วารสารดนตรีและการแสดง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><br />วารสารดนตรีและการแสดงมีวัตถุประสงค์เพื่อ<br />1. เพื่อส่งเสริมทางด้านวิชาการ การค้นคว้าวิจัย และการสร้างสรรค์ทางด้านดนตรี และการแสดง<br />2. เพื่อเผยแพร่ผลงานทางด้านวิชาการ และวิจัยด้านดนตรีและการแสดง<br />3. เพื่อเป็นการบริการวิชาการแก่สังคม<br />4. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแนวความคิด องค์ความรู้ ความก้าวหน้าในด้านวิชาการ และวิจัยทางดนตรีและการแสดง</p> <p> วารสารดนตรีและการแสดงเปิดรับบทความวิจัย และบทความวิชาการ ของนักวิชาการ ครู อาจารย์ นิสิต นักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิชาการด้านดนตรีและการแสดง ได้แก่ ดนตรีไทย ดนตรีตะวันตก นาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์ตะวันตกศิลปะการละคร การออกแบบเพื่อการแสดง การผลิตสื่อด้านดนตรีและการแสดง หรือบทความที่ครอบคลุมทุกสาขาวิชาทางด้านดนตรีและการแสดง โดยบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น</p> <p> บทความทุกฉบับผ่านการประเมินคุณภาพบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ที่มีองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญตรงหรือเกี่ยวเนื่องกับสาขาของบทความ จำนวน 3 ท่านต่อบทความ ผู้ประเมินจะไม่ทราบว่ากำลังพิจารณาบทความของผู้เขียนคนใด พร้อมกันนั้นผู้เขียนบทความจะไม่สามารถทราบว่าใครเป็นผู้พิจารณา (Double Blind Review) ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของเจ้าของบทความ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นทัศนะของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่รับผิดชอบบทความนั้น</p> <p> </p> th-TH mupa.journal@gmail.com (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติภัณฑ์ ชิตเทพ) mupa.journal@gmail.com (นายสุภัทรชัย จีบแก้ว) Wed, 25 Dec 2024 09:19:53 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 กระบวนการสร้างสรรค์เทศกาลศิลปะในชุมชนเมือง : กรณีศึกษาเทศกาลสามย่าน ละลานใจ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280139 <p>บทความวิชาการชิ้นนี้มุ่งเน้นไปที่การบันทึกกระบวนการและถอดองค์ความรู้ในการทำงาน เพื่อชี้ให้เห็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างสรรค์งานเทศกาลศิลปะการแสดงในชุมชน ความเชื่อมโยงกันของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างงานเทศกาลศิลปะที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน สร้างการมีส่วนร่วมและเครือข่ายการทำงาน โดยเลือก “เทศกาลสามย่าน ละลานใจ” เป็นกรณีศึกษา</p> <p>จากกระบวนการสร้างสรรค์งานพบว่า องค์ประกอบสำคัญนอกเหนือไปจากองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการแล้ว ปัจจัยเรื่องการศึกษาพื้นที่และลักษณะเฉพาะของชุมชนนั้นสำคัญอย่างยิ่งในการออกแบบเทศกาลและกิจกรรมในเทศกาลให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับลักษณะของพื้นที่และชุมชน และต้องอาศัยเครือข่ายการทำงานที่เข้มแข็ง มีวิสัยทัศน์ของการร่วมคิด ร่วมสร้างร่วมพัฒนา จึงจะทำให้เกิดการทำงานที่ยั่งยืน กระบวนการเหล่านี้จำเป็นต้องใช้เวลาและสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญของกิจกรรมด้านศิลปะวัฒนธรรมที่ไม่ได้หวังเพียงผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจแต่คำนึงถึงความคุ้มค่าทางสังคมควบคู่กัน</p> <p>&nbsp;</p> กุนทรา ไชยชาญ Copyright (c) 2024 คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280139 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 คอนแชร์โตหมายเลข 2 ของวลาดิสลาฟ บลาเซวิช: บทวิเคราะห์และแนวทางการฝึกซ้อม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280142 <p>บทความสร้างสรรค์ชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทวิเคราะห์และแนวทางการฝึกซ้อมสำหรับการบรรเลงบทเพลงคอนแชร์โต หมายเลข 2 ของวลาดิสลาฟ บลาเซวิช ซึ่งเป็นบทความที่มาจากศึกษาภูมิหลังและแนวคิดของผู้ประพันธ์ องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับบทเพลงพร้อมทั้งนำเสนอแนวทางการฝึกซ้อมเพื่อเตรียมตัวก่อนการแสดงบทเพลง โดยหลังจากศึกษาวิเคราะห์รายละเอียดของผู้ประพันธ์ที่มาของบทเพลงและรายละเอียดเกี่ยวกับการบรรเลงบทเพลง ผู้แสดงสามารถแบ่งแนวทางการฝึกซ้อมและเตรียมตัวก่อนการแสดงบทเพลงนี้ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการศึกษาวิเคราะห์รายละเอียดและภูมิหลังของผู้ประพันธ์ พร้อมทั้งโครงสร้าง ลักษณะสังคีตลักษณ์ของบทเพลง และส่วนที่ 2 คือ การฝึกซ้อมและพัฒนาเทคนิคที่ใช้ในการบรรเลงบทเพลง ซึ่งประกอบไปด้วย 4 เทคนิค ได้แก่ ทักษะการใช้คันชัก (Slide Technique) การบรรเลงโน้ตที่มีขั้นคู่แตกต่างกัน (Intervals and Octave notes) การบรรเลงโน้ตทอดเสียง (Slurs) และการบรรเลงรูปแบบเลียนเสียงร้อง (Singing Style)</p> นรเศรษฐ์ อุดาการ Copyright (c) 2024 คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280142 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 กลวิธีการเป่าปี่ในคลอร้องเพลงเขมรปี่แก้วน้อย ของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280223 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอลักษณะการใช้กลวิธีพิเศษการเป่าปี่ในคลอร้องของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ลักษณะของการเป่าปี่ในคลอร้องนี้เป็นวิธีการเป่าอีกรูปแบบหนึ่ง จากลักษณะของการคลอร้องแบบทั่วไปที่ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายคือ ซอสามสาย ซออู้ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าคือ ขลุ่ย ปี่ใน ปี่มอญ และปี่ชวา การเป่าปี่ในคลอร้องจะพบเห็นได้จากการแสดงละครเรื่องพระอภัยมณี ซึ่งมีการเป่าปี่ในคลอร้องทั้งหมด 9 ครั้ง เพลงเขมรปี่แก้วน้อยเป็นเพลงหนึ่งที่อยู่ในการคลอร้องทั้ง 9 ครั้งด้วย เพลงเขมรปี่แก้วน้อยเป็นเพลงหน้าทับปรบไก่อัตราจังหวะสามชั้น ถูกตัดมาจากเพลงเขมรปี่แก้ว สามชั้น กำหนดใช้กลุ่มเสียงทางเพียงออล่าง (ฟซลxดรx) ซึ่งเป็นกลุ่มเสียงที่มีความยากในในการบรรเลง ผู้บรรเลงต้องผ่านการฝึกฝนเป็นอย่างดี พบการใช้กลวิธีพิเศษที่สำคัญที่ใช้มากที่สุดจำนวน 3 กลวิธี คือ การควงเสียง การสะบัด การครั่นลม กลวิธีพิเศษทั้ง 3 นี้จะช่วยให้ทำนองเพลงมีความนุ่มนวลมากยิ่งขึ้นและทำนองร้องมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นอีกด้วย เป็นเอกลักษณ์ที่ควรค่าแก่การศึกษาและเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาทางด้านดนตรีไทยสืบไปในอนาคต</p> ยศพล คมขํา Copyright (c) 2024 คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280223 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 การผลิตไม้ตีฆ้องมอญ กรณีศึกษาครูชลอ ใจชื้น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280140 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ คือ เพื่อศึกษากระบวนการผลิตไม้ตีฆ้องมอญกรณีศึกษาครูชลอ ใจชื้น เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ขอบเขตในการวิจัย เพื่อมุ่งเน้นกระบวนการขั้นตอนทำไม้ตีฆ้องมอญตาม แนวทางของ ครูชลอ ใจชื้น เท่านั้น ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 1. ศึกษาแนวคิด เอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. ศึกษาจากครูชลอ ใจชื้น 