วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP <p><strong>จุดมุ่งหมายและขอบเขต (</strong><strong>Aim and Scope)<br /></strong> วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ (Journal of Social Science Panyapat) ISSN : 3027-6748 (Online) มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่<strong>บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ</strong> ในสาขาที่เกี่ยวข้องด้านสังคมศาสตร์ ได้แก่ <strong>1) สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ 2) สาขาพัฒนาสังคม 3) สาขาศึกษาศาสตร์ 4) สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ</strong> และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์ เผยแพร่ปีละ 4 ฉบับ โดยทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>ประกาศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของวารสาร</strong><br /> 1) แต่เดิมวารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์เผยแพร่บทความปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน), ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม) และได้มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการออกเผยแพร่บทความเป็นปีละ 4 ฉบับ โดยได้ดำเนินการตั้งแต่ ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม – กันยายน 2565) เป็นต้นมา ปัจจุบันวารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ มีกำหนดวงรอบการเผยแพร่ปีละ 4 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม – มีนาคม) ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน) ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม – กันยายน) และ ฉบับที่ 4 (ตุลาคม – ธันวาคม)<br /> 2) แต่เดิมวารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ ISSN : 2773-9805 (Online) และได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็น ISSN : 3027-6748 (Online) โดยจะดำเนินการตั้งแต่ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มีนาคม 2567 เป็นต้นไป</p> <p><strong>ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร<br /></strong> 1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับด้านสังคมศาสตร์ และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์<br /> 2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่<br /> 3) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) เป็นบทความในลักษณะวิจารณ์หรืออธิบายเหตุผลสนับสนุนในประเด็นที่เห็นด้วย และ มีความเห็นแตกต่างในมุมมองวิชาการ</p> <p><strong>กำหนดออกเผยแพร่วารสาร<br /></strong> แต่เดิมวารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์เผยแพร่บทความปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน), ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม) และได้มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการออกเผยแพร่บทความเป็นปีละ 4 ฉบับ โดยได้ดำเนินการตั้งแต่ ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม – กันยายน 2565) เป็นต้นมา ปัจจุบันวารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ มีกำหนดวงรอบการเผยแพร่ปีละ 4 ฉบับ ดังนี้<br /> - ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม<br /> - ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน <br /> - ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน<br /> - ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>อัตราค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความ<br /></strong> บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ มีอัตราค่าตีพิมพ์ ดังนี้<br /> 1) บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ (ภาษาไทย) บทความละ 4,000 บาท<br /> 2) บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ (ภาษาอังกฤษ) บทความละ 6,000 บาท<br /> โดยผู้เขียนจะต้อง กรอก <strong>“<a href="https://drive.google.com/file/d/13hbKlIcvn6FU_oGAUdjACl0ZMWoudxC_/view?usp=drive_link">แบบขอส่งบทความตีพิมพ์</a>”</strong> และชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ภายหลังจากที่กองบรรณาธิการพิจารณาความสมบูรณ์ และความถูกต้องตามรูปแบบแล้ว และส่งผู้ทรงคุณวุฒิประเมินพิจารณาบทความ <strong>(เก็บค่าธรรมเนียมตีพิมพ์เมื่อเข้าสู่กระบวนการ Review)</strong> อนึ่ง การพิจารณารับบทความเพื่อลงตีพิมพ์หรือไม่ตีพิมพ์ อยู่ที่ดุลยพินิจของบรรณาธิการถือเป็นอันสิ้นสุด </p> <p><strong>การพิจารณาบทความ<br /></strong> บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) มีขั้นตอนการพิจารรณา ดังนี้<strong><br /></strong></p> <ol> <li>บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้นในด้านคุณภาพของบทความ โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 5 วันทำการหากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน</li> <li>บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชานั้น พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) 3 ท่าน โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณอย่างน้อย 20 วันทำการ</li> <li>เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ ภายในเวลา 3 วันทำการ หลังจากได้รับจากผู้ทรงคุณวุฒิครบทั้ง 3 ท่าน</li> <li>ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์ และระยะเวลาการแก้ไขไม่ควรเกิน 15 วันทำการ</li> </ol> <p><strong>เกณฑ์การพิจารณาบทความ</strong></p> <ol> <li>บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้น ในด้านคุณภาพของบทความ และการจัดรูปแบบให้เป็นไปตามข้อกำหนดของวารสารฯ หากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชา พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) 3 ท่าน</li> <li>เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ</li> <li>ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์</li> <li>เมื่อมีการปรับแก้เป็นไปตามผู้ทรงคุณวุฒิ กองบรรณาธิการจะตรวจสอบความสมบูรณ์เนื้อหาบทความให้เป็นไปตามรูปแบบของวารสาร และตรวจสอบไฟล์รูปภาพที่ใช้ในบทความที่มีความคมชัดในการจัดพิมพ์ก่อนเผยแพร่บทความ</li> </ol> <p><strong>แนวทางการต่อติดประสานงานและมีความประสงค์ขอตีพิมพ์:</strong></p> <ol> <li>ประสานเจ้าหน้าที่วารสาร เพื่อทราบรายละเอียดเบื้องต้น (เช่น รอบการตีพิมพ์, หนังสือตอบรับการตีพิมพ์, ค่าใช้จ่ายฯลฯ) ID Line: ben_lowz โทร. 080-2241454 (นางสาวศิโรรัตน์ ประศรี), 081-6015934 (ผศ. ดร.ประยูร แสงใส)</li> <li>เตรียมต้นฉบับบทความ</li> </ol> <p> - เทมเพลตบทความวิจัย <a href="https://docs.google.com/document/d/1h16I3OrCBS4_-g4hQxRZtzZs87fel49l/edit?usp=drive_link&amp;ouid=101054565910719523625&amp;rtpof=true&amp;sd=true">คลิก</a> <br /> - เทมเพลตบทความวิชาการ <a href="https://docs.google.com/document/d/16Ap1TK9aXhyx9FnYU4f9iM3XMiB0o2f6/edit?usp=drive_link&amp;ouid=101054565910719523625&amp;rtpof=true&amp;sd=true">คลิก</a><br /> - เทมเพลตบทวิจารณ์หนังสือ <a href="https://docs.google.com/document/d/19nzVzFAhIhle9z_lZ8GH1reH9kYy4RAu/edit?usp=drive_link&amp;ouid=101054565910719523625&amp;rtpof=true&amp;sd=true">คลิก</a></p> <ol start="3"> <li>ส่งบทความต้นฉบับในระบบวารสาร <a href="https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/index">https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/index</a></li> <li>กรอก “แบบขอส่งบทความตีพิมพ์” จาก <a href="https://drive.google.com/file/d/13hbKlIcvn6FU_oGAUdjACl0ZMWoudxC_/view?usp=drive_link">คลิก</a></li> <li>ส่งสำเนาเอกสารในระบบ Google forms ที่ <a href="https://docs.google.com/forms/d/1JFZ6xgC46Gyck7j79RwPpVKy7lU9fKl-gRz5TBrZ7WE/edit">https://docs.google.com/forms/d/1JFZ6xgC46Gyck7j79RwPpVKy7lU9fKl-gRz5TBrZ7WE/edit</a></li> </ol> <p> 6. สมัครเข้า line กลุ่มวารสาร เพื่อติดต่อประสานงาน ที่ <a href="https://line.me/R/ti/g/Ngfd8WM9U2">https://line.me/R/ti/g/Ngfd8WM9U2</a></p> th-TH Sat, 21 Sep 2024 22:31:17 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การวิเคราะห์การตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกพื้นที่เช่าโรงคัดบรรจุทุเรียนขนาดเล็กและขนาดกลาง ในพื้นที่เทศบาลตำบลเนินสูง จังหวัดจันทบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/273116 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกพื้นที่เช่าเป็นโรงคัดบรรจุทุเรียนขนาดเล็กและขนาดกลาง ในพื้นที่เทศบาลตำบลเนินสูง จังหวัดจันทบุรี และ (2) ศึกษาลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกพื้นที่เช่าเป็นโรงคัดบรรจุทุเรียนขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล เพื่อรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงลําดับชั้น (Analytic Hierarchy Process) และจัดลำดับความสำคัญของปัจจัย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้เช่าที่มีประสบการณ์การเช่าโรงคัดบรรจุจำนวน 5 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า เกณฑ์สำคัญที่ใช้ในการตัดสินใจ 9 เกณฑ์ ได้แก่ 1) สาธารณูปโภคเพียงพอต่อการใช้ 2) การบริการจัดการพื้นที่ส่วนกลาง 3) อัตราค่าเช่าเหมาะสม 4) ค่าสาธารณูปโภคเหมาะสม 5) มีที่พักสำหรับพนักงานเพียงพอ 6) การวางแผนผังล้งให้เอื้อต่อการดำเนินกิจการ 7) ความน่าเชื่อถือของผู้ให้เช่า 8) นโยบายและระเบียบปฏิบัติด้านความปลอดภัยของผู้ให้เช่า 9) ทำเลใกล้ถนนสายหลัก ผลการวิเคราะห์ค่าน้ำหนักของเกณฑ์พบว่าเกณฑ์ที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับหนึ่ง คือ สาธารณูปโภคเพียงพอต่อการใช้ เท่ากับ 0.258 อับดับที่สอง คือ การบริการจัดการพื้นที่ส่วนกลาง เท่ากับ 0.174 และอันดับที่ 3 อัตราค่าเช่าเหมาะสม เท่ากับ 0.112</p> จาตุรันต์ แช่มสุ่น, ภัญนภัส พฤกษากิจ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/273116 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 การตัดสินใจลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กมากในพื้นที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/273829 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการวัตถุดิบ เพื่อหาแนวทางในการจัดซื้อวัตถุดิบให้มีต้นทุนต่ำที่สุดและการศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการเงิน ในการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กมากขนาด 1 เมกะวัตต์ ในพื้นที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาใช้ข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับโรงไฟฟ้าชีวมวล 5 แห่ง เพื่อทราบถึงเทคโนโลยีในการผลิตและการจัดการวัตถุดิบ รวมทั้งสัมภาษณ์เกษตรกรในพื้นที่และโรงงานแปรรูปมันสัมปะหลังในพื้นที่อำเภอพิมาย เพื่อให้ได้ข้อมูลวัตถุดิบในพื้นที่ ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารวิชาการต่างๆ เพื่อทราบถึงการรับซื้อไฟฟ้าในปัจจุบัน และข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุดิบ ข้อมูลทั้งสองแบบถูกนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนาและเชิงปริมาณ โดยตั้งเงื่อนไขการตัดสินใจลงทุนไว้ที่ มูลค่าปัจจุบันของโครงการ (Net Present Value: NPV) &gt; 0, อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (Internal Rate of Return: IRR) &gt; ต้นทุนทางการเงิน, อัตราส่วนของผลประโยชน์ต่อทุน (Benefit/Cost Ratio: BCR) &gt; 1, ระยะเวลาคืนทุนคิดลด (Discounted Payback Period: DPB) &lt; อายุของโครงการ ผลการวิจัยพบว่า วัตถุดิบในพื้นที่เพียงพอ และจากการวิเคราะห์พบว่า มีการใช้วัตถุดิบตามความสามารถในการผลิตไฟฟ้าและความเป็นฤดูกาล โดยมีการใช้วัตถุดิบ 3 ประเภทคือ ใบอ้อย ฟางข้าว และกากมันสำปะหลัง ที่แตกต่างกันในแต่ละเดือน เมื่อคำนวณแล้วจะมีต้นทุนวัตถุดิบรวมต่ำที่สุดต่อปีที่ 13,458,000 บาท ผลการวิเคราะห์หาผลตอบแทนทางการเงินของโครงการ ได้ผลการวิเคราะห์ได้ผลตอบแทนทางการเงินของโครงการมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิที่ 112,132,870 บาท ซึ่งมีค่ามากกว่าศูนย์ ระยะเวลาคืนทุนคิดลดเท่ากับ 3.60 ปี (3 ปี 8 เดือน) อัตราผลตอบแทนในโครงการเท่ากับร้อยละ 31.36 ซึ่งมากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาว และอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อทุนเท่ากับ 1.39 ซึ่งเมื่อพิจารณาโครงการแล้วมีความเป็นไปได้ทางการเงินและมีความคุ้มค่าในการลงทุนโดยมีระยะเวลาคืนทุนน้อยกว่าระยะเวลาของโครงการ การศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการตัดสินใจในการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนชีวภาพขนาดเล็กมาก จากวัตถุดิบเหลือ ใช้ทางการเกษตร ในพื้นที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา และพื้นที่อื่นๆ ที่มีความเป็นไปได้ใน การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนชีวภาพขนาดเล็กมาก</p> ภัทรพิสิษฐ์ อนันตปรีชา, กุลภา กุลดิลก, เออวดี เปรมัษเฐียร Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/273829 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 ผลกระทบและแนวทางการกำหนดนโยบายการควบคุมและการจัดการชาวต่างชาติที่ทำผิดกฎหมายในประเทศไทย: กรณีศึกษาชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ตสู่การปฏิบัติ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/274317 