@article{สังวงศ์_สายรักษา_สิงหเลิศ_2022, place={๊Udonthani, Thailand}, title={การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเองบนพื้นฐานเกษตรอินทรีย์ จังหวัดหนองคาย}, volume={10}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/UDRUAJ/article/view/256423}, abstractNote={<p>                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเองบนพื้นฐานเกษตรอินทรีย์ จังหวัดหนองคาย 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเองบนพื้นฐานเกษตรอินทรีย์ จังหวัดหนองคาย 3) ทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองบนพื้นฐานเกษตรอินทรีย์ จังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงทดลอง วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น  3 ระยะ  </p> <p> </p> <p> </p> <p>               ผลการวิจัย  พบว่า</p> <p>               1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเองบนพื้นฐานเกษตรอินทรีย์ จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ ผู้แทนเกษตรกร ที่ดำเนินการทำเกษตรอินทรีย์ จังหวัดหนองคาย โดยใช้วิธีกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง สูตรทาโรยามาเน่ (1973: 727) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 277 คน สุ่มแบบแบ่งชั้นและสุ่มอย่างง่าย การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม แบบประมาณค่า 5 ระดับ ตามตัวแปรการพึ่งตนเอง 5 ทาง ได้แก่ การพึ่งตนเองทาง 1) เศรษฐกิจ 2) ทรัพยากรธรรมชาติ 3) จิตใจ  4) คุณภาพชีวิตของสังคม  และ 5) เทคโนโลยี สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานได้แก่ การวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง(SEM) โดยใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL) และสหสัมพันธ์เพียร์สัน  ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไป พบว่า  เพศ มีเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 75.81 มากกว่าเพศชาย  อายุ มากสุดระหว่าง 46-55 ปี คิดเป็นร้อยละ 41.16  ระดับการศึกษา ระดับประถมศึกษา มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 57.40 จำนวนสมาชิกในครอบครัว มีจำนวนมากที่สุดระหว่าง จำนวน 1-5 คน คิดเป็นร้อยละ 47.65  ผลการศึกษาสภาปัจจุบันปัญหา พบว่า  1) ปัญหาการขาดผลรับทางเศรษฐกิจในการประกอบอาชีพ 2) ขาดทุนหมุนเวียนในการบริหารจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ 3) ปัญหาการขาดการดูแลส่งผลทางจิตใจ  4) ปัญหาการขาดคุณภาพชีวิตสังคมจากการสนับสนุนอาชีพ 5) ปัญหาภัยแล้ง ขาดแหล่งน้ำขาดการนำใช้เทคโนโลยีในการทำการเกษตร ผลการศึกษาความต้อง พบว่า ต้องการการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเองบนพื้นฐานเกษตรอินทรีย์ให้เป็นผลสำเร็จให้มากที่สุด</p> <p>  2)  ผลสร้างรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเองบนพื้นฐานเกษตรอินทรีย์ จังหวัดหนองคาย พบว่า ผลวิเคราะห์ระยะที่ 1 รวมถึงการศึกษาดูงานเพื่อเป็นการถอดบทเรียน นำมาร่างรูปแบบการพัฒนาและพิจารณาเห็นชอบโดยผู้เชียวชาญ นักวิชาการ และผู้วิจัย จำนวน 20 คน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับประเด็นคำถามในการสัมภาษณ์ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นได้รวบรวมประเด็น วิเคราะห์ ตีความและสร้างข้อสรุปผลการพิจารณาทำให้ได้รูปแบบการพัฒนา มีลักษณะเป็นกิจกรรมทั้งหมด จำนวน 10 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2) เลี้ยงไก่พื้นเมือง 3) การปลูกพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ 4) การปลูกพืชสมุนไพร 5) การจัดสวนเพื่อการเรียนรู้และท่องเที่ยว 6) การสร้างจิตสำนึกเพื่อพึ่งตนเอง 7) การทำปุ๋ยชีวภาพ 8) การทำเกษตรอินทรีย์ 9) การจัดการน้ำด้วยระบบอัตโนมัติ  10) การจัดทำสื่อโฆษณาทางอิเล็กทรอนิกส์</p> <p>               3) ผลการทดลองใช้และประเมินผลพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองด้วยเกษตรอินทรีย์ จังหวัดหนองคาย กลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน หลังการทดลองมีการพัฒนาชุมชนพึ่งตนเองบนพื้นฐานเกษตรอินทรีย์ดีขึ้นกว่าก่อนทดลอง  ผลจากการเปรียบเทียบความแตกต่างทีละตัวแปร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ผลความสำเร็จในการดำเนินการตามตัวแปร  5 ด้าน  การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจดีขึ้น ทางทรัพยากรธรรมชาติดีขึ้น ทางจิตใจดีขึ้น ทางคุณภาพชีวิตของสังคมดีขึ้น  และการพึ่งตนเองทางเทคโนโลยีดีขึ้น  ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้  </p>}, number={1}, journal={วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี}, author={สังวงศ์ วารีรัฐ and สายรักษา แดนวิชัย and สิงหเลิศ รังสรรค์}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={152} }