https://so06.tci-thaijo.org/index.php/KUTH/issue/feed วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย 2024-12-21T21:18:46+07:00 รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ พิมพวง bigko009@hotmail.com Open Journal Systems <p> วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยรับตีพิมพ์เผยแพร่บทความคุณภาพสูงในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนิสิตนักศึกษาทั้งในสถาบันและนอกสถาบัน ทั้งนี้วารสารจะตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม)</p> https://so06.tci-thaijo.org/index.php/KUTH/article/view/277868 พระเครื่องกับวัฒนธรรมไทย: การปรับตัวในบริบทสังคมร่วมสมัย 2024-11-05T20:15:36+07:00 อุดม จันทิมา udom.chan@mcu.ac.th พิชญานันต์ พงษ์ไพบูลย์ pichayanand.po@northbkk.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่านิยมของพระเครื่องในวัฒนธรรมไทยและการปรับตัวในบริบทสังคมร่วมสมัย โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และจิตวิญญาณจากการใช้พระเครื่องในชีวิตประจำวัน ในการศึกษาได้สำรวจการเปลี่ยนแปลงในด้านการบูชาพระเครื่อง การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง และความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการมีพระเครื่องเป็นเครื่องประดับจิตใจ บทความนี้แบ่งออกเป็นหกประเด็นหลัก ได้แก่ (1) บทบาทของพระเครื่องในสังคมไทยยุคปัจจุบัน (2) พระเครื่องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม (3) พระเครื่องกับความเชื่อทางจิตวิญญาณในยุคดิจิทัล (4) การวิจารณ์พระเครื่องในแง่การเบี่ยงเบนจากหลักการพุทธศาสนา (5) พระเครื่องกับการเสริมสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทย และ (6) ข้อเสนอแนวทางในการรักษาคุณค่าและความหมายทางจิตวิญญาณของพระเครื่อง ผลการศึกษาพบว่าพระเครื่องไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือทางศาสนา แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างอัตลักษณ์และการเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมไทยในยุคปัจจุบัน การศึกษาในครั้งนี้ช่วยให้เห็นภาพรวมของพระเครื่องในบริบทของสังคมไทย และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของพระเครื่องในการเสริมสร้างความเชื่อมั่นทางจิตวิญญาณและการเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมที่มีอยู่ในสังคมร่วมสมัย</p> 2024-12-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 อุดม จันทิมา, พิชญานันต์ พงษ์ไพบูลย์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/KUTH/article/view/277801 การกลายเป็นคำสันธานของคำปฏิเสธ “หาไม่” ในภาษาไทย 2024-11-05T19:58:08+07:00 อารียา ทองลอง tigersaroj@hotmail.com สาโรจน์ บัวพันธุ์งาม tigersaroj@hotmail.com <p>บทความเรื่องนี้มุ่งนำเสนอกระบวนการกลายเป็นคำสันธานของคำปฏิเสธ “หาไม่” ซึ่งเป็นคำที่มีเนื้อหาเฉพาะ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2328) จนถึงสมัยปัจจุบัน (พ.ศ. 2566) และเก็บข้อมูลเฉพาะที่เป็นงานเขียนประเภทร้อยแก้วเท่านั้น ผลการศึกษาพบว่า คำปฏิเสธ หาไม่ ก่อนที่จะกลายเป็นคำสันธานอย่างสมบูรณ์นั้นได้ผ่านกระบวนการกลายเป็นศัพท์ โดยวลี<br />บอกปฏิเสธได้กลายไปเป็นคำปฏิเสธ ผ่านกระบวนการที่วลีกลายเป็นคำ อย่างไรก็ตาม ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้เกิดกระบวนการกลายเป็นคำสันธานของคำปฏิเสธ “หาไม่” ซึ่งประกอบไปด้วยกระบวนการทางวากยสัมพันธ์และกระบวนการทางความหมาย โดยมีกลไกสำคัญ 3 อย่าง ได้แก่ บริบทการปรากฏของภาษา การวิเคราะห์ใหม่ และการจางลงทางความหมาย</p> 2024-12-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 อารียา ทองลอง, สาโรจน์ บัวพันธุ์งาม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/KUTH/article/view/278781 “กฎหมายตราสามดวง : รูปแบบอักขรวิธีไทย และสัมพันธสาร” 2024-11-05T20:21:20+07:00 วัชรพงศ์ โคตรนารินทร์ watcharapong.kh@ku.th Yuxi Yang 1021453285@qq.com บุญเลิศ วิวรรณ์ boonlert.w@ku.th <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"> การศึกษารูปแบบอักขรวิธีไทย และสัมพันธสาร ในกฎหมายตราสามดวง ฉบับราชบัณฑิตยสถานเล่ม 1 และ 2 พบรูปแบบอักษรโดยมีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวเลข และเครื่องหมาย พบพยัญชนะจำนวน 43 รูป คือ ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ พบสระมีทั้งหมด 24 รูป คือ ‘ะ ‘า ิ ี ึ ื ุ ู เ‘ะ เ‘ แ‘ะ แ‘ โ‘ เ‘าะ ‘อ เีย เ ือ ัว ํา ไ‘ ใ‘ เ‘า เ‘อ ฤ <br />ส่วนวรรณยุกต์ พบว่า มีทั้งวรรณยุกต์เอก (่) วรรณยุกต์โท (้) และวรรณยุกต์จัตวา (๋) ตัวเลขพบว่า มีจำนวน 10 ตัว คือ ๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ส่วนเครื่องหมายพบว่า มีการใช้เครื่องหมายโดยเฉพาะ เช่น การใช้เครื่องหมายตีนครุ (฿) เครื่องหมายอังคั่นคู่ (๚ะ) โคมูตร (๛) เครื่องหมายสัญลักษณ์ปีกกาเหยียด () ) และเครื่องหมายละสุด ( ะ ) และด้านรูปแบบอักขรวิธีไทยพบลักษณะพิเศษทั้งด้านการใช้พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ เครื่องหมาย และตัวเลข ส่วนด้านการศึกษาสัมพันธสารในเอกสารกฎหมายตราสามดวง พบทั้ง 4 ประเภท คือ สัมพันธสารเรื่องเล่า สัมพันธสารอรรถาธิบายความ สัมพันธสารโน้มน้าวหรือสั่งสอน และสัมพันธสารกระบวนการ<br /></span></span></p> 2024-12-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วัชรพงศ์ โคตรนารินทร์, Yuxi Yang, บุญเลิศ วิวรรณ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/KUTH/article/view/278846 รูปแบบอักขรวิธีไทยและลักษณะภาษาไทย ที่ปรากฏบนจารึกวัดพระยืน จังหวัดลำพูน 2024-11-06T20:02:37+07:00 รักชนก เสมามอญ rakchanok58131109007@gmail.com เก็จมณี บุตรดีขันธ์ pin150970@gmail.com บุญเลิศ วิวรรณ์ boonlert.w@ku.th <p>รูปแบบอักษรและอักขรวิธีไทยที่ปรากฏในจารึกวัดพระยืน จังหวัดลำพูน ประกอบด้วยรูปแบบอักษรทั้งพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเครื่องหมาย โดยพยัญชนะมีจำนวน 33 รูป ได้แก่ ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ญ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ภ ม ย ร ล ว ส ห อ สระมีจำนวน 15 รูป ได้แก่ ได้แก่ อะ อา อิ อี อุ อู เอ แอ เอือ โอ อำ ไอ ใอ เอา อํ วรรณยุกต์มีจำนวน 2 รูป ได้แก่ I (เอก) + (โท) และการใช้ตัวเลขปรากฏเป็นตัวหนังสือบอกจำนวน วัน และเดือน ส่วนลักษณะภาษาไทยที่ปรากฏในจารึกวัดพระยืนจังหวัดลำพูน พบว่า มีลักษณะภาษาไทยตามชนิดของคำ จำนวน 6 ชนิด คือ 1) คำนาม พบสามานยนาม วิสามานยนาม และสมุหนาม 2) คำสรรพนามพบคำเรียกแทนบุคคลที่ 2 ปรากฏคำว่า “เจ้า” และเรียกแทนบุคคลที่ 3 ปรากฏคำว่า “ท่าน” 3) คำกริยา พบคำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ และกริยาที่ต้องมีกรรมมารับ 4) คำวิเศษณ์พบคำวิเศษณ์บอกจำนวน และสถานที่ 5) คำบุพบท พบคำว่า “แก่” เป็นคำเชื่อม และ 6) คำสันธานพบคำว่า “และ” ที่เชื่อมใจความแบบคล้อยตามกัน โดยใช้แนวคิดของพระยาอุปกิตศิลปสาร</p> 2024-12-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 รักชนก เสมามอญ, เก็จมณี บุตรดีขันธ์, บุญเลิศ วิวรรณ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/KUTH/article/view/273447 การศึกษาความเป็นมาและพัฒนาการด้านการแพทย์ของวัฒนธรรมอินเดียและวัฒนธรรมไทย 2024-05-16T12:03:29+07:00 Benjamas Khunprasert benjamas.khun@gmail.com <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายแนวคิดทางการแพทย์ของวัฒนธรรมอินเดียและไทย โดยการศึกษาและวิเคราะห์ประวัติศาสตร์และประสบการณ์ทางการแพทย์ของทั้งสองวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ โดยเน้นการบูรณาการทั้งการใช้สมุนไพรและการแพทย์เฉพาะทาง และการนำความรู้เหล่านี้มาบูรณาการร่วมกันจะช่วยให้เข้าใจและปรับใช้วิธีการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในท้องถิ่นและระดับสากลต่อไป</p> 2024-12-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Benjamas Khunprasert https://so06.tci-thaijo.org/index.php/KUTH/article/view/278889 ตานก๋วยสลาก : วัฒนธรรมชาวพุทธในจังหวัดน่าน 2024-11-05T20:30:28+07:00 ชำนาญ เกิดช่อ pirabngoen@gmail.com <p>ตานก๋วยสลากหรือการถวายสลากภัต เป็นวัฒนธรรมชาวพุทธในเขตภาคเหนือของประเทศไทย โดยทายกทายิกานำเครื่องไทยธรรมบรรจุลงในก๋วยหรือกระเช้าแล้วนำมาถวายแก่พระสงฆ์ด้วยวิธีจับสลาก เป็นประเพณีที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตมาแต่ครั้งพุทธกาล มีบุคคลสำคัญที่เป็นต้นแบบคือนางกาลียักษิณี ชาวพุทธในจังหวัดน่านนิยมตานก๋วยสลากเป็นประจำทุกปีในช่วงปลายเดือนกันยายน-ตุลาคม โดยเชื่อกันว่าการตานก๋วยสลากมีอานิสงส์มาก เหมือนกับการถวายสังฆทาน เพราะเป็นการถวายแบบไม่เจาะจง วัฒนธรรมตานก๋วยสลากที่โดดเด่นในจังหวัดน่าน คือ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารและวัดพระธาตุแช่แห้งพระอารามหลวง</p> 2024-12-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ชำนาญ เกิดช่อ