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ผลกระทบของการมีชาวต่างชาติที่ทำผิดกฎหมายต่อความปลอดภัยและเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ต (2) เสนอแนะแนวทางการพัฒนานโยบายและมาตรการการควบคุมและการจัดการชาวต่างชาติที่ทำผิดกฎหมายในจังหวัดภูเก็ต เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและการจัดการชาวต่างชาติ นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายสาธารณะ และชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในภูเก็ต จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า ค้นหาความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลและอธิบายความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ผลการวิจัยพบว่า การมีชาวต่างชาติที่ทำผิดกฎหมายในภูเก็ตส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ การเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดและการลักขโมยทำให้ชาวบ้านมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ การบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดขึ้นทำให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องใช้ทรัพยากรและกำลังคนมากขึ้น ส่งผลให้มีภาระงานเพิ่มขึ้นในด้านอื่น ๆ ด้านเศรษฐกิจ การมีชาวต่างชาติที่ทำผิดกฎหมายทำให้ภาพลักษณ์ของภูเก็ตในสายตาของนักท่องเที่ยวและนักลงทุนเสียหาย ส่งผลให้การท่องเที่ยวและการลงทุนลดลง รวมถึงค่าใช้จ่ายในการบังคับใช้กฎหมายเพิ่มขึ้น และแนวทางการพัฒนานโยบายและมาตรการที่เสนอ ได้แก่ การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาระบบการตรวจสอบและการบังคับใช้กฎหมายที่ทันสมัย การให้ความรู้และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง การจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจที่มีความเชี่ยวชาญ การเสริมสร้างมาตรการป้องกันและการตรวจสอบ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน และการบูรณาการกับนโยบายสาธารณะอื่น ๆ การดำเนินการตามแนวทางเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและการจัดการชาวต่างชาติที่ทำผิดกฎหมายในจังหวัดภูเก็ตอย่างยั่งยืน และผลการวิจัยนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนานโยบายที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาชาวต่างชาติที่ทำผิดกฎหมายเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภูเก็ต</p> เอกชัย ชำนินา Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/274317 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok ของกลุ่ม Generation Y https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/266318 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok ของกลุ่ม Generation Y (2) ปัจจัยด้านลักษณะประชากรศาสตร์ ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดและปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok ของกลุ่ม Generation Y การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ที่เคยตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok กลุ่ม Generation Y กลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยนำมาวิเคราะห์สถิติโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 29-34 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000 – 25,000 บาท การวิจัยระดับปริญญาตรี และมีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ผลการวิเคราะห์ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok ของกลุ่ม Generation Y โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด ส่งผลต่อความถี่ในการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok พบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และความสัมพันธ์ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok พบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี ส่งผลต่อความถี่ในการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok พบว่า การรับรู้ว่ามีประโยชน์ มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.10 และความสัมพันธ์ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน TikTok พบว่า การรับรู้ว่ามีประโยชน์มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05</p> จริยา ชินวงศ์, อรุณี ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/266318 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 การประเมินความเป็นไปได้ในการลงทุน อพาร์ทเม้นท์ย่านรัชโยธิน แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275615 <p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมการแข่งขันทางธุรกิจของอพาร์ทเม้นท์ให้เช่า บริเวณเมเจอร์รัชโยธิน และประเมินความเป็นไปได้ในการลงทุนอพาร์ทเม้นท์ให้เช่า ด้านตลาด ด้านกฎหมาย และด้านการเงิน โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากแบบสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน และข้อมูลทุติยภูมิจาก เว็บไซต์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการวิเคราะห์ด้านตลาด และกฎหมาย โดยนำเสนอในเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า สภาพการแข่งขันของโครงการ มีความรุนแรงในการแข่งขันของคู่แข่งรายเดิม, ภัยคุกคามจากคู่แข่งรายใหม่, ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน และอำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์ อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีอำนาจการต่อรองของลูกค้า ในระดับต่ำ จึงมีความเป็นไปได้ด้านตลาด สามารถพัฒนาโครงการได้ในระดับราคาสูง โดยมีระดับราคา 6,001 บาทขึ้นไป เนื่องจากในกลุ่มระดับราคาที่สูงนั้นมีจำนวนสถานประกอบการที่น้อย จึงมีการแข่งขันกันภายในต่ำ ในด้านกฎหมาย จากการเปรียบเทียบศึกษาข้อจำกัดทางด้านกฎหมายพบว่า ที่ดินของโครงการสามารถพัฒนาอพาร์ทเม้นท์ได้ และเมื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน โดยกำหนดอายุโครงการ 25 ปี โดยมีต้นทุนเงินทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของโครงการ (WACC) เท่ากับ ร้อยละ 5.56 ต่อปี พบว่า โครงการมีความคุ้มค่าทางการเงิน โดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 4,995,044.38 บาท อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR) เท่ากับ 1.09 อัตราผลตอบแทนภายในของโครงการ (IRR) เท่ากับร้อยละ 7.12 ต่อปี ระยะเวลาคืนทุน (PB) เท่ากับ 12 ปี 29 วัน ผลการวิเคราะห์ความอ่อนไหว พบว่า โครงการจะประสบปัญหาความไม่คุ้มค่าทางการเงินเมื่ออัตราค่าเช่าลดลง หรืออัตราเข้าพัก ลดลงร้อยละ 15 และถ้าต้นทุนก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 โครงการจะประสบปัญหาความไม่คุ้มค่าทางการเงิน ดังนั้น โครงการมีความเหมาะสมที่จะลงทุนแต่ต้องมีความระมัดระวังในเหตุการณ์ และสถานการณ์กระทบต่อผลประกอบการทั้งในด้านต้นทุน, อัตราเข้าพัก และระดับราคาห้องพัก</p> ณัฐนน วิสูตรศักดิ์, สมหมาย อุดมวิทิต Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275615 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความจงรักภักดีต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนในสำนักอำนวยการประจำศาลฎีกา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272034 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยสภาพแวดล้อมในหน่วยงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนในสำนักอำนวยการประจำศาลฎีกา และ (2) ความจงรักภักดีต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนในสำนักอำนวยการประจำศาลฎีกา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนในสำนักอำนวยการประจำศาลฎีกา จำนวน 215 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-Test One-way ANOVA ค่า LSD และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนในสำนักอำนวยการประจำศาลฎีกา มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความจงรักภักดีต่อองค์กร อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ อายุ เงินเดือน ระยะเวลาที่ทำงาน และค่าตอบแทนพิเศษ ที่แตกต่างกัน มีความจงรักภักดีต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนในสำนักอำนวยการประจำศาลฎีกา ต่างกัน นอกจากนี้ปัจจัยสภาพแวดล้อมในหน่วยงานด้านความสัมพันธ์ในองค์กรและเพื่อนร่วมงานมีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนในสำนักอำนวยการประจำศาลในระดับปานกลาง</p> สุภัคพรรณ มีประพันธ์, เอกลักษณ์ ไชยภูมี Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272034 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ของการตรวจระดับซีรั่ม PIVKA-II ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งตับ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275817 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความคุ้มค่าเศรษฐศาสตร์ในการตรวจระดับซีรั่ม Alpha-Fetoprotein (AFP) ร่วมกับ PIVKA-II โดยวิธีต้นทุนอรรถประโยชน์ (Cost-Utility Analysis) เปรียบเทียบกับกรณีไม่มีการตรวจด้วยวิธีดังกล่าว ด้วยแบบจำลองมาร์คอฟ (Markov Model) และใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากงานวิจัยเชิงประจักษ์ในอดีตทั้งในประเทศและต่างประเทศ ควบคู่กับการประเมินผลกระทบของการตรวจดังกล่าวต่อระบบสาธารณสุขของประเทศไทยในด้านการเข้าถึงและความครอบคลุม และการจัดสรรงบประมาณที่เกี่ยวข้อง ผลการประเมินความคุ้มค่า พบว่า กรณีที่คนไข้ไม่ได้ตรวจเฝ้าระวัง ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อผู้ป่วยจะอยู่ที่ 697,945.37 บาท/คน โดยมีการเพิ่มขึ้นของปีชีวิต (LYG) เท่ากับ 16.68 ปี และคุณภาพชีวิตปรับค่าได้ (QALY) เท่ากับ 11.22 ในทางตรงกันข้าม หากมีการตรวจเฝ้าระวัง ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อผู้ป่วยจะลดลงเหลือ 258,505.77 บาท โดย LYG เพิ่มขึ้นเป็น 20.27 ปี และ QALY เพิ่มขึ้นเป็น 14.36 ปี การตรวจคัดกรองช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 439,439.60 บาทต่อคน เพิ่ม LYG ได้ 3.59 ปี และปรับปรุง QALY ได้ 3.14 อัตราความคุ้มค่าในการเพิ่มค่าใช้จ่าย (ICER) คือ -139,926.85 บาทต่อ QALY ทำให้เป็นวิธีที่คุ้มค่าตามเกณฑ์ปี 2021 ของประเทศไทยที่ตั้งไว้ที่ 160,000 บาท/QALY การวิเคราะห์ความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรสำคัญ ยืนยันว่าการตรวจเฝ้าระวังยังคงมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ นอกจากนี้การประเมินผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข พบว่า มีระดับการเข้าถึงและความครอบคลุมในการให้บริการแก่ประชากรอายุ 40-99 ปี รวมทั้งสิ้น 23,920,647 คน มีค่าใช้จ่ายงบประมาณรวม 23,442,234,060 บาทต่อปี และโรงพยาบาลระดับอำเภอและจังหวัด 91 แห่ง ที่คาดว่าจะให้บริการตรวจ AFP และ PIVKA-II แก่ประชากรที่มีสิทธิ์ประมาณ 262,865 คนต่อปีต่อโรงพยาบาล</p> สุภาพร มานพจันทร์, มานะ ลักษมีอรุโณทัย, ชิดตะวัน ชนะกุล Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275817 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 การท่องเที่ยวเชิงอาหาร: พฤติกรรมและความเต็มใจที่จะจ่ายของนักท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/276303 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรม และการรู้จักอาหารอัตลักษณ์ของจังหวัดจันทบุรีของนักท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี (2) เพื่อวิเคราะห์ความเต็มใจที่จะจ่ายของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับอาหารอัตลักษณ์ และการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดจันทุบรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่เดินมายังจังหวัดจันทบุรี จำนวน 515 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อมาพักผ่อน ท่องเที่ยว และฮันนีมูน ซึ่งสืบค้นข้อมูลการท่องเที่ยวจากจากอินเตอร์เน็ตและสื่อโซเชียลมีเดีย นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมท่องเที่ยวแบบ 2 วัน 1 คืน โดยเลือกเดินทางมาในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ และเสียค่าใช้จ่ายในการเที่ยวแต่ละครั้งเท่ากับ 500-1,000 บาท/คน นอกจากนั้นยังพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รู้จักอาหารอัตลักษณ์และอาหารพื้นถิ่นของจังหวัดจันทบุรี ทั้งหมวดของอาหารคาว เครื่องจิ้ม อาหารว่าง ของหวาน และเครื่องดื่ม จากการศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับอาหารอัตลักษณ์ และการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดจันทุบรี พบว่า นักท่องเที่ยวมีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าอาหารอัตลักษณ์จันทบุรีเฉลี่ย 284.15 บาท/คน/มื้อ ส่วน ในขณะที่มีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าอาหารที่สะอาดและมีสุขอนามัย โดยเป็นร้านที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเฉลี่ย 290.11 บาท/คน/มื้อ นอกจากนั้นนักท่องเที่ยวมีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยวตามแนวทางของการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดจันทบุรีแบบ 2 วัน 1 คืน เฉลี่ยเท่ากับ 3,639.62 บาท/คน</p> พัชรี ปรีเปรมโมทย์, เดชา พละเลิศ, นรินทร์ เจริญพันธ์, ธนพล พุกเส็ง, กัลยารัตน์ เชี่ยวชาญ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/276303 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาของบุคลากรในการฝึกทักษะทางสังคมให้แก่คนพิการในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/274311 