3. เก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม 4. นำข้อมูลมาวิเคราะห์ผล 5. สรุปผลการวิจัย อีกทั้งยังมีการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ จำนวน 6 ท่าน</p> <p>ผลจากการศึกษาพบว่า ครูชลอ ใจชื้น ปัจจุบันอายุ 87 ปี มีประสบการณ์การทำไม้ตี และ<br>การซ่อมบำรุงเครื่องดนตรีมานานกว่า 60 ปี ด้วยการศึกษาจากฝีมือชั้นครูหลายท่าน เช่น ครูพริ้ง ดนตรีรส หม่อมหลวงสุรักษ์ สวัสดิกุล ครูสอน วงฆ้อง ครูเทียบ คงลายทอง เป็นต้น การทำไม้<br>ตีฆ้องมอญส่วนใหญ่นิยมใช้ คือ ไม้สัก ไม้ชิงชัน เนื่องจากคุณภาพเรื่องของน้ำหนัก และความทนทาน แต่ไม้ที่ผู้วิจัยเลือกนั้นคือไม้แก้ว อีกทั้งยังมีด้ายดิบ ผ้าดิบ และแป้งเปียกที่เป็นส่วนสำคัญทางด้านคุณภาพเสียง โดยสามารถจำแนกขั้นตอนได้ 8 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การเลือกไม้ ขั้นที่ 2 นำปากกามาขีดตรงกึ่งกลางของท่อนไม้ ขั้นที่ 3 เลื่อยท่อนไม้ตามรอยปากกา ขั้นที่ 4 ถากไม้ให้ได้ทรงยาว และมีศูนย์เป็นทรงสี่เหลี่ยม ขั้นที่ 5 นำไปกลึงให้ได้ทรง ขั้นที่ 6 พันด้ายดิบให้เต็มบริเวณส่วนที่ตี ขั้นที่ 7 นำผ้าดิบมาตัดให้ได้ตามความยาวที่กำหนดไว้ หลังจากพันผ้าเสร็จให้นำมาคลึง ขั้นที่ 8 เก็บรายละเอียดทั้งหมดให้เรียบร้อยสมบูรณ์</p> ศุภณัฐ นุตมากุล Copyright (c) 2024 คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280140 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์และตีความบทเพลงซิมโฟนีหมายเลข 7 ของเบโทเฟนสำหรับวงฮาร์โมนี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280144 <p>บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ การวิเคราะห์และตีความบทเพลงซิมโฟนีหมายเลข 7 ของ ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน สำหรับวงฮาร์โมนี มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และตีความบทเพลงซิมโฟนีหมายเลข 7 ของ ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน ฉบับเรียบเรียงสำหรับวงฮาร์โมนี ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1816 โดยไม่มีหลักฐานที่ระบุชื่อผู้เรียบเรียง ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตในการวิจัย 3 หัวข้อ ได้แก่ 1) ภาพรวมของบทเพลง ประกอบด้วย สังคีตลักษณ์ อัตราความเร็ว เครื่องหมายประจำกุญแจเสียง และอัตราจังหวะ 2) องค์ประกอบทางดนตรีที่สำคัญ ประกอบด้วย โครงสร้างสังคีตลักษณ์ แนวทำนองและเสียงประสาน และ 3) ลักษณะการเรียบเรียงบทเพลง</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า บทเพลงฉบับสำหรับวงฮาร์โมนีใช้กุญแจเสียงหลัก และโครงสร้างสังคีตลักษณ์ต่างจากบทเพลงต้นฉบับที่เบโทเฟนประพันธ์ขึ้นสำหรับวงออร์เคสตรา โดยบทเพลงฉบับนี้อยู่ในกุญแจเสียง G major ประกอบด้วย 4 ท่อน ได้แก่ ท่อน 1 อยู่ในสังคีตลักษณ์โซนาตา ในกุญแจเสียง G major ท่อนที่ 2 อยู่ในสังคีตลักษณ์รอนโดห้าตอน ในกุญแจเสียง G minor ท่อนที่ 3 อยู่ในสังคีตลักษณ์สามตอนแบบสแกร์ตโซทรีโอ ในกุญแจเสียง F major และท่อนที่ 4 อยู่ในสังคีตลักษณ์โซนาตินา ในกุญแจเสียง G major ซึ่งบทเพลงฉบับนี้เรียบเรียงโดยอิงแนวเครื่องลมส่วนใหญ่ให้ใกล้เคียงกับโน้ตต้นฉบับสำหรับวงออร์เคสตรา แต่เนื่องจากวงฮาร์โมนีไม่มีแนวฟลูต และทรัมเป็ต รวมถึงกลุ่มเครื่องสาย ผู้เรียบเรียงจึงได้เรียบเรียงบทเพลงโดยมักใช้โอโบแทนในแนวฟลูต ใช้ฮอร์นแทนแนวทรัมเป็ต รวมถึงใช้คลาริเน็ตและโอโบแทนแนวไวโอลิน และใช้บาสซูนและคอนตราบาสซูนแทนแนววิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส</p> วรพล รัตนอำพล , ภาวไล ตันจันทร์พงศ์ Copyright (c) 2024 คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280144 