วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/KUTH <p> วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยรับตีพิมพ์เผยแพร่บทความคุณภาพสูงในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนิสิตนักศึกษาทั้งในสถาบันและนอกสถาบัน ทั้งนี้วารสารจะตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม)</p> th-TH <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร “ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร “ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” &nbsp;หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก “วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ก่อนเท่านั้น</p> bigko009@hotmail.com (รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ พิมพวง) narisra.ha@ku.th (อาจารย์ ดร.นริศรา หาสนาม หมายเลขโทรศัพท์ 080 937 7231) Sat, 22 Jun 2024 09:45:39 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 พินิจการประกอบสร้างความหมายทางอุดมการณ์ในละครโทรทัศน์ "บุพเพสันนิวาส" และ "พรหมลิขิต" ที่ส่งผลต่อการรื้อฟื้นวัฒนธรรมไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/KUTH/article/view/270636 <p>การศึกษาเรื่องนี้ มุ่งศึกษาวิเคราะห์กลวิธีประกอบสร้างความหมายระดับอุดมการณ์ของ ละครโทรทัศน์เรื่อง “บุพเพสันนิวาส” และ “พรหมลิขิต” ในแง่ที่มีผลต่อการรื้อฟื้นวัฒนธรรมไทย โดยนำหลักการวิเคราะห์รหัสโทรทัศน์ของจอห์น ฟิสก์ รวมทั้งแนวคิดการรื้อฟื้นวัฒนธรรม ด้วยขบวนการพื้นเมืองของ ราล์ฟ ลินตัน มาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา ซึ่งพบว่าแม้พรหมลิขิต จะผลิตซ้ำตัวแทนเหตุการณ์ในอดีตโดยใช้อุดมการณ์บางประการที่สอดคล้องกับค่านิยมของสังคมปัจจุบันและเป็นประโยชน์ต่อสังคมปัจจุบันสืบต่อมาจากบุพเพสันนิวาส ได้แก่ ไสยศาสตร์ พื้นเมืองนิยม ชาตินิยม มนุษยนิยม และสมัยใหม่นิยม แต่มีการใช้อุดมการณ์ต่างขั้วซึ่งส่งผลต่างกันต่อการรื้อฟื้นวัฒนธรรมของชาติ กล่าวคือ เมื่อพิจารณาจากบทนางเอกซึ่งเป็นตัวละครหลักจากยุคสมัยใหม่ บุพเพสันนิวาสใช้คติรวมหมู่นำเสนอความสุขที่เกิดจากการมีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีและยกย่อง การอุทิศตนเพื่อชาติบ้านเมือง ในขณะที่พรหมลิขิตใช้อุดมการณ์ปัจเจกชนนิยมที่ให้ความสำคัญ กับการปกป้องอัตลักษณ์และผลประโยชน์ส่วนบุคคล แม้จะขัดแย้งกับบริบทสังคมวัฒนธรรม<br />สมัยกรุงศรีอยุธยาก็ตาม พรหมลิขิตจึงไม่ได้พาผู้ชมหลีกหนีจากสังคมทุนนิยมในปัจจุบันกลับไปหา ความผูกพันทางสังคมที่น่าพึงใจและความเจริญรุ่งเรืองของวัฒนธรรมในอดีตกาล</p> วิภาวี ฝ้ายเทศ Copyright (c) 2024 Wipawee Fivetes https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/KUTH/article/view/270636 Sat, 22 Jun 2024 00:00:00 +0700 บทเพลงบ่าววี: ลักษณะความเปรียบและการสร้างคำประสมด้านความรัก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/KUTH/article/view/272600 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความเปรียบและลักษณะการสร้างคำประสมในบทเพลงบ่าววี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากช่องยูทูบ RsaimMusic จำนวน 100 บทเพลงและประยุกต์แนวคิดด้านการใช้ความเปรียบและการสร้างคำประสมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล <br />ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะความเปรียบที่ปรากฏในบทเพลงบ่าววี มีจำนวนทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่ 1) ความเปรียบแบบอุปมา เช่น เปรียบหญ้าคากับหัวใจ 2) ความเปรียบแบบอุปลักษณ์ เช่น เปรียบมนุษย์เป็นพืช 3) ความเปรียบแบบสัญลักษณ์ เช่น เปรียบนาฬิกาเป็นลมหายใจ 4) ความเปรียบแบบบุคลาธิษฐาน เช่น เปรียบหุ่นไล่กาให้เป็นสิ่งมีชีวิต และ 5) ความเปรียบแบบอธิพจน์ เช่น เปรียบน้ำตาที่รินไหลเหมือนน้ำในเขื่อน ซึ่งความเปรียบที่ปรากฏในบทเพลงส่วนใหญ่แสดงให้เห็นด้านความรักที่เปรียบเทียบกับธรรมชาติ ส่วนการสร้างคำประสมด้านความรักในบทเพลงบ่าววี ผู้วิจัยพบว่ามีลักษณะการสร้างคำประสมด้านความรัก 