&nbsp;และ &nbsp;&nbsp;มีเป้าหมายในการใช้ชีวิตสอดคล้องตามคำสอนในพระพุทธศาสนา คือ รู้ประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์เบื้องหน้า และ ประโยชน์สูงสุดของการเกิดเป็นมนุษย์ด้วยวิถีแห่งการหลุดพ้นด้วยการพัฒนาสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตที่ดี</p> <p>&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพุทธานุสสติในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยาสอด</p> <p>คล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลที่พัฒนาขึ้น มีค่า c<sup>2</sup> = 65.69, df = 49,</p> <p>c<sup>2</sup>/df = 1.34, P = .056, GFI = 0.979, AGFI = 0.95, RMR = 0.020, RMSEA = 0.029&nbsp; ทุกตัวแปรในโมเดล</p> <p>ร่วมกันอธิบายตัวแปรคุณภาพชีวิตได้ร้อยละ 76.60</p> ณภิตา พุทธรักษา , สิริวัฒน์ ศรีเครือดง, วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/262509 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 กรณีศึกษา ประชากรในพื้นที่อำเภอเมืองแพร่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/266645 <p>บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 กรณีศึกษา ประชากรในพื้นที่อำเภอเมืองแพร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2566 กรณีศึกษาอำเภอเมืองแพร่ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ข้อมูลประชากรของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่อำเภอเมืองแพร่กับปัจจัยมีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2566 กรณีศึกษาอำเภอเมืองแพร่ โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2566 ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยถือเกณฑ์ผู้มีสิทธิเลือกตั้งอายุตั้งแต่ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย One Way Anova (F-test), Pearson’s product moment correlation coefficient ผลการวิจัยพบว่า&nbsp; ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 กรณีศึกษา ประชากรในพื้นที่อำเภอเมืองแพร่ โดยภาพรวมยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ มากที่สุดคือ ด้านคุณสมบัติผู้สมัคร รองลงมาคือ ด้านนโยบาย ด้านการรณรงค์หาเสียง/กลยุทธ์หรือวิธีการหาเสียงเลือกตั้ง และด้านพรรคการเมือง และ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 กรณีศึกษา ประชากรในพื้นที่อำเภอเมืองแพร่ หมายถึง ประชากรในพื้นที่อำเภอเมืองแพร่ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยรวมไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ สถานภาพสมรส อาชีพ และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 กรณีศึกษา ประชากรในพื้นที่อำเภอเมืองแพร่ หมายถึง ประชากรในพื้นที่อำเภอเมืองแพร่ที่มีสถานภาพสมรสอาชีพ และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ต่างกัน มีปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้</p> กิตติกร กอบเงิน, วัลลภ พิริยวรรธนะ Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/266645 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การยกระดับนวัตกรรมการออกใบอนุญาตขับรถสู่มาตรฐานสากล https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/264461 <p>การวิจัยเรื่องการยกระดับนวัตกรรมการออกใบอนุญาตขับรถสู่มาตรฐานสากลมี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการยกระดับนวัตกรรมการออกใบอนุญาตขับรถสู่มาตรฐานสากล <br />2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับนวัตกรรมการออกใบอนุญาตขับรถสู่มาตรฐานสากลและ 3) ศึกษาแนวทางการยกระดับนวัตกรรมการออกใบอนุญาตขับรถสู่มาตรฐานสากล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร และบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้องกับงานการให้บริการออกใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะของกรมการขนส่งทางบก จำนวน 20 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปแบบ<br />พรรณนาความ</p> <p> <strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong> 1) สภาพปัญหาการยกระดับนวัตกรรมการออกใบอนุญาตขับรถสู่มาตรฐานสากล ได้แก่ การขาดความร่วมมือ บุคลากรขาดความรู้ บรรยากาศการทำงานขององค์การไม่เอื้อต่อนวัตกรรมรูปแบบการทำงานไม่เหมาะสม ทรัพยากรการบริหารไม่เพียงพอ ผู้บริหารสนับสนุนไม่มากพอ ขาดการสร้างเสริมแรงจูงใจและการพัฒนาบุคลากรที่ต่อเนื่อง ประชาชนไม่เข้าใจในนวัตกรรม ทำให้ขาดความร่วมมือที่ดี 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับนวัตกรรมการออกใบอนุญาตขับรถสู่มาตรฐานสากล ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจของบุคลากร การสร้างสรรค์นวัตกรรม ความร่วมมือในการใช้นวัตกรรม งบประมาณในการพัฒนานวัตกรรม วัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย สภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสม และการฝึกอบรมและพัฒนา <br />และ 3) แนวทางการยกระดับนวัตกรรมการออกใบอนุญาตขับรถสู่มาตรฐานสากล ได้แก่ องค์การต้องมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ สนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอและเหมาะสมการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากรมีการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือ รวมทั้งการติดตาม และประเมินผล</p> นรีรัตน์ วาณิชย์วิชัย, กมลพร กัลยาณมิตร, สถิตย์ นิยมญาติ, ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/264461 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 รูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/268351 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำชุมชน/ กำนัน/ ผู้ใหญ่บ้าน/ พระสงฆ์นักพัฒนา/ตัวแทนภาคประชาชน/ นักท่องเที่ยว และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในหน่วยงานของภาครัฐ โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า&nbsp; </strong></p> <ol> <li