@article{บุญญาล้ำเลิศ_เกษมผลกูล_2022, title={“ตัวละครปลา” ในนิทานไทย: สัญลักษณ์และบทบาท}, volume={22}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/253258}, abstractNote={<p>“ตัวละครปลา” ในนิทานไทยเป็นเรื่องราวที่สะท้อนชีวิตของคนริมฝั่งน้ำ นิทานดังกล่าว นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับปลา ยังแสดงให้เห็นถึงอำนาจวิเศษบางประการเกี่ยวกับตัวละครปลาด้วย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความหมายเชิงสัญลักษณ์ของตัวละคร “ปลา” ที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านไทยตามแนวคิดเรื่องสัญลักษณ์ของ คลิฟฟอร์ด เกียร์ตซ์ รวมถึงวิเคราะห์บทบาทของตัวละครปลาต่อการดำเนินเรื่องและบทบาทของนิทานต่อสังคมตามแนวคิดบทบาทหน้าที่ของคติชน เก็บรวบรวมนิทานจากภาคผนวกงานวิจัยและรายงานการวิจัยเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านในประเทศไทย และเว็บไซต์อื่น ๆ รวมทั้งหมด 26 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่าตัวละครปลามีความหมายเชิงสัญลักษณ์ 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ สัญลักษณ์ในการเป็นตัวแทนพฤติกรรมของมนุษย์ สัญลักษณ์ที่แสดงความเชื่อในวัฒนธรรม และสัญลักษณ์ที่แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มชน ส่วนบทบาทของตัวละครปลาต่อการดำเนินเรื่องจำแนกเป็น 3 บทบาท ได้แก่ บทบาทในการเปิดเรื่อง บทบาทในการผูกปมขัดแย้ง และบทบาทในการแก้ปมขัดแย้งและคลี่คลายปม บทบาทของนิทานต่อสังคม ได้แก่ บทบาทในการอธิบายต้นกำเนิดและอัตลักษณ์ของกลุ่มชนและพิธีกรรม บทบาทในการให้การศึกษา อบรมระเบียบของสังคม และรักษามาตรฐานพฤติกรรมของสังคม รวมถึงบทบาทในการเป็นทางออกให้กับความคับข้องใจของบุคคลอันเกิดจากกฎเกณฑ์ทางสังคม</p>}, number={1}, journal={วรรณวิทัศน์}, author={บุญญาล้ำเลิศ วรสิทธิ์ and เกษมผลกูล อภิลักษณ์}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={54–98} }