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการปรับวงและการอำนวยเพลงบทเพลงราชดำเนิน โดย วานิช โปตะวนิช https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280145 <p>งานวิจัยเรื่อง “<em>แนวทางการปรับวงและการอำนวยเพลงบทเพลงราชดำเนิน โดย วานิช โปตะวนิช”</em> เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยศึกษาค้นคว้าเอกสารทางวิชาการ สัมภาษณ์แบบสังเกตการณ์โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เทคนิคการซ้อมและแนวปฏิบัติ จากนักประพันธ์เพลง และผู้ควบคุมวงดุริยางค์เครื่องลม จำนวน 3 โรงเรียนที่มีผลงานเชิงประจักษ์ทางด้านวงดุริยางค์เครื่องลม โดยวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์และตีความบทเพลงราชดำเนิน โดย วานิช โปตะวนิช สำหรับวงดุริยางค์เครื่องลมตามกลวิธีทางดุริยางคศิลป์ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการควบคุมและฝึกซ้อมวงดุริยางค์เครื่องลมสำหรับบทเพลงราชดำเนิน โดย วานิช โปตะวนิช 3) เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติบทเพลงราชดำเนิน โดย วานิช โปตะวนิช สำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้วิจัยสามารถวิเคราะห์และตีความบทเพลงราชดำเนิน เข้าใจอย่างลึกซึ้งโดยสามารถอธิบายรายละเอียดของการเรียบเรียงในทำนองต่าง ๆ ของบทเพลงเพื่อประโยชน์สูงสุดในการซ้อม 2) ผู้วิจัยศึกษาแนวทางการควบคุมและฝึกซ้อมวงดุริยางค์เครื่องลมสำหรับบทเพลงราชดำเนิน เล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีเทคนิคการซ้อมที่สามารถยึดเป็นแนวทางเพื่อใช้ในการซ้อมให้เกิดประโยชน์มากที่สุดในการรวมวงเพื่อซ้อมบทเพลง 3) ผู้วิจัยได้พัฒนาแบบฝึกหัดการบรรเลงบทเพลงในรูปแบบต่าง ๆ ของการควบคุมลักษณะเสียง โดยอ้างอิงจากบทเพลงและทฤษฎีดนตรีตะวันตก</p> ณัฐวัตร แซ่จิว, ภาวไล ตันจันทร์พงศ์ Copyright (c) 2024 คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280145 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวคิดและกลวิธีการบันทึกเสียงวงปี่พาทย์ กรณีศึกษาอาจารย์ประทีป เจตนากูล https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280146 <p>บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง แนวคิดและกลวิธีการบันทึกเสียงดนตรีไทย กรณีศึกษาอาจารย์ประทีป เจตนากูล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบันทึกเสียงวงดนตรีไทย โดยศึกษาจากแนวคิดและกลวิธีของอาจารย์ประทีป เจตนากูล ในโครงการจัดเก็บเพลงไทยเดิมตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์กระบวนการบันทึกเสียงจากการบรรเลงโดยสำนักดนตรีไทยพาทยรัตน์ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ</p> <p>ผลการวิจัยการบันทึกเสียงวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่พบว่า 1) กระบวนการบันทึกเสียงมีการจัดการเป็นลำดับขั้นตอนอย่างละเอียด จากต้นกำเนิดเสียงไปจนถึงระบบจัดเก็บคลื่นเสียงโดยสมบูรณ์ 2) การนำกลวิธีและทฤษฎีการบันทึกเสียงมาตรฐานสากล มาปรับและประยุกต์ใช้ให้เข้ากับเครื่องบรรเลงในวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ทำให้ได้เสียงตรงตามลักษณะระบบเสียงไทยและได้คุณภาพของเสียงที่สมบูรณ์</p> กฤษฏิพัฒน์ พลเยี่ยม, ธรณัส หินอ่อน Copyright (c) 2024 คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280146 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 คุณลักษณ์เพลงกล่อมลูก 4 ภาคของไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280147 <p>งานวิจัยเรื่อง คุณลักษณ์เพลงกล่อมลูก 4 ภาคของไทย มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาภูมิบท บทบาท คุณค่า และความสำคัญของเพลงกล่อมลูก