วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/UDRUAJ <p>บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาวิชาการ และวิชาชีพระดับสูง ทำการวิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมฐานะครู มีปรัชญา คือ สร้างผู้นำทางการวิจัย มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาองค์กรสู่สากล สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้นการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ จึงเป็นบทบาทและภารกิจสำคัญ ของสำนักงานโครงการบัณฑิตศึกษา เพื่อให้องค์ความรู้ทางการวิชาการ ผลงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ได้นำไปใช้ประโยชน์และไปสู่สาธารณชน รวมทั้งเป็นแหล่งความรู้ให้กับคณาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา ตลอดจนบุคลากรทั่วไป ได้นำองค์ความรู้ไปพัฒนาต่อยอดทางความคิด และการเรียนรู้ รวมไปถึงการสร้างความร่วมมือทางวิชาการที่แสดงถึงองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง ชุมชน ท้องถิ่น และสังคมให้ดียิ่งขึ้น</p> <p>บัณฑิตวิทยาลัย ตระหนักถึงประโยชน์นานัปการในการเป็นสื่อส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัย ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ จึงจัดโครงการจัดทำวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้ และวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมุ่งเน้นงานวิจัยและบทความวิชาการ ตลอดจนเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่าง นักศึกษา นักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษา นักวิชาการอิสระ ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม อันจะก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม</p> บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี th-TH วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 1905-7024 กลวิธีทางภาษากับการสื่อความหมาย “#การเรียนออนไลน์” ในสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/UDRUAJ/article/view/265098 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษากับการสื่อความหมายจาก #การเรียนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้ทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ก ที่โพสต์ตั้งแต่ 1 – 31 กรกฎาคม 2564 ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ 187 โพสต์ และใช้กรอบแนวคิดการวิจัยสาขาภาษาศาสตร์ด้านการวิเคราะห์ความหมาย ผลการศึกษาพบว่า มีกลวิธีทางภาษา 11 กลวิธี ได้แก่ (1) การอ้างประสบการณ์หรือข้อเท็จจริง 106 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 56.68 (2) การแสดงความรู้สึก 83 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 44.39 (3) การถาม 78 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 41.71 (4) การติเตียน 64 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 34.22 (5) การเสียดสี 48 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 25.67 (6) การยืนยัน 30 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 16.04 (7) การเรียกร้อง 29 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 15.51 (8) การแนะนำ 19 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 10.16 (9) การสร้างอารมณ์ขัน 12 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 6.42 (10) การคาดคะเน 6 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 3.21 และ (11) การคาดหวัง 5 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 2.67 โดยมีการสื่อความหมายการเรียนออนไลน์ที่สะท้อนถึงเจตนาของผู้โพสต์อย่างหลากหลาย เช่น วิธีการสอน ทักษะและความรู้ของครู สภาพแวดล้อมในการเรียน ความพร้อมของครอบครัว สภาพเศรษฐกิจ</p> รุ่งรัตน์ ทองสกุล Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2023-12-23 2023-12-23 11 2 1 16 การออกแบบชุดกิจกรรมเพิ่มทักษะการประกอบอาชีพ โดยใช้การพัฒนา ผลิตภัณฑ์เกษตร อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/UDRUAJ/article/view/266358 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา 2) ศึกษาทักษะการประกอบอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้ชุดกิจกรรมเพิ่มทักษะการประกอบอาชีพ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมเพิ่มทักษะการประกอบอาชีพ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโรงเรียนบ้านแท่นวิทยา อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 44 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดกิจกรรมเพิ่มทักษะการประกอบอาชีพ โดยใช้การพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา แบบทดสอบทักษะการประกอบอาชีพ และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และ สถิติทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 87.25/82.73 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กําหนดไว้ คือ 80/80 ทักษะการประกอบอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเพิ่มทักษะการประกอบอาชีพ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมเพิ่มทักษะการประกอบอาชีพ โดยใช้การพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x) เท่ากับ 4.77</p> วิราวรรณ พุทธมาตย์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2023-12-23 2023-12-23 11 2 17 30 การพัฒนาความเข้าใจมโนทัศน์พันธะโคเวเลนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/UDRUAJ/article/view/267844 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเข้าใจมโนทัศน์พันธะโคเวเลนต์ ก่อนเรียนและหลังเรียน และการเปลี่ยนแปลงความเข้าใจมโนทัศน์พันธะโคเวเลนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 33 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดหนองบัวลำภู ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ จำนวน 6 แผน 2) แบบวัดความเข้าใจโนทัศน์พันธะโคเวเลนต์ ซึ่งเป็นข้อสอบแบบวินิจฉัย 2 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบแบบทีไม่อิสระ (t-test for dependent samples) การทดสอบไคสแควร์แบบ McNemar ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความเข้าใจมโนทัศน์พันธะโคเวเลนต์ หลังเรียน ( x = 13.36 หรือ 74.22%) สูงกว่าก่อนเรียน ( x = 5.21 หรือ 28.96%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 2) นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงความเข้าใจมโนทัศนที่ไม่สอดคล้องเป็นความเข้าใจมโมโนทัศน์ที่สอดคล้องกับมโนทัศน์พันธะโคเวเลนต์มากขึ้นจากร้อยละ 16.16 เป็นร้อยละ 83.84 และนักเรียนร้อยละ 95.45 มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความเข้าใจมโนทัศน์เชิงบวก (+) กล่าวคือ มีการเปลี่ยนแปลงความเข้าใจมโนทัศน์จากระดับต่ำไปเป็นระดับที่สูงขึ้น </p> มะลิวัล ผะสมพืช หนูกร ปฐมพรรษ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2023-12-23 2023-12-23 11 2 31 44 การใช้การจัดการเรียนรู้แบบความร่วมมือด้วยเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/UDRUAJ/article/view/263624 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่าภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบความร่วมมือด้วยเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี และเพื่อศึกษาเจตคติต่อการสอนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบความร่วมมือด้วยเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนศศิกานต์วิทยา ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มแบบแผนของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ 12 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และแบบวัดเจตคติต่อการสอนภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การใช้การจัดการเรียนรู้แบบความร่วมมือด้วยเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี ดำเนินการทดลองใช้ระยะเวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 24 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่อิสระ และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัยสรุปดังนี้ นักเรียนมีคะแนนความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 11.40 คิดเป็นร้อยละ 28.58 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 29.03 คิดเป็นร้อยละ 72.23 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 และเมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยพบว่าความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และนักเรียนมีเจตคติต่อการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบความร่วมมือด้วยเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี อยู่ในระดับดี</p> Pornnapa Sripadyos Napasup Lerdpreedakorn Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2023-12-23 2023-12-23 11 2 45 57 การพัฒนาหลักสูตรต่อยอดสินค้าเกษตรในชุมชนสู่ระบบอาหารปลอดภัย ภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่าย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/UDRUAJ/article/view/267038 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของหลักสูตร “การพัฒนาและยกระดับส้มโอสู่มาตรฐานอาหารปลอดภัย” เสริมเสร้างความมั่นคงด้านอาหารปลอดภัยสำหรับชุมชน ตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่าย มีกระบวนการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 วางแผนและพัฒนาหลักสูตร การปลูกส้มโอปลอดสารพิษ ขั้นตอนที่ 2 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลการใช้หลักสูตร โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก การวิเคราะห์เอกสาร การสำรวจพื้นที่แปลงเกษตรกร และสอบถามความพึงพอใจกับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 25 คน ที่สมัครเข้าร่วมอบรม หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมได้จัดเวทีสรุปและสะท้อนผลการวิจัยกับภาคีเครือข่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาหลักสูตรภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่าย โดยหลักสูตรประกอบด้วย สาระสำคัญ ได้แก่ 1) การปลูกส้มโอปลอดสารพิษ และ 2) แนวทางการขับเคลื่อนและเชื่อมโยงเครือข่ายช่องทางการตลาดอาหารปลอดภัย เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใช้รูปแบบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และลงมือปฏิบัติงานจริง ผลการจัดอบรม พบว่า โดยภาพรวมเกษตรกรผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจต่อการจัดอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด () และจากการติดตามประเมินผลหลังการอบรม พบว่า เกษตรกรสามารถนำเอาความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปปฏิบัติการปลูกส้มโอในพื้นที่ของตนเองได้ การสะท้อนคิด พบว่า การมีส่วนร่วมและกำหนดบทบาทของภาคส่วนต่างๆ ในการส่งเสริมการปลูกส้มโอปลอดสารพิษ เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารปลอดภัยของชุมชนเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากจะทำให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน และเป็นการสนับสนุนที่ชัดเจน</p> <p> </p> ดวงใจ วิชัย วิราวรรณ พุทธมาตย์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2023-12-23 2023-12-23 11 2 58 71 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบใช้เกมเป็นฐาน ที่มีต่อทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/UDRUAJ/article/view/268096 <p>การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบใช้เกมเป็นฐาน ที่มีต่อทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้เกมเป็นฐาน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้เกมเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/4 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2565 โรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้เกมเป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้เกมเป็นฐาน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบใช้เกมเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 86.51/86.32 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้เกมเป็นฐานสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้เกมเป็นฐาน ที่มีต่อทักษะการพูดภาษาอังกฤษ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ซึ่งอยู่ในระดับมาก</p> ชญานิศ บำรุง ธนดล ภูสีฤทธิ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2023-12-23 2023-12-23 11 2 72 84 การเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต และอธิบายเสริมด้วยเทคนิคการใช้คำถาม ต่อความเข้าใจมโนทัศน์การเปลี่ยนแปลงของสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/UDRUAJ/article/view/267715 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเปรียบเทียบความเข้าใจมโนทัศน์การเปลี่ยนแปลง ของสาร ก่อนเรียนและหลังเรียน และการเปลี่ยนความเข้าใจมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลางแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบกลุ่ม มีการใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต และอธิบายเสริมด้วยเทคนิคการใช้คำถาม เรื่องการเปลี่ยนแปลงของสาร จำนวน 5 แผน 2) แบบวัดความเข้าใจมโนทัศน์การเปลี่ยนแปลงของสาร ซึ่งเป็นข้อสอบแบบวินิจฉัย 2 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบแบบทีไม่อิสระ (t-test for dependent samples) การทดสอบไควสแควร์แบบ McNemar ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความเข้าใจมโนทัศน์การเปลี่ยนแปลงของสาร หลังเรียน (x = 9.60 หรือคิดเป็นร้อยละ 64) สูงกว่าก่อนเรียน (x = 4.03 หรือคิดเป็นร้อยละ 26.89) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนมีการเปลี่ยนความเข้าใจมโนทัศน์ที่ไม่สอดคล้องเป็นความเข้าใจมโนทัศน์ที่สอดคล้องกับมโนทัศน์การเปลี่ยนแปลงของสารมากขึ้นจากร้อยละ 35.33 เป็นร้อยละ 64.67 และนักเรียนร้อยละ 60.67 มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความเข้าใจมโนทัศน์เปลี่ยนแปลงในเชิงบวก (+) กล่าวคือมีการเปลี่ยนความเข้าใจมโนทัศน์จากระดับต่ำไปเป็นระดับที่สูงขึ้น</p> ธัญภัค สารีโท หนูกร ปฐมพรรษ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2023-12-23 2023-12-23 11 2 85 97 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/UDRUAJ/article/view/269121 <p>การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิตให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต ก่อนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต ก่อนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 <br />ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2565 โรงเรียนอนุบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 43 คน ซึ่งได้มาจากวิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต 3) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าแจกแจง t – test แบบ Dependent Samples</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 79.50/87.85 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานรายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้น 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิตโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก</p> ทรรศน์พร อ่อนประทุม Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2023-12-23 2023-12-23 11 2 98 111