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความต้องการจำเป็นการพัฒนาของบุคลากรในการฝึกทักษะทางสังคมให้ผู้ใช้บริการตามมาตรฐานการคุ้มครองและพัฒนาศักยภาพคนพิการในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ และ (2) วิธีการพัฒนาบุคลากรให้สามารถฝึกทักษะทางสังคมให้แก่คนพิการสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวิธีการศึกษารวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นทีมสหวิชาชีพของสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ จำนวน 210 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ค่าต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index) ผลการศึกษาพบว่า ลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบุคลากร เรียงลำดับจากค่าความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุดไปน้อยที่สุด ได้แก่ ทักษะการฝึกทักษะทางสังคม รองลงมาคือความรู้ทักษะทางสังคม และทัศนคติต่อการฝึกทักษะทางสังคม วิธีการพัฒนาบุคลากรให้สามารถฝึกทักษะทางสังคมมีลำดับความต้องการจำเป็นมากที่สุดคือการพัฒนานอกเวลา การปฏิบัติงาน ทั้ง 3 ด้าน ความรู้ทักษะทางสังคม รองลงมาทักษะการฝึกทักษะทางสังคม และทัศนคติต่อการฝึกทักษะทางสังคมตามลำดับ ข้อเสนอแนะควรบรรจุแผนการพัฒนาบุคลากรในการฝึกทักษะทางสังคมให้แก่คนพิการ มีความต้องการจำเป็นมากที่สุดคือทักษะการฝึกทักษะทางสังคม ความรู้ทักษะทางสังคม และทัศนคติการฝึกทักษะทางสังคม ด้วยวิธีการพัฒนาบุคลากรนอกเวลาการปฏิบัติงาน คือ การศึกษาดูงาน การจำลองสถานการณ์ และการฝึกอบรม รวมทั้งควรมีการติดตามการนำแผนพัฒนาบุคลากรในการฝึกทักษะทางสังคมให้แก่คนพิการไปปฏิบัติ</p> ปิยากร วีระไพฑูรย์, พงษ์เทพ สันติกุล, ศุภชัย เหมือนโพธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/274311 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/271893 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 และ (2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 97 คน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามภาวะผู้นำการเรียนรู้แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 พบว่า ควรจัดอบรมพัฒนาความรู้ใหม่ๆ สร้างความตระหนักหรือความเข้าใจที่จะพัฒนาตนเอง รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ส่งเสริมความสามารถของแต่ละบุคคลในการทำกิจกรรมร่วมกับครูในสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอและส่งเสริมแนวคิดมาประยุกต์ใช้ในการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม พร้อมทั้งพัฒนาตนเองในการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานให้ทันสมัยอยู่เสมอ ตลอดจนเคารพกฎระเบียบ กติกา และมารยาทในการใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> สิริมาศ จันทร์เพ็ญสุริยา, สำราญ มีแจ้ง, สถิรพร เชาวน์ชัย Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/271893 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนฟาร์มผักออร์แกนิค ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275620 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคเกี่ยวกับการบริโภคผักออร์แกนิค ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ และ (2) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนฟาร์มผักออร์แกนิค ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และสัมภาษณ์เกษตรกรที่ปลูกผักออร์แกนิค โดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน ผลการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคพบว่าด้านการตลาด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกซื้อผักออร์แกนิคประเภทผักสลัดตามท้องตลาดทั่วไป โดยจะซื้อผักออร์แกนิคสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง และมีค่าใช้จ่ายในการซื้อผักออร์แกนิค 101-200 บาทต่อครั้ง และซื้อผักทั่วไป 0-100 บาทต่อครั้ง ซึ่งผู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการซื้อ คือ ครอบครัว และจะเลือกซื้อผักออร์แกนิคซ้ำ พร้อมกับแนะนำผู้อื่น เนื่องจากผักออร์แกนิค มีความปลอดภัย และไร้สารตกค้าง นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับปัจจัยทางการตลาดในด้านราคามากที่สุด รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านส่งเสริมการตลาด ส่วนผลการศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของการลงทุนฟาร์มผักออร์แกนิค พบว่า โครงการจะมีระยะเวลาคืนทุน (PB) เท่ากับ 2 ปี 6 เดือน 5 วัน มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 1,454,571.33 บาท อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (IRR) เท่ากับร้อยละ 28.76 และอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (BCR) เท่ากับ 1.883 ในส่วนผลการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ พบว่าหากผลผลิตและราคาผลผลิตลดลง และราคาวัสดุและอุปกรณ์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.28 และร้อยละ 96.68 ตามลำดับ จะทำให้โครงการไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ และเมื่อราคาวัตถุดิบและเมล็ดพันธุ์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 100 จะไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการ</p> ณัฐวรรณ ฉิมสุข, สมหมาย อุดมวิทิต Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275620 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 ผลการนำกระบวนการทางสังคมสงเคราะห์เพื่อเสริมสร้างทักษะการจัดการตนเองของผู้เรียนสังคมสงเคราะห์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/274313 <p>การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง “ผลการนำกระบวนการทางสังคมสงเคราะห์เพื่อเสริมสร้างทักษะการจัดการตนเองของผู้เรียนสังคมสงเคราะห์” เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือการเก็บข้อมูลแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการนำกระบวนการทางสังคมสงเคราะห์มาประยุกต์ใช้เสริมสร้างทักษะการจัดการตนเองของผู้เรียนสังคมสงเคราะห์ และเพื่อวิเคราะห์ทักษะการจัดการตนเองด้วยการใช้กระบวนการทางสังคมสงเคราะห์ของผู้เรียน รวมทั้งเพื่อศึกษาผลการสะท้อนคิดด้วยการใช้กระบวนการทางสังคมสงเคราะห์ของผู้เรียนสังคมสงเคราะห์ โดยประเด็นหลักในการศึกษา 3 ประเด็น คือ 1) ความรู้ทางสังคมสงเคราะห์ที่มีความจำเป็นของผู้เรียนด้านสังคมสงเคราะห์ 2) การนำกระบวนการทางสังคมสงเคราะห์มาประยุกต์ใช้เสริมสร้างทักษะการจัดการตนเองของผู้เรียน 3) ผลการสะท้อนคิดด้วยการใช้กระบวนการทางสังคมสงเคราะห์ของผู้เรียน ผลการศึกษาวิจัยที่ปรากฏในการศึกษานี้มี 3 ประเด็นสำคัญคือ (1) ความรู้ทางสังคมสงเคราะห์ที่มีความจำเป็นของผู้เรียนด้านสังคมสงเคราะห์ (2) การนำกระบวนการทางสังคมสงเคราะห์มาประยุกต์ใช้เสริมสร้างทักษะการจัดการตนเองของผู้เรียน และประเด็นสุดท้าย (3) ผลการสะท้อนคิดด้วยการใช้กระบวนการทางสังคมสงเคราะห์ของผู้เรียน ในการศึกษาวิจัยนี้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สำคัญ 2 ประการ ดังนี้ ประการแรกผู้เรียนสามารถบูรณาการความรู้ในศาสตร์สังคมสงเคราะห์กับรัฐศาสตร์ได้อย่างกลมกลืนโดยผู้เรียนนำความรู้ทางสังคมสงเคราะห์มาใช้กับตนเองในการรับมือกับปัญหาทางสังคมรวมทั้งกับบุคคลใกล้ชิด ประการต่อมาการเชื่อมโยงหลักการทางศาสนาเข้ามาใช้ในการจัดการตนเอง ซึ่งเป็นการนำหลักคำสอนทางศาสนาเข้ามาประยุกต์กับองค์ความรู้ทางสังคมสงเคราะห์ในการเข้าใจตนเองเข้าใจสังคมและนำมาบูรณาการกับหลักความเชื่อทางศาสนาในการดำเนินชีวิต</p> วนภัทร์ แสงแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/274313 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 ผลกระทบสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทยต่อการใช้จ่ายรัฐบาลด้านสาธารณสุข https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275001 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาภาพรวมของประชากรผู้สูงอายุ และรายจ่ายภาครัฐด้านสาธารณสุขของประเทศไทย และ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประชากรผู้สูงอายุกับรายจ่ายภาครัฐด้านสาธารณสุขของประเทศไทย ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลอนุกรมเวลาจากเว็บไซต์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงปริมาณโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิรายปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 – 2565 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระยะยาว และวิเคราะห์การปรับตัวระยะสั้นเข้าสู่ระดับดุลยภาพระยะยาว ซึ่งใช้วิธีการของ Pesaran, Shin and Smith ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระยะยาว และใช้วิธี Error Correction Model ในการวิเคราะห์การปรับตัวระยะสั้นเข้าสู่ระดับดุลยภาพระยะยาว ผลการศึกษาพบว่า ช่วงเวลาก่อนที่ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีสัดส่วนการใช้จ่ายของรัฐบาลด้านการสาธารณสุขรวมเฉลี่ยประมาณร้อยละ 7 และหลังจากที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วมีสัดส่วนการใช้จ่ายของรัฐบาลด้านการสาธารณสุขรวมเฉลี่ยประมาณร้อยละ 10 จะเห็นว่า ภาครัฐมีรายจ่ายด้านสาธารณสุขโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จำนวนประชากรผู้สูงอายุ และสถานการณ์โควิด 19 ไม่ส่งผลต่อรายจ่ายด้านการสาธารณสุขในระยะยาว ส่วนรายได้ประชาชาติต่อหัวส่งผลกระทบทางบวกต่อรายจ่ายด้านการสาธารณสุขในระยะยาว ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 และมีการปรับตัวจากในระยะสั้นเพื่อเข้าสู่ดุลยภาพในระยะยาว เท่ากับร้อยละ 41.55</p> ณัฐวดี ชัยเทพ, ชิดตะวัน ชนะกุล Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275001 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประโยค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ GPAS กับวิธีการสอนแบบปกติ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/271122 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประโยค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีแบบ GPAS และ (2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประโยค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบ GPAS กับนักเรียนกลุ่มที่เรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนการสอนแบบปกติ ประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพิพัฒนศึกษา (นามสมมติ) จังหวัดนครนายก จำนวน 2 ห้อง ห้องละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 60 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) ผู้วิจัยกำหนดให้นักเรียนห้องที่ 1 เป็นกลุ่มทดลอง และนักเรียนห้องที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประโยค เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าความเชื่อมั่น คือ 0.76 ค่าความยาก ระหว่าง 0.34-0.72 และค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 2.16-7.03 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบ GPAS สำหรับนักเรียนกลุ่มทดลอง และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนการสอนแบบปกติ สำหรับนักเรียนกลุ่มควบคุม แผนการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนแต่ละกลุ่มมีจำนวน 9 แผน แผนละ 1 คาบ คาบละ 50 นาที ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล จำนวน 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 คาบ รวมทั้งสิ้น 9 คาบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่านัยสำคัญของความแตกต่างโดยใช้สถิติทดสอบ t-test ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ GPAS มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประโยค สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ GPAS มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประโยค สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ธรรมนูญ แสงสว่าง, เด่นดาว ชลวิทย์, เพชร วิจิตรนาวิน Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/271122 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 ระบบนิเวศของระบบเกษตรอัจฉริยะกับการกำกับดูแลข้อมูลเกษตรกรรม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275057 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระบบนิเวศของระบบเกษตรอัจฉริยะ และ (2) เสนอแนวทางการกำกับดูแลข้อมูลเกษตรกรรมที่เหมาะสม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยด้วยเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้ประสานงานโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในกรอบนโยบายด้านการเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อให้การศึกษาตามวัตถุประสงค์ของบทความฉบับนี้มีความชัดเจน งานวิจัยจำนวนหลายฉบับได้ถูกนำมาศึกษาเพื่อค้นหาผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการกำหนดมาตรการกำกับดูแลข้อมูลเกษตรกรรมที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบเกษตรอัจฉริยะประกอบไปด้วยแพลตฟอร์ม ผู้ใช้บริการ และอาสาสมัคร ดังนั้น ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะว่าในการกำหนดมาตรการกำกับดูแลข้อมูลเกษตรกรรมในระบบเกษตรอัจฉริยะ จะต้องคำนึงถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าว เพื่อให้การกำกับดูแลข้อมูลเกษตรกรรมในระบบเกษตรอัจฉริยะต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และเป็นกลไกให้ผู้ใช้บริการและอาสาสมัครได้เข้ามามีส่วนร่วมในข้อมูลดังกล่าว</p> ภคพร