และเพื่อศึกษาทำนอง ระดับเสียง จังหวะ ฉันทลักษณ์ และสำเนียงภาษาของเพลงกล่อมลูก ใช้ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ จากการสัมภาษณ์และจากการลงภาคสนาม</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ภูมิบท บทบาท คุณค่า และความสำคัญของเพลงกล่อมลูก มีคุณลักษณ์เหมือนกันทั้งหมด เพลงกล่อมลูกถูกจัดเพลงพื้นบ้านชนิดหนึ่ง ใช้ร้องกล่อมลูกเพื่อให้เด็กนอนหลับไปด้วยความอบอุ่นใจ บทประพันธ์ใช้ภาษาที่มีความเรียบง่าย เป็นวรรณกรรมมุขปาฐะและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งสรุปได้ว่า ระดับเสียงในการร้องกล่อมลูกทั้ง 4 ภาคเปิดโอกาสให้ผู้กล่อมกำหนดระดับเสียงได้ด้วยตัวเอง&nbsp; ส่วนคุณลักษณ์ของสำเนียงภาษาของเพลงกล่อมลูกทั้ง 4 ภาคใช้ภาษาเรียบง่าย ไม่ใช้คำราชาศัพท์ ฟังแล้วเข้าใจทันที สำเนียงที่ใช้เป็นไปตามภาษาถิ่น ส่วนคุณลักษณ์ของทำนองกล่อมลูก 4 ภาค ด้านทำนองสรุปได้ว่า มีความต่างกัน และคุณลักษณ์ด้านจังหวะและฉันทลักษณ์ของเพลงกล่อมลูกทั้ง 4 ภาค สรุปได้ว่า มีความเหมือนกัน</p> <p>&nbsp;</p> วิทยา ศรีผ่อง, นพคุณ สุดประเสริฐ, สุพรรณี เหลือบุญชู Copyright (c) 2024 คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280147 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 การใช้อาวุธของตัวยักษ์ในการแสดงโขน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280212 <p>การศึกษาวิจัยเรื่อง วิธีการใช้อาวุธของตัวยักษ์ในการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ มุ่งเน้นให้เห็นถึงหลักการ ทฤษฎี กลวิธีและแนวทางในการปฏิบัติ เรื่องการใช้อาวุธลักษณะต่าง ๆ ในการแสดงโขนของตัวยักษ์ ผลศึกษาพบว่า อาวุธของตัวยักษ์ในการแสดงโขนเป็นอาวุธที่มีลักษณะเฉพาะถูกจำลองมาจากอาวุธจริง มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการแสดง และบางชนิดก็ถูกสร้างขึ้นมาจากจินตนาการ อาวุธของตัวยักษ์สามารถแบ่งตามลักษณะได้ทั้งหมด 3 ประเภท คือ อาวุธสั้น อาวุธยาว และอาวุธพิเศษ วิธีการใช้อาวุธแต่ละประเภทก็จะแตกต่างกันออกไป ได้แก่ การตี การแทง การขว้าง การพุ่งและการควง อีกทั้งยังมีกลวิธีของการใช้อาวุธระหว่างคู่ต่อสู้ ซึ่งมีวิธีการในการใช้ที่แตกต่างกันตามลักษณะของอาวุธที่ใช้ ผู้แสดงโขนตัวยักษ์จึงต้องมีทักษะและความเชี่ยวชาญในการใช้อาวุธแต่ละประเภท เพราะการแสดงโขนตัวยักษ์ต้องมีลักษณะที่แข็งแรงและคล่องแคล่ว ผู้แสดงจึงจำเป็นที่จะต้องรู้จักวิธีการใช้อาวุธแต่ละชนิด เพื่อสื่อให้เห็นถึงความสวยงามและความสง่างามของตัวละครที่ใช้อาวุธในขณะที่ทำการแสดง</p> สุวรักข์ อยู่แท้กูล , มาลินี อาชายุทธการ Copyright (c) 2024 คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280212 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบบทการแสดงแสง เสียง สื่อผสม ในวัง ณ วังหน้า https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280213 <p>บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่องการแสดงแสง เสียง สื่อผสม ในวัง ณ วังหน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบบทการแสดง ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยแบบเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยประกอบไปด้วย การรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ สื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์ การสัมมนา เกณฑ์การสร้างมาตรฐานในการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์และประสบการณ์ของผู้วิจัย โดยผู้วิจัยให้ความสำคัญกับความทรงจำที่เกิดขึ้น ณ วังหน้า เฉพาะบริเวณพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาสหรือวิทยาลัยนาฏศิลป ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลดังกล่าวจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและเอกสารต่าง ๆ&nbsp; จากนั้นผู้วิจัยจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อค้นหารูปแบบบทการแสดง ผลการวิจัยพบว่าสามารถแบ่งรูปแบบการออกแบบบทการแสดงได้ทั้งหมด 5 องก์ ได้แก่ องก์ 1 เล่าย้อนบวรสถาน กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทั้ง 6 พระองค์ องก์ 2 อลังการงานช่างศิลป์ กล่าวถึงความงามในมิติต่าง ๆ ของพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส องก์ 3 ลือระบิลถิ่นศึกษา กล่าวถึงตึกและอาคารเรียนของวิทยาลัยนาฏศิลป องก์ 4 เรืองพัฒนานาฏกรรม กล่าวถึงพระราชนิพนธ์ของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และองก์ 5 วิจิตรล้ำวังบวร กล่าวถึงความงามของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลและสดุดีกรมพระราชวังบวรสถานมงคลทั้ง 6 พระองค์ ทั้งนี้ผลที่ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ</p> อัมไพวรรณ เดชะชาติ, ธีรภัทร์ ทองนิ่ม Copyright (c) 2024 คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280213 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของดนตรีบำบัดเพื่อการฟื้นฟูประสิทธิภาพการหายใจในผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่พ้นระยะแพร่กระจายเชื้อ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280214 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของดนตรีบำบัดที่ช่วยในการฟื้นฟูประสิทธิภาพการหายใจในผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่พ้นระยะแพร่กระจายเชื้อ และศึกษาความพึงพอใจจากการรับบริการดนตรีบำบัดของผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 13 ราย โดยกิจกรรมดนตรีบำบัดประกอบไปด้วย การฝึกหายใจประกอบดนตรี และกิจกรรมการร้องเพลงแบบกลุ่ม ในการศึกษานี้ใช้แบบประเมินการหายใจผ่านเสียงพูด และแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจ ในการเก็บข้อมูล และผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระยะเวลาที่ผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถเปล่งเสียงก่อนและหลังการบำบัด และการอธิบายเชิงพรรณนาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ความพึงพอใจ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าร้อยละ 92 ของผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถเปล่งเสียงได้นานขึ้น ซึ่งตรวจวัดโดยพยาบาลวิชาชีพด้วยแบบประเมินการหายใจผ่านเสียงพูด และจากการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจต่อการรับบริการดนตรีบำบัดพบว่าร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมวิจัยมีความประทับใจ เพลิดเพลินกับกิจกรรมดนตรีบำบัด ทำให้การฝึกฝนไม่น่าเบื่อ และเสมือนว่ากำลังทำกิจกรรมดนตรีมากกว่าที่จะต้องรู้สึกว่าฝึกหายใจ ดังนั้นแล้วการเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจให้ดีขึ้นจำเป็นที่จะต้องมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง&nbsp; ซึ่งการใช้กิจกรรมดนตรีบำบัดนั้นทำให้ผู้เข้าร่วมวิจัยรู้สึกสนุกเพลิดเพลินในการฝึกฝน อันนำไปสู่การฝึกฝนที่ต่อเนื่อง อีกทั้งยังใช้หน้าที่ขององค์ประกอบทางดนตรีที่มีผลต่อการรักษาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบดนตรีที่ใช้ในการฝึกฝน</p> ทรงวรธรรม สมกอง, กานต์ยุพา จิตติวัฒนา, นิอร เตรัตนชัย Copyright (c) 2024 คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280214 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 วิเคราะห์เพลงตอกคาตาจากเพลงชุดปูร์เลอปิยาโนของโคลดเดอบุสซี