https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/issue/feed วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ 2024-06-28T19:35:58+07:00 Open Journal Systems <p><strong>จุดมุ่งหมายและขอบเขต (</strong><strong>Aim and Scope)<br /></strong> วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ (Journal of Social Science Panyapat) ISSN : 3027-6748 (Online) มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่<strong>บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ</strong> ในสาขาที่เกี่ยวข้องด้านสังคมศาสตร์ ได้แก่ <strong>1) สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ 2) สาขาพัฒนาสังคม 3) สาขาศึกษาศาสตร์ 4) สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ</strong> และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์ เผยแพร่ปีละ 4 ฉบับ โดยทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>ประกาศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของวารสาร</strong><br /> 1) แต่เดิมวารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์เผยแพร่บทความปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน), ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม) และได้มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการออกเผยแพร่บทความเป็นปีละ 4 ฉบับ โดยได้ดำเนินการตั้งแต่ ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม – กันยายน 2565) เป็นต้นมา ปัจจุบันวารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ มีกำหนดวงรอบการเผยแพร่ปีละ 4 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม – มีนาคม) ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน) ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม – กันยายน) และ ฉบับที่ 4 (ตุลาคม – ธันวาคม)<br /> 2) แต่เดิมวารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ ISSN : 2773-9805 (Online) และได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็น ISSN : 3027-6748 (Online) โดยจะดำเนินการตั้งแต่ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มีนาคม 2567 เป็นต้นไป</p> <p><strong>ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร<br /></strong> 1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับด้านสังคมศาสตร์ และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์<br /> 2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่<br /> 3) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) เป็นบทความในลักษณะวิจารณ์หรืออธิบายเหตุผลสนับสนุนในประเด็นที่เห็นด้วย และ มีความเห็นแตกต่างในมุมมองวิชาการ</p> <p><strong>กำหนดออกเผยแพร่วารสาร<br /></strong> แต่เดิมวารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์เผยแพร่บทความปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน), ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม) และได้มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการออกเผยแพร่บทความเป็นปีละ 4 ฉบับ โดยได้ดำเนินการตั้งแต่ ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม – กันยายน 2565) เป็นต้นมา ปัจจุบันวารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ มีกำหนดวงรอบการเผยแพร่ปีละ 4 ฉบับ ดังนี้<br /> - ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม<br /> - ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน <br /> - ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน<br /> - ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>อัตราค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความ<br /></strong> บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ มีอัตราค่าตีพิมพ์ ดังนี้<br /> 1) บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ (ภาษาไทย) บทความละ 4,000 บาท<br /> 2) บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ (ภาษาอังกฤษ) บทความละ 6,000 บาท<br /> โดยผู้เขียนจะต้อง กรอก <strong>“<a href="https://drive.google.com/file/d/13hbKlIcvn6FU_oGAUdjACl0ZMWoudxC_/view?usp=drive_link">แบบขอส่งบทความตีพิมพ์</a>”</strong> และชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ภายหลังจากที่กองบรรณาธิการพิจารณาความสมบูรณ์ และความถูกต้องตามรูปแบบแล้ว และส่งผู้ทรงคุณวุฒิประเมินพิจารณาบทความ <strong>(เก็บค่าธรรมเนียมตีพิมพ์ ทุก submission)</strong> อนึ่ง การพิจารณารับบทความเพื่อลงตีพิมพ์หรือไม่ตีพิมพ์ อยู่ที่ดุลยพินิจของบรรณาธิการถือเป็นอันสิ้นสุด </p> <p><strong>การพิจารณาบทความ<br /></strong> บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) มีขั้นตอนการพิจารรณา ดังนี้<strong><br /></strong></p> <ol> <li>บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้นในด้านคุณภาพของบทความ โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 5 วันทำการหากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน</li> <li>บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชานั้น พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) 3 ท่าน โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณอย่างน้อย 20 วันทำการ</li> <li>เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ ภายในเวลา 3 วันทำการ หลังจากได้รับจากผู้ทรงคุณวุฒิครบทั้ง 3 ท่าน</li> <li>ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์ และระยะเวลาการแก้ไขไม่ควรเกิน 15 วันทำการ</li> </ol> <p><strong>เกณฑ์การพิจารณาบทความ</strong></p> <ol> <li>บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้น ในด้านคุณภาพของบทความ และการจัดรูปแบบให้เป็นไปตามข้อกำหนดของวารสารฯ หากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชา พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) 3 ท่าน</li> <li>เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ</li> <li>ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์</li> <li>เมื่อมีการปรับแก้เป็นไปตามผู้ทรงคุณวุฒิ กองบรรณาธิการจะตรวจสอบความสมบูรณ์เนื้อหาบทความให้เป็นไปตามรูปแบบของวารสาร และตรวจสอบไฟล์รูปภาพที่ใช้ในบทความที่มีความคมชัดในการจัดพิมพ์ก่อนเผยแพร่บทความ</li> </ol> <p><strong>แนวทางการต่อติดประสานงานและมีความประสงค์ขอตีพิมพ์:</strong></p> <ol> <li>ประสานเจ้าหน้าที่วารสาร เพื่อทราบรายละเอียดเบื้องต้น (เช่น รอบการตีพิมพ์, หนังสือตอบรับการตีพิมพ์, ค่าใช้จ่ายฯลฯ) ID Line: ben_lowz โทร. 080-2241454 (นางสาวศิโรรัตน์ ประศรี), 081-6015934 (ผศ. ดร.ประยูร แสงใส)</li> <li>เตรียมต้นฉบับบทความ</li> </ol> <p> - เทมเพลตบทความวิจัย <a href="https://docs.google.com/document/d/1h16I3OrCBS4_-g4hQxRZtzZs87fel49l/edit?usp=drive_link&amp;ouid=101054565910719523625&amp;rtpof=true&amp;sd=true">คลิก</a> <br /> - เทมเพลตบทความวิชาการ <a href="https://docs.google.com/document/d/16Ap1TK9aXhyx9FnYU4f9iM3XMiB0o2f6/edit?usp=drive_link&amp;ouid=101054565910719523625&amp;rtpof=true&amp;sd=true">คลิก</a><br /> - เทมเพลตบทวิจารณ์หนังสือ <a href="https://docs.google.com/document/d/19nzVzFAhIhle9z_lZ8GH1reH9kYy4RAu/edit?usp=drive_link&amp;ouid=101054565910719523625&amp;rtpof=true&amp;sd=true">คลิก</a></p> <ol start="3"> <li>ส่งบทความต้นฉบับในระบบวารสาร <a href="https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/index">https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/index</a></li> <li>กรอก “แบบขอส่งบทความตีพิมพ์” จาก <a href="https://drive.google.com/file/d/13hbKlIcvn6FU_oGAUdjACl0ZMWoudxC_/view?usp=drive_link">คลิก</a></li> <li>ส่งสำเนาเอกสารในระบบ Google forms ที่ <a href="https://docs.google.com/forms/d/1JFZ6xgC46Gyck7j79RwPpVKy7lU9fKl-gRz5TBrZ7WE/edit">https://docs.google.com/forms/d/1JFZ6xgC46Gyck7j79RwPpVKy7lU9fKl-gRz5TBrZ7WE/edit</a></li> </ol> <p> 6. สมัครเข้า line กลุ่มวารสาร เพื่อติดต่อประสานงาน ที่ <a href="https://line.me/R/ti/g/Ngfd8WM9U2">https://line.me/R/ti/g/Ngfd8WM9U2</a></p> https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/268902 หนี้ครัวเรือนกับตัวแปรทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในแต่ละช่วงของวัฏจักรธุรกิจ 2023-12-29T21:08:23+07:00 ภัทราวดี พรไทย pattarawadee.po@ku.th ธนารักษ์ เหล่าสุทธิ ben_lowz@hotmail.com มานะ ลักษมีอรุโณทัย ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของหนี้ครัวเรือนกับตัวแปรทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในแต่ละช่วงของวัฏจักรธุรกิจ โดยรวบรวมข้อมูลเศรษฐกิจจากธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และทำการหาจุดเปลี่ยนในโครงสร้างของวัฏจักรธุรกิจด้วยวิธีการทดสอบ Chow Test ซึ่งสามารถแบ่งช่วงของวัฏจักรธุรกิจออกเป็นช่วงที่เศรษฐกิจหดตัวและขยายตัว และนำข้อมูลในแต่ละช่วงไปทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว (Cointegration) ด้วยวิธีการแบบสองขั้น Eagle and Granger (Engle – Granger Two-Step) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของตัวแปรตามแนวคิดของ Granger (Granger Causality) ผลการศึกษาในภาพรวมพบว่า หนี้ครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ การลงทุนรวม ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย และดัชนีตลาดหุ้น โดยในช่วงที่ 1 (ไตรมาสที่ 1 ปี 2546 – ไตรมาสที่ 3 ปี 2551) ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจหดตัว พบว่าหนี้ครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และในช่วงที่ 2 (ไตรมาสที่ 4 ปี 2551 - ไตรมาสที่ 1 ปี 2563) ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัว พบว่าหนี้ครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ปริมาณเงินฝาก และการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาล สำหรับช่วงที่ 3 (ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 - ไตรมาสที่ 2 ปี 2566) ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจหดตัว พบว่า หนี้ครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ การลงทุนรวม อัตราการว่างงาน และดัชนีราคาที่อยู่อาศัย</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/271330 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารงานบุคลากรกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2024-04-09T18:19:21+07:00 ณภัทร สุวรรณพฤกษ์ n.suwannapuk@gmail.com ธีรพล กาญจนากาศ ben_lowz@hotmail.com ธรรศพงศ์ วงษ์สวัสดิ์ ben_lowz@hotmail.com ณฐนนท ทวีสิน ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกองยุทธศาสตร์และแผนงาน (2) ศึกษาการบริหารงานบุคลากรของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคลากรในกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในส่วนของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ด้วยวิธีจับสลาก จำนวน 56 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การทดสอบสมมติฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารงาน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการเป็นต้นแบบนำทาง การบริหารงานบุคลากร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการสรรหาบุคลากร ความสัมพันธ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคลากร โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำมาก โดยตัวแปรที่ทดสอบมีอำนาจพยากรณ์สูงสุด ได้แก่ ด้านการสร้างขวัญกำลังใจ สามารถพยากรณ์ได้ว่า เป็นตัวแปรภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารงานที่มีค่าสัมประสิทธิ์สมการถดถอยหรืออำนาจพยากรณ์ (R<sup>2</sup>) เท่ากับ .904 มีผลต่อการบริหารงานบุคลากรของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ร้อยละ 90.