ลาวัณย์ประเสริฐ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275057 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพี่เลี้ยง ในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/274312 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการทำงานและคุณภาพชีวิตการทำงานของพี่เลี้ยงในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพี่เลี้ยงในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ พี่เลี้ยง จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า พี่เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 46-55 ปี มีสถานภาพสมรส มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/เทียบเท่า มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 1-10 ปี รายได้ต่อเดือน 10,001-15,000 บาท จำนวนวันหยุดต่อเดือน 13-15 วัน ลักษณะการเข้า-ออกเวรการปฏิบัติงาน เข้าทำงาน 2 วัน หยุดพัก 2 วัน มีคู่เวร อยู่เวรร่วมกัน 2 คน แรงจูงใจในการทำงานของพี่เลี้ยงในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากและรายด้าน มีเพียงด้านเงินเดือนที่อยู่ในระดับปานกลาง คุณภาพชีวิตการทำงานของพี่เลี้ยงในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากและรายด้าน มีด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงานและด้านค่าตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอที่อยู่ในระดับปานกลาง แรงจูงใจในการทำงานมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพี่เลี้ยงในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของพี่เลี้ยงในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พบว่า ควรปรับอัตราค่าจ้าง/ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น เพื่อตอบแทนการทำงานในภาวะยากลำบากและเสี่ยงอันตราย จัดสรรอัตราบรรจุพนักงานราชการ เพื่อดึงดูดและรักษาคนทำงานให้อยู่กับองค์กรไปนานๆ และมีการสนับสนุนให้มีการอบรมเสริมความรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน</p> รุ่งสิฐฐี นุราช, พงษ์เทพ สันติกุล, ไททัศน์ มาลา Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/274312 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/271837 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การรู้ดิจิทัลสำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 1 และ (2) แนวทางการส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 274 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของครูแต่ละอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการรู้ดิจิทัลสำหรับครูที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์แนวทางการรู้ดิจิทัลสำหรับครู กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้มา โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การรู้ดิจิทัลสำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาแนวทางการส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครู พบว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ควรจัดอบรมให้ความรู้และทักษะที่จำเป็นให้กับครู มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร จัดการประกวดผลงาน และการสร้างเครือข่ายครูแกนนำ ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมสนับสนุนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) มีระบบฐานข้อมูลหลักของโรงเรียน และจัดหาสื่อดิจิทัลให้กับครูในโรงเรียน รวมถึงการสร้างบรรยากาศและการติดต่อสื่อสารโดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลภายในองค์กร</p> ปานเรขา เนื้อไม้, สำราญ มีแจ้ง, สถิรพร เชาวน์ชัย Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/271837 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 ความพร้อมสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลของเทศบาลเมืองบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275454 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความพร้อมสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลของเทศบาลเมืองบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และ (2) เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลของเทศบาลเมืองบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้างตามภารกิจ และพนักงานจ้างทั่วไป ของเทศบาลเมืองบางศรีเมือง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) โดยการสุ่มตัวอย่างตามแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) และเลือกเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ให้ความร่วมมือจนครบ จำนวน 149 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี Fisher’s Least Significant Difference (LSD) ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ความพร้อมสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลของเทศบาลเมืองบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้านที่เทศบาลเมืองบางศรีเมืองมีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านกลยุทธ์และความเป็นผู้นำ รองลงมาคือ ด้านวัฒนธรรมองค์การ ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน ด้านความปลอดภัยทางสารสนเทศ ด้านรูปแบบภารกิจ ด้านความสามารถทางดิจิทัล ด้านบริหารประสบการณ์ของผู้รับบริการ และน้อยที่สุดคือ ด้านการส่งเสริมจากภาครัฐ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระดับการศึกษาและประเภทของบุคลากรที่ต่างกันมีความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ของเทศบาลเมืองบางศรีเมืองที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> พรทิพย์ คำฟัก, อรนันท์ กลันทปุระ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275454 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 ความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการในสนามกีฬาพระราเมศวร องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275517 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการสนามกีฬาพระราเมศวร องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี (2) ศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการในสนามกีฬาพระราเมศวร องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการใช้บริการ ในสนามกีฬาพระราเมศวรในสนามกีฬาพระราเมศวร องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนผู้ใช้บริการสนามกีฬา พระราเมศวร องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีความพึงพอใจในการใช้บริการสนามกีฬาพระราเมศวร องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ไม่แตกต่างกัน และตัวแปร ระยะเวลาในการออกกำลังกาย ช่วงเวลา ในการออกกำลังกาย ความถี่ของการเข้ามาใช้บริการ ประเภท การออกกำลังกาย ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจ ในการใช้บริการในสนามกีฬาพระราเมศวร องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดลพบุรี</p> ณฐฤทัยธร หริ่งโสภาพลสิน, จุฑาทิพ คล้ายทับทิม Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275517 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 ความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275480 <p>การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอย ในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยกับความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือประชาชนในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าสถิติ t-test, การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-Way-ANOVA) และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช มีความพึงพอใจต่อการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ในระดับมาก โดยประชาชนมีความพึงพอใจด้านบุคลากรมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่พักอาศัย ต่างกัน ความพึงพอใจต่อการจัดการขยะมูลฝอยไม่ต่างกัน ส่วนประชากรที่มีภูมิลำเนาที่พักอาศัยที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการจัดการขยะมูลฝอยต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจของประของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอย ในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช</p> วิชญารัตน์ เดชสุรางค์, จุฑาทิพ คล้ายทับทิม Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275480 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 คุณลักษณะของผู้จัดการสหกรณ์และประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ออมทรัพย์ กรณีศึกษาสหกรณ์ออมทรัพย์ในมหาวิทยาลัย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/269174 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์คุณลักษณะของผู้จัดการสหกรณ์ ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการบริหารงานสหกรณ์ออมทรัพย์ และ (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจมาตรการกำกับดูแลของภาครัฐกับประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นการวิจัยรูปแบบผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล จากแบบสอบถาม และ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ประชากรใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย สหกรณ์ออมทรัพย์ในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ จำนวน 46 สหกรณ์ ผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะของผู้จัดการสหกรณ์ที่ควรมี คือ มีความรู้ทางด้านสหกรณ์ สามารถวางแผนและกำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป มีความเป็นผู้นำ มีทักษะการสื่อสารที่ดีมีประสิทธิภาพ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความอดทนและเสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรในองค์กร และมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนความพึงพอใจต่อมาตรการกำกับดูแลของภาครัฐ พบว่าในภาพรวมมีความพึงพอใจระดับปานกลาง โดยส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าการกำหนดมาตรการกำกับดูแลของภาครัฐมีส่วนช่วยในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับสมาชิก แต่มีบางส่วนที่ให้ข้อคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับมาตรการกำหนดอายุของผู้จัดการในการสิ้นสุดสัญญาจ้าง อาจจะไม่สัมพันธ์กับสภาพสังคมไทยที่กำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อีกทั้งความรู้ความสามารถของผู้จัดการสหกรณ์เกิดจากการสะสมความรู้และประสบการณ์ในการทำงานสหกรณ์ อาจทำให้สหกรณ์ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ</p> วรรษนันท์ ศักดิ์สงค์, ณคุณ ธรณีนิติญาณ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/269174 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง ศาสนากับสังคมไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272550 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง ศาสนากับสังคมไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) หาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง ศาสนากับสังคมไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง ศาสนากับสังคมไทย และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง ศาสนากับสังคมไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนกันทรวิชัย จำนวน 38 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน t – test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง ศาสนากับสังคมไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 85.89/88.