https://so06.tci-thaijo.org/index.php/UDRUAJ/issue/feed
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
2024-06-28T17:47:40+07:00
ดร.วิไลลักษณ์ ขาวสอาด
ddna62@gmail.com
Open Journal Systems
<p>บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาวิชาการ และวิชาชีพระดับสูง ทำการวิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมฐานะครู มีปรัชญา คือ สร้างผู้นำทางการวิจัย มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาองค์กรสู่สากล สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้นการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ จึงเป็นบทบาทและภารกิจสำคัญ ของสำนักงานโครงการบัณฑิตศึกษา เพื่อให้องค์ความรู้ทางการวิชาการ ผลงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ได้นำไปใช้ประโยชน์และไปสู่สาธารณชน รวมทั้งเป็นแหล่งความรู้ให้กับคณาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา ตลอดจนบุคลากรทั่วไป ได้นำองค์ความรู้ไปพัฒนาต่อยอดทางความคิด และการเรียนรู้ รวมไปถึงการสร้างความร่วมมือทางวิชาการที่แสดงถึงองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง ชุมชน ท้องถิ่น และสังคมให้ดียิ่งขึ้น</p> <p>บัณฑิตวิทยาลัย ตระหนักถึงประโยชน์นานัปการในการเป็นสื่อส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัย ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ จึงจัดโครงการจัดทำวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้ และวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมุ่งเน้นงานวิจัยและบทความวิชาการ ตลอดจนเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่าง นักศึกษา นักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษา นักวิชาการอิสระ ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม อันจะก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม</p>
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/UDRUAJ/article/view/269625
แนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์เส้นทางการขนส่งในแม่น้ำโขงตอนบน หลังสถานการณ์โควิด 19 กรณีศึกษา ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน จังหวัดเชียงราย และท่าเรือกวนเหล่ย เขตปกครองพิเศษสิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน
2024-01-02T01:07:52+07:00
นพชัย ฟองอิสสระ
em_noppachai_f@crru.ac.th
วิกรม บุญนุ่น
em_noppachai_f@crru.ac.th
โกมินทร์ วังอ่อน
em_noppachai_f@crru.ac.th
อารีย์ บินประทาน
em_noppachai_f@crru.ac.th
ปรัชญาณินทร์ วงศ์อทิติกุล
em_noppachai_f@crru.ac.th
<p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วยตัวแสดง 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ตัวแทนจากภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการจัดทำสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค (SWOT) และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ โดยวิเคราะห์ผลโดยใช้กลุยุทธองค์กร 7S McKinsey จำนวน 15 คน และกลุ่มที่ 2 ผู้มีส่วนได้เสียการขนส่งสินค้าจากไทยของท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนไปยังท่าเรือกวนเหล่อยของจีนตอนใต้ ประกอบด้วย ตัวแทนจากภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการด้านการขนส่งสินค้าในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยการสัมภาษณ์ จำนวน 7 คน รวม 22 คน โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาศักยภาพการขนส่งในแม่น้ำโขงตอนบน ของท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน จังหวัดเชียงรายไปยังท่าเรือกวนเหล่ย จีนตอนใต้ และ 2. เพื่อศึกษาสถานการณ์การปิดท่าเรือท่าเรือกวนเหล่ย จีนตอนใต้ที่มีผลต่อการคมนาคมแม่น้ำโขงตอนบนของจังหวัดเชียงราย และ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์เส้นทางการขนส่งในแม่น้ำโขงตอนบน หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19 ของท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน จังหวัดเชียงราย ผลการศึกษาพบว่า 1. การเติบโตทางการค้าชายแดนเป็นผลมาจากนโยบายการค้าและการขนส่งของจีนในการผลักดันเส้นทางยุทธศาสตร์ขนส่งทางน้ำในการเป็นประตูจีนตอนใต้ ผ่านมลฑลยูนนานเชื่อมโยงสู่อาเซียน โดยปัจจัยเหล่านี้ นับเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาจังหวัดเชียงรายให้เป็นศูนย์กลางเมืองท่าเชื่อมโยงระหว่างจีนและอาเซียน 2. สถานการณ์ที่ปิดท่าเรือกวนเหล่ย เป็นผลมาจากมาตรการโควิดเป็นศูนย์ (Zero- Covid) มาตรการบังคับใช้นี้ แลกมาด้วยความเสียหายของระบบเศรษฐกิจ ทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจการขนส่งแม่น้ำโขงอย่างหนัก ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยต้องแบกรับต้นทุนการขนส่งทางบกผ่านเส้นทางR3Aที่เพิ่มขึ้นในช่วงมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 และ 3. ยุทธศาสตร์ของท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน ในการพัฒนายุทธศาสตร์เส้นทางการขนส่งในแม่น้ำโขงตอนบน หลังสถานการณ์โควิด 19 ประกอบด้วย 1. สร้างข้อตกลงการคมนาคมทางน้ำโขงบน ระหว่างประเทศไทย เมียนมา สปป.ลาว และจีน 2. การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของจังหวัดให้ได้มาตรฐาน และ 3. สร้างพันธมิตรด้านการค้าและการลงทุน</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/UDRUAJ/article/view/269280