ตามหลักวิเคราะห์ของเฟลิกซ์ ซาลเซอร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280215 <p>บทความวิจัยฉบับนี้เป็นการวิเคราะห์บทเพลงตอกคาตา ในเพลงชุดปูร์เลอปิยาโน ประพันธ์โดยโคลด เดอบุสซี โดยผู้วิจัยได้นำวิธีการวิเคราะห์ ของเฟลิกซ์ ซาลเซอร์ มาใช้อธิบายถึงโครงสร้างระดับต่าง ๆ มุ่งเน้นไปที่โครงสร้างระดับพื้นฐานไปยังโครงสร้างระดับกลาง รวมถึงรายละเอียดที่สำคัญต่าง ๆ ผลวิเคราะห์พบว่าโครงสร้างพื้นฐานของเพลงมีโน้ต C# เป็นศูนย์กลางเสียง โน้ต C# ถูกขยายความออกเป็นทำนองแนวเบส C#-C- C# โครงสร้างเสียงประสาน คือคอร์ด C#m-C- C# มีพื้นฐานจากทำนองสอดประสาน รูปแบบสังคีตลักษณ์มิติใหญ่เป็นดนตรี 3 ตอน โดยมีรูปแบบย่อยซ่อนอยู่ภายใน มีลักษณะเป็นรอนโด 7 ตอน หลังจากพิจารณาลดรูปโน้ตลง เปิดเผยให้เห็นว่าเดอบุสซีได้ใช้กลุ่มเสียงต่าง ๆ เช่น โมดลิเดียน โมดมิกโซลิเดียน กลุ่มเสียงโฮลโทน คอร์ดคู่ 4 เรียงซ้อน และกลุ่มเสียงทรัยโทน เป็นต้น เพื่อสร้างสำเนียงใหม่ ๆ ให้กับบทเพลง<em>ตอกคาตา</em> ท่ามกลางสำเนียงดนตรีแบบใหม่ ผู้ประพันธ์ได้ซ่อนโครงสร้างระดับกลางของเพลง ที่ยังคงรูปแบบของเสียงประสานแบบประเพณีดั้งเดิมเอาไว้อย่างแยบยล</p> พลพันธุ์ กุลกิตติยานนท์, วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น Copyright (c) 2024 คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280215 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์และตีความการบรรเลงปิคโคโลจากบทเพลงมาร์ช ประพันธ์โดย จอห์น ฟิลิป ซูซา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280217 <p>บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์การวิเคราะห์และตีความการบรรเลงปิคโคโลจากบทเพลงคัดสรรประเภทมาร์ช ประพันธ์โดย จอห์น ฟิลิป ซูซา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยศึกษาค้นคว้าเอกสารทางวิชาการ เน้นที่บทประพันธ์เพลงมาร์ช ของจอห์น ฟิลิป ซูซา 5 บทประพันธ์ โดยบทประพันธ์ทั้ง 5 ของจอห์น ฟิลิป ซูซา ได้จัดเผยแพร่โน้ตผ่านวารสารในชื่อ “The Complete Marches of John Philip Sousa” เริ่มตั้งแต่ฉบับที่ 2 ถึงฉบับที่ 6 โดย “The President’s Own” United States Marine Band โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์บทประพันธ์เพลงมาร์ชของจอห์น ฟิลิป ซูซา ทั้ง 5 บทประพันธ์&nbsp; 2) เพื่อตีความการบรรเลงปิคโคโลจากบทเพลงคัดสรรประเภทมาร์ช ที่ประพันธ์โดยจอห์น ฟิลิป ซูซา</p> <p>ผลการวิเคราะห์พบว่าบทเพลงทั้ง 5 อยู่ในสังคีตลักษณ์ประเภทมาร์ช นอกจากนี้อัตราความเร็วในบทเพลงของจอห์น ฟิลิป ซูซา จะระบุ March Tempo ผู้วิจัยตีความว่าเป็นจังหวะเร็วที่เหมาะสมกับดนตรีเดินแถวคือโน้ตตัวขาวในอัตราจังหวะ 2/2 เท่ากับ 120-122 และอัตราความเร็วที่ระบุ Marcia brillante ผู้วิจัยตีความว่าเป็นจังหวะเร็วที่เปล่งประกาย คือโน้ตตัวดำเท่ากับ 145 และผลการตีความการบรรเลงปิคโคโลจากบทเพลงคัดสรรประเภทมาร์ชทั้ง 5 บทเพลงเพื่อเป็นแนวทางการบรรเลงปิคโคโลให้ได้ลีลาเสียงตามแนวทางปฏิบัติของจอห์น ฟิลิป ซูซา โดยเน้นถึงความสำคัญของการควบคุมลักษณะเสียง (Articulation) และการควบคุมความเข้มของเสียง (Dynamics) และมีเทคนิคของปิคโคโลดังนี้ 1) การพรมนิ้ว 2) การตัดลิ้นแบบบังคับลิ้นซ้อนสองชั้น (Double Tonguing) 3) การหายใจแบบฉับพลัน 4) การควบคุมลักษณะเสียงแบบมาร์ช 5) การเล่นโน้ตสะบัด 6) การตัดลิ้นแบบบังคับลิ้นซ้อนสามชั้น (Triple Tonguing)</p> <p>&nbsp;</p> กฤตพัฒน์ สุวรรณัง, ภาวไล ตันจันทร์พงศ์ Copyright (c) 2024 คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280217 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลงานสร้างสรรค์การผสมเสียงเพลงประกอบบรรยากาศ : เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280219 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนองานสร้างสรรค์การผสมเสียงบทเพลงจำนวน 3 บทเพลงได้แก่ 1. <em>เพลงซิมโฟนิกเห่เรือ </em>2. <em>เพลงราชอาณาจักรแห่งสุวรรณภูมิ </em>และ 3. <em>เพลงจิตวิญญาณรังสรรค์ </em>เพื่อนำไปใช้เปิดประกอบบรรยากาศ ณ สถานที่เมืองโบราณจังหวัดสมุทรปราการ โดยทั้ง 3 บทเพลงใช้เครื่องดนตรีไทย จีนและอินเดียผสมผสานกับเครื่องดนตรีตะวันตก ผู้สร้างสรรค์ได้ศึกษาองค์ประกอบสำคัญของการผสมเสียงโดยหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ โดยมุ่งเน้นใน 4 ประเด็นดังนี้ ประเด็นความสมดุลของเสียง (Balance) การจัดวางตำแหน่งเสียง (Placement) ความชัดเจนของเสียง (Clarity) และเทคนิคที่ใช้ในการผสมเสียง (Mixing Techniques) จากนั้นจึงเริ่มการผสมเสียงโดยยึดกระบวนการตามประเด็นที่ได้กล่าวมาอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อให้ได้ผลงานการผสมเสียง</p> <p>จากการศึกษาทำให้ผู้สร้างสรรค์ได้องค์ความรู้ใหม่และนำมาประยุกต์ใช้ในทั้ง 3 บทเพลง เช่น การใช้งานตัวประมวลผลเสียงคอมเพรสเซอร์ 2 ตัวต่อเนื่องกัน หรือการรวมกลุ่มของแทร็กเครื่องดนตรีและทำการแทรกตัวประมวลผลเพื่อสร้างความกลมกลืนของเสียงมากยิ่งขึ้น จึงเกิดเป็นผลงานสร้างสรรค์การผสมเสียงตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเป้าไว้</p> <p>&nbsp;</p> ชาคร คุระทอง, พลังพล ทรงไพบูลย์, เจตนิพิฐ สังข์วิจิตร Copyright (c) 2024 คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280219 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลงานสร้างสรรค์บทเพลงเดี่ยวทรัมเป็ต “THE KING NARAI TRUMPET FANFARE” https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280221 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นผลงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานบทเพลงเดี่ยวทรัมเป็ต “The King Narai Trumpet Fanfare” ทำการแสดงโดยใช้วิธีการบรรเลงดนตรี รวมถึงเผยแพร่วัฒนธรรมทางด้านดนตรีในเชิงอนุรักษ์ให้แก่ชุมชนและท้องถิ่นเพื่อเป็นผลงานให้แก่จังหวัดลพบุรี รวมถึงนำไปบูรณาการใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่โรงเรียนต่าง ๆ ผู้วิจัยได้ทำการสร้างสรรค์บทเพลง โดยนำบทเพลงที่อ้างอิงจากประวัติศาสตร์เมืองลพบุรี จำนวน 3 เพลง ได้แก่ ระบำลพบุรี สุดใจ และสายสมร รวมถึงการนำเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบของดนตรีตะวันตกและดนตรีไทย เข้ามาบรรเลงประกอบร่วมกันในการเดี่ยวทรัมเป็ตเพื่อใช้ในการบรรเลงเพื่อทำการนำเสนอผลงาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าผลงานสร้างสรรค์บทเพลงถูกสร้างขึ้นและทำการแบ่งออกเป็น 4 ท่อน ซึ่งในแต่ละท่อนจะทำการบรรเลงด้วยทรัมเป็ตประกอบกับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ ซึ่งองค์ประกอบของดนตรีจะประกอบไปด้วย ทำนอง บันไดเสียง เทคนิคเฉพาะของการบรรเลงทรัมเป็ต รูปแบบของอัตราจังหวะที่มีความเรียบง่ายจนพัฒนาขึ้นไปถึงรูปแบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งเป็นแนวทางหลักที่นำมาใช้ในการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงาน รวมถึงได้รับผลการวิจัยมาวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังจากที่ผู้ชมได้รับฟังบทเพลงเดี่ยวทรัมเป็ต “The King Narai Trumpet Fanfare” มีค่าเฉลี่ยรวม 4.61 อยู่ในระดับดีที่สุด</p> อภิวัฒน์ สุริยศ Copyright (c) 2024 คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Mupabuujournal/article/view/280221 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700