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 80/80 ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง ศาสนากับสังคมไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.81 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง ศาสนากับสังคมไทย นั้นพบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง ศาสนากับสังคมไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> จิตรทิวัส วงษ์หาบุศย์, ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272550 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางการเงินของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275010 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบรายรับและรายจ่ายจริงของงบประมาณแผ่นดินและเงินนอกงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2566 และวิเคราะห์ความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางการเงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2571 ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารรายงานการเงินของงบประมาณแผ่นดินและเงินนอกงบประมาณ ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2566 นำมาวิเคราะห์สรุปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ส่วนการวิเคราะห์ความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางการเงิน ใช้สมการเชิงเส้นแนวโน้มเพื่อพยากรณ์แนวโน้มเชิงเส้นตรงและใช้ดัชนีชี้วัดความเป็นอิสระทางการคลังด้านรายได้ (RII) ผลการศึกษาพบว่า การเปรียบเทียบรายรับและรายจ่ายจริงของงบประมาณแผ่นดินมีรายรับจัดสรรลดลงในขณะที่รายจ่ายจริงเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในส่วนของงบบุคลากร ส่วนเงินนอกงบประมาณมีรายรับสูงกว่ารายจ่ายจริง และการวิเคราะห์ความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางการเงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2571 พบว่า งบประมาณแผ่นดินมีแนวโน้มได้รับการจัดสรรลดลงและรายจ่ายมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยงบบุคลากรได้รับจัดสรรและมีการเบิกจ่ายในสัดส่วนมากที่สุด ในขณะที่เงินนอกงบประมาณมีแนวโน้มรายรับสูงกว่ารายจ่าย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขมีการพึ่งพาตนเองทางการเงินด้านรายได้ของหน่วยงานโดยไม่พึ่งพาการคลังจากรัฐบาลเฉลี่ยร้อยละ 68.62 กล่าวคือ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขมีความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางการเงินอยู่ในระดับปานกลาง</p> โยธกา แสนจี๋, ชิดตะวัน ชนะกุล Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275010 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275588 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จำนวน 335 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test, F-test (One -Way Analysis of Variance) ความแตกต่างรายคู่ LSD และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตามแบบเพียร์สัน กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีความผูกพันต่อองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อทำงานให้องค์กรมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ความเชื่อมั่นและยอมรับในเป้าหมายและค่านิยมขององค์กร และความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะดำรงฐานะสมาชิกขององค์กรต่อไป ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า อายุ อายุราชการแตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลในด้านเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง รายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์กรไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะงาน มีความผูกพันต่อองค์กรในเชิงบวกอยู่ในระดับปานกลาง และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงาน มีความผูกพันต่อองค์กรในเชิงบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญ</p> ทัศนีย์ ปวรวรรฒน์, ศุภพัชร์พิมล สิมลี, ศรีรัฐ โกวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275588 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพของบริษัทรักษาความปลอดภัยในยุคดิจิทัล https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/274318 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการพัฒนาศักยภาพบริษัทรักษาความปลอดภัยยุคดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม และ (2) ศึกษาวิเคราะห์วิธีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรรักษาความปลอดภัยในยุคดิจิทัลและการฝึกอบรมเทคโนโลยีสารสนเทศ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 35 ท่าน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล แบ่งเป็นสามกลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในสาขาความปลอดภัย ผู้บริหารและผู้จัดการในบริษัทที่ให้บริการรักษาความปลอดภัย และบุคลากรที่ทำงานในบริษัทที่ให้บริการรักษาความปลอดภัย วิเคราะห์ข้อมูลจะใช้วิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า (Triangulation) ผลการวิจัยพบว่า การนำเทคโนโลยีใหม่ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics), และ Internet of Things (IoT) มาใช้ในการให้บริการรักษาความปลอดภัย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยให้บริษัทสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อนและตรวจจับพฤติกรรมที่ผิดปกติได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ การเชื่อมต่อและควบคุมอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยผ่าน IoT ช่วยให้การตรวจสอบและตอบสนองต่อเหตุการณ์เป็นไปอย่างทันทีและมีประสิทธิภาพ และ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ การฝึกอบรมที่มีคุณภาพและการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กรช่วยให้บุคลากรมีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงาน การสนับสนุนการเรียนรู้และการแบ่งปันความรู้ในองค์กรช่วยให้บุคลากรสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การจัดการทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพและการสนับสนุนจากผู้บริหารยังเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรอีกด้วย จากผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาบริษัทที่ให้บริการรักษาความปลอดภัยในยุคดิจิทัลให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> บุญเรือน ทองทิพย์ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/274318 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บัตรเครดิตธนาคารกรุงศรีอยุธยาในเขตกรุงเทพมหานคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/274334 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บัตรเครดิตธนาคารกรุงศรีอยุธยาในเขตกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บัตรเครดิตของธนาคารกรุงศรีอยุธยาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยคือ ลูกค้าผู้ใช้บริการของธนาคารกรุงศรีอยุธยาที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์ ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20-29 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานเอกชน และรายได้ต่อเดือน 15,000-25,000 บาท และผลการตัดสินใจเลือกใช้บัตรเครดิตธนาคารกรุงศรีอยุธยา ผู้ที่เลือกใช้บัตรเครดิตธนาคารกรุงศรีอยุธยา (ร้อยละ 56.25) โดยให้เหตุผลในการเลือกใช้บัตรเครดิตธนาคารกรุงศรีอยุธยา คือ ระบบมีความปลอดภัยจากปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์มากที่สุด และผู้ที่ไม่เลือกใช้บัตรเครดิตธนาคารกรุงศรีอยุธยา (ร้อยละ 43.75) โดยมีสาเหตุมาจากขั้นตอนการสมัครและการอนุมัติบัตรเครดิตธนาคารกรุงศรีอยุธยาล่าช้ามากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บัตรเครดิตธนาคารกรุงศรีอยุธยาในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ เพศ รายได้ต่อเดือน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา ด้านกระบวนการ และด้านลักษณะทางกายภาพมีความสัมพันธ์ในทิศทางเชิงบวก</p> พัฏฐ์ณิชา เครือวงค์, วุฒิยา สาหร่ายทอง Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/274334 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านโคกมะม่วงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272565 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกมะม่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกมะม่วง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ครู 9 คน หัวหน้างานกิจการนักเรียน 1 คน กรรมการสถานศึกษา 1 คน ผู้ปกครองนักเรียน 2 คน คณะกรรมการนักเรียน 2 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล แบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า สภาพคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียน มีการปฏิบัติตามปกติ แต่มีบางส่วนที่ยังไม่เข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง การปฏิบัติไม่ค่อยพร้อมเพรียงกัน และปฏิบัติไม่ยั่งยืน โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมส่งเสริม โดยสอดแทรกตัวชี้วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้วยการจัดบูรณาการการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทุกด้าน แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียน ประกอบด้วย 1) สร้างค่านิยมเรื่องความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2) ปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริต 3) ส่งเสริมความมีวินัย 4) ส่งเสริมเรื่องใฝ่เรียนรู้ 5) ส่งเริมการอยู่อย่างพอเพียง 6) ส่งเสริมความมุ่งมั่นในการทำงาน 7) สร้างค่านิยมเรื่องรักความเป็นไทย 8) ปลูกฝังให้มีจิตสาธารณะ และ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 1) ปลูกฝังความพอประมาณ 2) ปลูกฝังความมีเหตุผล 3) สร้างความเข้าใจในการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว 2 เงื่อนไข 1) สร้างความเข้าใจเรื่องเงื่อนไขความรู้ 2) สร้างความเข้าใจเรื่องเงื่อนไขคุณธรรม แนวทางดำเนินการใช้วงจรคุณภาพในการดำเนินงานทุกขั้นตอน</p> วัชระ ทรัพย์ส่ง, บุญเลิศ วีระพรกานต์, สามิตร อ่อนคง Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272565 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนอาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนเครือข่ายของวิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272575 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนอาชีพในโรงเรียนเครือข่ายของวิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช (2) ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนอาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนเครือข่ายของวิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 15 คน สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์และแบบประเมินรูปแบบการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนอาชีพในโรงเรียนเครือข่ายของวิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช มีปัญหาเกิดจากขาดความพร้อมด้านครูผู้สอน การดำเนินการด้านหลักสูตรที่ยังไม่สมบูรณ์และไม่เหมาะสมกับผู้เรียน การจัดการด้านงบประมาณที่ไม่เพียงพอ ขาดความพร้อมของผู้เรียน การสร้างความร่วมมือกับสถานประกอบการและการประสานงานระหว่างวิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราชกับโรงเรียนเครือข่ายยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนอาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนเครือข่ายของวิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบที่เชื่อมโยงกัน คือ 1) การจัดการเรียนรู้ห้องเรียนอาชีพ 2) การพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น 3) การมีส่วนร่วมของสถานประกอบการ การนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนอาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนเครือข่ายของวิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช พบว่า เป็นไปได้ มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนอาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนเครือข่ายให้มีความรู้ มีทักษะอาชีพและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในการสร้างอาชีพได้</p> เอกชัย ศุภเกียรติสุนทร, มะลิวัลย์ โยธารักษ์, พระครูพิจิตรศุภการ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272575 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 1 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/274791 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความรู้ของข้าราชการรตำรวจ (2) ศึกษาระดับความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจ (3) เปรียบเทียบความก้าวหน้าในอาชีพข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบังคับการ อำนวยการตำรวจภูธร ภาค 1 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการตำรวจสังกัดกองบังคับการ อำนวยการภูธรภาค 1 จำนวนทั้งสิ้น 119 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติการทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ข้าราชการตำรวจสังกัดกองบังคับการ อำนวยการภูธรภาค 1 มีความคิดเห็นต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจอยู่ในระดับมาก จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ประกอบธุรกิจจัดหาแรงงานไทยไปต่างประเทศที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุราชการ ระดับชั้นยศ และสถานภาพที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบังคับการ อำนวยการตำรวจภูธร ภาค 1 แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านอายุ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบังคับการ อำนวยการตำรวจภูธร ภาค 1 ไม่แตกต่างกัน และปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าในอาชีพข้าราชการตำรวจที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบังคับการ อำนวยการตำรวจภูธร ภาค 1 ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> อริย์ธัช เดชาธรอมร, อรนันท์ กลันทปุระ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/274791 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/273656 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา (2) ศึกษาประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษา และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ประชากรคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ปีการศึกษา 2566 จำนวน 3347 คน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ปีการศึกษา 2566 รวมทั้งสิ้น 358 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากสูตร ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความคาดเคลื่อนในการสุ่ม .05 และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารและประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สมรรถนะของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อยู่ในเกณฑ์ระดับสูง (r =.722**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> ปรเมศ กงอินทร์, ยุทธศาสตร์ กงเพชร Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/273656 