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/269074 ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการก่อหนี้เกินตัวตามวัฎจักรชีวิตของครัวเรือน 2024-02-15T14:43:29+07:00 ภัทรนันท์ สงวนวัฒนารักษ์ pattaranan.san@ku.th ธีรศักดิ์ ทรัพย์วโรบล ben_lowz@hotmail.com กนกวรรณ จันทร์เจริญชัย ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการก่อหนี้เกินตัวตามวัฎจักรชีวิตของครัวเรือน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยอาศัยข้อมูลจากโครงการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2564 เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างวัฎจักรชีวิตของครัวเรือนกับพฤติกรรมการก่อหนี้เกินตัวผ่านแบบจำลองโลจีสติก (Logistic Model) ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรด้านวัฎจักรชีวิตของครัวเรือนได้แก่ ช่วงที่ครอบครัวแตกแยกและเลี้ยงลูกลำพัง ช่วงที่ลูกโต ช่วงมีลูก ช่วงวัยกลางคนและไม่มีลูก ช่วงที่ลูกแยกออกไปตั้งครอบครัวใหม่ และช่วงแต่งงานมีครอบครัวมีโอกาสในการก่อหนี้เกินตัวมากกว่าช่วงหนุ่มสาวโสดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ปัจจัยด้านระดับการศึกษา ครัวเรือนประกอบอาชีพนายจ้าง ทำธุรกิจส่วนตัว พนักงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ ความเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย การเล่นการพนัน การครอบครองรถยนต์ มีโอกาสในการก่อหนี้เกินตัวในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน แต่ในทางตรงกันข้ามตัวแปรรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่สูงขึ้นกลับช่วยลดโอกาสที่ครัวเรือนจะก่อหนี้เกินตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และรัฐบาลควรสนับสนุนและส่งเสริมเรื่องการศึกษา เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ปกครอง รวมถึงควรมีมาตรการดูแลครัวเรือนที่มีบุตรอย่างเข้มงวดควบคู่ไปกับมาตรการผ่อนชำระหนี้ให้เหมาะสม เพื่อให้ครัวเรือนสามารถชำระหนี้ได้ และไม่ย้อนกลับมาเป็นหนี้เกินตัวในระบบเศรษฐกิจอีก</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/271400 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำบริการสาธารณะเทศบาลเมืองบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 2024-03-19T15:16:07+07:00 อารยา สมสวย a.araya1235@gmail.com ธีรพล กาญจนากาศ ben_lowz@hotmail.com ณฐนนท ทวีสิน a.araya1235@gmail.com ธรรศพงศ์ วงษ์สวัสดิ์ ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำบริการสาธารณะ (2) ศึกษาปัจจัยการให้บริการประชาชนในการจัดทำบริการสาธารณะ และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยการให้บริการที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ด้วยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีใช้ตารางเลขสุ่ม จำนวน 379 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การทดสอบสมมติฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยการให้บริการ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการให้บริการอย่างพอเพียง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำบริการสาธารณะ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการตัดสินใจ ความสัมพันธ์ปัจจัยการให้บริการมีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดบริการสาธารณะ โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และตัวแปรพยากรณ์ปัจจัยการให้บริการมีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดบริการสาธารณะ โดยตัวแปรที่ทดสอบมีอำนาจพยากรณ์สูงสุด ได้แก่ ด้านการให้บริการอย่างพอเพียง ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยหรืออำนาจพยากรณ์เท่ากับ .978 มีผลต่อมีการส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำบริการสาธารณะ ได้ร้อยละ 97.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/269827 ภูมิปัญญาการปลูกและแปรรูปแห้วนา กรณีศึกษาพื้นที่ชุมชนหนองกุลา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก 2024-02-15T14:27:55+07:00 อเนก สุขดี rotsukhon.p@psru.ac.th รสสุคนธ์ ประดิษฐ์ Rotsukhon.p@psru.ac.th ยุวดี พ่วงรอด ben_lowz@hotmail.com กฤษณะชัย คลอดเพ็ง ben_lowz@hotmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการปลูกและแปรรูปแห้วนา และ (2) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากแป้งแห้วนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ชุมชนหนองกุลา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก การวิจัยนี้ใช้ข้อมูลเอกสารและจากผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านและกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองกุลารวมทั้งสิ้น 15 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอผลการวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า การปลูกแห้วนาในชุมชนหนองกุลาใช้วิธีการปลูกแบบง่ายๆตามภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิม โดยมีขั้นตอนที่สำคัญ คือ การเตรียมดิน การปักดำต้นกล้า การบำรุงรักษาและการขุดแห้วนา สำหรับการทำแป้งแห้วนาของชุมชนหนองกุลาเป็นการผลิตในระดับครัวเรือนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษโดยมีขั้นตอนที่สำคัญ คือ การล้าง การสกัดแป้ง และการตากแดด ส่วนแป้งแห้วนาสามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจแก่ชุมชนหนองกุลาได้หลายประการ คือ การจำหน่ายแป้งแห้วนา การแปรรูปแป้งแห้วนาเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว การทำขนมวุ้นแห้วนาจำหน่าย คณะผู้วิจัยและกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองกุลาได้ร่วมกันคิด ร่วมกันทดลองแปรรูปแป้งแห้วนาเป็นข้าวเกรียบแห้วนาฟักทองที่กรอบ หอม อร่อยพร้อมได้ออกแบบเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/273459 การพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์วิถีพุทธเพื่อเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ในชุมชน 2024-05-02T19:24:28+07:00 พระคมสัน เจริญวงค์ kom.san@outlook.co.th ภัทรพล ใจเย็น ben_lowz@hotmail.com พระครูปิยธรรมบัณฑิต ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวมกลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์วิถีพุทธจากวัสดุเหลือใช้ ออกแบบอุปกรณ์กำจัดวัสดุเหลือใช้ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แปรรูปขยะและวัสดุเหลือใช้ให้เป็นผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์สร้างรายได้ให้กับชุมชน เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ทำกิจกรรมและสัมภาษณ์เชิงลึกชาวบ้านในเทศบาลตำบลหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 17 ท่าน โดยระดมความคิด ใช้เทคนิค AIC, SWOT, ARR และ Mind map สังเกตการณ์มีส่วนร่วม สัมภาษณ์เชิงลึก ออกแบบอุปกรณ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากขยะเพื่อสร้างรายได้ ผลการวิจัยพบว่า มีการรวมกลุ่มสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน 3 ลักษณะ คือ (1) เป็นกลุ่มทำงานด้วยจิตอาสาเพื่อจัดการขยะมูลฝอยชุมชน (2) ออกแบบกิจกรรม ใช้เทคนิคการวาดแผนที่ความคิด โครงสร้างกระบวนการ แนวทาง เป้าหมายการทำงาน การวาดแผนที่ความคิดการทำงานการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ประกอบด้วย ปัญหา พฤติกรรมของคนในชุมชน ขีดความสามารถ แนวทางการพัฒนา ผู้รับผิดชอบ กิจกรรม และการขยายผล (3) ขับเคลื่อนกิจกรรมภายใต้ “พลัง บวร” คือ 1) ชาวบ้านรู้ประโยชน์การคัดแยกขยะ ภัยร้ายจากปัญหาขยะ 2) วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ พระสงฆ์เป็นผู้นำการทำบุญด้วยขยะ 3) สร้างความร่วมมือเป็นภาคีเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อจัดการระดับชุมชน กำหนดนโยบาย แนวทางปฏิบัติและการออกกฎระเบียบการจัดการขยะระดับท้องถิ่น การออกแบบอุปกรณ์เน้นกำจัดขยะธรรมชาติและขยะเปียกจากครัวเรือน ได้อุปกรณ์ลดปริมาณขยะด้วยการเผา ไม่ส่งผลกระทบต่อมลพิษทางอากาศรบกวนชาวบ้าน คือ “เตาเผาขยะไบโอชาร์” โดยทำการทดลองและออกแบบอุปกรณ์จากผู้เชี่ยวชาญและปราชญ์ชาวบ้าน ผลิตผลจากการเผา ได้แก่ ถ่านไบโอชาร์ และน้ำส้มควันไม้ การสร้างรายได้จากวัสดุเหลือใช้และขยะภายในชุมชน มี 2 ประเภท คือ (1) รายได้จากขยะรีไซเคิล โดยขายขยะจากผ้าป่าขยะ เช่น ขวดพลาสติก ขวดแก้ว (2) รายได้จากขยะธรรมชาติ จากผลิตภัณฑ์ คือ ถ่านหุงต้ม ถ่านไบโอชาร์ดูดซับความอับชื้น ปุ๋ยหมักไบโอชาร์ น้ำส้มควันไม้</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/268326 การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์และการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ของนักท่องเที่ยวจีนในการท่องเที่ยวเมืองปักกิ่ง ประเทศจีน 2023-10-17T10:26:52+07:00 XU XU kamonchanok.yu2021@gmail.com อนุรักษ์ อาทิตย์กวิน ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์การยอมรับเทคโนโลยีและการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวจีนในการท่องเที่ยวเมืองปักกิ่งประเทศจีน (2) เพื่อศึกษาการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และ (3) เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวจีนในการท่องเที่ยวเมืองปักกิ่งประเทศจีน การวิจัยเป็นเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เข้าสู่กรุงปักกิ่งประเทศจีน จำนวน 400 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามแบบออนไลน์ โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์วิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ 1) ด้านการรับรู้ชนิดและความหลากหลายของสื่อ 2) ด้านการรับรู้ประโยชน์ของสื่อออนไลน์เพื่อการท่องเที่ยว 3) ด้านการรับรู้วิธีการใช้งานสื่อออนไลน์เพื่อการท่องเที่ยว 4) ด้านการรับรู้สิ่งดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว 5) ด้านการรับรู้วิธีการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว 6) ด้านการรับรู้จัดการและสิ่งอำนวยความสะดวกของแหล่งท่องเที่ยว 7) ด้านการรับรู้ข้อมูลการเตรียมการเพื่อการท่องเที่ยว และ 8) ด้านลักษณะข้อมูลการท่องเที่ยวที่ได้รับจากสื่อออนไลน์อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีและการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวจีนในการท่องเที่ยวเมืองปักกิ่งประเทศจีนอยู่ในระดับมาก การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวจีนในการท่องเที่ยวเมืองปักกิ่งประเทศจีน และการยอมรับเทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวจีนในการท่องเที่ยวเมืองปักกิ่งประเทศจีน</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272897 รูปแบบการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุโดยองค์กรเครือข่าย 2024-04-22T23:21:18+07:00 อุบลวรรณา ภวกานันท์ ubolwanna@gmail.com ศรัณย์ กอสนาน sarun103@yahoo.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรเครือข่ายในการสนับสนุนการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุ (2) เพื่อนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมขององค์กรเครือข่ายในการสนับสนุนการปรับตัวทางสังคมกับผู้สูงอายุ มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 28 คน คือ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครู องค์กรเครือข่าย หน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนผู้สูงอายุในเขตชุมชนเทศบาลเมืองบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จ.นนทบุรี 18 คน และในเขตชุมชนชนบทเทศบาลตำบลหนองหมู อำเภอวิหารแดง จ.