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานเขต อุดรธานี
2024-01-02T01:44:31+07:00
เอกราช เข็มทอง
ekkarachkh@hotmail.com
ทิพวรรณา งามศักดิ์
ekkarachkh@kkumail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน 2) ศึกษาความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร 3) ศึกษาผลลัพธ์ที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงาน 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผล กับความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร และ 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร กับผลลัพธ์ของความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม จากการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมันอยู่ที่ 0.823 และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ พนักงานธนาคากรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานเขต อุดรธานี จำนวน 120 คน ซึ่งได้มาโดยความสมัครใจของผู้ตอบแบบสอบถามโดยวิธี Convenient or Volunteer sampling สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.09 อยู่ในระดับที่เห็นด้วย 2) ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.03 อยู่ในระดับที่เห็นด้วย 3) ผลลัพธ์ที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.10 อยู่ในระดับที่เห็นด้วย 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผล กับความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร ได้ค่า Pearson correlation อยู่ระหว่าง 0.165 – 0.258 แสดงถึงความสัมพันธ์ของ ปัจจัยที่ส่งผล และความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร กับผลลัพธ์ของความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร ได้ค่า Pearson correlation อยู่ระหว่าง 0.213 – 0.264 258 แสดงถึงความสัมพันธ์ของ ปัจจัยที่ส่งผล และความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกันเช่นเดียวกัน</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/UDRUAJ/article/view/270194
การจัดการองค์ความรู้เพื่อการสืบสานศิลปะการแทงหยวก ในพื้นที่แหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ไทยพวนบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
2024-01-04T23:32:42+07:00
ชุติพงศ์ คงสันเทียะ
chutiphong.kh@udru.ac.th
กนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์
chutiphong.kh@udru.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะการแทงหยวกของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ให้อยู่ในรูปแบบของฐานข้อมูลและสื่อการเรียนรู้ และ (2) นำองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะการแทงหยวกของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวนที่ถูกจัดระบบแล้ว มาประยุกต์เป็นกิจกรรมเพื่อเผยแพร่และสืบสานสู่ชุมชนท้องถิ่น ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกปราชญ์ท้องถิ่นจำนวน 1 คน เพื่อสกัดองค์ความรู้ออกจากตัวบุคคล และกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ การจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเผยแพร่ความรู้และทักษะศิลปะการแทงหยวกแก่ผู้ที่สนใจ จำนวน 1 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินทักษะการฝึกปฏิบัติ และแบบประเมินความพึงพอใจการนำไปใช้ประโยชน์ การวิเคราะห์ใช้แนวคิดแบบจำลองการจัดการองค์ความรู้เซกิ (SECI) ผลการวิจัยพบว่า มีการจัดการองค์ความรู้ศิลปะการแทงหยวกโดยเริ่มต้นจากการสกัด “ความรู้ที่ฝังลึก” สู่ “ความรู้ที่ชัดแจ้ง” ให้อยู่ในรูปแบบฐานข้อมูลและสื่อการเรียนรู้ ได้แก่ แผ่นพับ ป้ายนิทรรศการ และคู่มือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) จากนั้นจึงมีการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อผนึกความรู้กลับเข้าสู่ตัวบุคคลอีกครั้ง มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 66 คน ผู้ผ่านการประเมินทักษะฝึกปฏิบัติคิดเป็นร้อยละ 87.88 และมีผลการประเมินความพึงพอใจการนำไปใช้ประโยชน์โดยเฉลี่ยในระดับมากที่สุด (4.27) โดยแนวทางสำคัญในการนำองค์ความรู้ไปต่อยอด ได้แก่ การนำไปสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนบนฐานทุนทางวัฒนธรรม</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/UDRUAJ/article/view/270469
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การบวกและการลบ จำนวนนับที่มากกว่า 100,000 โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
2024-01-15T17:23:08+07:00
ณัฐรียา วันสา
62120602104@udru.ac.th
วัลลภ เหมวงษ์