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/273516 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา และ (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 20 คน และครูจำนวน 338 คน รวมทั้งสิ้น 358 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็น (Priority Needs Index : PNI) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น มีสภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีลำดับความต้องการจำเป็น ดังนี้ 1) ด้านการนิเทศการศึกษาและให้คำปรึกษา 2) ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ 3) ด้านการจัดการหลักสูตรและการสอน 4) ด้านการบริหารจัดการ และ 5) ด้านการวางแผนงานวิชาการและกำหนดพันธกิจ แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น มี 5 ด้าน 25 แนวทาง ประกอบด้วย 1) ด้านการนิเทศการศึกษาและให้คำปรึกษา 5 แนวทาง 2) ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ 5 แนวทาง 3) ด้านการจัดการหลักสูตรและการสอน 5 แนวทาง 4) ด้านการบริหารจัดการ 5 แนวทาง และ 5) ด้านการวางแผนงานวิชาการและกำหนดพันธกิจ 5 แนวทาง</p> ชวพร จิมขุนทด, อาคม อึ่งพวง Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/273516 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสาธงหิน จังหวัดนนทบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275735 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสาธงหิน จังหวัดนนทบุรี (2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสาธงหิน จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามปัจจัยนำ และปัจจัยเสริม และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเอื้อกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาล ตำบลเสาธงหิน จังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสาธงหิน รวมทั้งสิ้น 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ 200 คน และแบบโควต้า 200 คน โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบไคสแควร์ และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ภายหลังด้วยวิธีการทดสอบของฟิชเชอร์ ผลการศึกษาพบว่าระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ประกอบด้วย ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยนำและปัจจัยเสริมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกในครอบครัว รูปแบบของบ้าน ที่อยู่อาศัย ยานพาหนะที่ใช้ อาชีพที่ทำก่อนเกษียณ รายได้ปัจจุบันต่อเดือน และการรับรู้สุขภาวะด้านสุขภาพของตนเอง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ ปัจจัยเอื้อ การดูแลจากครอบครัวและการดูแลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการรับรู้สุขภาวะด้านสุขภาพให้ผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ ทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจ ให้แก่ผู้สูงอายุและสังคมในวงกว้างต่อไป</p> พัชร์ลิตา กัมพลบวรวัฒน์, พรพรรณ เหมะพันธุ์ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275735 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/265807 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน (2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตาม เพศ วิทยฐานะ ประสบการณ์การทำงาน ขนาดของโรงเรียน เพศของผู้บริหาร และวิทยฐานะของผู้บริหาร และ (3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนตามการรับรู้ของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 331 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนของครูในแต่ละโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับดี ครูที่มีเพศ ประสบการณ์การทำงานต่างกัน อยู่ในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน และมีผู้บริหารที่มีเพศ วิทยฐานะต่างกัน มีการรับรู้ต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารไม่แตกต่างกัน ส่วนครูที่มีวิทยฐานะต่างกัน มีการรับรู้ต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัญหาและข้อเสนอแนะ ผู้บริหารบางส่วนไม่เปิดโอกาสให้ครูได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ปัญหาของโรงเรียนร่วมกัน และยังไม่ได้ส่งเสริมและสร้างความกระตือรือร้นให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้ครูได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น รับฟังข้อเสนอแนะ ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม และสร้างแรงจูงใจร่วมกันในการปฏิบัติงานอย่างเต็มศักยภาพ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญ เพื่อสร้างความสำเร็จร่วมกัน</p> สุธารัตน์ ชำนาญเหนาะ, บุญเลิศ ธานีรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/265807 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 การบริหารงานกลุ่มบริหารทั่วไปด้วยวงจรคุณภาพของโรงเรียนทุ่งสง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272569 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการบริหารงานกลุ่มบริหารทั่วไปของโรงเรียนทุ่งสง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช (2) ศึกษาแนวทางการบริหารงานกลุ่มบริหารทั่วไปด้วยวงจรคุณภาพ ของโรงเรียนทุ่งสง และ (3) นำเสนอและประเมินแนวทางการบริหารงานกลุ่มบริหารทั่วไปด้วยวงจรคุณภาพของโรงเรียนทุ่งสง การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นตอนการศึกษาสภาพการบริหารงานโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) ขั้นตอนการศึกษาแนวทางใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ 3) ขั้นตอนการนำเสนอแนวทางใช้การประชุมสนทนากลุ่มโดยใช้แบบประเมินการสนทนากลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัยวิธี ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารงานกลุ่มบริหารทั่วไปของโรงเรียนทุ่งสง ประกอบด้วยกลุ่มงาน 4 กลุ่มงาน ดังนี้ 1) กลุ่มงานสำนักงาน 2) กลุ่มงานประชาสัมพันธ์และวารสาร 3) กลุ่มงานบริหารอาคารสถานที่และภูมิทัศน์ และ 4) กลุ่มงานบริการ ซึ่งมีสภาพภาระงานไม่สัมพันธ์กับจำนวนผู้รับผิดชอบและมีข้อจำกัดในด้านงบประมาณและการบริการ แนวทางการบริหารงานกลุ่มบริหารทั่วไปด้วยวงจรคุณภาพ ของโรงเรียนทุ่งสง ประกอบด้วย 4 กลุ่มงาน ดังนี้ 1) กลุ่มงานสำนักงาน 2) กลุ่มงานประชาสัมพันธ์และวารสาร 3) กลุ่มงานบริหารอาคารสถานที่และภูมิทัศน์ และ 4) กลุ่มงานบริการ ใช้แนวทางการบริหารงานด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) ได้แก่ 1) การวางแผน (P = Plan) 2) การปฏิบัติตามแผน (D = Do) 3) การตรวจสอบ (C = Check) และ 4) การปรับปรุงแก้ไข (A = Act) การนำเสนอและประเมินแนวทางการบริหารงานกลุ่มบริหารทั่วไปด้วยวงจรคุณภาพ ของโรงเรียนทุ่งสง ผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่มทุกคนมีความเห็นว่า มีความเป็นไปได้ เหมาะสม และเป็นประโยชน์</p> ภักดี อ่อนเกตุพล, พระครูพิจิตรศุภการ, มะลิวัลย์ โยธารักษ์ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272569 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ใช้บริการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272287 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้บริการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีและความคิดเห็นผู้ใช้บริการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การศึกษา คือ ผู้ใช้บริการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่อาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งทำงานในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน หรือบุคคลที่อยู่ใกล้ชิด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 385 ตัวอย่าง และค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิธีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีรายได้จากเงินเดือนอย่างเดียว ส่วนใหญ่จะใช้วิธียื่นภาษีแบบออนไลน์ ส่วนผู้ที่ยื่นแบบฟอร์มกระดาษ เพียงร้อยละ 2.9 การใช้ระบบ “My Tax Account” ช่วยตรวจสอบค่าลดหย่อนภาษี มีสัดส่วนยังไม่มาก คิดเป็นร้อยละ 22.6 การใช้โปรแกรมช่วยคำนวณ “RD Payroll 90/91” และระบบ “My Tax Account” พบมากในช่วงอายุ 41 ปีขึ้นไป ซึ่งมีรายได้ต่อเดือนประมาณ 40,000 บาทขึ้นไป ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า อายุ รายได้ต่อเดือน การใช้โปรแกรม “RD Payroll 90/91” การใช้ระบบ “My Tax Account” มีผลต่อพฤติกรรมการยื่นภาษีแบบออนไลน์ และปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ใช้บริการยื่นภาษี พบว่า ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ด้านการรับรู้ประโยชน์ที่ได้รับ ด้านอิทธิพลทางสังคม มีผลต่อการใช้บริการยื่นภาษีออนไลน์ในระดับมาก โดยด้านการรับรู้ประโยชน์ที่ได้รับอยู่ในระดับมากที่สุด เพราะเห็นว่าการยื่นภาษีแบบออนไลน์มีความถูกต้อง และช่วยให้สามารถใช้บริการไม่เว้นวันหยุดราชการ/นอกเวลาราชการได้ ส่วนผู้เสียภาษียังมีความเห็นด้วยระดับมาก ว่าการยื่นภาษีแบบออนไลน์ มีความสะดวก แต่มีบางหัวข้อเห็นด้วยระดับปานกลาง คือ การใช้ระบบ “My Tax Account”</p> ณัฏฐนิช สังหิตกุล, เอกลักษณ์ ไชยภูมี Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272287 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272572 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานสารสนเทศ (2) นำเสนอและประเมินแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ ได้แก่วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานสารสนเทศ มีการใช้ระบบสารสนเทศ 5 ขั้นตอน (1) การเก็บรวบรวมข้อมูล (2) การตรวจสอบข้อมูล (3) การประมวลผลข้อมูล 4) การจัดเก็บข้อมูล (5) การนำข้อมูลไปใช้ มีการดำเนินงานสารสนเทศทั้ง 5 ขั้นตอน แต่ยังไม่รวดเร็วและเป็นปัจจุบัน การนำเสนอและประเมินแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ มี 5 ขั้นตอน (1) การเก็บรวบรวมข้อมูล มีการกำหนดรายการข้อมูลที่ต้องการ กำหนดวิธีการเก็บ มีผู้รับผิดชอบ สร้างรูปแบบการเก็บ และมีการรายงานความคืบหน้า (2) การตรวจสอบข้อมูล กำหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้ดูแลระบบ รวบรวมข้อมูล กำหนดวิธีการ มีการปรับปรุง/แก้ไขข้อมูล (3) การประมวลผลข้อมูล มีการวางแผนใช้เครื่องมือและรายงานผล (4) การจัดเก็บข้อมูล สร้างระบบและจัดประเภทของข้อมูล เลือกวิธีจัดเก็บ และจัดทำคู่มือการใช้ (5) การนำข้อมูลไปใช้ สร้างระบบงานวิชาการ กำหนดสิทธิ์ในการใช้/เข้าระบบ และมีการเผยแพร่ข้อมูล นำมาใช้กับขอบข่ายการบริหารงานบริหารวิชาการ 5 ด้านคือ (1) ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา (2) ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา (3) ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน (4) ด้านการนิเทศการศึกษา (5) ด้านพัฒนาและแหล่งเรียนรู้ ที่ทำให้รวดเร็ว ถูกต้อง และทันสมัย ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่ามีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ เป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้</p> สมชาย ทิพย์มนตรี, พระครูสุเมธปริยัติคุณ, กษมา ศรีสุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272572 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 การบริหารความเสี่ยงศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนของวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272735 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารความเสี่ยงศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (3) เพื่อนำเสนอและประเมินการบริหารความเสี่ยงศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน ของวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานีการศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน สัมภาษณ์เชิงลึกในการร่างแนวทางจำนวน 5 คน สนทนากลุ่มจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Focus Group) จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน ของวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี นั้นมีการสำรวจพื้นที่การให้บริการ แต่ไม่ครอบคลุมทุกการให้บริการ และการจัดการบริหารศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน สภาพปัจจุบัน มีความเสี่ยงในด้านการออกให้บริการ งบประมาณมีจำกัด จำนวนครูมีไม่เพียงพอ ประชาชนมีเวลาในการเข้าร่วมอบรมน้อย แนวทางการบริหารความเสี่ยงศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนของวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ขอบข่ายการบริหารศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน ประกอบด้วย 1) สภาพแวดล้อมภายในองค์กร 2) การกำหนดวัตถุประสงค์ 3) การบ่งชี้เหตุการณ์ 4) การประเมินความเสี่ยง 5) การตอบสนองความเสี่ยง 6) กิจกรรมควบคุม 7) สารสนเทศและการสื่อสาร 8) การติดตามประเมินผล ผลการนำเสนอและประเมินแนวทางการบริหารความเสี่ยงศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน ของวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสม และเป็นประโยชน์ โดยมีข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่มว่า แนวทางใช้ได้จริงในการบริหารความเสี่ยงศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน ของวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี และสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางของวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา</p> เศรษฐกิจ บาลเมือง, สามิตร อ่อนคง, บุญเลิศ วีระพรกานต์ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272735 