วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/SLJ <p>วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์เป็นวารสารกฎหมายของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือหรือผลงานวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย หรือเกี่ยวกับการปรับใช้ศาสตร์แขนงต่าง ๆ กับกฎหมาย เช่น การพัฒนากับกฎหมาย เศรษฐศาสตร์กับกฎหมาย วิทยาศาสตร์กับกฎหมาย หรือมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์กับกฎหมาย เป็นต้น</p> th-TH <p>ลิขสิทธิ์ในบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นของวารสารกฎหมายสงขลานครินทร์ วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์มีสิทธิในการเผยแพร่ ทำซ้ำ หรือรวบรวมบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ความคิดเห็นใด ๆ ของผู้เขียนในบทความ กองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย ทั้งนี้กองบรรณาธิการวารสารไม่สงวนสิทธิในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย</p> kittiya.pr@psu.ac.th (อาจารย์กิตติยา พรหมจันทร์ (Miss Kittiya Prommajun)) atchara.me@psu.ac.th (คุณอัจฉรา เมฆฉาย (Mrs. Atchara Mekchay)) Thu, 26 Dec 2024 14:57:14 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้สูงอายุผู้มีรายได้น้อยที่ตกอยู่ในฐานะผู้บุกรุกที่ดินของรัฐในมิติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/SLJ/article/view/272655 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาหรือข้อจำกัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้สูงอายุที่เป็นผู้มีรายได้น้อยที่ตกอยู่ในฐานะผู้บุกรุกที่ดินของรัฐ 2) ถอดบทเรียนหรือแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อยที่ตกอยู่ในฐานะผู้บุกรุกที่ดินของรัฐในประเทศไทย 3) เสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการจัดที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้สูงอายุที่เป็นผู้มีรายได้น้อยในมิติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการวิจัยนี้ได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research)</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางประเภท เช่น เทศบาลเมือง องค์การบริหารส่วนตำบล ไม่มีอำนาจในการจัดที่อยู่อาศัย อีกทั้งไม่สามารถใช้มาตรการบังคับทางปกครองแก่ผู้สูงอายุผู้มีรายได้น้อยที่บุกรุกที่ดินของรัฐได้ ขาดการนำหลักการมีส่วนร่วมไปดำเนินงาน ขาดการบูรณาการทำงานร่วมกัน ดังนั้น ควรเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ในการจัดที่อยู่อาศัยให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทุกระดับ นำหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนมาใช้ในการแก้ไขปัญหาและการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน <br />ภาคประชาสังคมและชุมชน เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณค่าและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น</p> จิรนันท์ ชูชีพ, ชลีรัตน์ มเหสักขกุล, จิดาภา พรยิ่ง Copyright (c) 2024 วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/SLJ/article/view/272655 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 มาตรการทางกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีที่ผู้บริโภคไม่ได้รับอสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาภายหลังซื้ออสังหาริมทรัพย์ก่อนการก่อสร้างแล้วเสร็จ: ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการของประเทศไทยและมาตรการฟื้นฟูอสังหาริมทรัพย์ร้างของประเทศมาเลเซีย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/SLJ/article/view/272842 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายที่ใช้คุ้มครองผู้บริโภคในกรณีที่ผู้บริโภคไม่ได้รับอสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาภายหลังเข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายและได้ชำระราคาไปก่อนการก่อสร้างแล้วเสร็จ รวมถึงศึกษากฎหมายการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาในประเทศไทยและศึกษาเปรียบเทียบมาตรการฟื้นฟูอสังหาริมทรัพย์ร้างของประเทศมาเลเซีย เพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายที่สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยไม่สามารถให้การคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีเข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ก่อนการก่อสร้างแล้วเสร็จได้ เนื่องจากไม่สามารถบังคับให้ผู้ประกอบธุรกิจชำระราคาอสังหาริมทรัพย์คืนแก่ผู้บริโภค รวมถึงไม่สามารถส่งมอบอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้บริโภคได้ ซึ่งแตกต่างจากมาตรการฟื้นฟูอสังหาริมทรัพย์ร้างของประเทศมาเลเซียที่สามารถจัดให้มีการเข้าฟื้นฟูโครงการอสังหาริมทรัพย์ร้าง ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับการชำระเงินคืนหรือได้รับอสังหาริมทรัพย์ตามสัญญา จึงควรนำมาตรการฟื้นฟูอสังหาริมทรัพย์ร้างของประเทศมาเลเซียมาปรับใช้ในประเทศไทยต่อไป</p> <p> ผู้วิจัยจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 รวมถึงกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการเข้าฟื้นฟูโครงการอสังหาริมทรัพย์ร้าง ซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองในการเข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ อันเป็นผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย</p> พิชญ์นา มานีวัน, ภาณุพงศ์ เฉลิมสิน Copyright (c) 2024 วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/SLJ/article/view/272842 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัญหาการควบรวมกิจการโทรคมนาคม ภายใต้กฎหมายเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้า https://so06.tci-thaijo.org/index.php/SLJ/article/view/273733 <p style="font-weight: 400;"> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลการควบรวมกิจการโทรคมนาคม ภายใต้บริบทผู้ประกอบการโทรคมนาคมหลักเพียงสองราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE) อันเกิดจากการควบรวมกิจการกับบริษัท โทเทิ่ล แอ๊คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC) โดยมุ่งเน้นศึกษารูปแบบของหน่วยงานกำกับดูแลและมาตรการทางกฎหมายของ สหราชอาณาจักรและประเทศนอร์เวย์ เพื่อเป็นแนวทางในการกำกับดูแลการควบรวมกิจการโทรคมนาคมให้ได้รับการปรับปรุงแก้ไขหรือเพิ่มเติมมาตรการทางกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าการควบรวมกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทยมีปัญหาทางกฎหมายที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) ปัญหาความไม่ชัดเจนและความไม่เหมาะสมของประกาศของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่มีเนื้อหาที่ไม่ชัดเจนและไม่ตอบโจทย์การกำกับดูแลการควบรวมกิจการอย่างเหมาะสม 2) ความไม่ชัดเจนในอำนาจการอนุญาตของ กสทช. โดยมีความไม่ชัดเจนว่ามีสิทธิในการอนุญาต ไม่อนุญาต หรืออนุญาตภายใต้เงื่อนไขเฉพาะ และ 3) ขาดมาตรการเยียวยาในกรณีที่ กสทช. มีมติอนุญาตให้ควบรวมกิจการ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงขอเสนอให้มีการกำหนดมาตรการทางกฎหมายใหม่ โดยให้ กสทช. มีอำนาจชัดเจนในการพิจารณาอนุญาต หรือไม่อนุญาตการควบรวมกิจการ หรืออนุญาตภายใต้เงื่อนไขเฉพาะ นอกจากนี้ ควรมีการกำหนดมาตรการเยียวยาที่เหมาะสมเพื่อรักษาการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม</p> กฤษดา มุงคุณ Copyright (c) 2024 วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/SLJ/article/view/273733 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700