@article{ปิยพสุนทรา_2016, title={ประโยครวมและประโยคซ้อนในทำเนียบ ภาษาวิชาการ ภาษาการเมือง ภาษากฎหมาย และภาษาสื่อ}, volume={13}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/48407}, DOI={10.14456/vannavidas.2013.6}, abstractNote={<p>บทความนี้ศึกษาประโยครวมและประโยคซ้อนในทำเนียบภาษาวิชาการซึ่งรวบรวมจากบทความวิชาการทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ทำเนียบภาษาการเมืองรวบรวมจากบางส่วนของถ้อยแถลงของนักการเมืองทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล ทำเนียบภาษากฎหมายรวบรวมจากบางส่วนของกฎหมายเกี่ยวกับการเช่าที่ดินในประมวลกฎหมายที่ดินและพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน และทำเนียบภาษาสื่อรวบรวมจากภาษาโฆษณาที่ปรากฏในสื่ออินเทอร์เน็ตและนิตยสาร ผู้หญิง ความยาวทำเนียบภาษาละ ๒,๐๐๐ คำ พบลักษณะประโยครวมและประโยคซ้อนมีตัวบ่งชี้และคำเชื่อมปรากฏอยู่ดังนี้ ประโยครวมพบสันธานทั้ง และ แต่ หรือส่วนอนุประโยคเติมเต็ม พบตัวบ่งชี้คือ ที่ ว่า ที่ว่า คุณานุประโยคพบมีตัวบ่งชี้ทั้งที่ ซึ่ง และ อัน วิเศษณานุประโยคบ่งบอกกาล นำหน้าด้วยบุพบทบ่งบอกเวลา เมื่อ พอ ก่อน หลัง วิเศษณานุประโยคบ่งบอกเหตุ นำหน้าด้วยบุพบทบ่งบอกเหตุ เพราะเนื่องจาก วิเศษณานุประโยคบ่งบอกเป้าหมาย นำหน้าด้วยบุพบทบ่งบอกเป้าหมายเพื่อ วิเศษณานุประโยคบ่งบอกผล นำหน้าด้วยบุพบทบ่งบอกผล จนกระทั่งวิเศษณานุประโยคบ่งบอกเงื่อนไข นำหน้าด้วยบุพบทระบุเงื่อนไข ถ้าหาก วิเศษณานุประโยคบ่งบอกความขัดแย้ง นำหน้าด้วยบุพบทระบุความขัดแย้ง แม้ว่าในเชิงปริมาณพบลักษณะที่แตกต่างกันในแต่ละทำเนียบภาษา กล่าวคือ ส่วนใหญ่มีสัดส่วนของประโยครวมและประโยคซ้อนมากถึงร้อยละ ๘๖-๙๑ แต่ภาษาโฆษณามีความแตกต่างไป คือ มีประโยครวมและประโยคซ้อนน้อยเพียงร้อยละ ๖๗ นอกจากนี้พบว่าแต่ละทำเนียบภาษามีสัดส่วนของวิเศษณานุประโยคสูงสุด แต่ภาษาวิชาการกลับต่างออกไปพบจำนวนอนุพากย์ที่เกิดในประโยครวม วิเศษณานุประโยค และคุณานุประโยคในสัดส่วนที่พอๆ กัน อย่างไรก็ดีทุกทำเนียบภาษาพบการใช้คำเชื่อมในจำนวนมากกว่าแบบไม่มีคำเชื่อม ลักษณะทางภาษาดังกล่าวสะท้อนว่าทำเนียบภาษาทั้งสี่มีความแจ่มชัดในการเชื่อมโยงทางวากยสัมพันธ์</p>}, journal={วรรณวิทัศน์}, author={ปิยพสุนทรา สุธาสินี}, year={2016}, month={ก.ค.}, pages={115–139} }