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272820 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความเป็นองค์การสมรรถนะสูง ของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความเป็นองค์การสมรรถนะสูง ของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ กับระดับความเป็นองค์การสมรรถนะสูง ของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นต่อความเป็นองค์การสมรรถนะสูงในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเปิดกว้างและเชื่อมโยงถึงกัน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ผลการเปรียบเทียบระดับความเป็นองค์การสมรรถนะสูง จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า อายุ ประเภทตำแหน่ง และอายุงานที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความเป็นองค์การสมรรถนะสูงแตกต่างกัน การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐมีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับสูงกับความเป็นองค์การสมรรถนะสูง นอกจากนี้พบว่า ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับสูงกับความเป็นองค์การสมรรถนะสูงมากที่สุด</p> ณิชารีย์ เกิดแสง, เอกลักษณ์ ไชยภูมี Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272820 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 การบริหารกิจกรรมสภานักเรียนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านชะอวด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272559 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการบริหารกิจกรรมสภานักเรียน โรงเรียนบ้านชะอวด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 (2) ศึกษากระบวนการบริหารกิจกรรมสภานักเรียนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านชะอวด (3) นำเสนอและประเมินกระบวนการบริหารกิจกรรม สภานักเรียน เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านชะอวด การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู นักเรียน ผู้ปกครองผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียนบ้านชะอวด จำนวน 160 คน เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน ผู้ให้ข้อมูลเชิงลึก จำนวน 5 คน สนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียนบ้านชะอวด มีองค์ประกอบและมีผลการดำเนินการดังนี้ (1) การวางแผนงานกิจกรรมสภานักเรียนขาดการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (2) การจัดโครงสร้างตำแหน่งงานกิจกรรมสภานักเรียนไม่มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนเหมาะสมกับความสามารถ (3) การสั่งการงานกิจกรรม สภานักเรียน (4) การประสานงานกิจกรรมสภานักเรียน (5) การควบคุมบริหารจัดการงานกิจกรรมสภานักเรียนเป็นหน้าที่หลักของครูที่ปรึกษาสภานักเรียน กระบวนการบริหารกิจกรรมสภานักเรียน เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านชะอวด ดำเนินงานทั้งหมด 5 ขั้นตอน โดยทุกขั้นตอนดำเนินการร่วมกันโดยใช้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการประกอบด้วย 1) การวางแผนงานควรส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 2) การจัดโครงสร้างตำแหน่งงานควรกำหนดบทบาทหน้าที่ ที่ชัดเจน เหมาะสมกับความสามารถ 3) การสั่งการควรประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินงาน 4) การประสานงานควรสร้างเครือข่ายการดำเนินงานทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา 5) การควบคุมบริหารจัดการงานควรมีแผนในการบริหารจัดการที่ครอบคลุมและมีการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบการบริหารกิจกรรมสภานักเรียน เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านชะอวดนั้น ในการร่วมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นตรงกันว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้</p> ชลัมพล วิเชียรนรา, สามิตร อ่อนคง, บุญเลิศ วีระพรกานต์ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272559 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเกาะลิบง จังหวัดตรัง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/274260 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เคยเดินทางและไม่เคยเดินทางมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเกาะลิบง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยวคนไทยที่เคยเดินทางมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเกาะลิบง จำนวน 400 คน และนักท่องเที่ยวคนไทยที่ไม่เคยเดินทางมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเกาะลิบง จำนวน 200 คน การวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้สถิติอย่างง่าย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เคยเดินทางมาเที่ยวแหล่งท่องชุมชนเกาะลิบง ส่วนใหญ่เดินทางมาเที่ยวเป็นครั้งแรก หรือ 1 ครั้ง ส่วนมากเดินทางมาเที่ยวกันแบบครอบครัว แบบพักค้างคืน 2 วัน 1 คืน คนในครอบครัวมีอิทธิพลมากที่สุดในการเลือกมาเที่ยว มีการวางแผนการเที่ยวด้วยตัวเองเป็นส่วนใหญ่ รู้จักชุมชนเกาะลิบงจากเพื่อน/ญาติ มาเที่ยวเพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ จากการศึกษาความสัมพันธ์พบว่า การเคยเดินทางมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเกาะลิบงและเพศ อายุ จังหวัดที่อาศัยอยู่ปัจจุบัน อาชีพ รายได้ต่อเดือน สถานภาพ มีความสัมพันธ์กันที่ระดับนัยสำคัญที่ 5% หรือที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95% สำหรับผลการแนะนำ/บอกต่อ ของนักท่องเที่ยวที่เคยเดินทางมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเกาะลิบง พบว่า นักท่องเที่ยวให้คะแนนด้านอาหารเป็นอันดับที่หนึ่ง รองลงมา ได้แก่ ภาพรวมในการมาเที่ยวเกาะลิบง กิจกรรมต่าง ๆ บนเกาะ และที่พัก ตามลำดับ ดังนั้นจากผลการศึกษาจังหวัดตรังควรมีการประชาสัมพันธ์ เช่น การจัดกิจกรรมอาหารท้องถิ่นช่วงเทศกาลท่องเที่ยวของจังหวัดตรัง หรือพัฒนาเว็บไซต์ให้หาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเกาะลิบงได้ง่าย เพื่อเป็นทางเลือกและการตัดสินใจในการวางแผนการเดินทางมาเที่ยว ถ้ามีการปรับปรุง และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเกาะลิบงให้เป็นที่รู้จัก จะทำให้ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวเพิ่มขึ้น และเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับทั้งประเทศ จังหวัด และคนในชุมชน</p> ชญากาณฑ์ จิตร์ชูชื่น, กุลภา กุลดิลก, ภาสกร ธรรมโชติ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/274260 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 พฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมงานอีสปอร์ต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/274778 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรและประเภทของสื่อออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมงานอีสปอร์ต และ (2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมงานอีสปอร์ต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือประชากรชาวไทยช่วงอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่มีประสบการณ์ในการเข้าร่วมชมงานอีสปอร์ต โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน คือ F-test (One - Way Analysis of Variance) และสถิติวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ด้านการเปิดรับประสบการณ์มากที่สุด รองลงมาคือด้านการเปิดรับข้อมูลและด้านการแสวงหาข้อมูล กลุ่มตัวอย่างมีการตัดสินใจเข้าร่วมงานอีสปอร์ต ด้านการตัดสินใจเข้าร่วมมากที่สุด รองลงมาคือด้านการรับรู้ปัญหาหรือความต้องการ และรองลงมาคือด้านการค้นข้อมูลหรือแสวงหาข้อมูลและด้านการประเมินทางเลือก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านประชากรด้าน อายุ อาชีพ และด้านรายได้ มีการตัดสินใจเข้าร่วมงานอีสปอร์ตแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยด้านประชากรด้านเพศ ระดับการศึกษา มีการตัดสินใจเข้าร่วมงานอีสปอร์ตไม่แตกต่างกัน และพฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมงานอีสปอร์ต ได้แก่ ด้านการแสวงหาข้อมูล ด้านการเปิดรับข้อมูล และด้านการเปิดรับประสบการณ์ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมงานอีสปอร์ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> พิมพ์ลภัส เถื่อนอิ่ม, จิตพนธ์ ชุมเกตุ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/274778 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 ทัศนคติของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครต่อการบังคับใช้นโยบายตัดแต้มใบอนุญาตขับขี่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275067 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครต่อการบังคับใช้นโยบายการตัดแต้มใบอนุญาตขับขี่ (2) เพื่อศึกษาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบังคับใช้นโยบายการตัดแต้มใบอนุญาตขับขี่และ (3) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่มีต่อการบังคับใช้นโยบายการตัดแต้มใบอนุญาตขับขี่จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การศึกษาด้วยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม เก็บจากการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีบังเอิญจำนวน 400 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานและการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า ทัศนคติของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครต่อการบังคับใช้นโยบายตัดแต้มใบอนุญาตขับขี่ อยู่ในระดับที่มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านช่องทางการชำระค่าปรับและตรวจสอบข้อมูลมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านความเหมาะสมของนโยบายการตัดแต้มใบอนุญาตขับขี่ และด้านประสิทธิภาพของนโยบายการตัดแต้มใบอนุญาตขับขี่เป็นลำดับสุดท้าย ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของทัศนคติของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครต่อการบังคับใช้นโยบายตัดแต้มใบอนุญาตขับขี่ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ยาพาหนะ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 โดยมีข้อเสนอแนะ ควรให้รัฐบาลเพิ่มข้อกำหนดอื่น เช่น การเพิ่มบทลงโทษจากการขับรถฝ่าฝืนกฎจราจร การเพิ่มอัตราค่าปรับ และต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์ของการบังคับใช้มาตรการตัดแต้มใบขับขี่</p> ธนพล เกตุพันธุ์, ลดาวัลย์ ไข่คำ, วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275067 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 ส่วนประสมการตลาด 4Es ที่มีอิทธิพลในการเข้าร่วมงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275092 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาด 4Es ที่มีอิทธิพลในการเข้าร่วมงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง (2) เพื่อศึกษาคุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลในการเข้าร่วมงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน คือ สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.9 มีอายุระหว่าง 18 – 26 ปี ร้อยละ 50 ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 70.6 ประกอบอาชีพ นักเรียนหรือนักศึกษา ร้อยละ 34.9 มีรายได้หรือรายรับต่อเดือนอยู่ที่ 15,001 – 25,000 บาท และอาศัยอยู่ในอำเภอเมืองสมุทรปราการ ร้อยละ 39.8 ส่วนประสมการตลาด 4Es มีอิทธิพลในการเข้าร่วมงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ร้อยละ 55.4 โดยด้านการสร้างความสัมพันธ์มีอิทธิพลมากที่สุด รองลงมาด้านความคุ้มค่า การสร้างประสบการณ์ และด้านการเข้าถึงผู้บริโภค ตามลำดับ คุณภาพการบริการ ประกอบด้วย ความเอาใจใส่ และความน่าเชื่อถือ มีอิทธิพลในการเข้าร่วมงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ร้อยละ 42.7</p> ศุภิสรา ว่องอัครัชสกุล, สันติธร ภูริภักดี Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275092 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของการลงทุนซื้อแฟรนไชส์ ร้านชานมไข่มุกคอลลาเจนคอลล่าที https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275156 <p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทน รวมถึงการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินและความอ่อนไหวของการลงทุนซื้อแฟรนไชส์ร้านชานมไข่มุกคอลลาเจนคอลล่าที โดยใช้ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ร้านชานมไข่มุกคอลลาเจนคอลล่าทีในพื้นที่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี จำนวน 3 คน รวมถึงข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ มานำเสนอแบบบรรยายในเชิงพรรณนา และทำการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินและความอ่อนไหวของโครงการ ผลการศึกษาพบว่า ในการดำเนินกิจการร้านแฟรนไชส์ที่มีอายุโครงการ 5 ปี และมีการจ้างพนักงาน 2 คน โดยเปิดให้บริการทุกวันทั้งหน้าร้านและเดลิเวอรี่ โครงการมีต้นทุนเป็นค่าใช้จ่ายทางด้านการลงทุน 548,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายทางด้านการดำเนินงานต่าง ๆ โดยมีผลตอบแทนเริ่มต้นปีละ 985,500 บาท อัตราการเติบโตของยอดขายร้อยละ 5 ต่อปี ผลการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน เมื่อต้นทุนเงินทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของโครงการ (WACC) เท่ากับร้อยละ 9.34 ต่อปี พบว่า โครงการมีความคุ้มค่าทางการเงิน โดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 