class="show">ผลจากข้อมูลพื้นฐานกระบวนการพัฒนาการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ พบว่า การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เกิดจากการรวมตัวของชุมชนที่จัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเขตชุมชนของตนเองที่มีความสวยงามและความอุดมสมบูรณ์ มีอาหารท้องถิ่นที่อร่อยมีรสชาติที่คงความเป็นธรรมชาติ มีวัฒนธรรมที่งดงาม ประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ คนส่วนใหญ่มีอาชีพเก็บเมี่ยงและมีฐานะยากจน ต่อมาได้รับการพัฒนามากขึ้นมีแนวคิดการพึ่งพาตนเองขับเคลื่อนเรื่องการท่องเที่ยวให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาให้ชุมชนเจริญ มีการจัดทำโปรแกรม เส้นทาง และกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในชุมชนที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น เน้นกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสามารถมีส่วนร่วม การอนุรักษ์กิจกรรมส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมปิ้งย่าง ทานอาหารพื้นเมือง และชมการแสดงพื้นเมือง มีการส่งเสริม สืบสานและรักษาสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่ให้คงอยู่ต่อไปและทำการสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาทดแทน</li> <li class="show">กิจกรรมที่เป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ใช้กิจกรรมเข้าร่วมโครงการอนุรักษ์ดังต่อไปนี้ 1. กิจกรรมการท่องเที่ยววิถีผลไม้ 2. กิจกรรมการท่องเที่ยวศิลปวัฒนธรรม 3. กิจกรรมการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์วิถีชนบท และ 4. กิจกรรมการท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ</li> <li class="show">องค์ประกอบรูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย ความสะดวก กิจกรรม เครือข่าย และการกลับไป</li> </ol> พระมหาศิรินญ์ชัย ธนญฺชยเมธี (สูกรรัตนวงศ์) Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/268351 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 ผู้หญิงกับประสบการณ์การเปลี่ยนผ่านความรุนแรงในครอบครัว https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/267470 <p>การวิจัยเรื่อง “ผู้หญิงกับประสบการณ์การเปลี่ยนผ่านความรุนแรงในครอบครัว” มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายประสบการณ์ของผู้หญิงที่เคยมีชีวิตอยู่ในวงจรความรุนแรงในครอบครัวและเปลี่ยนผ่านออกจากวงจรความรุนแรงในครอบครัวได้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีแนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือการวิจัย ผู้วิจัยสัมภาษณ์ผู้ร่วมวิจัยด้วยตนเอง และผู้ร่วมวิจัยเป็นผู้หญิงที่เคยมีชีวิตอยู่ในวงจรความรุนแรงในครอบครัว จำนวน 8 ราย ผลการวิจัยพบว่า ผู้หญิงเปลี่ยนผ่านตนเองออกจากความรุนแรงในครอบครัว<strong>&nbsp;</strong>เป็นผลลัพธ์มาจากกระบวนการตัดสินใจของผู้หญิงผ่านเงื่อนไขส่วนบุคคล&nbsp;ชุมชน และสังคม&nbsp;และการบริหารจัดการชีวิตจนสามารถเปลี่ยนผ่านตนเองออกจากปัญหาความรุนแรงในครอบครัวสู่การเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ปราศจากความรุนแรงได้ ข้อเสนอแนะในการวิจัย&nbsp;หากเริ่มมีความรุนแรงในครอบครัวจากสามี&nbsp;ผู้หญิงควรตระหนักรู้ว่าตนเองเริ่มก้าวเข้าสู่การมีชีวิตอยู่ในวงจรความรุนแรง&nbsp;และควรตัดสินใจเปลี่ยนผ่านเพื่อให้ตนเองออกจากความรุนแรงในครอบครัวให้ได้เร็วที่สุด&nbsp;เพราะความรุนแรงที่ได้รับจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ</p> ธีระนิตย์ อุ่นหล้า Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/267470 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การปฏิบัติงานและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวของเจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัว https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/266934 <p>บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระเรื่อง การปฏิบัติงานและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวของเจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัว กรณีศึกษาภายในหน่วยงานบ้านพักเด็กและครอบครัว 77 จังหวัด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัว ศึกษาจากผู้ปฏิบัติงานในบ้านพักเด็กและครอบครัว รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,221 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 316 คน และใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งได้รับข้อมูลแบบสอบถามกลับมาร้อยละ 100 เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ แจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย</p> <p><strong>ผลจากการศึกษาพบว่า</strong> กลุ่มเป้าหมายมีการปฏิบัติงาน โดยมีค่าคะแนนแบบสอบถามของการปฏิบัติงานและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวของเจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัว จัดอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ดังนี้ ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวด้านบริหาร&nbsp; มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 แสดงว่าผู้ปฏิบัติงานมีการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวด้านบริหาร อยู่ในระดับมาก ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวด้านบริการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 แสดงว่าผู้ปฏิบัติงานมีการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวด้านบริการ อยู่ในระดับมากที่สุด ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวด้านคุณภาพบริการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 แสดงว่าผู้ปฏิบัติงานมีการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวด้านคุณภาพ อยู่ในระดับมาก ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจภายใน ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 แสดงว่าผู้ปฏิบัติงานมีแรงจูงใจภายใน ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัว อยู่ในระดับมากที่สุด และระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจ ภายนอก ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 แสดงว่าผู้ปฏิบัติงานมีแรงจูงใจภายนอก ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัว อยู่ในระดับมาก</p> ฉัตรฑริกา สุดแดน Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/266934 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี สำหรับนักเรียน ระดับประถมศึกษา ในจังหวัดอุทัยธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/263680 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดอุทัยธานี&nbsp; และนำเสนอรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ในจังหวัดอุทัยธานี โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยเป็นแบบผสมวิธี (Mix Methods) คือ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยแจกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 4 – 6 ที่ จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 12 รูปหรือคนด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการณ์ความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดอุทัยธานี โดยรวม มีความเป็นพลเมืองดี อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านสุจริต รองลงมา คือ ด้านความเคารพ ด้านจิตสาธารณะ และด้านวินัย 2) รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดอุทัยธานี&nbsp; มีองค์ประกอบ 5 ประการ ได้แก่ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) การสร้างความตระหนัก หรือ Good Awareness (4) กระบวนการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการ หรือ Good Workshop ขั้นที่ 2&nbsp; สร้างความเป็นพลเมืองดีด้วยโครงงาน หรือ Good Project ได้แก่ การกำหนดปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา การวางแผน การดำเนินการ และการทบทวน ขั้นที่ 3 การวัดและประเมินผล หรือ Good Evaluate ขั้นที่ 4 ฉลองความสำเร็จ หรือ Good Celebrate และ (5) เงื่อนไขความสำเร็จ</p> วันทนีย์ กระแสครุป Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/263680 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาทักษะภาษาจีนของสามเณรจีนนิกาย โรงเรียนพระปริยัติธรรม สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกาย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/265761 <p>โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 13 เป็นองค์การหลักแห่งหนึ่งของพระพุทธศาสนาฝ่ายจีนนิกายในการทำงานด้านการศึกษา เป้าหมายคือจัดการเรียนการสอนภาษจีนให้กับภิกษุ สามเณรจีนนิกาย ที่เข้ามาบวชในวัดสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกาย ให้เป็นมาตรฐานสากล ตามอัตลักษณ์คณะสงฆ์จีนนิกาย เพื่อให้ภิกษุ สามเณรจีนนิกายที่เข้ารับการศึกษา มีทักษะภาษาจีนทั้ง 4 ทักษะ และสามารถใช้ภาษาจีนในการเผยแพร่ และเป็นศาสนทายาทของคณะสงฆ์จีนนิกายต่อไป การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับบริบทของสถานศึกษา การบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาจีน กิจกรรมการเรียนรู้ เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ และทักษะภาษาจีนของสามเณรจีนนิกายของสามเณรจีนนิกายโรงเรียนพระปริยัติธรรม&nbsp; สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกาย 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อทักษะภาษาจีนของสามเณรจีนนิกายโรงเรียนพระปริยัติธรรม สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกาย และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะภาษาจีนของสามเณรจีนนิกายโรงเรียนพระปริยัติธรรม สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกาย ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างคือ สามเณรของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 13 สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกาย 386 รูป ขนาดของกลุ่มตัวอย่างกำหนดโดยใช้เกณฑ์ไม่น้อยกว่า 20 เท่าของตัวแปรสังเกต วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา และแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) ผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 13 จำนวน 4 รูป (2) ครูผู้สอนภาษาจีน จำนวน &nbsp;4 คน (3) นักวิชาการด้านการศึกษา จำนวน 4 คน และ (4) นักวิชาการของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้น 16 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับบริบทของสถานศึกษา การบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาจีน กิจกรรมการเรียนรู้ เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ และทักษะภาษาจีนของสามเณรจีนนิกายของสามเณรจีนนิกายโรงเรียนพระปริยัติธรรม&nbsp; อยู่ในระดับมากที่สุด&nbsp;&nbsp; 2) กิจกรรมการเรียนรู้มีอิทธิพลทางตรงต่อทักษะภาษาจีนของสามเณรจีนนิกาย มากที่สุด รองลงมาคือ เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ ขณะที่ บริบทของสถานศึกษา และการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาจีน มีอิทธิพลทางอ้อมต่อทักษะภาษาจีนของสามเณรจีนนิกาย และ 3) แนวทางการพัฒนาทักษะภาษาจีนของสามเณรจีนนิกาย คือ 3.1) เน้นความสามารถในการสื่อสารของผู้เรียนเป็นหลัก 3.2) เน้นบรรยากาศการเรียนการสอนที่สนุกสนาน 3.3) สอดแทรกความรู้ทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างความเข้าใจในวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา 3.4) ควรเริ่มจากการสอนการฟังพูด โดยเลียนแบบเสียงผู้สอนจนสามารถฟังเข้าใจแล้วจงฝึกพูดตาม 3.5) สอนโดยใช้กิจกรรมที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความสนใจ และ 3.6) เน้นให้มีการท่องจำบทสนทนา ผลของการวิจัยนี้ ผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกาย และภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการกำหนดนโยบายหรือทิศทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับสามัญศึกษาให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย</p> พระนนธีร์ เมืองมาละ, อนันต์ รัศมี, สโรชินี ศิริวัฒนา Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/265761 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาทัศนคติต่อความตายของวัยรุ่นในยุคปรับเปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่ กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/262328 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทัศนคติต่อความตายของวัยรุ่นในยุคปรับเปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่ กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความแตกต่างและความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อความตายของวัยรุ่นในยุคปรับเปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่ กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 316 คน ทั้งเพศชายและเพศหญิง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test) และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทัศนคติต่อความตายของวัยรุ่นในยุคปรับเปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่ ด้านการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา และด้านทัศนคติต่อความตาย มีระดับทัศนคติต่อความตายโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ขณะที่ด้านการสนับสนุนทางสังคม และด้านการเตรียมตัวเพื่อเผชิญกับความตาย มีระดับทัศนคติต่อความตายโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อความตายของวัยรุ่นในยุคปรับเปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อความตายของวัยรุ่นในยุคปรับเปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่ ด้านการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา ด้านการสนับสนุนทางสังคม และด้านการเตรียมตัวเพื่อเผชิญกับความตาย มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อความตายของวัยรุ่นในยุคปรับเปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> พระกิตติพงศ์ สุกิตฺติโก , พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท , ประสิทธิ์ แก้วศรี Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/262328 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การบริหารจัดการองค์กรไปสู่ความสำเร็จในศตวรรษที่ 21 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/267480 <p>การบริหารจัดการองค์กรไปสู่ความสำเร็จในศตวรรษที่ 21 องค์กรต้องมีการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจนผู้นำต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงและสร้างความท้าทายภายใต้การแข่งขันที่สูงขึ้น ดังนั้นจึงต้องวางนโยบายด้านนวัตกรรมองค์กรอย่างเป็นระบบ นโยบายต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่อยู่ในความสนใจของประชาชนทั่วไป และต้องไม่ส่งผลกระทบต่อนโยบายที่สำคัญขององค์กร ในขณะเดียวกันควรหลีกเหลี่ยงการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ ความสับสนระหว่างนวัตกรรมกับสิ่งแปลกใหม่ และความสับสนระหว่างกิจกรรมกับการเคลื่อนไหว แต่ทุนยังเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญเปลี่ยนแปลงเสมอ บทบาทของทุนที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้หลายองค์กรสามารถประสบความสำเร็จได้โดยไม่ต้องมีทุน หรือสะสมทุนในจำนวนมาก ความท้าทายด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ความสำคัญต่อประเด็นสภาวะทางสังคม วิถีชีวิตของคน การเข้าถึงเทคโนโลยี ความหลากหลายและความขัดแย้งกับ ส่งผลให้ผู้นำจำเป็นต้องมีเครื่องมือสำหรับการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จที่แตกต่างจากยุคที่ผ่านมา และ การจัดการความรู้ในองค์กร การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง การทำงานอย่างเป็นเครือข่าย และทำงานร่วมกับองค์กรเพื่อการเรียนรู้ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะต้องมีการนำไปใช้ สำหรับการบริหารความเสี่ยง ช่วยให้องค์กรสามารถเลือกทิศทางและกำหนดกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั่วไป</p> ณฐกร วัชรสินธุ์ , ชุติกาญจน์ ฉลาดสกุล Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/267480 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในจังหวัดสระบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/268081 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการขับเคลื่อนธรรมสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในจังหวัดสระบุรี 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติในจังหวัดสระบุรี 3) เพื่อศึกษานโยบายการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในจังหวัดสระบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นตัวแทนจาก วัด ชุมชน และสังคม เพื่อช่วยในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมชุมชนและสังคม เครือข่ายทั้งในปัจจุบันและอนาคต เครือข่ายการพัฒนาเป็นการดำเนินการอย่างมีนโยบายเพื่อให้สมาชิกได้รับประสบการณ์และการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาขับเคลื่อนสุขภาวะ และเป็นการช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าของภาคีเครือข่าย วัด ชุมชน สังคมและประเทศชาติสืบต่อไป</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <ol> <li class="show">สภาพการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพสงฆ์แห่งชาติ ในจังหวัดสระบุรี ด้านพระสงฆ์กับการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักพระธรรมวินัย ได้มีการส่งเสริม พระสงฆ์ให้มีความรู้รอบด้านสุขภาพ การดูแลตนเอง ชุมชนและสังคมกับการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ที่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย ชุมชนและสังคม ในจังหวัดสระบุรีตระหนัก และใส่ใจในการดูแลพระสงฆ์ ด้วยปัจจัย ๔ ให้ถูกต้องตามสุขภาวะ หน่วยงานของรัฐ และชุมชนได้เปิดโอกาสพระสงฆ์มีบทบาทในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม พระสงฆ์และคณะสงฆ์เข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาวะ ในทุกมิติ ภายในวัดและชุมชนสังคม ให้วัดเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อน โดยใช้วันสำคัญทางพุทธศาสนา และวันสำคัญของชาติเป็นจุดเริ่มต้น ในการพัฒนาด้านกาย จิต ภาวนา และปัญญา อันจะนำไปสู่ความยั่งยืน</li> <li class="show">การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพสงฆ์แห่งชาติใน จังหวัดสระบุรี เป็นการสร้างระบบกลไกในการสร้างเสริมสุขภาพจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และภัยคุกคาม ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมภายในวัด โดยวัด (เจ้าอาวาส) ส่งเสริมพระสงฆ์ให้เข้ากระบวนการเรียนรู้ด้านสุขภาวะ เพื่อนำความรู้ไปอบรมสั่งสอน ในการถวายปัจจัย ๔ ที่เอื้อต่สุขภาพชองพระสงฆ์ และ เข้าร่วมต้องส่งเสริม ระบบบริการสาธารณสุขสำหรับพระสงฆ์ บทบาทพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม บทบาทของพระสงฆ์ ที่เกิดขึ้น โดยการยอมรับ ของหน่วยงานภาคีเครือข่ายความร่วมมือ บูรณาการขับเคลื่อนส่งเสริมและสร้างเสริมสุขภาวะ ชุมชนและสังคมให้เป็นไปในแนวเดียวกัน</li> <li class="show">นโยบายการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพสงฆ์แห่งชาติ ในจังหวัดสระบุรี พบว่ามี 3 ด้าน คือ 1 การขับเคลื่อนโดยพระสงฆ์เป็นผู้ดำเนินกิจกรรม ในการขับเคลื่อนโดยมีกระบวนการที่ชัดเจน 2. การขับเคลื่อนแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โดยการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนนโยบาย 3. นโยบายบทบาทพระสงฆ์เป็นผู้นำด้านสุขภาวะโดย ต้องใช้กลไกวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน โดยใช้ หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล วัดส่งเสริมสุขภาพในการสร้างเครือข่าย เพื่อการมีส่วนรวมในการขับเคลื่อนในแต่ละด้านทุกหน่วยงานของภาคีในการขับเคลื่อนโดยการเอานโยบายของคณะสงฆ์ ร่วมกับนโยบายรัฐและภาคีเครือข่าย ถือว่าเป็นบทบาทของพระสงฆ์ ในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดขึ้นโดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนโดยเอาหลักธรรมคำสั่งสอน พระพุทธศาสนาเชื่อมโยง กับนโยบายของรัฐบาล เพื่อไม่ให้ผิดวัตถุประสงค์ในการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ</li> </ol> พระวัฒธยา ฐิติสมฺปนฺโน (ศรีลาศักดิ์) Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/268081 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 อิทธิพลของชีวิตวิถีใหม่ที่มีต่อการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลังของวัยก่อนสูงอายุ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/265883 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินชีวิตในยุคชีวิตวิถีใหม่ของวัยก่อนสูงอายุ 2) ศึกษาระดับพฤฒพลังในยุคชีวิตวิถีใหม่ของวัยก่อนสูงอายุ 3) ศึกษาการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลังในยุคชีวิตวิถีใหม่ของวัยก่อนสูงอายุ 4) ศึกษาอิทธิพลของชีวิตวิถีใหม่ที่มีต่อการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลังของวัยก่อนสูงอายุ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ประชากรในการศึกษา ที่มีอายุในช่วง 50-59 ปี อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครนายกจำนวน 39,923 คน การคำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของเครซี่และมอร์แกนได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 380 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage random sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามผลการวิจัย พบว่า การปฏิบัติตัวตามรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ระดับพฤฒพลังวัยก่อนผู้สูงอายุภาพรวมอยู่ในระดับสูงร้อยละ 70.2 ระดับปานกลางร้อยละ 28.2 และระดับต่ำมีเพียงร้อยละ 1.6 ภาพรวมการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุอยู่ระดับมากปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุมีทั้งหมด 7 ปัจจัย ได้แก่ การใช้ทิชชู่ป้องปากและจมูกเวลาไอหรือจาม แล้วทิ้งลงในถังขยะที่ปิดสนิททันที รายได้ ใช้มือมาสัมผัสบริเวณใบหน้า เช่น การขยี้ตา แคะจมูก สัมผัสปาก โดยไม่ได้ล้างมือก่อน เว้นระยะห่างกับบุคคลอื่น หลีกเลี่ยง<br />การสัมผัสกับผู้อื่น เพศ สถานภาพสมรส และเมื่อไปสถานที่ที่มีคนแออัด เช่น ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้าใช้เวลา<br />ไม่นาน โดยสามารถทำนายการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลังของวัยก่อนผู้สูงอายุได้ร้อยละ 22.5 (<strong>R<sup>2</sup> <sub>= </sub></strong>0.225., p= .000) </p> พนารัตน์ ศาสนะสุพินธ์, จารุณี จันทร์เปล่ง, ถนอมรัตน์ ประสิทธิเมตต์ Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/265883 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/268740 <p>&nbsp;งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร 2) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร 3) เพื่อเสนอแนะศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) รวบรวมข้อมูลโดยการวิจัยเอกสาร การวิจัยภาคสนาม ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การสนทนากลุ่ม การจัดเวที ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 45 รูป/คน การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และอธิบายด้วยวิธีพรรณนา</p> <p>&nbsp;<strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <ol> <li