วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/SLJ
<p>วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์เป็นวารสารกฎหมายของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือหรือผลงานวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย หรือเกี่ยวกับการปรับใช้ศาสตร์แขนงต่าง ๆ กับกฎหมาย เช่น การพัฒนากับกฎหมาย เศรษฐศาสตร์กับกฎหมาย วิทยาศาสตร์กับกฎหมาย หรือมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์กับกฎหมาย เป็นต้น</p>
Faculty of Law, Prince of Songkla University
th-TH
วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์
2730-3721
<p>ลิขสิทธิ์ในบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นของวารสารกฎหมายสงขลานครินทร์ วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์มีสิทธิในการเผยแพร่ ทำซ้ำ หรือรวบรวมบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ความคิดเห็นใด ๆ ของผู้เขียนในบทความ กองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย ทั้งนี้กองบรรณาธิการวารสารไม่สงวนสิทธิในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย</p>
-
พลวัตการตรวจเงินแผ่นดินในการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/SLJ/article/view/270196
<p>บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินมีลักษณะเป็นพลวัตเปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาประเทศและระบอบการปกครองของไทย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 มีบทบัญญัติที่แตกต่างไปจากกฎหมายว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินที่มีมาแต่เดิม ปัจจุบันการตรวจเงินแผ่นดินทำหน้าที่เป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญในการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐ และทำให้กลไกตรวจเงินแผ่นดิน ได้แก่ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีความเกี่ยวเนื่องกับการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐมากขึ้นกว่าแต่ก่อน อาทิ กฎหมายมีบทบัญญัติกำหนดให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินมีหน้าที่และอำนาจตรวจเงินแผ่นดินตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐกำหนดให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีหน้าที่และอำนาจสั่งลงโทษกรณีมีการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ และกำหนดให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินในการดำเนินบทบาทที่สำคัญดังกล่าว จึงสมควรอย่างยิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจะต้องทำความเข้าใจถึงบทบาทอันสำคัญนี้ให้ถูกต้องตรงกัน</p>
อลงกรณ์ กลิ่นหอม
Copyright (c) 2024 วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
6 2
1
16
-
ข้อสังเกตเกี่ยวกับความไม่สมบูรณ์ของคำอธิบายความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากและแก้ไขง่าย ในเอกสารทางด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทย
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/SLJ/article/view/272021
<p>รัฐธรรมนูญเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับประชาชนทั้งหลายภายในประเทศ ดังนั้น รัฐธรรมนูญไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของกฎเกณฑ์ที่มีการรวมไว้ในกฎหมายฉบับเดียวหรือในรูปแบบของกฎเกณฑ์ที่กระจัดกระจายออกจากกันจึงมีสถานะที่แตกต่างจากกฎหมายโดยทั่วไป ความแตกต่างนี้ส่งผลให้กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นกระทำลงได้ยากกว่าการแก้ไขกฎหมายทั่วไปเสมอ อย่างไรก็ตาม คำอธิบายจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากและรัฐธรรมนูญที่แก้ไขง่ายในเอกสารทางกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะอธิบายถึงรัฐธรรมนูญที่แก้ไขง่ายในลักษณะที่ว่าสามารถแก้ไขได้ง่ายดังเช่นกฎหมายธรรมดา การอธิบายในลักษณะนี้ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของรัฐธรรมนูญ ดังนั้น บทความชิ้นนี้จึงเสนอให้มีการปรับปรุงคำอธิบายดังกล่าว โดยคำอธิบายใหม่นั้นจะสะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติของรัฐธรรมนูญที่แก้ไขได้ยากกว่ากฎหมายธรรมดาเสมอ ในขณะเดียวกัน บทความชิ้นนี้ยังเสนอต่อไปอีกด้วยว่า เมื่อมีการเปรียบเทียบความเหมือนระหว่างกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่กระทำลงได้โดยง่ายกับกระบวนการตราหรือแก้ไขกฎหมายธรรมดา โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่ไม่ได้ประมวลหลักการทางรัฐธรรมนูญขึ้นมาเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร จะต้องอธิบายไปในลักษณะที่แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าความเหมือนเช่นว่านั้นคือความเหมือนในเชิงกระบวนการ การใช้คำอธิบายเช่น “รัฐธรรมนูญนั้นสามารถแก้ไขได้ดังเช่นกฎหมายธรรมดา” เป็นสิ่งที่ควรจะหลีกเลี่ยง เนื่องจากอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่ารัฐธรรมนูญหรือกฎเกณฑ์ในระดับรัฐธรรมนูญมีสถานะเท่าเทียมกับกฎหมายธรรมดาได้</p>
ณัฐดนัย นาจันทร์
Copyright (c) 2024 วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
6 2
17
40
-
การรับเข้ากฎหมายรัฐธรรมนูญ: ข้อความคิดและข้อพิจารณาเบื้องต้น
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/SLJ/article/view/272952
<p>"การรับเข้ากฎหมายรัฐธรรมนูญ" เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติแทบทั่วโลกเมื่อมีการร่าง การปรับปรุงแก้ไข หรือการใช้การตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญ การเรียนรู้จากผู้อื่นเป็นที่มาของความรู้และแรงบันดาลใจในการพัฒนาระบบการเมืองการปกครองของประเทศได้เป็นอย่างดี ในปัจจุบัน “ตลาดรัฐธรรมนูญโลก” เต็มไปด้วยตัวแบบและแหล่งอ้างอิงหลากหลายที่รัฐซึ่งต้องการปรับปรุงระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญของตนสามารถจะเลือกหยิบยืมมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาที่ต้องประสบได้ อย่างไรก็ตาม กระบวนการการรับเข้านั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อนอันมีอุปสรรคและข้อจำกัดไม่น้อย อาทิ การต้องเข้าใจข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อความคิดหรือสถาบันทางกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นตัวอย่างอย่างถ่องแท้ การปะทะระหว่างวัตถุที่รับเข้ามากับบริบทวัฒนธรรมทางกฎหมายของรัฐปลายทาง ตลอดถึงความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ทำให้กฎหมายรัฐธรรมนูญที่รับเข้ากลายพันธุ์ไป ด้วยเหตุนี้ บรรดาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจึงต้องคอยระมัดระวังและต้องพยายามตระเตรียมการให้ดีที่สุดสำหรับการหาสมดุลที่เหมาะสมระหว่างบริบทกฎหมายดั้งเดิมกับบรรทัดฐานหรือสถาบันทางกฎหมายใหม่ที่รับเข้ามา</p>
ปูนเทพ ศิรินุพงศ์
Copyright (c) 2024 วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
6 2
41
57