96,886.39 บาท อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR) เท่ากับ 1.02 อัตราผลตอบแทนภายในของโครงการ (IRR) เท่ากับร้อยละ 14.92 ต่อปี ระยะเวลาคืนทุน (PB) เท่ากับ 3.81 ปี และมีจุดคุ้มทุน (BEP) 34 แก้วต่อวัน ผลการวิเคราะห์ความอ่อนไหวพบว่า ต้นทุนสามารถเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละ 2.36 และผลตอบแทนสามารถลดลงได้ไม่เกินร้อยละ 2.30 ซึ่งทำให้โครงการยังคงมีความคุ้มค่าทางการเงิน และมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ของโครงการมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าวัตถุดิบมากที่สุด ดังนั้น ผู้ประกอบการที่สนใจในการลงทุนซื้อแฟรนไชส์ร้านชานมไข่มุกคอลลาเจนคอลล่าทีหรือยี่ห้ออื่น ๆ ควรตะหนักถึง ค่าวัตถุดิบที่อาจเปลี่ยนแปลงไป และให้ความสำคัญต่อสถานที่ตั้งของร้าน โดยมีค่าเช่าที่ที่เหมาะสม เพื่อเป็นการเพิ่มยอดขายและลดค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด</p> ดลญา วันทนัง, ธีรศักดิ์ ทรัพย์วโรบล Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275156 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 วัฒนธรรมองค์การและความสุขในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275429 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล (2) เพื่อเปรียบเทียบความสุขในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมพันธกิจกับความสุขในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 447 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการ รวมทั้งสิ้น 207 คน ซึ่งมีการคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน รวมทั้งการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ภายหลังด้วยวิธีการทดสอบของ Fisher ผลการศึกษาพบว่า ระดับความสุขในการปฏิบัติงานของข้าราชการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความสัมพันธ์ในการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน ด้านการเป็นที่ยอมรับ และด้านความรักในงาน ปัจจัยส่วนบุคคลไม่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 วัฒนธรรมพันธกิจ ด้านความมุ่งมั่นต่อวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ ด้านค่านิยมใฝ่สัมพันธ์ และด้านการมีส่วนร่วมแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีความสัมพันธ์กับความสุขในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ข้อเสนอแนะในการศึกษา ได้แก่ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล มีวัฒนธรรมพันธกิจ ด้านค่านิยมใฝ่สัมพันธ์ เป็นอย่างดี จึงควรรักษาค่านิยมดังกล่าวไว้ แต่ควรยกระดับ ด้านความมุ่งมั่นต่อวิสัยทัศน์และพันธกิจ โดยมีการประชาสัมพันธ์ด้านวิสัยทัศน์ และพันธกิจผ่านช่องทางที่หลากหลาย ในขณะที่ด้านการมีส่วนร่วมแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ข้าราชการควรให้ความร่วมมือในการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ และยุทธศาสตร์ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล</p> กรรณิกา ลอยล่อง, พรพรรณ เหมะพันธุ์ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275429 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 การบริหารเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจค้าปลีกปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275162 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการการบริหารเงินทุนหมุนเวียนรวมถึงปัญหาทางด้านการเงินที่เกิดขึ้นของผู้ประกอบการค้าปลีกปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ประกอบการร้านค้าปลีกปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรจำนวนทั้งสิ้น 15 คน เป็นเพศชาย 8 คน เพศหญิง 7 คน มีอายุระหว่าง 42-68 ปี และอยู่ในธุรกิจนี้เป็นเวลา 8-34 ปี และใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการมีการบริหารเงินทุนหมุนเวียนทั้ง 4 ด้านได้แก่ การบริหารเงินสด การบริหารสินค้า การบริการลูกหนี้ และการบริหารเจ้าหนี้ แต่ส่วนใหญ่มีการบริหารเงินทุนหมุนเวียนไม่ตรงตามหลักการบริหารเงินทุนหมุนเวียน เช่น ไม่มีการจัดทำงบประมาณเงินสด ไม่มีการเช็คสต๊อกสินค้าเป็นประจำ ทำข้อตกลงกับลูกหนี้แบบปากเปล่าโดยไม่ลงลายลักษณ์อักษร ไม่มีระบบการบันทึกรายรับรายจ่าย ปัญหาทางด้านการเงินที่พบคือ ปัญหาเงินสดขาดมือ สินค้าขาดมือ สินค้าค้างสต๊อก หนี้สูญ และปัญหาการผิดนัดชำระแก่เจ้าหนี้ ซึ่งเกิดจากการที่ผู้ประกอบการขาดความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญต่อการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียน โดยนิยมใช้การบริหารแบบดั้งเดิมที่เคยปฏิบัติมามากกว่าพัฒนากระบวนการบริหารให้ดีขึ้น จึงเสนอแนะให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องจัดฝึกอบรมให้ผู้ประกอบการมีความรู้ ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพของธุรกิจขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และลดความเสี่ยงต่อปัญหาด้านเงินที่เกิดขึ้น</p> นันทวัน ปิยะเสถียรรัตน์, กุณฑลรัตน์ ทวีวงศ์ , กุลภา กุลดิลก Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275162 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของบุคลากรกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275528 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของบุคลากรกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านภาวะผู้นำที่มีผลต่อการดำเนินงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (4) เพื่อศึกษาปัจจัยวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อการดำเนินงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ส่วนกลาง โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิโดยอาศัยสัดส่วน และการสุ่มอย่างง่ายแยกตามหน่วยงานภายใน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 159 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติค่าที (t-test) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตามแบบของเพียร์สัน และค่าค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ระดับความรู้ความเข้าใจที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของบุคลากรกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว อยู่ในระดับมาก เปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ไม่แตกต่างกัน ปัจจัยภาวะผู้นำมีผลต่อการดำเนินงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ พบว่า ปัจจัยภาวะผู้นำไม่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ปัจจัยวัฒนธรรมองค์กรมีผลต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ พบว่า ปัจจัยวัฒนธรรมองค์กรด้านความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการเปิดรับความแตกต่างมีผลต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> ประพันธ์ จันโท, เอกลักษณ์ ไชยภูมี, เกวลิน ศีลพิพัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275528 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาคู่มือการวัดและประเมินผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โรงเรียนพระแสงวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272574 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการวัดและประเมินผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โรงเรียนพระแสงวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร (2) พัฒนาคู่มือการวัดและประเมินผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โรงเรียนพระแสงวิทยา และ (3) นำเสนอและประเมินคู่มือการวัดและประเมินผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โรงเรียนพระแสงวิทยา ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน ผู้ให้ข้อมูลเชิงลึก จำนวน 5 คน สนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการดำเนินงานวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของโรงเรียนพระแสงวิทยา มีการดำเนินการวัดและประเมินผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทั้ง 5 ขั้นตอน ดังนี้ คือ 1) กำหนดตัวชี้วัด 2) วิเคราะห์พฤติกรรมบ่งชี้ 3) การออกแบบเครื่องมือวัดและประเมินผล 4) เกณฑ์การประเมิน และ 5) การสรุปผลการประเมิน มีสภาพการวัดและประเมินไม่สอดคล้องกับตัวชี้วัดและพฤติกรรมบ่งชี้ (2) การพัฒนาคู่มือการวัดและประเมินผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โรงเรียนพระแสงวิทยาในการดำเนินการพัฒนาคู่มือมี 8 องค์ประกอบ คือ 1) ชื่อคู่มือ 2) คำชี้แจง 3) ความเป็นมาและความสำคัญ 4) วัตถุประสงค์ 5) คำจำกัดความ 6) การวัดและประเมินผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 7) เอกสารอ้างอิง และ 8) ภาคผนวก (3) ผลการนำเสนอคู่มือการวัดและประเมินผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โรงเรียนพระแสงวิทยา ผู้ทรงคุณวุฒิ ทุกคนเห็นว่า มีความเป็นไปได้ เหมาะสม เป็นประโยชน์ ซึ่งคู่มือมี 8 องค์ประกอบ สอดคล้องกับบริบทการวัดและประเมินผลของสถานศึกษา</p> นพวรรณ สุขเนียม, พระครูเขมธรรมโฆษิต, บุญเลิศ วีระพรกานต์ Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272574 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 Review of Airline Industry Quality Control: Ensuring Excellence from Ground to Air https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272463 <p>This review article aims to present the study of airline industry quality control. Significant challenges and opportunities have impacted its global competitiveness since the airline industry's deregulation in 1987. This paper explores critical strategies for quality control in the airline industry, focusing on Strategic Quality Management (SQM), Six Sigma methodologies, Business Process Reengineering (BPR), and Total Quality Management (TQM). SQM integrates TQM principles with strategic goals, promoting continuous improvement and market adaptability. Six Sigma enhances operational efficiency through data-driven approaches, eliminating defects and optimizing processes. BPR significantly boosts productivity by revamping ticketing systems, maintenance routines, and crew scheduling, leading to operational agility and improved customer experiences. Through systematic feedback integration and performance analytics, TQM emphasizes safety, timeliness, and passenger satisfaction. The paper discusses quality control across pre-flight, in-flight, and post-flight services, highlighting their impact on passenger satisfaction and loyalty. Additionally, it addresses challenges such as operational disruptions, technological advancements, cost balancing, staff training, and regulatory compliance. The findings underscore the importance of a holistic, customer-centric approach to quality management, ensuring sustained competitive advantage and market leadership in the dynamic aviation industry. By integrating these strategies, airlines can enhance service quality and operational efficiency, ultimately securing their place in a competitive market and fostering long-term passenger loyalty.</p> Pornapaktra Sakdaar Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/272463 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700 บทบาทพระสงฆ์กับการรักษาพันธุ์พืชท้องถิ่นและพิธีกรรมศาสนากับวิถีเกษตรแบบชาวบ้าน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/277139 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอบทบาทของพระสงฆ์กับการรักษาเมล็ดพันธุ์พืชพื้นบ้าน โดยการนำเสนอเรื่องราวผ่านรูปแบบวิถีปฏิบัติและการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คนในชุมชนชนบท โดยการปฏิบัติตามประเพณี วัฒนธรรม จารีต และขนบธรรมเนียม ที่ถูกถ่ายทอดสืบต่อกันมา คือ “บุญคูณลาน” และ “บุญบั้งไฟ” ประเพณีบุญเดือนยี่และบุญเดือนหก ตามฮีตสิบสองหรือจารีตสิบสองเดือน เป็นงานบุญประเพณีของชาวพุทธภาคอีสานและคนเชื้อสายลาว ที่ช่วยให้สามารถเก็บรักษาและขยายเมล็ดพันธุ์พืชภายในท้องถิ่นไม่ให้สูญหาย โดยอาศัยบทบาทการเป็นผู้นำระดับชุมชนของพระสงฆ์ (เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณและเป็นที่พึ่งทางใจ) ในการช่วยส่งเสริมและผลักดันจิตสำนึกของชาวบ้านให้เกิดการรักและหวงแหนเมล็ดพันธุ์พืชประจำถิ่นผ่านกิจกรรมงานบุญคูณลาน นำเมล็ดพันธุ์มารวมกันประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ไว้ขยายพันธุ์ เมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูก งานบุญที่ส่งเสริมการเพาะปลูกของชาวบ้านแบบอาศัยธรรมชาติ ดิน ฟ้า อากาศ ฝนตกต้องตามฤดูกาล โดยอาศัยฝีมือช่างของพระสงฆ์และสามเณรจัดสร้างขึ้น และใช้พื้นที่วัดจัดกิจกรรมและพิธีกรรม นั่นก็คือ “บุญบั้งไฟ” เป็นงานบุญประเพณีขอฝน เพื่อให้มีน้ำทำการเกษตรและทำให้พื้นดินชุ่มชื้น มีสภาพเหมาะแก่การเพาะปลูก ทำให้เมล็ดพันธุ์งอกงาม เจริญเติบโตเต็มที่ สามารถรักษาเมล็ดพันธุ์ดั้งเดิมประจำถิ่นให้คงอยู่และเป็นสมบัติให้ลูกหลานในอนาคตสืบต่อไป</p> พระคมสัน เจริญวงค์, เอนก ใยอินทร์, ดาวเหนือ บุตรสีทา, พระมหาพิสุทธิ์ สิทฺธิเมธี Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/277139 Sat, 21 Sep 2024 00:00:00 +0700