class="show">1. การสืบสานและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมโดยการเพิ่มมูลค่า การสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่โดยใช้วัดเป็นศูนย์กลางเพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจผ่านประเพณีต่างๆ <br>ที่สัมพันธ์กับวัด แม่น้ำน่าน และทรัพยากรป่าไม้</li> <li class="show">2. ศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธของชุมชนมีการรวมกลุ่ม เช่น กลุ่มข้าวเม่าพอก ทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ ต่อเรือ เลี้ยงปลา จักสาน เป็นต้น ที่เชื่อมร้อยศรัทธาในทางพระพุทธศาสนาและสร้างรายได้ให้ชุมชน ประกอบด้วย กิจกรรมแข่งเรือยาวและกิจกรรมทำข้าวเม่า ในการรวมกลุ่มของประชาชนที่มีวัตถุประสงค์หารายได้เพื่อใช้จ่ายในกิจกรรมของวัด เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเปลี่ยนวิธีคิดในการจัดทำธุรกิจของชุมชนยังใช้คู่มือการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชนอีกด้วย</li> <li class="show">3. ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย คณะกรรมการวัดและทีมวิจัยมีความเห็นพ้องกันคือใช้พื้นที่บริเวณวัดจัดให้มีตลาดวัฒนธรรมเพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนและเป็นลานแสดงออกทางวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ มีการจัดทำแผนที่การท่องเที่ยวทางน้ำโดยเริ่มจากวัดหงส์ วัดหาดมูลกระบือ และวัดท่าฬ่อ และการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจในชุมชนวัดหาดมูลกระบือตามแนวคิด TERMS Model</li> </ol> พระครูวศินวรกิจ, พระครูวิโชติสิกขกิจ, พระครูอุทัยกิจจารักษ์, พระครูใบฎีกาสุวินท์ สุวิชาโน , ปริญญา นิกรกุล Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/268740 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/268743 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตรเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR = Participatory Action Research) รวบรวมข้อมูลโดย การวิจัยเอกสาร การวิจัยภาคสนาม ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การจัดเวทีทำความเข้าใจ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 45 รูป/คน การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และอธิบายด้วยวิธีพรรณนา</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <ol> <li class="show">มีการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน Business Model Canvas (CBMC) แบบจำลองทางธุรกิจเพื่อชุมชน แผนดำเนินงานที่ใช้สำหรับธุรกิจเพื่อชุมชน และปฏิทินงานเพื่อใช้ในการควบคุมให้งานเดินไปตามเป้าหมายของชุมชน</li> <li class="show">การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตามกรอบความคิด TERMS MODEL ที่ชุมชนจะพึ่งตนเองได้ซึ่งมี 5 ประการ คือ การพึ่งตนเองทางเทคโนโลยี (T) การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ (E) การพึ่งตนเองทางทรัพยากรธรรมชาติ (R) การพึ่งตนเองทางจิตใจ (M) และการพึ่งตนเองทางสังคมวัฒนธรรม (S) ที่ส่งผลถึงความสัมพันธ์เชิงหน้าที่และการพึ่งตนเองของชุมชนวัดหาดมูลกระบืออีกด้วย</li> <li class="show">การสนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากเชิงสร้างสรรค์ผ่านเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ และตลาดนัดวัฒนธรรมชุมชนเพื่อเป็นการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน</li> </ol> สุภางค์พิมพ์ คล้ายธานี, พระครูพิทูรนครภิรักษ์, พระมหาเมธี จนฺทวํโส, ศราวุธ ปลอดภัย , ณฐยา ราชสมบัติ Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/268743 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 ศึกษาการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในเด็กยากจนและด้อยโอกาสของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) : กรณีศึกษาการจัดการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษาของครูประถมศึกษา ในโครงการครูรักษ์ถิ่น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/269151 <p>บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวทางการยกระดับศักยภาพการดำเนินงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการส่งเสริมด้านการศึกษาในกลุ่มเด็กยากจนและด้อยโอกาสของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) 2) ศึกษาแนวการการจัดการเรียนรู้รายวิชาสังคมศึกษาของครูประถมศึกษา ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านเป้าประสงค์การผลิตครูประถมศึกษาที่สอนรายวิชาสังคมศึกษาเพื่อท้องถิ่น ด้านการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาสำหรับเด็กยากจนและด้อยโอกาสและด้านการวัดและประเมินผล งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการค้นคว้าวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยการค้นคว้าวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้บริหาร บุคลากร จากกองทุนความเสมอภาคทางการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการด้านการศึกษา จำนวน 26 คน ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานของ กสศ. ในการสนับสนุนด้านการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำโดยการให้ทุนการศึกษาและสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เด็กยากจนและด้อยโอกาส การจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ของครูประถมศึกษาโดยการเข้าใจและให้โอกาสในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน พัฒนาทักษะความเป็นพลเมือง จัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน ใช้สื่อที่หาได้ง่ายและมีวิธีการประเมินผลที่ชัดเจน</p> ชลวิทย์ เจียรจิตต์, พิมพ์ตะวัน จันทัน, วิไลลักษณ์ ลังกา, สรสัณห์ รังสิยานนท์, อัญชลี ศรีกลชาญ, สุวิมล เฮงพัฒนา, ประภาภรณ์ โรจน์ศิริรัตน์ Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/269151 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาแนวทางการจัดการขยะในชุมชนบ้านรางพลับ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/264403 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาภูมิหลังเกี่ยวกับสภาพปัญหาขยะในชุมชนบ้านรางพลับ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการขยะในชุมชนบ้านรางพลับ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) วิเคราะห์ข้อมูลตามหลักการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า ในอดีตที่ผ่านมา เนื่องด้วยชุมชนบ้านรางพลับตั้งอยู่ในอำเภอบ้านโป่ง ซึ่งมีโรงงานถึง 700 แห่ง พนักงานโรงงานที่สัญจรผ่านชุมชนบ้านรางพลับมักจะนำขยะมาทิ้งลงในถังขยะของชุมชนบ้านรางพลับ จนทำให้ปริมาณขยะในชุมชนบ้านรางพลับมีจำนวนมากและถังขยะเต็มอย่างรวดเร็ว ขยะล้นออกมาจากถัง บริเวณรอบ ๆ ถังขยะจึงสกปรก ดังนั้น ชุมชนบ้านรางพลับ จึงได้แก้ไขปัญหาขยะตามขั้นตอนดังนี้ 1) การให้ความรู้ด้านการจัดการขยะแก่ชาวบ้าน 2) การสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ &nbsp;3) การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการจัดการขยะ &nbsp;4) การส่งมอบผลประโยชน์จากการจัดการขยะแก่ชาวบ้านในชุมชน ผู้นำชุมชนและชาวบ้านในชุมชนบ้านรางพลับมีความตั้งใจพัฒนาชุมชนของตนให้ปลอดขยะ ฉะนั้น ชุมชนบ้านรางพลับจึงได้เป็นชุมชนปลอดขยะ “Zero Waste” ในปี พ.ศ. 2562</p> อรชร ไกรจักร์ , พระมหาวรัญธรณ์ ญาณกิตฺติ, พระมหานิติทัศน์ ญาณสิทฺธิ Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/264403 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 ความคาดหวังของสหวิชาชีพต่อบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556 มาตรา 28(1) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/265557 <p>บทความนี้ศึกษาความคาดหวังของสหวิชาชีพต่อบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ.2556 มาตรา28(1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานที่เป็นทีมสหวิชาชีพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้แก่ พนักงานอัยการ แพทย์ จิตแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา พนักงานคุมประพฤติ นักกฎหมาย นักพัฒนาสังคม ครูฝึกอาชีพ พี่เลี้ยง พนักงานพินิจ เป็นต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และ แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า ทุกวิชาชีพรับรู้บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ “ในระดับปานกลางไปจนถึงระดับสูง” กลุ่มตัวอย่างสะท้อนความคาดหวังต่อบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ด้านวิชาการมากกว่าบทบาทด้านการบริหารและด้านบริการ ซึ่งบทบาทในด้านวิชาการนี้ ประกอบไปด้วย 2 ด้าน คือ บทบาทด้านผู้ประเมินผล และบทบาทผู้ให้ความรู้ โดยนักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้รวบรวมข้อมูลแล้วนำมาประเมินปัญหาของบุคคล กลุ่ม หรือชุมชน และช่วยให้เกิดกระบวนการตัดสินใจในการดำเนินงาน ซึ่งบทบาทนี้เป็นส่วนหนึ่งของอำนาจหน้าที่ที่ระบุในกฎหมายทั้ง 4 ใน 8 ฉบับตามพระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์&nbsp; พ.ศ. 2556 มาตรา 28(1)</p> รัชพล มณีเหล็ก Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/265557 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทำบุญแก้ปีชงวัดจีนนิกายของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/270568 <p>ตั้งแต่โบราณระบบโหราศาสตร์จีนที่มีความเชื่อเรื่องนักษัตรประจำปีโดยใช้สัญลักษณ์รูปสัตว์ 12 ตัว เรียกว่า “ปีนักษัตร” ปีนักษัตรมีทั้งสมพงศ์กันและขัดแย้งกัน&nbsp; ทุกคนจะมีสัตว์ประจำปีเกิดของตน&nbsp; เรียกปีที่ขัดแย้งกับปีเกิดของตน และส่งผลไม่ดีนั้นว่า “ปีชง” อันมาจากคำว่า “ชง” ที่หมายถึง ปฏิปักษ์ต่อกัน เป็นพลังบางอย่างที่มองไม่เห็นกระแทกใส่ดวงชะตาส่งผลให้เกณฑ์ดวงชะตาตกต่ำในทุกด้าน ชาวจีนจึงเชื่อว่า ผู้ที่เผชิญกับเรื่อง ปีชงจะมีสิ่งร้าย ๆ เข้ามาในชีวิต และต้องทำพิธีกรรมเพื่อแก้ปีชง การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ <br>1) ศึกษาระดับของปัจจัยผลัก ปัจจัยดึง ภาพลักษณ์ของวัด ความพึงพอใจของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย และการตัดสินใจทำบุญแก้ปีชงของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทำบุญแก้ปีชงของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย 3) เสนอแนวทางการส่งเสริมให้กลุ่มเจเนอเรชั่นวายตัดสินใจทำบุญแก้ปีชง&nbsp; โดยใช้แนวทางการวิจัยแบบผสม การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ พุทธศาสนิกชนที่มาทำบุญแก้ปีชงที่วัดจีนนิกายที่มีกิจกรรมแก้ปีชง 4 วัด ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ วัดมังกรกมลาวาส วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ วัดโพธิ์แมนคุณาราม และวัดทิพยวารีวิหาร จำนวน 300 ราย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา <strong>และแบบจำลองสมการโครงสร้าง &nbsp;&nbsp;</strong></p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong><strong>&nbsp; </strong></p> <p>1.ระดับของปัจจัยผลัก ปัจจัยดึง ภาพลักษณ์ของวัด ความพึงพอใจของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย และการตัดสินใจทำบุญแก้ปีชงของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย อยู่ในระดับมาก</p> <p>2.