graduate@udru.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มากกว่า 100,000 โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มากกว่า 100,000 โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา 3) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มากกว่า 100,000 โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน</p> <p> กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2565 ห้องเรียนหลักสูตรปกติ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มากกว่า 100,000 โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 9 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู สังเกตโดยครูผู้ช่วยวิจัย แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน สังเกตโดยครูผู้ช่วยวิจัย แบบสัมภาษณ์ผู้เรียนในท้ายวงจรปฏิบัติการ โดยผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย และแบบทดสอบท้ายวงจรปฏิบัติการ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบ่งเป็น 3 วงจรปฏิบัติการ คือ วงจรปฏิบัติการที่ 1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1–3 วงจรปฏิบัติการที่ 2 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4–6 วงจรปฏิบัติการที่ 3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7–9 ซึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยมีครูผู้ช่วยวิจัยสังเกตพฤติกรรม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูและพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน และสัมภาษณ์นักเรียน เพื่อสะท้อนข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูในแต่ละวงจรปฏิบัติการ ผู้วิจัยนำข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพมาใช้ในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวงจรปฏิบัติการถัดไป เมื่อดำเนินการครบทุกวงจรปฏิบัติการ แล้วทำการทดสอบท้ายการปฏิบัติการวิจัยอีกครั้งหนึ่ง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มากกว่า 100,000 โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ 1) กำหนดปัญหา 2) ทำความเข้าใจปัญหา 3) ดำเนินการศึกษาค้นคว้า 4) สังเคราะห์ความรู้ 5) สรุป และประเมินค่าคำตอบ 6) นำเสนอและประเมินผลงาน โดยเสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา 2. นักเรียนที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มากกว่า 100,000 โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ย 32 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 และ 3. นักเรียนที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มากกว่า 100,000 โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 50 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 16 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 81 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/UDRUAJ/article/view/271671
ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1
2024-02-29T21:01:58+07:00
พรรณิษา ทองดี
a.0869164409@gmail.com
โสภา อำนวยรัตน์
A.0869164409@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 4) ศึกษาสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 205 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น กำหนดสัดส่วนตามขนาดของกลุ่มประชากรในแต่ละสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก โดยรวมรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก โดยรวมรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็กกับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็กทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01กับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ระดับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก มี 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านการจูงใจ, ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, ปัจจัยด้านบรรยากาศองค์การ และปัจจัยด้านการพัฒนาบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถพยากรณ์ความสำเร็จ ได้ร้อยละ 74.5 ดังสมการพยากรณ์ต่อไปนี้ สมการรูปคะแนนดิบ คือ Y = 1.144 + .230X<sub>5</sub> + .151X<sub>2</sub> + .222X<sub>4</sub> + .154X<sub>1</sub> และสมการรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z = .312(Z<sub>5</sub>)+ .204(Z<sub>2</sub>)+ .280(Z<sub>4</sub>)+ .194(Z<sub>1</sub>)</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/UDRUAJ/article/view/271678
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับ ความเป็นนวัตกรทางการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1
2024-02-29T23:59:56+07:00
สุภาพร ใจยะสุข
suphaporn784@gmail.com
โสภา อำนวยรัตน์
suphaporn784@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 2) ความเป็นนวัตกรทางการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นนวัตกรทางการศึกษาของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 จำนวน 242 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ความเป็นนวัตกรทางการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ 3) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านมีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับสูงมากกับความเป็นนวัตกรทางการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/UDRUAJ/article/view/271862
การเพิ่มประสิทธิภาพทักษะความสามารถภาษาอังกฤษตามกรอบมาตรฐานซีอีเอฟอาร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน กรณีศึกษา นักศึกษากลุ่มแกนนำมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