สระบุรี 10 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลพบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุนั้นเป็นไปตามลักษณะของการปรับตัวทางสังคมใน 6 ด้านคือ 1) มาตรฐานทางสังคม 2) ทักษะทางสังคม 3) แนวโน้มพฤติกรรมต่อต้านสังคม 4) ความสัมพันธ์ในครอบครัว 5) ความสัมพันธ์ในสถาบันการศึกษา/ชมรม/กลุ่มสังคม และ 6) ความสัมพันธ์ในชุมชนที่อยู่อาศัย รูปแบบของการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุขององค์กรเครือข่ายนี้มี 4 ขั้นตอน คือ 1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ 3) การมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล 4) การมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์หรือรับผลประโยชน์ ผลของทั้ง 2 พื้นที่พบว่า นโยบายและยุทธศาสตร์สำคัญในการปฏิบัติและสนับสนุนกิจกรรมของผู้สูงอายุจะเป็นไปตามหน้าที่หลักขององค์กรและตามรูปแบบระบบราชการ เช่น การวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน/สังคม โดยในกระบวนการมีส่วนร่วมนั้น ภาคประชาชนจะอยู่ในขั้นที่ 1 คือร่วมตัดสินใจ ส่วนขั้นต่อไปคือ การดำเนินการ การติดตามตรวจสอบ จะเป็นบทบาทหน้าที่ของทางราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้สูงอายุจะเข้ามามีบทบาทอีกครั้งก็คือการร่วมรับผลประโยชน์</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272140 23.5 องศาที่โลกเอียง: ความเป็นหญิงความเป็นชาย และความสัมพันธ์ทางเพศในวรรณกรรมหญิงรักหญิง 2024-04-10T17:16:14+07:00 อนันตศักดิ์ พลแก้วเกษ anantasak00@hotmail.co.th พชรกฤต ศรีบุญเรือง ben_lowz@hotmail.com ปัณณธรณัฐ อาปะโม ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเป็นหญิงความเป็นชายของละครในวรรณกรรมหญิงรักหญิงเรื่อง 23.5 องศาที่โลกเอียง และเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางเพศของละครในวรรณกรรมหญิงรักหญิงเรื่อง 23.5 องศาที่โลกเอียง เป็นการวิจัยเอกสารเชิงคุณภาพ โดยนำเสนอข้อมูลในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ความเป็นหญิงและความเป็นชายของ Doyle (1991 อ้างถึงใน มีโชค ราษฎรานุวัต, 2544) และเพศวิถี (sexuality) ของ Jackson and Scott (1996 อ้างถึงใน อรทัย เพียยุระ, 2561) ผลการวิจัย พบว่า ความเป็นหญิงความเป็นชายของละครในวรรณกรรมหญิงรักหญิงเรื่อง 23.5 องศาที่โลกเอียง พบว่ามี 2 ลักษณะได้แก่ มีความรู้สึกอ่อนไหว และดูแลเอาใจใส่ต่อคนรัก ส่วนความเป็นชาย พบว่ามี 3 ลักษณะได้แก่ 1) ไม่แข็งแกร่งทั้งร่างกายและจิตใจ 2) เป็นที่สนใจทางเพศ และ3) แสดงความรักอย่างเปิดเผย ความสัมพันธ์ทางเพศของตัวละครในวรรณกรรมแนววายหญิงรักหญิงเรื่อง 23.5 องศาที่โลกเอียง พบว่า มี 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) รสนิยมทางเพศ 2) ปฏิบัติการทางเพศ 3) วาทกรรมที่สร้างโอกาสให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์ และ 4) ทัศนคติทางเพศ แบ่งออกเป็น 2 ทัศนะ ได้แก่ ทัศนคติทางเพศแบบขนบเดิม และทัศนคติทางเพศแบบขนบใหม่</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/266929 การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านการจัดการเรียนการสอนโค้ดดิ้ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2023-10-15T16:36:39+07:00 ศุภราช แก้วมีศรี baskaiza@gmail.com จิรศักดิ์ แซ่โค้ว ben_lowz@hotmail.com ญาณิศา บุญจิตร์ ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนโค้ดดิ้ง (2) พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านการจัดการเรียนการสอนโค้ดดิ้ง (3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านการจัดการเรียนการสอนโค้ดดิ้ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 24 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสัมภาษณ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.6 – 1.00 และแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.6 – 1.00 มีค่าทั้งฉบับเท่ากับความเชื่อมั่น .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า การจัดการเรียนการสอนโค้ดดิ้งมีปัญหาเกี่ยวกับ ความรู้ความสามารถของครูผู้สอน กระบวนการในการจัดการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน การสนับสนุนเรื่องงบประมาณ อาคารสถานที่ที่จะใช้เป็นที่จัดการเรียนการสอน และงบประมาณในการไปแข่งขันในระดับต่างๆ ได้ตลอดทั้งปีการศึกษา ผลการสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านโค้ดดิ้ง ได้รูปแบบ S’CN4M : AR ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านการจัดการเรียนการสอนโค้ดดิ้ง พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/273460 ยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนวิถีพุทธ 2024-05-02T19:24:47+07:00 เอนก ใยอินทร์ kom.san@outlook.co.th พระปลัดระพิน พุทธิสาโร ben_lowz@hotmail.com พระคมสัน เจริญวงค์ ben_lowz@hotmail.com เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง ben_lowz@hotmail.com ภาราดร แก้วบุตรดี ben_lowz@hotmail.com ณัฏยาณี บุญทองคำ ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัญหาระบบนิเวศและเครือข่ายการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนวิถีพุทธ (2) เพื่อพัฒนาระบบจัดการขยะต้นทางและลดต้นทุนในการจัดการขยะชุมชนวิถีพุทธ (3) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากการคัดแยกและรูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (4) เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์และเครือข่ายการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนวิถีพุทธต้นแบบ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การวิจัยเชิงเอกสารศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเชิงพื้นที่ การวิจัยเชิงปฏิบัติการภาคสนามสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่มเฉพาะ พื้นที่ในการวิจัยในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ ภาคกลาง ได้แก่ ชุมชนในตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 4 ชุมชน ภาคเหนือ ได้แก่ ชุมชนในตำบลท่ากว้าง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1 ชุมชน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 6 คน ผู้แทนองค์กรศาสนาและผู้นำชุมชน 6 คน ผู้แทนประชาชน 6 คน รวม 18 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการสะสมของขยะในชุมชนทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชน เกิดขึ้นจากขาดความรับผิดชอบ ขาดความรู้ และขาดการมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะต้นทาง วิธีแก้ปัญหาโดยการสร้างแกนนำจิตอาสาและพัฒนาระบบการจัดการขยะในระดับครัวเรือน 5 ขั้นตอน คือ คัดแยกขยะ นำขยะไปทำบุญ ขายขยะนำเงินมาทำสาธารณะประโยชน์ ให้ความรู้ในการสร้างชุมชนให้สะอาดน่าอยู่ ขยะที่ผ่านการคัดแยกมี 2 ประเภทคือ (1) ขยะเคมีสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยวิธีจำหน่วยเพื่อนำเงินไปใช้ในกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ตามความเห็นของสมาชิก เช่น บูรณะวัด ซื้ออุปกรณ์ใช้สอยในชุมชน จัดทำเป็นสวัสดิการดูแลสมาชิกในกรณีเกิด แก่ เจ็บ ตาย (2) ขยะอินทรีย์จะนำไปเผาถ่าน ทำน้ำส้มควันไม้และทำเป็นปุ๋ยหมักลดปริมาณขยะและลดภาระหน่วนงานภาครัฐ องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นนำไปสู่การกำหนดเป็นยุทธศาสตร์พัฒนาเครือข่ายการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนวิถีพุทธต้นแบบ 4 ระบบ ได้แก่ ระบบกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลต้นทาง ระบบส่งเสริมองค์ความรู้สู่ชุมชน ระบบการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพและระบบกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลที่ยั่งยืน</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/271020 อิทธิพลภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง ความผูกพันต่อองค์การ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของพนักงานวิศวกร ที่ปฏิบัติงานในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี 2024-03-19T15:12:02+07:00 กรกริช กุสุมามาลย์ korakrit.ku@ku.th เพ็ญพิมล เสรีวัฒน์ ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานวิศวกร ที่ปฏิบัติงานในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ของพนักงานวิศวกร ที่ปฏิบัติงานในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี และ (3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความผูกพันต่อองค์การ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานวิศวกรที่ปฏิบัติงานในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอย ผลการศึกษาพบว่า อิทธิพลภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล การกระตุ้นทางปัญญา และ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในด้านการกระตุ้นทางปัญญา การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความผูกพันต่อองค์การในด้าน ความเต็มใจในการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ขององค์การ ความเชื่อถือและยอมรับในเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ และ ความปรารถนาที่จะรักษาสถานภาพความเป็นสมาชิกขององค์การ มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/268530 การวิเคราะห์เปรียบเทียบการลงทุนทางการเงินของการเลี้ยงจิ้งหรีดในจังหวัดขอนแก่น 2024-04-05T17:04:29+07:00 อรุณี การะเกตุ arunee.kara@ku.th จักรกฤษณ์ พจนศิลป์ ben_lowz@hotmail.com ศานิต เก้าเอี้ยน ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดภายใต้มาตรฐาน GAP และแบบทั่วไป ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และ (2) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความคุ้มค่าการลงทุนทางการเงินภายใต้มาตรฐาน GAP และแบบทั่วไปของการเลี้ยงจิ้งหรีดในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เกษตรกรโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 20 ตัวอย่าง จากการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดแบบทั่วไป 10 ตัวอย่าง และผู้เลี้ยงที่ปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP 10 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดภายใต้มาตรฐาน GAP และแบบทั่วไป ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 40 ปี มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และมีประสบการณ์ในการเลี้ยงจิ้งหรีดเฉลี่ย 5 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เสริม โดยจำหน่ายให้กับพ่อค้าคนกลางและโรงงานแปรรูป การลงทุนเลี้ยงจิ้งหรีดภายใต้มาตรฐาน GAP มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ เท่ากับ 576,558.68บาท อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อค่าใช้จ่าย เท่ากับ 1.27 และอัตราผลตอบแทนภายใน เท่ากับ 84% สำหรับการลงทุนเลี้ยงจิ้งหรีดแบบทั่วไป มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ เท่ากับ 237,223.77 บาท อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อค่าใช้จ่าย เท่ากับ 1.18 และอัตราผลตอบแทนภายใน เท่ากับ 104% จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการลงทุนเลี้ยงจิ้งหรีดภายใต้มาตรฐาน GAP ให้ผลตอบแทนทางการเงินที่ดีมากกว่าแบบทั่วไป แต่ยังคงมีความเสี่ยงในในเรื่องต้นทุนการผลิตที่มีต้นทุนสูง ดังนั้นจึงควรมีการรวมกลุ่มเพื่อประสานงานกับหน่วยงานราชการให้เข้ามาช่วยส่งเสริมพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อช่วยลดต้นทุนซึ่งจะได้ผลตอบแทนสุทธิที่ดีขึ้น</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/269179 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคของสหกรณ์ประมง โดยใช้แบบจำลอง Data Envelopment Analysis (DEA) 2024-03-22T10:52:44+07:00 ตุลาการ ไชยาคำ tulakarn_tawan@hotmail.com ศศิภา พจน์วาที ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพตามตัวแบบ Constant Return to Scale ประสิทธิภาพตามตัวแบบ Variable Return to Scale และประสิทธิภาพทางด้านขนาด Scale Efficiency โดยใช้แบบจำลอง DEA และ (2) เพื่อปรับปรุงและประเมินขอบเขตของปัจจัยนำเข้าและปัจจัยผลได้ของผลการดำเนินงานให้เกิดประโยขน์สูงสุดแก่สหกรณ์ประมง โดยการศึกษานี้วัดประสิทธิภาพทางเทคนิคของสหกรณ์ประมงทั้งสี่ภูมิภาค จำนวน 55 สหกรณ์ ได้แก่ ภาคเหนือ จำนวน 3 สหกรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 11 สหกรณ์ ภาคกลาง จำนวน 31 สหกรณ์ และ ภาคใต้ จำนวน 10 สหกรณ์ โดยวิเคราะห์ข้อมูลงบการเงินประจำปี พ.ศ. 2565 ในการศึกษานี้พิจารณาข้อมูลปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เงินรับฝาก และ ทุนเรือนหุ้น และข้อมูลปัจจัยผลผลิต ได้แก่ กำไรและจำนวนสมาชิก ผลการศึกษาพบว่า สหกรณ์ประมงภาคใต้มีประสิทธิภาพทางเทคนิคสูงกว่าภูมิภาคอื่น เมื่อวิเคราะห์ตามตัวแบบผลตอบแทนแบบคงที่ และ ผลตอบแทนแบบแปรผัน คิดเป็นร้อยละ 50 และ 60 ของจำนวนสหกรณ์ตามลำดับ ในทางตรงกันข้าม สหกรณ์ประมงภาคกลางมีค่าประสิทธิภาพทางเทคนิคต่ำที่สุด คิดเป็นร้อยละ 32.25 และ 38.70 ตามลำดับ ยิ่งไปกว่านั้นการศึกษานี้พบว่ามีสหกรณ์ประมง จำนวน 20 สหกรณ์ ที่มีประสิทธิภาพด้านขนาด คิดเป็นร้อยละ 35.71 ของกลุ่มตัวอย่าง ทั้งนี้สหกรณ์ประมงของประเทศไทยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพทางเทคนิคได้โดยการปรับปรุงปัจจัยนำเข้า</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/269302 ความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อองค์กร : กรณีศึกษา บริษัท บีสไพพ์ฟิตติ้งอินดัสตรี จำกัด ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 2024-02-15T14:54:39+07:00 กวินธิดา หมื่นนรินทร์ s6543510011@sau.ac.th ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร ben_lowz@hotmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของพนักงานคนไทยที่มีต่อบริษัท บีสไพพ์ฟิตติ้งอินดัสตรีจำกัด และ (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของพนักงานคนไทยที่มีต่อบริษัท บีสไพพ์ฟิตติ้งอินดัสตรีจำกัด ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรคือพนักงานคนไทยของบริษัทบีสไพพ์ฟิตติ้งอินดัสตรี จำกัด จำนวน 202 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า F-test เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจ เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงทดสอบรายคู่ โดยวิธี LSD ผลการศึกษาพบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นชาย อายุ 26-35 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษา ปวส. มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนละ10,000-15,000 บาท ความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อองค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการองค์กร ด้านความปลอดภัยในการทำงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง คือด้านสภาพแวดล้อม ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างทางเพศที่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ว่าอายุ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในบางด้าน</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/270490 Which is More Important? : Mediating Role of Distributive Justice Versus Interpersonal Justice 2024-03-19T13:58:19+07:00 Idsaratt Rinthaisong idsaratt.ri@psu.ac.th Suwimon Buathong suwimon.bu@skru.ac.th <p>Perceived justice is a variable with an important role in linking other variables to desired employee behaviors. The objective of this study was, to investigate the mediating role of perceived organizational justice in the relationship between transformational leadership and organizational citizen behavior among government employees in the Four southern border provinces of Thailand. Stratified random sampling in each of the provinces was conducted to recruit 242 subjects. The research instrument was a questionnaire containing questions addressing four variables: organizational citizen justice, perceived distributive justice interactional justice, and transformational leadership. The study found that when perceived distributive justice and perceived interactional justice were tested using separate models, the two variables were found to play partial mediating roles in the relationship between transformational leadership and organizational citizenship behavior. However, when the two variables were tested together, only interpersonal justice was found to play an important mediating role. This indicates that perceived justice derived from the relationship between leaders and followers where leaders recognize and respect followers is more important than rewards in exchange relationships. The results of the study revealed that even though rewards are important, good relationships between leaders and followers is more important. It is advisable for policymakers to give greater importance to how people perceive fairness in interpersonal rather than how they perceive fairness in the distribution.</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/271331 การศึกษาหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี 2024-05-03T15:34:15+07:00 นริตา เรืองเดช naritareungdet@gmail.com ณฐนนท ทวีสิน ben_lowz@hotmail.com สุนิตดา เทศนิยม ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ (2) หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ และ (3) ความสัมพันธ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ จำนวน 108 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการบริหารจัดการองค์กรขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ พบว่า โดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ตัวแปรพยากรณ์ปัจจัยการบริหารการจัดการขององค์การที่ส่งผลต่อหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีอำนาจพยากรณ์สูงสุด (R<sup>2</sup>) เท่ากับ .944 หรือร้อยละ 99.40</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/271361 หลักธรรมาภิบาลของบุคลากรอันส่งผลต่อคุณค่าสาธารณะในเทศบาลเมืองบางกะดี จังหวัดปทุมธานี 2024-04-09T18:18:54+07:00 รุ่งนภา เดชะดี tuinuy2550@gmail.com ธีรพล กาญจนากาศ ben_lowz@hotmail.com ณฐนนท ทวีสิน ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรในเทศบาลเมืองบางกะดี จังหวัดปทุมธานี (2) ศึกษาคุณค่าสาธารณะของเทศบาลเมืองบางกะดี จังหวัดปทุมธานี และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์หลักธรรมาภิบาลของบุคลากรที่ส่งผลต่อคุณค่าสาธารณะในเทศบาลเมืองบางกะดี จังหวัดปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ด้วยวิธีจับสลาก จำนวน 106 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การทดสอบสมมติฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า หลักธรรมาภิบาลของบุคลากรในเทศบาลเมืองบางกะดี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านหลักนิติธรรม คุณค่าสาธารณะในเทศบาลเมืองบางกะดี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการส่งมอบบริการสาธารณะ ความสัมพันธ์หลักธรรมาภิบาลของบุคลากรที่ส่งผลต่อคุณค่าสาธารณะในเทศบาลเมืองบางกะดี จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตัวแปรพยากรณ์หลักธรรมาภิบาลของบุคลากรที่ส่งผลต่อคุณค่าสาธารณะในเทศบาลเมืองบางกะดี โดยตัวแปรที่ทดสอบมีอำนาจพยากรณ์สูงสุด ได้แก่ หลักการมีส่วนร่วม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อค้นหาตัวแปรพยากรณ์หลักธรรมาภิบาลของบุคลากรที่ส่งผลต่อคุณค่าสาธารณะในเทศบาลเมืองบางกะดี พบว่า ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความคุ้มค่า และด้านหลักนิติธรรม สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณค่าสาธารณะในเทศบาลเมืองบางกะดี จังหวัดปทุมธานี (R<sup>2</sup>) ได้ร้อยละ 74.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/271454 ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการให้บริการของฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 2024-04-09T18:19:45+07:00 บัญชา พจชมานะวงศ์ bunchamax@gmail.com สุนิตดา เทศนิยม ben_lowz@hotmail.com ณฐนนท ทวีสิน ben_lowz@hotmail.com ธรรศพงศ์ วงษ์สวัสดิ์ ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับปัจจัยนวัตกรรมการบริการของฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตบางรัก 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการให้บริการฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตบางรัก และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยนวัตกรรมการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการให้บริการของฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาวิธีเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ประชาชนที่มารับบริการจากฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตบางรัก ในปีงบประมาณ 2565 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีบังเอิญจำนวน 396 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การทดสอบสมมติฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยนวัตกรรมการบริการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านเทคโนโลยี รองลงมาคือ ด้านกระบวนการ ด้านข้อมูลสารสนเทศ และด้านสภาพแวดล้อม ตามลำดับ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการของฝ่ายทะเบียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ รองลงมาคือ ด้านขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการ ด้านอาคารสถานที่ ด้านวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยี ด้านคุณภาพการให้บริการ และด้านข้อมูลข่าวสาร ตามลำดับ ความสัมพันธ์ปัจจัยนวัตกรรมการบริการ ด้านกระบวนการมีผลต่อความพึงพอใจในการให้บริการของฝ่ายทะเบียน ด้านขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อทดสอบในภาพรวมของความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) มีค่าเท่ากับ .928 และมีอำนาจค่าพยากรณ์ (R2) ร้อยละ 91.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านข้อมูลสารสนเทศและด้านกระบวนการ มีผลต่อความพึงพอใจในการให้บริการของฝ่ายทะเบียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/269197 ซอฟท์สกิล (Soft Skills) ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข 2024-02-15T14:53:53+07:00 นันทวัน มุขสาร nutju.mu@gmail.com ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร rachenn@sau.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านซอฟท์สกิล (Soft Skills) ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 312 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 30-39 ปี มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอายุงาน 1-5 ปี และปัจจัยด้านซอฟท์สกิล (Soft skills) ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของ นักทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ด้านการจัดระเบียบอารมณ์ ของตนเอง ด้านการตระหนักรู้ในอารมณ์ของตนเอง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านทักษะทางสังคม ด้านการจูงใจตนเอง</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/265565 การศึกษาระบบงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ กรณีศึกษา บริษัทผลิตเครื่องจักรในอุตสาหกรรมก่อสร้างในจังหวัดระยอง 2024-05-18T14:00:14+07:00 ธีระยุทย์ แต้มศรี teerayut.tam@ku.th สมบูรณ์ สาระพัด ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัญหาและอุปสรรคของการนำระบบงบประมาณมาใช้ในการบริหารงาน และ (2) ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้งบประมาณในการบริหารงานเพื่อให้การบริหารมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มประชากรที่ใช้เป็นข้อมูลในการวิจัยเป็นพนักงานของบริษัทผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรมก่อสร้างในจังหวัดระยอง ที่มีส่วนร่วมในระบบงบประมาณ ทั้งการจัดทำงบประมาณ อนุมัติงบประมาณและใช้งบประมาณ ประกอบด้วย พนักงานระดับปฏิบัติการ ระดับหัวหน้างาน และระดับผู้จัดการ จำนวนทั้งหมด 17 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่และค่าสถิติร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนการจัดทำงบประมาณ ได้แก่ การใช้เวลามากในการจัดทำงบประมาณ การขาดข้อมูลที่เพียงพอในการทำงบประมาณและบุคลากรไม่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่เพียงพอในการจัดทำงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ ปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้งบประมาณ การใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้นล่าช้ากว่าช่วงเวลาที่กำหนด ความไม่แน่นอนของยอดการผลิตและปัจจัยภายนอก ทำให้ไม่สามารถใช้งบประมาณได้ตามแผน (2) ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้งบประมาณในการบริหารงานโดย 1) การจัดทำแผนและกำหนดงบประมาณอย่างรัดกุม 2) นำค่าใช้จ่ายจริงในอดีตมาเป็นแนวทางในการจัดทำงบประมาณ 3) มีการติดตามการใช้งบประมาณและรายงานผลอย่างต่อเนื่อง ปรับแผนงบประมาณทุกไตรมาส และ 4) วิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานจริงเปรียบเทียบกับเป้าหมายของงบประมาณที่กำหนดไว้ เพื่อหาแนวทางปรับปรุงให้ดีขึ้นในอนาคต</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/266334 ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณอายุของประชากรวัยแรงงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร 2023-08-01T17:58:55+07:00 กมลวรรณ ภู่ชิงชัย kamonwan7858@gmail.com นนทร์ วรพาณิชช์ ben_lowz@hotmail.com ฐิติมา พุฒิทานันท์ ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการตระหนักรู้เรื่องการวางแผนสำหรับการเกษียณอายุของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษียณอายุของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร และ (3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษียณอายุของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรงงานในระบบ และกลุ่มแรงงานนอกระบบ เพื่อทราบความแตกต่างของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณอายุของคนทั้ง 2 กลุ่ม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงพรรณา เนื่องจากเป็นการใช้ข้อมูลทางคณิตศาสตร์และเครื่องมือทางสถิติมาช่วยในการเก็บข้อมูลและสรุปเป็นความคิดเห็น เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และ สถิติเชิงปริมาณ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการศึกษาพบว่า ประชากรวัยแรงงานในเขตกรุงเทพมหานครมีความตระหนักรู้ในระดับที่มาก ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษียณอายุของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และ ความรู้ทางการเงิน ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษียณอายุของแรงงานในระบบ ได้แก่ ระดับการศึกษา สถานะ อาชีพ และ ความรู้ทางการเงิน ในขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษียณอายุของแรงงานนอกระบบ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา สถานะ อาชีพ และ ความรู้ทางการเงิน</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/267169 การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณ โดยใช้คู่มือเบิกจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ของโรงเรียนพนมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร 2024-04-05T17:01:17+07:00 เบญจวรรณ ทองเสน ben_love375@hotmail.com มัทนียา พงศ์สุวรรณ ben_lowz@hotmail.com จิรศักดิ์ แซ่โค้ว ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัญหาการเบิกจ่ายเงินและความต้องการรายละเอียดของคู่มือเบิกจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ของโรงเรียนพนมศึกษา (2) เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือเบิกจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ของโรงเรียนพนมศึกษา และ (3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้คู่มือเบิกจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ของโรงเรียนพนมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา ประชากรที่ใช้ ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรของโรงเรียนพนมศึกษา จำนวน 50 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรของโรงเรียนพนมศึกษา จำนวน 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้เกณฑ์ประสบการณ์ทำงานในสถานศึกษาแห่งนี้ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการรายละเอียดคู่มือ คู่มือเบิกจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ของโรงเรียนพนมศึกษา แบบสอบถามประเมินความพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ด้านที่มีปัญหามากที่สุด คือ การเบิกค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ รองลงมาคือ การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าศึกษาบุตร และค่าสาธารณูปโภค ส่วนความต้องการรายละเอียดของคู่มือเบิกจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า การเบิกค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ มีความต้องการมากที่สุด รองลงมาคือ การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าสาธารณูปโภค และค่าศึกษาบุตร ผลการพัฒนาคู่มือเบิกจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย การเบิกค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ ค่าสาธารณูปโภค ค่ารักษาพยาบาล ค่าศึกษาบุตร ผลการตรวจสอบคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.80 -1.00 และ ประสิทธิภาพการใช้คู่มือการเบิกจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ ด้านความถูกต้องในการเบิกจ่ายเงิน พบว่า การเบิกค่าสาธารณูปโภค มีความถูกต้องมากที่สุด รองลงมาคือการเบิกค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ ค่ารักษาพยาบาล และค่าการศึกษาบุตร ส่วนความพึงพอใจที่มีต่อคู่มือเบิกจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านรูปแบบ ด้านการนำไปใช้ และด้านเนื้อหา</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/268216 บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 2023-12-07T16:59:28+07:00 ปนัฏฐา สุนทรมัจฉะ kamonchanok.yu2021@gmail.com กัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์ ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 (2) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้บริหารและคุณภาพผู้เรียน และ (4) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 จำนวน 315 คน แบ่งเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทผู้บริหารสถานศึกษา ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก คุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้บริหารและคุณภาพผู้เรียนอยู่ในระดับมาก และบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ได้แก่ บทบาทเป็นผู้บริหารบุคคล บทบาทความเป็นผู้กระตุ้น ความเป็นผู้นำ บทบาทเป็นผู้ประเมินผล บทบาทเป็นนักวางแผน และบทบาทเป็นผู้สื่อสารผู้บริหารบุคคล ร่วมกันพยากรณ์แปรปรวน ของการดำเนินงานคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ได้ร้อยละ .631 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/266253 การศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจสปาไทยเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่ 2023-09-29T15:27:17+07:00 สุประภาดา สายะพันธ์ suprapada.pick@gmail.com สุมาลี พุ่มภิญโญ ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของธุรกิจสปาไทยเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในจังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยได้ทำการสำรวจและเก็บแบบสอบถาม จากผู้บริโภค และผู้ประกอบการ กลุ่มตัวอย่างด้านผู้บริโภค คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่และค่าร้อยละ กลุ่มตัวอย่างด้านผู้ประกอบการ ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการธุรกิจสปาขนาดเล็ก จำนวน 4 ราย และทำการวิเคราะห์ต้นทุน ผลประโยชน์ ระยะเวลาของโครงการ คือ 10 ปี โดยมีตัวชี้วัดความคุ้มค่าในการลงทุน คือ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) และ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio) ผลการศึกษา พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ใช้บริการสปาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุประมาณ 25-34 ปี ความถี่ในการใช้บริการสปา 1-2 ครั้ง ต่อการเดินทาง และมีความพึงใจกับการให้บริการในธุรกิจสปาในระดับมากที่สุด และนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการสปาในครั้งนี้มีความเห็นว่า จะเลือกกลับมาใช้บริการอีกในอนาคต ส่วนด้านผู้ประกอบการ พบว่า ธุรกิจมีศักยภาพในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาด โดยธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพขนาดเล็ก มีความเหมาะสมในการลงทุน โดยมี NPV กรณีพื้นฐาน เท่ากับ 24,786,992 บาท IRR เท่ากับ ร้อยละ 82.93 และ B/C ratio เท่ากับ 2.40</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/267192 การพัฒนาระบบแชทบอทเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสถานศึกษา สำหรับโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร 2023-10-15T16:38:04+07:00 ภัทรภูมิ บุญเพียง phattharaphum@kjst.ac.th จิรศักดิ์ แซ่โค้ว ben_lowz@hotmail.com นันทพงศ์ หมิแหละหมัน ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการระบบแชทบอทเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสถานศึกษา (2) พัฒนาระบบแชทบอทเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสถานศึกษา และ (3) ทดลองใช้และประเมินผลการใช้ระบบแชทบอทเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสถานศึกษา สำหรับโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มบริหารงานวิชาการ กลุ่มบริหารงานทั่วไป กลุ่มบริหารงานบุคคล หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูผู้สอน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีแบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินผลการทดลองใช้ระบบแชทบอท สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของระบบแชทบอทเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสถานศึกษา ภาพรวมมีระบบแชทบอทอยู่ในระดับน้อย ความต้องการระบบแชทบอทโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ประเด็นที่นำไปสู่การพัฒนาระบบคือ การนำเทคโนโลยีแชทบอทมาใช้ร่วมกับการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ค้นหา บันทึก และแก้ไขผ่านระบบแชทบอทได้ตลอดเวลา 2) ระบบแชทบอทเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสถานศึกษา เป็นระบบที่มีความสามารถดังนี้ คือ 1 ทำงานตามคำสั่ง 2 ใช้งานตามวัตถุประสงค์ 3 แบบมีปุ่มกดเมนู 3) ผลการทดลองใช้ระบบ แชทบอทเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสถานศึกษา พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านความสะดวกสบายต่อการใช้งาน มีผลการประเมินสูงสุด รองลงมาด้านความปลอดภัย ด้านความเหมาะสมของระบบ แชทบอท ด้านประมวลผลข้อมูล ด้านนำข้อมูลไปใช้ และด้านภาพรวมของระบบ ตามลำดับ</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/266554 การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของงาน สำหรับหัวหน้ากลุ่มงานในสถานศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร 2023-08-23T16:17:32+07:00 ณัฐกฤตา สุทิน nattakritta.nsn@gmail.com นันทพงศ์ หมิแหละหมัน ben_lowz@hotmail.com จิรศักดิ์ แซ่โค้ว ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวัง (2) พัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม (3) ตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของงาน สำหรับหัวหน้ากลุ่มงานในสถานศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และหัวหน้ากลุ่มงาน จำนวน 170 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.84 ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงวัตกรรม ตรวจสอบความเหมาะสมด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 ท่าน โดยใช้แบบตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และหัวหน้ากลุ่มงาน จำนวน 170 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน และสภาพที่คาดหวังของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ ด้านการมีวิสัยทัศน์ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา ด้านการสร้างเครือข่ายและการทำงานแบบมีส่วนร่วม และด้านการสร้างบรรยากาศขององค์กรแห่งนวัตกรรม 2) รูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (2.1) ตัวป้อน การให้องค์ความรู้ที่จำเป็น (2.2) กระบวนการการทำให้เกิดทักษะ (2.3) ผลผลิต สมรรถนะของหัวหน้างานที่เกิดจากการพัฒนา และ (2.4) ข้อมูลป้อนกลับ 3) ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของงาน สำหรับหัวหน้ากลุ่มงานในสถานศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร พบว่า รูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/263527 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการศูนย์การค้าระหว่างช่วงสถานการณ์ COVID-19 2024-03-10T15:12:16+07:00 สุดารัตน์ พราวทัศน์ janejira.ckm2021@gmail.com อรุณี ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ ben_lowz@hotmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายในการใช้บริการที่ศูนย์การค้าระหว่างช่วงสถานการณ์ COVID-19 กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้บริโภคที่ใช้บริการศูนย์การค้าในระหว่างสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ที่อาศัยอยู่ภายในกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการศูนย์การค้าระหว่างช่วงสถานการณ์ COVID-19 ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี รายได้มากกว่า 50,000 บาท ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านลักษณะทางกายภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า หากปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพมีผลต่อค่าใช้จ่ายในการใช้บริการที่ศูนย์การค้าระหว่างช่วงสถานการณ์ COVID-19 หากปัจจัยมีการเปลี่ยนแปลง ก็จะทำให้มีผลต่อค่าใช้จ่ายในการใช้บริการในศูนย์การค้า ระหว่างสถานการณ์โรค COVID-19 เปลี่ยนแปลงไป โดยมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน และหากปัจจัยด้านราคาเปลี่ยนแปลงทำให้ผลต่อค่าใช้จ่ายในการใช้บริการที่ศูนย์การค้าในระหว่างสถานการณ์โรค COVID-19 เปลี่ยนแปลงไป โดยมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้าม</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/261486 แนวทางการบริหารงานบุคคลด้วยระบบฐานข้อมูลในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร 2023-04-11T19:19:46+07:00 กิตติมา สุขศิริ suksiri.tarn01@gmail.com สามิตร อ่อนคง ben_lowz@hotmail.com มะลิวัลย์ โยธารักษ์ ben_lowz@hotmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร (2) ศึกษาแนวทางและข้อสนอแนะการบริหารงานบุคคลด้วยระบบฐานข้อมูลในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ขั้นศึกษาแนวทางสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และขั้นตอนการสนทนากลุ่มมีผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ผลการศึกษา พบว่า สภาพการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร มีการบริหารงานบุคคลประกอบด้วย 2 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการจัดระบบและการจัดทำทะเบียนประวัติ 2) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน 3) ด้านการดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนเงินเดือน 4) ด้านการลาทุกประเภท และ 5) ด้านการจัดทำบัญชีรายชื่อและให้ความเห็นเกี่ยวกับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แนวทางและข้อสนอแนะการบริหารงานบุคคลด้วยระบบฐานข้อมูลในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร มี 5 ด้านตามขอบข่ายการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย 1) ด้านการจัดระบบและการจัดทำทะเบียนประวัติ 2) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน 3) ด้านการดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนเงินเดือน 4) ด้านการลาทุกประเภท และ 5) ด้านการจัดทำบัญชีรายชื่อและให้ความเห็นเกี่ยวกับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งมีระบบฐานข้อมูลในยุคดิจิทัล 4 รูปแบบ คือ 1) Google Sites 2) Google Data Studio 3) Google Sheets 4) Google Forms ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบแนวทางการบริหารงานบุคคลด้วยระบบฐานข้อมูลในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุราษฎร์ธานี ชุมพร พบว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ เป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272968 ผลการสำรวจปัญหาในระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนักศึกษาภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2024-05-10T20:41:43+07:00 ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ thanarak.s@rumail.ru.ac.th ธนารักษ์ สารเถื่อนแก้ว ben_lowz@hotmail.com <p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัญหาในระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนักศึกษาภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ประชากร คือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 365 คน กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูฯ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โดยใช้สูตรการคำนวณของยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวนไม่น้อยกว่า 191 คน โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้ผู้ตอบแบบสอบถามที่ครบถ้วนจำนวน 193 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาและปัญหาการฝึกประการณ์วิชาชีพครู การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ นักศึกษาฝึกสอนส่วนใหญ่มีความเห็นว่า 1. มีทุนทรัพย์เพียงพอระหว่างฝึกสอน 2. มีคนในครอบครัวคอยให้คำแนะนำและแก้ปัญหา 3. มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งระหว่างฝึกสอน 4. มีปัญหาหรืออุปสรรคอยู่บ้างในระหว่างฝึกสอน 5. มีเพื่อนหรือคนรู้จักคอยให้คำปรึกษาและสนับสนุน 6. สามารถจัดทำแผนการสอนได้สำเร็จ 7. สามารถทำงานตามที่ได้รับมอบหมายทันตามกำหนดเวลา 8. มีครูพี่เลี้ยงให้คำแนะนำในระหว่างการฝึกสอน 9. ระยะเวลาของการฝึกสอนเพียงพอให้เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของครู 10. สามารถควบคุมชั้นเรียนและจัดการกับปัญหานักเรียนได้ 11. ช่วงของการฝึกสอนเป็นไปตามแผนการศึกษาในหลักสูตร 12. ความรู้ในระหว่างเรียนเป็นประโยชน์ต่อการฝึกสอน 13. มหาวิทยาลัยมีบุคลากรคอยให้การสนับสนุนในการฝึกสอน 14. กิจกรรมหรือโครงการของมหาวิทยาลัยไม่เป็นอุปสรรคต่อการฝึกสอน เมื่อเรียงลำดับปัญหา พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาหรืออุปสรรคระหว่างฝึกสอน อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือ ปัญหาด้านทุนทรัพย์ ระดับปานกลาง และด้านครอบครัวหรือคนใกล้ชิดที่จะคอยให้คำแนะนำและปรึกษา ระดับปานกลาง ส่วนปัญหาด้านอื่นๆ มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/269208 การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 2024-04-10T11:56:11+07:00 มะลิ อักษร ajsdp9900@gmail.com กฤตฎิ์ กิตติฐานัส ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 (2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 และ (3) ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ปีการศึกษา 2565 รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,633 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro - Yamane จำนวน 321 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมทางสถิติด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีของเพียร์สัน (Pearson’s correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วม ในการตั้งเป้าหมาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในสถานศึกษา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวก การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/271225 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เรื่อง กระบวนการประชาธิปไตย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2024-04-05T14:20:27+07:00 เปรมฤดี ศรีสอาด ajsdp9900@gmail.com ชนะชัย อวนวัง ben_lowz@hotmail.com ทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT เรื่อง กระบวนการประชาธิปไตย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 (2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT (3) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LTการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคLT แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานใช้ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เรื่อง กระบวนการประชาธิปไตย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.24/88.67 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ครั้งที่ 1 นักเรียนมีคะแนนพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม อยู่ระดับปรับปรุง จำนวน 5 กลุ่ม และอยู่ระดับพอใช้ จำนวน 3 กลุ่ม ครั้งที่ 2 นักเรียนมีคะแนนพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ระดับพอใช้ จำนวน 7 กลุ่ม และ อยู่ระดับดี จำนวน 1 กลุ่ม และครั้งที่ 3 ทุกกลุ่ม มีคะแนนพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ระดับดี และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT โดยรวมอยู่ในระดับมาก</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/271969 แนวทางการพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพในยุคดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 2024-05-01T21:02:30+07:00 เพ็ญสุดา หิรัญเกิด p.d.hirankerd@gmail.com สำราญ มีแจ้ง ben_lowz@hotmail.com สถิรพร เชาวน์ชัย ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นครูมืออาชีพในยุคดิจิทัลของครู และ (2) แนวทางการพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพในยุคดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 โดยประชากร ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 930 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางเครจซี่และมอร์แกน ได้จำนวน 274 คน และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามสัดส่วนของครูแต่ละอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความเป็นครูมืออาชีพในยุคดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเป็นครูมืออาชีพในยุคดิจิทัลของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านจรรยาบรรณวิชาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด แต่ยังอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพในยุคดิจิทัลของครู คือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมุ่งทำให้ครูพัฒนาตนเองในด้านความรู้และทักษะ โดยการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดจากกรอบเดิม และการส่งเสริมทักษะการคิด อีกทั้งยังต้องส่งเสริมให้ครูเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ และการพัฒนาทักษะการประยุกต์ใช้สื่อ การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนที่สนับสนุนดิจิทัล นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่ครูและผู้เรียน และการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขอย่างยั่งยืนเช่นกัน</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/268791 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผักไฮโดรพอนิกส์ทางออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2024-01-04T17:06:04+07:00 วรธร ศิริวรรณ vothorn@hotmail.com ศักดิ์สิทธิ์ บุศยพลากร ben_lowz@hotmail.com <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมผู้บริโภคที่ซื้อผักไฮโดรพอนิกส์ทางออนไลน์ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดของผู้ซื้อผักไฮโดรพอนิกส์ทางออนไลน์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลการตัดสินใจซื้อผักไฮโดรพอนิกส์ทางออนไลน์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามจากประชากรที่เคยซื้อและผู้ที่ไม่เคยซื้อแต่สนใจซื้อผักไฮโดรพอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ไคสแควร์ และการวิเคราะห์แบบจำลองโลจิสติกแบบทวิและแบบจำลองโพรบิทแบบทวิ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 18 - 34 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 - 40,000 บาท ซึ่งมีพฤติกรรมซื้อผักประเภทบริโภคสด ซื้อผ่านช่องทาง Facebook และ Grabfood และมีค่าใช้จ่ายในการซื้อแต่ละครั้ง 150 - 300 บาท ทั้งนี้จากผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อาชีพ รายได้ ระดับการศึกษา และสถานภาพครอบครัวมีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผักไฮโดรพอนิกส์ทางออนไลน์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา ด้านช่องทาง Social Media ด้านช่องทาง Website และช่องทางออนไลน์อื่นๆ ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านส่งเสริมการตลาด ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผักไฮโดรพอนิกส์ทางออนไลน์ในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตามปัจจัยด้านเพศ ด้านช่องทางชำระเงิน ด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อ ด้านช่วงเวลาที่ซื้อทางออนไลน์ และด้านลักษณะกายภาพส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผักไฮโดรพอนิกส์ทางออนไลน์ในทิศทางตรงข้ามกัน</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/273915 แนวกันชนห้วยขาแข้ง: พลวัตของคนกับป่า 2024-05-30T09:24:49+07:00 ปริญญา นิกรกุล parinya555@msn.com เสมอชัย พลูสุวรรณ ben_lowz@hotmail.com <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลวัตการอยู่ร่วมกันของรัฐ ชุมชน และป่า บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า<br />ห้วยขาแข้ง ตั้งแต่ปี 2515 - 2563 เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดยการวิจัยเอกสาร การวิจัยภาคสนาม ประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วน และการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการศึกษามีจำนวน 48 รูป/คน ใช้การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และอธิบายด้วยวิธีพรรณนาโดยเน้นวิพากษ์โครงสร้างที่ส่งผลกระทบต่อชาวบ้าน ผลการวิจัยพบว่า 1. หมู่บ้านที่อยู่ติดกับแนวกันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งศูนย์กิโลเมตร (คลองเสลา) 2. หมู่บ้านที่อยู่ในแผนการอพยพหรือผลักดันออกแต่ชุมชนสามารถต่อรองที่จะอยู่ในพื้นที่เดิมได้ (เขาเขียว) 3. ชุมชนดั่งเดิมที่ถูกผลักดันและรัฐจัดสรรที่ดินทำกินให้ใหม่ (อีพุ่งใหญ่) ดังนั้นชุมชนที่จะอยู่กับป่าได้ต้องพึ่งพิงอำนาจรัฐให้หน่วยงานของรัฐคานอำนาจกันเอง ชาวบ้านไม่สามารถอยู่ได้ด้วยความจำเป็น เงื่อนไขความเหมาะสมของตนเอง และแสดงให้เห็นกลยุทธ์ทั้งหมด 3 แบบดังนี้ 1) สมยอมกับกรมป่าไม้ ให้กรมได้รักษาพื้นที่ของตนเอง ขณะเดียวกับชุมชนได้พื้นที่ป่าชุมชนมา 2) ชาวบ้านรักษาป่าชุมชนได้เพราะทหาร จึงทำข้อตกลงให้เขตครอบครองของทหารเป็นป่าชุมชน 3) ป่าชุมชนเกิดขึ้นภายใต้นโยบายบ้านเล็กในป่าใหญ่ซึ่งต้องอิงทหารเช่นเดียวกัน