รูปแบบการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ

Main Article Content

บุญจักรวาล รอดบำเรอ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ และ 3) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จํานวน 63 คน เครื่องมือ ที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.92 ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ และหาค่าความตรงเชิงเนื้อหาของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 5 คน และขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จํานวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าความเชื่อมั่น .93 และ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ พบว่า รูปแบบมีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ตัวชี้วัด 23 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย (1) กระบวนการ/ขั้นตอนการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา (2) วิธีการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา (3) ประเภทของทรัพยากรทางการศึกษา (4) กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา และ(5) เงื่อนไขความสําเร็จ 3) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 2553). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ทรัพยากรเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

จุฑารัตน์ เรณุมาน. (2565). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ทิพมณฑา ทนุการ. (2559). การจัดการเชิงกลยุทธ์ในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ทิศนา แขมมณี. (2547). รายงานการวิจัยและพัฒนารูปแบบการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.

ปภัสรา โยงราช. (2565). การพัฒนารูปแบบการระดมทรัพยากรทางการศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี.

พิสิษฐ ภู่รอด. (2553). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ราชกิจจานุเบกษา. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. ttps://skm.go.th/portal/wp-content/uploads/2022/06/03.pdf

วรวุฒิ แสงนาก. (2556). การพัฒนารูปแบบการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคเหนือ. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 16(1), 16 - 23.

ศิริมนต์ ละมุล. (2557). การระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนบ้านบุ ตำบลตาจง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.

สมชัย จรรยาไพบูลย์. (2555). รูปแบบการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ. (2565). แผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สมุทรปราการ: กลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ.

สุธิดา ศิริสวัสดิ์, รุจิร์ ภู่สาระ และภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2565). สภาพการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตวิภาวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(8), 170-185.

สุริยาพร ดวงจักร ณ อยุธยา. (2558). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอำเภอปากช่อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยนครราชสีมา.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

https://doi.org/10.1177/001316447003000308

Likert, R. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw-Hill.