การตัดสินใจทำบุญแก้ปีชงของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ได้รับอิทธิพลทางตรงจากภาพลักษณ์ของวัด มากที่สุด รองลงมาคือ ความพึงพอใจของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ปัจจัยผลัก และปัจจัยดึง ตามลำดับ</p> <p>3. แนวทางการส่งเสริมให้กลุ่มเจเนอเรชั่นวายตัดสินใจทำบุญแก้ปีชง คือควรส่งเสริมภาพลักษณ์ของวัดจีนนิกาย โดยสร้างความรู้ความเข้าใจ การจดจำ ความเชื่อ ความคิด และการตระหนักถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของวัดจีนนิกายที่กลุ่มเจเนอเรชั่นวายสามารถจดจำและระลึกถึงได้เมื่อกล่าวถึงวัดจีนนิกายนั้น สร้างบุคลากรของวัด ทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ ให้อยู่ในการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามอบรมให้บุคลากรของวัดมีความรู้ทัศนคติ ที่ดีในการบริการเพื่อให้ตอบสนองความพึงพอใจในบริการของพุทธศาสนิกชนทุกกลุ่ม ดูแลบำรุงรักษาอาคารสถานที่ บรรยากาศ สิ่งก่อสร้าง สถาปัตยกรรม ให้อยู่ในสภาพเหมาะสมกับการใช้งาน และรวมทั้งดูแลภูมิทัศน์ของวัดจีนนิกายให้คงเอกลักษณ์ เหมาะสมกับการรองรับพุทธศาสนิกชน พร้อมทั้งการจัด</p> <p>กิจกรรมภายในวัด การทำบุญแก้ปีชง ตลอดจนกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง&nbsp; ผลการวิจัยนี้ วัดจีนนิกายสามารถใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนา ภาพลักษณ์ของวัด ทั้งด้านกายภาพ การสร้างกิจกรรมในการเผยแผ่ความรู้ทางพระพุทธศาสนาและประเพณีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกัน การวางแผนส่งเสริมคุณภาพของบุคลากร ของวัด ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ ยังเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับผู้ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคด้านความเชื่อของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย</p> เศรษฐพงษ์ จงสงวน, สโรชินี ศิริวัฒนา , อนันต์ รัศมี Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/270568 Fri, 19 Jan 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์วัดจีนนิกายในยุควิถีใหม่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/272847 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ของวัดจีนนิกาย ภาวะผู้นำในวิถีใหม่ การบริหารจัดการองค์กร กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ และการใช้สื่อ 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำในวิถีใหม่ การบริหารจัดการองค์กร กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ และการใช้สื่อ ที่มีอิทธิพลต่อการประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ของวัดจีนนิกายในยุควิถีใหม่ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ อุบาสก-อุบาสิกาของวัดจีนนิกาย 305 ท่านจากวัดจีนนิกายในในประเทศไทยจำนวน 14 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaires) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบความสอดคล้องของแบบจำลองสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้ค่าสถิติ คือ 1) ค่าสถิติไคสแคว์ 2) ค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพันธ์ 3) ค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสมบูรณ์ 4) ค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนในรูปความคลาดเคลื่อน 5) largest standardized residual และ6) Q-plot</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p>1) ระดับประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ของวัดจีนนิกาย ภาวะผู้นำในวิถีใหม่ การบริหารจัดการองค์กร กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ และการใช้สื่อ ดังนี้ (1.1) ประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ของวัดจีนนิกาย โดยภาพรวม พบว่า มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ภาพลักษณ์ และความไว้วางใจมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากัน รองลงมา ได้แก่ ความจงรักภักดี ตามลำดับ (1.2) ภาวะผู้นำวิถีใหม่ โดยภาพรวม พบว่า มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การยอมรับการเปลี่ยนแปลง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การตื่นตัวต่อความรู้ใหม่ และความเชื่อมั่นในตัวเอง (1.3) การบริหารจัดการองค์กร โดยภาพรวม พบว่า มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การพัฒนาบุคลากร &nbsp;มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ งบประมาณ และเทคโนโลยี ตามลำดับ (1.4) กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ โดยภาพรวม พบว่า มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความครบถ้วน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ &nbsp;ความถูกต้องและตรงกลุ่มเป้าหมาย ตามลำดับ (1.5) การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ โดยภาพรวม พบว่า มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า &nbsp;สื่อออนไลน์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ สื่อออฟไลน์ และเครือข่ายตามลำดับ</p> <p>&nbsp;</p> <p>2) ภาวะผู้นำในวิถีใหม่ การบริหารจัดการองค์กร กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ และการใช้สื่อ ที่มีอิทธิพลต่อการประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ของวัดจีนนิกายในยุควิถีใหม่ ดังนี้ (2.1) ภาวะผู้นำวิถีใหม่ (LEAD) การบริหารจัดการองค์กร (MANA) กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ (PRST) และ การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ (UPRM) มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ของวัดจีนนิกาย (PREF) (2.2) ภาวะผู้นำวิถีใหม่ (LEAD) การบริหารจัดการองค์กร (MANA) และกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ (PRST) มีอิทธิพลทางตรงต่อการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ (UPRM) (2.3) ภาวะผู้นำวิถีใหม่ (LEAD) และการบริหารจัดการองค์กร (MANA) มีอิทธิพลทางตรงต่อกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ (PRST) (2.4) ภาวะผู้นำวิถีใหม่ (LEAD) มีอิทธิพลทางตรงต่อการบริหารจัดการองค์กร (MANA)</p> เฉลิมชัย วัฒนศักดิ์ศิริ, รัชฎา ฟองธนกิจ , กฤษณา ฟองธนกิจ Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMSD/article/view/272847 Fri, 05 Apr 2024 00:00:00 +0700