@article{บุญโญ_ทัดแก้ว_2020, title={ราวณะในปอุมจริยะของวิมลสูริ: ตัวละครปรปักษ์ตามแนวคิดศลากาปุรุษะ }, volume={20}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/206126}, DOI={10.14456/vannavidas.2020.5}, abstractNote={<p>ปอุมจริยะ รามายณะฉบับของศาสนาเชน แต่งขึ้นในบริบทแนวคิดของศาสนาเชน ที่เรียกว่า ศลากาปุรุษะ ซึ่งเป็นแนวคิดสำคัญที่กวีเชนมักนำมาใช้ในการแต่งวรรณคดีประเภทเรื่องเล่า บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาราวณะในฐานะตัวละครปรปักษ์ตามแนวคิดศลากาปุรุษะ และความสัมพันธ์ต่อพระรามและพระลักษมณ์ภายใต้กรอบแนวคิดดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่าราวณะมีลักษณะเป็นวีรบุรุษผู้ทรงพลังอำนาจ มีความสามารถในการรบ และเป็นเชนศาสนิกที่ภักดีต่อพระชินเจ้า แต่ก็มีความอหังการและมักมากในสตรี ทำให้ราวณะลักนางสีดาไปจากพระราม จนในที่สุดตนเองถูกสังหาร ลักษณะดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดศลากาปุรุษะที่ระบุว่าประติวาสุเทวะเป็นวีรบุรุษทรราช ส่วนความสัมพันธ์ต่อพระรามและพระลักษมณ์นั้นพบว่าราวณะเป็นตัวละครที่ถูกกำหนดให้ต้องถูกพระลักษมณ์สังหาร ทั้งคู่จึงมีบทบาทเป็นคู่ขัดแย้งในฐานะวาสุเทวะและประติวาสุเทวะ ขณะที่พระรามเป็นพลภัทรซึ่งตามแนวคิดศลากาปุรุษะจัดให้เป็นพี่ของวาสุเทวะและเป็นผู้ประพฤติอหิงสา จึงแทบไม่ปรากฏบทบาทในการรบเลยและมิได้เป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงกับราวณะ</p>}, number={1}, journal={วรรณวิทัศน์}, author={บุญโญ บุณฑริกา and ทัดแก้ว ชานป์วิชช์}, year={2020}, month={มิ.ย.}, pages={140–166} }