รูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

สุพจน์ ประไพเพชร
สุดสวาสดิ์ ประไพเพชร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ภาคเหนือตอนล่าง 2) พัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ภาคเหนือตอนล่าง และ3) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ภาคเหนือตอนล่าง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 140 แห่ง โดยสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (Modified Priority Needs Index: PNImodified) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยรวมและรายด้านมีความต้องการจำเป็นเร่งด่วนทุกด้าน โดยด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และด้านการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษามีความต้องการจำเป็นสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการประเมินคุณภาพภายใน  2) รูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย (1) วัตถุประสงค์ (2) หลักการ (3) เป้าหมายมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย (4) กลยุทธ์ (5) กระบวนการ PDCA  (6) แนวปฏิบัติ (7) กลไกในการขับเคลื่อน (8) การขอรับการประเมินเพื่อยืนยันคุณภาพจากภายนอก และ(9) ปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จ และ3) ประสิทธิผลของรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ภาคเหนือตอนล่าง พบว่า ผลสำเร็จของกระบวนการดำเนินงานประกันคุณภาพสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้การศึกษาปฐมวัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีประสิทธิผลด้านความความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ และด้านความรับผิดชอบอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2565). ระบบสารสนเทศทางการศึกษาท้องถิ่น. http://lec.dla.go.th/

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกตุทอง เนียมฝอย. (2558). ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารงานตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ณัฐนันท์ มั่นคง. (2562). การศึกษาปัญหาและแนวทางการจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. ((2554). การวิจัยเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 9 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพ : สุวีริยาสาส์น .

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. หน้า 5 เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก 30 เมษายน 2562.

ศักดิ์ชาย กมขุนทด. (2566). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนอนุบาลวังไทร. วารสารพิกุล. 21(1), 169-190.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563 ก). การกำหนดมาตรฐานของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563 ข). การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563 ค). การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563 ง). การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก. กรุงเทพฯ: เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563 จ). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2566). ประกาศคณะกรรมการสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เรื่อง กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และด้านการอาชีวศึกษา. https://www.onesqa.or.th/upload/download/202304281626265.pdf

สุปราณี พรหมดีสาร. (2559). การศึกษาปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดนครราชสีมา ตามทัศนะของผู้อำนวยการกองการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

Alburly, R.G. (1977). The Development of Guiding, Principles for the Establishment and Organization or a Parish Day Nursery School. Dissertation Abstracts International.