ชาวบ้านมีสภาพเป็นจำเลยเพราะการอยู่ได้คือต้องสมยอมกับอำนาจที่ใหญ่กว่า</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/269223 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 2024-04-10T11:57:30+07:00 นิรมล แก้วศรี ajsdp9900@gmail.com กฤตฎิ์ กิตติฐานัส ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2 (2) ศึกษาระดับการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2 และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1,633 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 การคำนวณโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 321 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมทางสถิติด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพูดคุยและสะท้อนพฤติกรรมกับครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการสนับสนุนให้มีการพัฒนาทางวิชาชีพ ระดับการนิเทศภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านกำหนดทางเลือก จัดลำดับความสำคัญของงานและวางแผนการนิเทศมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการประเมินผลการนิเทศและการรายงาน ส่วนด้านการประเมินสภาพปัจจุบันและความต้องการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการนิเทศภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการนิเทศภายในสถานศึกษา มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ .881<strong><sup>**</sup></strong></p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/269101 การใช้ประโยชน์จากข้อมูลงบการเงิน เพื่อการบริหารงานของฝ่ายบริหารสหกรณ์การเกษตร 2024-03-19T15:11:30+07:00 นภานันท์ ศรีชัยชนะ napanun.s@ku.th ณคุณ ธรณีนิติญาณ ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากข้อมูลงบการเงินที่ใช้ในการบริหารงานของฝ่ายบริหารสหกรณ์การเกษตร และ (2) เพื่อศึกษาข้อจำกัดจากการใช้ประโยชน์จากข้อมูลงบการเงินของฝ่ายบริหารสหกรณ์การเกษตร การวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ ผู้บริหารสหกรณ์การเกษตร จำนวน 349 ราย เครื่องมือที่ใช้การวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารสหกรณ์การเกษตรส่วนใหญ่ มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลงบการเงิน เพื่อการบริหาร ทั้งด้านการวางแผน การควบคุม การสั่งการและการตัดสินใจ โดยรวมการใช้ประโยชน์อยู่ระดับมาก เมื่อพิจารณาเฉพาะด้าน มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลงบการเงิน เพื่อการบริหารงาน ด้านการควบคุมมากที่สุดสำหรับบริหารจัดการในธุรกิจด้านจัดหาสินค้ามาจำหน่าย และด้านสินเชื่อ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลงบการเงินเพื่อการบริหารงาน ด้านการตัดสินใจและสั่งการมากที่สุดสำหรับบริหารจัดการในธุรกิจด้านสินเชื่อ ผู้บริหารสหกรณ์การเกษตรส่วนใหญ่มีปัญหาหรือข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลงบการเงินตามลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลทางการเงินที่มีประโยชน์ ประกอบด้วยด้านการแสดงข้อมูลครบถ้วน การแสดงข้อมูลด้วยความเป็นกลาง การแสดงข้อมูลปราศจากข้อผิดพลาด การแสดงข้อมูลสามารถเปรียบเทียบได้ การแสดงข้อมูลสามารถยืนยันได้ การแสดงข้อมูลทันเวลา และการแสดงข้อมูลสามารถเข้าใจได้ ซึ่งมีระดับของปัญหาหรือข้อจำกัดโดยรวมอยู่ในระดับน้อย</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/271821 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ สาระหน้าที่พลเมือง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2024-04-05T14:21:01+07:00 รัตติกาล เพียรเสมอ ajsdp9900@gmail.com ทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ สาระหน้าที่พลเมือง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ สาระหน้าที่พลเมือง (3) ศึกษาพฤติกรรมในการทำงานเป็นทีม ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ สาระหน้าที่พลเมือง และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ สาระหน้าที่พลเมือง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมมาศวิทยา จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ แบบวัดพฤติกรรมในการทำงานเป็นทีม และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานใช้ t-test แบบ dependent ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ สาระหน้าที่พลเมือง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.37/82.07 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พฤติกรรมในการทำงานเป็นทีม ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ ครั้งที่ 1 และ 2 นักเรียนมีพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับพอใช้ ส่วนครั้งที่ 3 และ 4 นักเรียนมีพฤติกรรมในการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับดี และ ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/269210 ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2024-04-10T11:56:50+07:00 ธนพล วรรณโสภา ajsdp9900@gmail.com สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาสมุทรสาคร (2) ศึกษาระดับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาสมุทรสาคร และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารกับการใช้เทคโนโลยีสารเทศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาสมุทรสาคร ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน โรงเรียนสังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2565 รวมทั้งสิ้นจำนวน 2,273 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro - Yamane จำนวน 340 คน เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมทางสถิติด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีของเพียสัน การวิเคราะห์โดยใช้สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามตารางเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบทบาทเป็นผู้ประชาสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านบทบาทเป็นนักเจรจาต่อรอง ส่วนด้านบทบาทเป็นผู้นำองค์การ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามตารางเป็นรายด้าน พบว่า ด้านด้านหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านการใช้ ICT เป็นฐานในการเรียนรู้ ส่วนด้านด้านการพัฒนาบุคลากร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาครพบว่า บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ .979</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/270975 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง สมาชิกที่ดีของชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2024-04-05T14:19:51+07:00 ดวงพระศุกร์ ศรคุณแก้ว ajsdp9900@gmail.com ชนะชัย อวนวัง ben_lowz@hotmail.com ทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง สมาชิกที่ดีของชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ (3) ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ของนักเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค จิ๊กซอว์ และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค จิ๊กซอว์ ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม จำนวน 200 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 40 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านใฝ่เรียนรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย หาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบแบบ dependent sample t-test ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค จิ๊กซอว์ เรื่อง สมาชิกที่ดีของชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.98/85.83 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค จิ๊กซอว์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ของนักเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค จิ๊กซอร์ มีคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ อยู่ในระดับ ดี ทุกคน และความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค จิ๊กซอว์ โดยรวมระดับมากที่สุด</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/271785 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 2024-04-06T17:26:41+07:00 มนธิรา จันทร์เชื้อ daomonthira.dave@gmail.com สำราญ มีแจ้ง ben_lowz@hotmail.com สถิรพร เชาวน์ชัย ben_lowz@hotmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 และ (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ประชากร 930 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 274 คน โดยกําหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยการเปิดตารางเครจซี่และมอร์แกน (บุญชม ศรีสะอาด, 2556, น. 43) และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของครูในแต่ละอำเภอ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามภาวะผู้นำดิจิทัลแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสื่อสารทางดิจิทัลอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความเป็นพลเมืองทางดิจิทัล ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้องค์ความรู้เกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นความเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ การป้องกันปัญหาและการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาตามความสามารถของบุคลากรเพื่อให้สามารถบูรณาการโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272561 การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจรคุณภาพของสถานศึกษาในเครือข่ายบางสวรรค์-ไทรโสภา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 2024-06-02T15:48:02+07:00 ณัฐพล ระวิวงศ์ ajsdp9900@gmail.com พระครูเขมธรรมโฆษิต ben_lowz@hotmail.com บุญเลิศ วีระพรกานต์ ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในเครือข่ายบางสวรรค์-ไทรโสภา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 และ (2) ศึกษาแนวทางและนำเสนอการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจรคุณภาพ การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน ผู้ให้ข้อมูลเชิงลึกสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาในเครือข่าย บางสวรรค์-ไทรโสภา มีการดำเนินงานดังนี้ 1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) การคัดกรองนักเรียน 3) การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน 4) การป้องกันและแก้ไขปัญหา และ 5) การส่งต่อ (2) แนวทางและการนำเสนอการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของสถานศึกษาในเครือข่ายบางสวรรค์-ไทรโสภา ใช้แนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วิธีดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ ได้แก่ 1) การประชุมวางแผน (P =PLAN) 2) การดำเนินการตามแผน (D= DO) 3) การตรวจสอบ (C = Check) และ 4) การปรับปรุงแก้ไข (A = Act) โดยผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ข้อสรุปว่ามีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสม และมีความเป็นประโยชน์</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/269270 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม 2024-06-09T12:01:12+07:00 สมหญิง จันทรุไทย ajsdp9900@gmail.com ประพจน์ แย้มทิม ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม (2) ศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม จำนวน 1,049 คน กลุ่มตัวอย่างคือครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม จํานวน 138 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป จี พาวเวอร์ 3.1 และทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารและประสิทธิผลของโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงครามโดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก ประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง ที่ระดับนัยสำคัญ .01</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/269206 สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 2024-04-10T11:55:38+07:00 ประนิดา รัตนแสนศรี ajsdp9900@gmail.com กฤตฎิ์ กิตติฐานัส ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 (2) เพื่อศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 และ (3) เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2 ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จำนวน 1,633 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 321 คน ได้จากการคำนวณโดยใช้สูตรของ Taro Yamane สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นจำแนกตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมทางสถิติด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 พบว่า สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ในภาพรวมอยู่ระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า สมรรถนะในการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ สมรรถนะในการตระหนักรับรู้โลกาภิวัตน์ และลำดับสุดท้าย คือ สมรรถนะในการทำงานเป็นทีม <strong>ตามลำดับ</strong><strong> (</strong><strong>2) </strong>ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปรับปรุง เมื่อจำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เรียงลำดับคะแนนค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ระดับพอใช้ รองลงมาได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับปรับปรุง และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ระดับปรับปรุง (3) ผลการวิเคราะห์สมรรถนะของผู้บริหารส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272571 การดำเนินงานวัดและประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้วงจรคุณภาพของโรงเรียนพระแสงวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร 2024-06-02T15:48:23+07:00 พิชา วรรณคง ajsdp9900@gmail.com สามิตร อ่อนคง ben_lowz@hotmail.com บุญเลิศ วีระพรกานต์ ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของโรงเรียนพระแสงวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร (2) ศึกษา นำเสนอและประเมินกระบวนการการดำเนินงานวัดและประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้วงจรคุณภาพของโรงเรียนพระแสงวิทยา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลแบบสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มกึ่งโครงสร้าง โดยสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 15 คน ผู้ให้ข้อมูลเชิงลึกสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพการดำเนินงานวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของโรงเรียนพระแสงวิทยา มีองค์ประกอบของงานวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 6 งาน ดังนี้ 1) การตัดสินผลการเรียน 2) การให้ระดับผลการเรียน 3) การรายงานผลการเรียน 4) เกณฑ์การจบการศึกษา 5) การจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษา และ 6) การเทียบโอนผลการเรียน (2) กระบวนการการดำเนินงานวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของโรงเรียนพระแสงวิทยา มีการดำเนินงานโดยใช้วงจรคุณภาพ (PDCA) ในการดำเนินงานวัดและประเมินผลการเรียนรู้ คือ 1) มีการประชุมวางแผน (P = Plan) 2) ดำเนินการตามแผน (D = Do) 3) การตรวจสอบ (C = Check) 4) การดำเนินการให้เหมาะสม (A = Action) ส่วนการนำเสนอและประเมินผู้ทรงคุณวุฒิทุกคนมีความเห็นว่ามีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ มีความเป็นประโยชน์</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/269092 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารความเสี่ยงที่ดีของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2023-12-29T21:07:01+07:00 จิตรสินี มากทอง jitsinee.mar@ku.th ธีรศักดิ์ ทรัพย์วโรบล ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงที่ดีของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตามกรอบแนวคิดของ COSO 2017 โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) จากการเก็บแบบสอบถามจำนวน 250 ตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานโดยใช้ แบบจำลองถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Model) และแบบจำลองโลจิต (Logit Model) ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงที่ดีขององค์กรในภาพรวม พบว่า จากการวิเคราะห์ด้วยการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ทุกปัจจัยตามกรอบแนวคิดของ COSO 2017 ได้แก่ การกำกับดูแลและวัฒนธรรมองค์กร การกำหนดกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ขององค์กร การจัดการความเสี่ยง การทบทวนและการปรับปรุง และข้อมูล การสื่อสาร และการรายงานผล มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ แต่หากวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองโลจิต (Logit Model) พบว่า มีเพียงการทบทวนและการปรับปรุง และข้อมูล การสื่อสาร และการรายงานผล ที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันและเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/269641 ภาวะผู้นำทางวิชาการกับทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มมัธยมศึกษาจังหวัดอ่างทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง 2024-06-09T12:06:32+07:00 จุฑารัตน์ นิรันดร phrompiriya.pan@bkkthon.ac.th พรหมพิริยะ พนาสนธิ์ ben_lowz@hotmail.com ประพจน์ แย้มทิม ben_lowz@hotmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มมัธยมศึกษาจังหวัดอ่างทอง (2) ศึกษาระดับทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มมัธยมศึกษาจังหวัดอ่างทอง และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มมัธยมศึกษาจังหวัดอ่างทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรประกอบด้วยครูในกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดอ่างทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง จำนวน 772 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 260 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan (1970) และสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ(Stratified Random Sampling) เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มมัธยมศึกษาจังหวัดอ่างทอง ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) ทักษะการบริหารในศตวรรษ ที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มมัธยมศึกษาจังหวัดอ่างทอง ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มมัธยมศึกษาจังหวัดอ่างทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272867 กระบวนการสร้างประชาสังคมโดยชุมชนเพื่อการต่อรองอำนาจรัฐและทุน กรณีศึกษาชุมชนพื้นที่ป่าชุ่มน้ำบุญเรือง ตำบลบุญเรือง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย 2024-05-03T15:35:46+07:00 ฐิติ สิทธิศักดิ์ jr.promisekoy@gmail.com กัลยา แซ่อั้ง ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาโครงสร้างและกระบวนการสร้างประชาสังคมโดยชุมชนพื้นที่ป่าชุ่มน้ำ-บุญเรือง ตำบลบุญเรือง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และ (2) เพื่อศึกษาบทบาทของประชาสังคมในการต่อรองอำนาจรัฐและทุน ผ่านกลยุทธ์การอนุรักษ์พื้นที่ป่าชุมชน เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่มต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ “กลุ่มอนุรักษ์ป่าบุญเรือง” ด้วยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 20 คน ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนาโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) โครงสร้างประชาสังคมโดยชุมชน ประกอบด้วยสมาชิก 17 องค์กร โดยจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มชุมชนในพื้นที่ป่าชุ่มน้ำบุญเรือง กลุ่มองค์กรภาคประชาชน และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs), และกลุ่มสถาบันการศึกษา – นักวิชาการ สัมพันธ์กันในแนวราบโดยอาศัยการจัดโครงสร้างองค์กรตามหน้าที่การงาน มีเป้าหมายหลักร่วมกัน คือการปกป้องและรักษาสิทธิของชุมชนในเรื่องหนังสือสำคัญที่หลวง (นสล.) กระบวนการสร้างประชาสังคม ชุมชนได้อาศัยแกนหลักสำคัญคือ “ฐานวัฒนธรรมชุมชน” ประกอบด้วย การสร้างความเข้าใจและการรับรู้ร่วมกัน, ขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชน, ค่านิยมของชุมชน, และการแลกเปลี่ยนเศรษฐกิจและระดมทรัพยากร 2) บทบาทของประชาสังคมในการต่อรองอำนาจรัฐและทุน ผ่านกลยุทธ์การอนุรักษ์พื้นที่ป่าชุมชน อาศัยการเคลื่อนไหวร้องทุกข์ต่อภาครัฐ, ดำเนินการติดตามเฝ้าระวังการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐและทุนในการรุกคืบเข้ามาในพื้นที่, รวมถึงการเบียดแย่งพื้นที่ในกระบวนการใช้อำนาจเพื่อจัดการทรัพยากรป่าชุมชน เพื่อให้ผืนป่าชุ่มน้ำบุญเรืองให้ยังคงเป็นผืนป่าชุ่มน้ำของชุมชนต่อไป</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/273313 การศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการสถานที่บริการทางหลวงบางปะกง (แห่งใหม่) 2024-06-02T15:34:03+07:00 ปุริมปรัชญ์ จรรยา purimprach.c@ku.th กนกวรรณ จันทร์เจริญชัย ben_lowz@hotmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการสถานที่บริการทางหลวงบางปะกง (แห่งใหม่) กำหนดระยะเวลาแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือการลงทุน 2 ปี และการบริหารโครงการ 30 ปี จากการวิเคราะห์รายได้ตลอดโครงการมีรายได้รวม 4,941 ล้านบาท ทั้งนี้การบริหารโครงการแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 คือภาครัฐเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างหลัก และภาคเอกชนรับผิดชอบในการบริหารจัดการโครงการ การบำรุงรักษา รายได้ทั้งหมดเป็นของเอกชน และเอกชนจ่ายค่าตอบแทนแก่ทางภาครัฐ และรูปแบบที่ 2 คือเอกชนทุนก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างหลัก พร้อมบริหารจัดการโครงการ การบำรุงรักษา ภาครัฐจ่ายค่าตอบแทนแก่ทางเอกชน โดยรูปแบบที่ 2 เป็นรูปแบบการร่วมลงทุนที่มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากรูปแบบนี้มีต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน จำนวน 2,529 ล้านบาท ทั้งนี้หากเอกชนได้รับผลตอนแทนแก่ทางภาครัฐแล้ว โครงการมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 583.69 ล้านบาท และมีอัตราส่วนผลประโยชน์ตอบแทนต่อเงินลงทุนอยู่ที่ 1.43 ระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 9.29 ปี ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ หากวิเคราะห์ความอ่อนไหวและวิเคราะห์ภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ พบว่า โครงการยังคงมีความน่าดึงดูดต่อเอกชนที่สนใจเข้าร่วมลงทุน ดังนั้นการให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบที่ 2 เป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมมากที่สุด</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272564 แนวทางการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ 2024-05-19T12:45:51+07:00 สิริกร เหมทานนท์ ajsdp9900@gmail.com บุญเลิศ วีระพรกานต์ ben_lowz@hotmail.com ปรีชา สามัคคี ben_lowz@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา (2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงาน และ (3) เพื่อนำเสนอและประเมินแนวทางการวิจัยในครั้งนี้มีการศึกษาสภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก 15 คน การร่างแนวทางสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยภาพรวม มีขอบข่ายการบริหารงานวิชาการตามโครงสร้างนิติบุคคล 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มีการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร 2) การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ไม่เป็นเชิงรุกทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 3) การวัด วิเคราะห์และการจัดการความรู้ ไม่ครอบคลุมตามเนื้อหาในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 4) การนิเทศการศึกษา ไม่เป็นไปตามปฏิทินที่วิชาการกำหนด 5) การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแต่ยังขาดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย (2) แนวทางการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา 3) การวัด วิเคราะห์และการจัดการความรู้ 4) การนิเทศการศึกษา 5) การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา และการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ ประกอบด้วย 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารทางด้านวิชาการ 2) กลยุทธ์งานวิชาการ 3) การบริหารจัดการ 4) การจัดสภาพบรรยากาศ แวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ 5) ด้านคุณภาพผู้เรียน แต่ละขั้นตอนจะต้องมีการประชุม วางแผน การดำเนินงาน การติดตาม ประเมินผล การปรับปรุง พัฒนา (3) ผลการนำเสนอและประเมินแนวทางการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา พบว่า ในการสนทนากลุ่มทุกคนเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์