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) คำประสมที่มีส่วนหลักเป็นคำเดี่ยว + ส่วนขยายเป็นคำเดี่ยว เช่น ความเหงา 2) คำประสมที่มีส่วนหลักเป็นคำเดี่ยว + ส่วนขยายเป็นกลุ่มคำ เช่น <br />การเอาใจ ซึ่งคำประสมที่ปรากฏในบทเพลงแสดงมุมมองความสัมพันธ์ด้านความรักที่มีทั้งความสมหวังและไม่สมหวัง</p> นรีกมล ไชยคำ, บุญเลิศ วิวรรณ์ Copyright (c) 2024 นรีกมล ไชยคำ, บุญเลิศ วิวรรณ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/KUTH/article/view/272600 Sat, 22 Jun 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์รสวรรณคดีไทยที่ปรากฏในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/KUTH/article/view/273448 <p>บทความวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์รสวรรณคดีไทยที่ปรากฏในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน <br />มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รสวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับบทประพันธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยวิเคราะห์ตามทฤษฎีรสวรรณคดีไทย ผลการศึกษาพบว่า วรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผนฉบับบทประพันธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ปรากฏรสวรรณคดีไทยครบทั้ง 4 รส ได้แก่ เสาวรจนี นารีปราโมทย์ พิโรธวาทัง และสัลลาปังคพิสัย นอกจากนี้ยังพบว่า <br />รสวรรณคดีที่พบมากที่สุด คือสัลลาปังคพิสัย จำนวน 23 ตอน รองลงมา คือ พิโรธวาทัง จำนวน <br />22 ตอน นารีปราโมทย์ จำนวน 12 ตอน และเสาวรจนี จำนวน 10 ตอน</p> สนธยา นิกูลรัมย์, สุธาทิพย์ พุ่มพวง, สำราญ ธุระตา Copyright (c) 2024 สนธยา นิกูลรัมย์, สุธาทิพย์ พุ่มพวง, สำราญ ธุระตา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/KUTH/article/view/273448 Sat, 22 Jun 2024 00:00:00 +0700 ภาษาวรรณศิลป์และโลกทัศน์ที่ปรากฏในวรรณกรรม เรื่องสั้น “หลวงตา” ของ “แพรเยื่อไม้” https://so06.tci-thaijo.org/index.php/KUTH/article/view/272435 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาษาวรรณศิลป์และโลกทัศน์ที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องสั้น “หลวงตา” ของ “แพรเยื่อไม้” โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากวรรณกรรมเรื่องสั้น “หลวงตา” ปี พ.ศ. 2516 ซึ่งมีทั้งหมด 13 ตอน อีกทั้งใช้แนวคิดด้านวรรณศิลป์และโลกทัศน์ที่ปรากฏ ในวรรณกรรมในการวิเคราะห์ข้อมูล <br />ผลการวิจัยภาษาวรรณศิลป์และโลกทัศน์ที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องสั้น “หลวงตา” ของ “แพรเยื่อไม้” พบว่าลักษณะการใช้ภาษาวรรณศิลป์ประเภทการใช้คำแสดงอารมณ์ คำศัพท์บัญญัติหรือศัพท์เทคนิค คำภาษาต่างประเทศ คำต่ำหรือคำหยาบ คำย่อ คำมีศักดิ์ ด้านภาพพจน์ พบลักษณะการใช้ภาพพจน์แบบอุปมา อุปลักษณ์ สัญลักษณ์ บุคคลวัต นามนัย การอ้างถึงหรือเท้าความ แนวเทียบ สัทพจน์ ปฏิปุจฉา ส่วนโลกทัศน์ที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องสั้น “หลวงตา” ของ “แพรเยื่อไม้” พบลักษณะของโลกทัศน์จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ 1. โลกทัศน์ต่อศาสนาโดยเน้นเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอน ศาสนสถาน พระพุทธเจ้า 2. โลกทัศน์ต่อสังคมโดยเน้นเกี่ยวกับศีลธรรม แหล่งสถานบันเทิง โรคภัยไข้เจ็บ 3. โลกทัศน์ต่อมนุษย์โดยเน้นเกี่ยวกับความเชื่อ ความรัก 4. โลกทัศน์ต่อการเมืองเกี่ยวกับระบบการปกครอง 5. โลกทัศน์ต่อการศึกษาโดยเน้นเกี่ยวกับบุคลากรทางการศึกษา การจัดการศึกษา อาชีพ และ 6. โลกทัศน์ต่อธรรมชาติโดยเน้นเกี่ยวกับชีวิต</p> หนึ่งฤทัย เสียมทอง, บุญเลิศ วิวรรณ์ Copyright (c) 2024 หนึ่งฤทัย เสียมทอง, บุญเลิศ วิวรรณ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/KUTH/article/view/272435 Sat, 22 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพรรณนาความและวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีน ที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง “อยู่กับก๋ง” https://so06.tci-thaijo.org/index.php/KUTH/article/view/272581 <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">การใช้บทพรรณนาจัดเป็นศิลปะแห่งการใช้ภาษาเพื่อ “วาด” ให้เกิดเป็นภาพในจิตของผู้อ่าน ผู้อ่านจะประจักษ์หรือรับรู้รูปที่เป็นเสมือนการบันทึกภาพในบริบทของสังคมร่วมสมัย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการพรรณนาความและวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีนที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง “อยู่กับก๋ง” ของ “หยก บูรพา” ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2558 โดยประยุกต์แนวคิดด้านการพรรณนาความและประเภทของวัฒนธรรมมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า การพรรณนาความที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง “อยู่กับก๋ง” มี 3 ประเภท ได้แก่ 1. การพรรณนาภาพ ประกอบด้วยการพรรณนาภาพสถานที่ การพรรณนาภาพบุคคลและการพรรณนาภาพบรรยากาศ 2. การพรรณนาอารมณ์ ประกอบด้วยการพรรณนาอารมณ์เศร้าและการพรรณนาอารมณ์กลัว และ 3. การพรรณนาโดยใช้ความเปรียบ ประกอบด้วยการพรรณนาโดยใช้ความเปรียบประเภทอุปมา ความเปรียบประเภทอุปลักษณ์ ความเปรียบประเภทสัญลักษณ์ และความเปรียบประเภทบุคลาธิษฐาน ด้านวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีนที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง “อยู่กับก๋ง” พบว่ามี 4 ด้าน ได้แก่ 1. วัฒนธรรมด้านมนุษยศาสตร์ ประกอบด้วยวัฒนธรรมเกี่ยวกับความคิดความเชื่อและวัฒนธรรมเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี 2. วัฒนธรรมด้านคหกรรมศิลป์ ประกอบด้วยวัฒนธรรมเกี่ยวกับเสื้อผ้า และวัฒนธรรมเกี่ยวกับอาหาร 3. วัฒนธรรมด้านการช่างฝีมือ ได้แก่ วัฒนธรรมเกี่ยวกับการจักสาน และ 4. วัฒนธรรมด้านศิลปะ ได้แก่ วัฒนธรรมเกี่ยวกับภาษา<br /></span></span></span></span></p> Yan Wu, บุญเลิศ วิวรรณ์ Copyright (c) 2024 Yan Wu, บุญเลิศ วิวรรณ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/KUTH/article/view/272581 Sat, 22 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวคิดและกลวิธีทางภาษาในความเรียงเสนอความคิดเห็น ของเฟซบุ๊กเพจ “Roundfinger”: กรณีศึกษางานเขียนช่วงหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (post-Covid) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/KUTH/article/view/269521 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดและกลวิธีทางภาษาในความเรียงเสนอความคิดเห็นช่วงหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (post-Covid) ของเฟซบุ๊กเพจ “Roundfinger” โดยเก็บข้อมูลความเรียงเสนอความคิดเห็นตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 แนวคิดที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ปริจเฉทวิเคราะห์ วัจนปฏิบัติศาสตร์ และการเล่นทางภาษา ผลการศึกษาพบว่า ผู้เขียนนำเสนอแนวคิดทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ 1) แนวคิดเกี่ยวกับตนเอง 2) แนวคิดที่เกี่ยวข้องระหว่างตนเองกับผู้อื่น และ 3) แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับสภาพชีวิตในสังคมปัจจุบัน แนวคิดที่พบมากที่สุด คือ แนวคิดเกี่ยวกับตนเอง ส่วนการวิเคราะห์กลวิธีทางภาษา พบว่า ผู้เขียนใช้กลวิธี 2 ลักษณะ คือ 1) กลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ ประกอบด้วย 7 กลวิธี ได้แก่ การแสดงทรรศนะของตนเอง การอ้างถึง การยกตัวอย่าง การเสนอแนวทาง การอธิบาย การตั้งคำถามให้ผู้อ่านฉุกคิด และการปลอบประโลม และ 2) กลวิธีการเล่นทางภาษา เช่น การสรุปด้วยคำคม การซ้ำคำ การใช้คำตรงกันข้าม ทั้งนี้ การนำเสนอแนวคิดและกลวิธีทางภาษาดังกล่าวมีลักษณะต่างไปจากงานเขียนช่วงก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ของเฟซบุ๊กเพจ “Roundfinger” การศึกษานี้จึงแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อวงการผลิตสื่อและงานเขียนของสังคมไทย อันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019</p> สุจิตรา ศิริพาณิชย์ Copyright (c) 2024 สุจิตรา ศิริพาณิชย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/KUTH/article/view/269521 Sat, 22 Jun 2024 00:00:00 +0700