รัฐศาสตร์สาร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/PolscituJR <p>“รัฐศาสตร์สาร” เป็นวารสารวิชาการฉบับแรกของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เป็นสื่อกลางสำหรับแลกเปลี่ยนนานาทัศนะในหมู่นักวิชาการและเผยแพร่ความรู้ด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ทั้งในรูปบทความวิจัย บทความวิชาการ บทความแปล และบทปริทัศน์หนังสือ Print ISSN : 0125-135X</p> th-TH polscitu.jr@gmail.com (ศาสตราจารย์ ธเนศ วงศ์ยานนาวา) polscitu.jr@gmail.com (ธเนศ วงศ์ยานนาวา) Tue, 20 Aug 2024 13:06:40 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การอภิบาลเมืองกับเทคโนโลยีดิจิทัล https://so06.tci-thaijo.org/index.php/PolscituJR/article/view/271569 <p>บทความชิ้นนี้มุ่งศึกษาเนื้อหาสาระของแนวคิดการอภิบาลเมืองเพื่อเปรียบเทียบกับแนวคิดการอภิบาลเมืองผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล วัตถุประสงค์หลักของการวิเคราะห์เปรียบเทียบแนวคิดทั้งสองคือ การชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดภายหลังกระแสการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 21 บทความทางวิชาการจากฐานข้อมูล Google Scholar และ ศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย เป็นแหล่งข้อมูลหลักที่ใช้วิเคราะห์แนวคิด มิติการวิเคราะห์ และแนวทางการสร้างและพัฒนาเมือง ข้อค้นพบชี้ให้เห็นว่า แนวคิดการอภิบาลเมืองเดิมให้ความสำคัญกับตัวแสดง การแบ่งปันอำนาจระหว่างตัวแสดง และการบริหารอำนาจเพื่อกำหนดแนวทางการสร้างและพัฒนาเมือง สำหรับแนวคิดการอภิบาลเมืองผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลเน้นย้ำความสำคัญของเทคโนโลยี มุ่งวิเคราะห์ผลลัพธ์ของเทคโนโลยีที่ใช้บริหารจัดการเมือง และสนใจการบริหารเทคโนโลยีเพื่อวางแนวทางการสร้างและพัฒนาเมือง อย่างไรก็ดี การวิเคราะห์ความไม่เป็นทางการของเมืองกับการอภิบาลเมืองและการอภิบาลเมืองผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นประเด็นที่ควรวิเคราะห์ต่อไปในอนาคต</p> ชุมพล อุ่นพัฒนาศิลป์ Copyright (c) 2024 รัฐศาสตร์สาร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/PolscituJR/article/view/271569 Tue, 20 Aug 2024 00:00:00 +0700 องค์กรอิสระในระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/PolscituJR/article/view/265140 <p>บทความนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษา และเปรียบเทียบกรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยทั้งของไทย และต่างประเทศ จำนวน 5 แนวคิด ได้แก่ 1.) อำมาตยาธิปไตย 2.) รัฐพันลึก 3.) การสร้างความคงทนของระบอบเผด็จการ 4.) ตุลาการธิปไตย และ 5.) แนวคิดเกี่ยวกับหน้าที่หลักของศาล และฝ่ายตุลาการในระบอบเผด็จการ เพื่อนำมาพิจารณาว่า แนวคิดใดสามารถใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยกับองค์กรอิสระของไทย ในแง่ที่องค์กรอิสระกลายเป็นกลไกทำงานขับเคลื่อนระบอบเผด็จการหรือระบอบผสมได้อย่างหมาะสมที่สุด โดยเน้นในช่วงรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 – 2566 เท่านั้น โดยผลการศึกษาพบว่า แนวคิดการสร้างความคงทนของระบอบเผด็จการของ Andreas Schedler มีความเหมาะสมในการวิเคราะห์มากที่สุด เนื่องจากแนวคิดนี้สามารถอธิบายระบอบการปกครองของไทยในช่วงดังกล่าวได้ตรงกับสภาพความเป็นจริงที่สุด และอธิบายถึงองค์ประกอบหลัก 4 ประการในการสร้างความคงทน และความอยู่รอดให้กับระบอบเผด็จการ ที่สามารถนำมาใช้วิเคราะห์วิธีการเข้าควบคุมองค์กรอิสระ เพื่อเปลี่ยนให้เป็นกลไกในการทำงานให้กับระบอบได้อย่างชัดเจน และครอบคลุมในแทบทุกระดับชั้นทางการเมือง</p> นันทพัทธ์ ชัยโฆษิตภิรมย์ Copyright (c) 2024 รัฐศาสตร์สาร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/PolscituJR/article/view/265140 Tue, 20 Aug 2024 00:00:00 +0700 ประชาคมอาเซียนกับความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/PolscituJR/article/view/269497 <p>บทความวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพัฒนาการความร่วมมือและกระบวนทัศน์ความร่วมมือด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติของประชาคมอาเซียน (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ตลอดจนรูปแบบความร่วมมือด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติของประชาคมอาเซียน และ (3) นำเสนอการพัฒนาการดำเนินการความร่วมมือด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติของประชาคมอาเซียน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิจัยเอกสาร ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุปจากข้อมูลเชิงบรรยายนำมาซึ่งบทสรุปที่ค้นพบและมาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย และสังเคราะห์กรอบการวิจัยจากแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ แนวคิดเกี่ยวกับสถาบันและการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันของความร่วมมือ แนวคิดการบูรณาการและภารกิจนิยม แนวคิดความมั่นคงรูปแบบใหม่ และหลักการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการทูตภัยพิบัติ ซึ่งจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติของอาเซียนและกระบวนทัศน์สามารถแบ่งได้เป็นยุค ได้แก่ ยุคก่อตั้งสมาคมอาเซียนและริเริ่มพัฒนาความร่วมมือภายใต้สมาคมอาเซียน (ค.ศ. 1967-1978), ยุคความร่วมมือชะงักงันอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์เวียดนามบุกกัมพูชา (ค.ศ. 1980-1991), ยุคการบูรณาการความร่วมมือให้ลึกซึ้งและขยายกว้างขึ้นหลังสงครามเย็น: พัฒนาความเป็นสถาบันด้านการจัดการภัยพิบัติ (ค.ศ. 1992-2005), ยุคความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติภายใต้การสร้างประชาคมและการพัฒนากลไกเชิงสถาบันภายใต้กฎบัตรอาเซียน (ค.ศ. 2006-2015) จนกระทั่งยุคสร้างแนวทางการประสานงานให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นภายใต้กระบวนทัศน์การลดความเสี่ยงภัยพิบัติ และแนวคิดใหม่ ๆ (ค.ศ. 2016-ปัจจุบัน) จากผลการศึกษา ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะในการมีความสัมพันธ์ทางการทูตภัยพิบัติระหว่างอาเซียนกับนานาประเทศ โดยใช้เหตุภัยพิบัติเป็นแรงขับดัน สนับสนุนการนำหลักการ R2P ลงมาปฏิบัติในระดับท้องถิ่นสู่การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติของอาเซียน และการรับแนวคิดและกรอบการดำเนินงานโลกโดยไม่ทิ้งการออกแบบการดำเนินงานจากภายในภูมิภาคเอง</p> สุวิชชญา จันทรปิฎก Copyright (c) 2024 รัฐศาสตร์สาร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/PolscituJR/article/view/269497 Tue, 20 Aug 2024 00:00:00 +0700 กรอบแนวคิดสำคัญของการศึกษาการนำนโยบายไปปฏิบัติ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/PolscituJR/article/view/271823 <p>บทความวิชาการชิ้นนี้นำเสนอกรอบแนวคิดพื้นฐานที่ถูกนำมาใช้ในการศึกษาวิเคราะห์การนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยสามารถแบ่งได้เป็นสามประเภทหลัก ประกอบด้วย กรอบแนวคิดการนำนโยบายไปปฏิบัติแบบบนลงล่าง แบบล่างขึ้นบน และแบบผสม เนื้อหาในบทความนี้บ่งชี้สมมติฐานหลัก ตัวแปรสำคัญ และตัวอย่างกรอบแนวคิดของนักวิชาการที่โดดเด่น ซึ่งถูกอ้างอิงและนำไปใช้ศึกษานโยบายอย่างกว้างขวาง เพื่ออธิบายช่องวางและความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างนโยบายและเป้าหมายนโยบายที่กำหนด และผลลัพธ์จริงของนโยบายเมื่อได้นำไปปฏิบัติแล้ว อย่างไรก็ตาม กล่าวได้ว่า กรอบแนวคิดเพื่อศึกษาและทำความเข้าใจในการนำโยบายไปปฏิบัติในโลกที่มีพลวัตและความซับซ้อนสูงยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและยากจะอธิบายได้อย่างครบถ้วนในคราวเดียวได้ในบทความนี้</p> อจิรภาส์ เพียรขุนทด Copyright (c) 2024 รัฐศาสตร์สาร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/PolscituJR/article/view/271823 Tue, 20 Aug 2024 00:00:00 +0700