2024-03-05T18:39:57+07:00
ชลิดา เสน่ห์เมือง
chalida.sa@udru.ac.th
<p>การวิจัยฉบับนี้ต้องการศึกษาประสิทธิภาพทักษะความสามารถทางภาษาอังกฤษผ่านการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน ตามกรอบมาตรฐานซีอีเอฟอาร์ ของนักศึกษากลุ่มแกนนำ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยมีวัตถุประสงค์ของงานวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพทักษะความสามารถทางภาษาอังกฤษ 2) เพื่อยกระดับภาษาอังกฤษตามกรอบมาตรฐานซีอีเอฟอาร์ของนักศึกษา ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน และ 3) เพื่อศึกษาเจตคติของนักศึกษาต่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษผ่านการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน การวิจัยได้แบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 ศึกษาปัญหาและผลกระทบการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษา ระยะที่ 2 ดำเนินการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษผ่านการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน ระยะที่ 3 วัดผลเจตคติของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยในครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งหมด 35 คน ที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะดิจิทัลและภาษาอังกฤษทั้งหมด และจะเป็นนักศึกษากลุ่มแกนนำในการส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามสภาพปัญหาและผลกระทบของพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษา แผนการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน ด้วยการเน้นทักษะการอ่าน การฟัง และไวยากรณ์ ทั้งหมด 9 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง ข้อสอบวัดทักษะความสามารถทางภาษาอังกฤษระดับมาตรฐานสากลด้วยระบบดิจิทัล เป็นผลระดับภาษาอังกฤษตามมาตรฐานซีอีเอฟอาร์ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมและหลังเข้าร่วมกิจกรรม โดยวัดทักษะการอ่าน การฟัง และไวยากรณ์ และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแตกต่างของระดับผลภาษาอังกฤษผ่านการทดสอบด้วยสถิติวิลคอกซันเน้นในทักษะการอ่าน การฟัง ไวยากรณ์ และภาพรวมของทุกทักษะ ผลการวิจัยพบว่า จากผลการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษก่อนกิจกรรมและหลังการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเป็นฐาน นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมีการพัฒนาระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนอกจากนี้นักศึกษามีเจคคติต่อการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างประสิทธิภาพทักษะภาษาอังกฤษแบบกิจกรรมเป็นฐานอยู่ในระดับดีมากโดยมีค่าเฉลี่ย ( X = 4.67) ซึ่งช่วยเสริมสร้างการกระตือรือร้นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นผลเจตคติต่อความพึงพอใจต่อการพัฒนาระดับภาษาของตนเองของนักศึกษาอยู่ในระดับดีมากด้วยค่าเฉลี่ย ( X = 4.62) แสดงให้เห็นถึงทัศนคติเชิงบวกต่อกิจกรรมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมในการเพิ่มประสิทธิภาพผลการเรียนภาษาอังกฤษ</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/UDRUAJ/article/view/271905
การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
2024-03-06T23:12:08+07:00
สุภาพร คุ้มบุญ
poop46301@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ แบบเพื่อนคู่คิดให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลัง โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด และ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 34 คน ใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสมนึกพิทยา อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ได้มาโดยการสุ่ม แบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมการ เรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด 2) แบบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความ และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผู้วิจัยขอสรุปผลการศึกษาดังนี้ 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การอ่านจับ ใจความ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิดกับให้มีประสิทธิภาพด้านกระบวนการ (E1) เท่ากับ87.53 ประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 90.29 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้ง 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่องการอ่านจับใจความโดยใช้ กิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด หลังเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ.05 และ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ แบบเพื่อนคู่คิดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนทั้งหมด 34 ค่าเฉลี่ย 116.56 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.61 มีความสามารถในการอ่านจับใจความผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็มขึ้นไป</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี