รัฐศาสตร์สาร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/PolscituJR <p>“รัฐศาสตร์สาร” เป็นวารสารวิชาการฉบับแรกของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เป็นสื่อกลางสำหรับแลกเปลี่ยนนานาทัศนะในหมู่นักวิชาการและเผยแพร่ความรู้ด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ทั้งในรูปบทความวิจัย บทความวิชาการ บทความแปล และบทปริทัศน์หนังสือ</p> คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, Faculty of Political Science, Thammasat University th-TH รัฐศาสตร์สาร 0125-135X การศึกษาเปรียบเทียบนโยบายความสัมพันธ์ช่องแคบไต้หวันของพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า https://so06.tci-thaijo.org/index.php/PolscituJR/article/view/263745 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาเปรียบเทียบนโยบายช่องแคบไต้หวันของรัฐบาลจากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าสองรัฐบาลที่ดำเนินนโยบายแตกต่างกัน แม้พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าจะมีอัตลักษณ์เชิงนโยบายในการส่งเสริมเอกราชของไต้หวัน รัฐบาลเฉินในช่วงแรก (2000-2002) มีนโยบายแสวงหาความร่วมมือและเปลี่ยนเป็นนโยบายเผชิญหน้า (2002-2008) ขณะที่รัฐบาลไช่ (2016-2022) ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายโดยยังคงเน้นนโยบายเผชิญหน้า งานวิจัยวิเคราะห์โดยใช้กรอบแนวคิดการจัดการภัยคุกคามภายในและภายนอก และพบว่าปัจจัยที่ทำให้ทั้งสองรัฐบาลดำเนินนโยบายต่างกันคือ 1. ภูมิรัฐศาสตร์ภายใต้การแข่งขันของสหรัฐฯ และจีน 2. การเมืองระหว่างพรรคการเมืองในสภานิติบัญญัติ และ 3. พัฒนาการของอัตลักษณ์ไต้หวันกับความต้องการเชิงนโยบายของฐานเสียง ปัจจัยทั้งสามสัมพันธ์และนำไปสู่การดำเนินนโยบายจัดการภัยคุกคามของพรรคการประชาธิปไตยก้าวหน้าในรูปแบบนโยบายต่างประเทศ</p> แสงเทียน เผ่าเผือก Copyright (c) 2024 รัฐศาสตร์สาร 2024-04-23 2024-04-23 45 1 1 57 สามทศวรรษ Siam mapped: จากการรื้อสร้างสู่การสถาปนาวาทกรรม ค.ศ.1994-2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/PolscituJR/article/view/259407 <p>บทความชิ้นนี้มุ่งวิพากษ์และวิเคราะห์หนังสือ “กำเนิดสยามจากแผนที่ฯ” (“Siam mapped”) โดย ธงชัย วินิจจะกูล ในแง่มุมต่าง ๆ ได้แก่ ตำแหน่งแห่งที่ของ Siam mapped ในไทยคดีศึกษา ความเข้าใจต่อข้อเสนอของ Siam mapped และปัญหาในเชิงวิธีวิทยาของ Siam mapped</p> <p>จากการศึกษาพบว่า Siam mapped เป็นหนึ่งในงานสายวิพากษ์ที่มาในช่วงความเสื่อมถอยของ<br />องค์ความรู้ที่ถูกสร้างขึ้นโดยนักวิชาการอเมริกัน Siam mapped ได้ตั้งคำถามต่อชุดความรู้เรื่องเสียดินแดนและข้ออ้างเรื่องรักษาเอกราชของกษัตริย์ที่ครอบงำไทยคดีศึกษาในช่วงเวลาดังกล่าว Siam mapped พยายามตั้งคำถามต่อ “ภูมิกายา” (Geo-body) หรือรูปร่างของสยามบนแผนที่ซึ่งได้กลายมาเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของ “ความเป็นชาติไทย” (Thai nationhood) แม้ Siam mapped จะทำเพียงการวิพากษ์องค์ความรู้เดิม แต่กลับกลายเป็นฐานขององค์ความรู้ใหม่ที่เสนอว่าสยาม “ได้ดินแดน” ผ่านการอ้างอิงข้อเสนอ Siam mapped ในฐานะหลักฐานเป็นจำนวนมาก ปัญหานี้เกิดจากการที่ Siam mapped มิได้ระบุวิธีวิทยาอย่างชัดเจนอย่างการสืบสาแหรก (genealogy) ที่มุ่งเน้นวิพากษ์องค์ความรู้ในปัจจุบันหรือความจริง (truth) มากกว่าจะเป็นการวิจารณ์ต่อ “ข้อเท็จจริง” (fact) ในอดีต การอ้างอิง Siam mapped ที่ผิดพลาด <br />จึงกลายเป็นการที่ Siam mapped ได้สร้างวาทกรรม (discourse) ของ “วาทกรรมเสียดินแดน” (lost territory discourse) ขึ้นมาเอง</p> ฐนพงศ์ ลือขจรชัย Copyright (c) 2024 รัฐศาสตร์สาร 2024-04-23 2024-04-23 45 1 58 109 สภาพจริงนิยมคลาสสิกในทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/PolscituJR/article/view/264682 <p>บทความวิจัยชิ้นนี้ตั้งคำถามเชิงวิพากษ์กับคำอธิบายกระแสหลักของสภาพจริงนิยมคลาสสิก โดยเสนอว่า “สภาพจริงนิยมคลาสสิก” ที่รับรู้เข้าใจกันโดยทั่วไปนั้นเป็นเพียง “มายาคติ” โดยมายาคตินี้เกิดขึ้นมาจากแหล่งที่มาสำคัญ 2 แหล่งด้วยกันคือ มุมมองของสภาพจริงนิยมเชิงโครงสร้าง และการผลิตซ้ำองค์ความรู้ในตำราแบบเรียนพื้นฐานทางด้านทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย บทความนี้มีเป้าหมายที่จะชี้ให้เห็นถึงความสลับซับซ้อนทางภูมิปัญญาของสภาพจริงนิยมคลาสสิกในฐานะทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ&nbsp;&nbsp;</p> <p>บทความนี้แบ่งออกเป็นสี่ส่วนสำคัญคือ ส่วนแรกนำเสนอการอ่านผิด “สภาพจริงนิยมคลาสสิก” โดย Kenneth N. Waltz เจ้าพ่อสำนักสภาพจริงนิยมใหม่ ส่วนที่สองพิจารณาการผลิตซ้ำคำอธิบายในตำราแบบเรียนทฤษฎี IR ทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย ส่วนที่สามสำรวจการตีความใหม่ของ “สภาพจริงนิยมคลาสสิก” ในการศึกษาวิจัยและวรรณกรรมทางวิชาการทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในช่วงตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา ในส่วนสุดท้ายเสนอแนะบททดลองเสนอที่เรียกว่า “หลักการหกประการของสภาพจริงนิยมคลาสสิก” เพื่อชี้ให้เห็นลักษณะร่วมสำคัญของสภาพจริงนิยมคลาสสิก และเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง E.H. Carr กับ Hans J. Morgenthau ซึ่งบทความนี้เสนอว่า สภาพจริงนิยมคลาสสิกให้ความสำคัญกับทั้งอำนาจและศีลธรรม รัฐและตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (ได้แก่ปัจเจกในกรณีของ Carr และรัฐบาลโลกในกรณีของ Morgenthau) และทฤษฎีเชิงประจักษ์และทฤษฎีเชิงปทัสถาน รวมทั้งยังส่งเสริมทฤษฎีการหาความรู้ที่ไม่ใช่ปฏิฐานนิยมอีกด้วย แต่นักทฤษฎีทั้งสองแตกต่างกันโดย Carr นั้นมีวิสัยทัศน์แบบปฏิบัตินิยม (Pragmatic Realism) ในขณะที่ Morgenthau มีวิสัยทัศน์แบบโศกนาฎกรรม (Tragic Realism)</p> จิตติภัทร พูนขำ Copyright (c) 2024 รัฐศาสตร์สาร 2024-04-23 2024-04-23 45 1 110 174 แนวคิดและวิธีการทางประวัติศาสตร์ของ อี.พี. ธอมป์สัน (E.P.Thompson) ใน The Making of the English Working Class https://so06.tci-thaijo.org/index.php/PolscituJR/article/view/264512 <p>อี.พี. ธอมป์สัน (E.P.Thompson) เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งในฐานะนักประวัติศาสตร์, นักเขียนบทความ และนักกิจกรรมการเมือง และเป็นผู้ที่ก่อให้เกิดการถกเถียงมากที่สุดในหมู่นักประวัติศาสตร์มาร์กซิสต์อังกฤษทั้งหมด <em>The Making of the English Working Class</em> (1963) ทำให้ธอมป์สันกลายเป็น "นักประวัติศาสตร์ที่ถูกอ้างถึงอย่างกว้างขวางที่สุดในโลกของศตวรรษที่ 20" ใน <em>The Making of the English Working Class</em> ธอมป์สันเล่าถึงวิธีการที่ประชาชนผู้ใช้แรงงานอังกฤษเกิดความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันขึ้นในหมู่พวกเขา และต่อต้านนายจ้างของพวกเขาในช่วงระหว่างปี 1790 และ 1830 ข้อเสนอที่สำคัญของ <em>The Making of the English Working Class</em> ก็คือ "ชนชั้น" (class) ไม่ใช่ "สิ่งๆ หนึ่ง" (a thing), ไม่ใช่การตีความทางทฤษฎี (theoretical construct), ไม่ใช่โครงสร้าง (structure) หรือ หมวดหมู่ (category) หากแต่เป็น "ปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์" (a historical phenomenon) ที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของมนุษย์ ดังที่ธอมป์สันกล่าวว่า "ชนชั้นเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์บางพวก, ในฐานะผู้ที่มีประสบการณ์ร่วม (ทั้งที่สืบทอดมาจากอดีต และแบ่งปันร่วมกันในปัจจุบัน), รู้สึกถึงและแสดงอัตลักษณ์เกี่ยวกับผลประโยชน์ของพวกเขาออกมาอย่างชัดแจ้ง ทั้งในหมู่พวกเขาเอง และที่ต่อต้านขัดแย้งกับมนุษย์คนอื่นๆ ผู้ซึ่งมีอัตลักษณ์ทางผลประโยชน์แตกต่างออกไป (และมักจะอยู่ตรงกันข้ามเสมอ) จากผลประโยชน์ของพวกเขา" ดังนั้น "ชนชั้น" จึงเป็นหนี้บุญคุณต่อ "ตัวกระทำการ" (agency) มากพอๆ กับ "สภาพเงื่อนไขภายนอกที่กำลังเปลี่ยนแปลง" (conditioning) และประชาชนผู้ใช้แรงงานก็ต่อสู้ด้วยการดึงเอาขนบประเพณีแบบอังกฤษออกมา "สร้าง" ให้ตัวของพวกเขาเองกลายเป็นชนชั้นหนึ่ง</p> ธิกานต์ ศรีนารา Copyright (c) 2024 รัฐศาสตร์สาร 2024-04-23 2024-04-23 45 1 175 240