@article{บุญนาค_แดงสกุล_2016, title={ภาพสะท้อนภาษาไทยถิ่นในสื่อมวลชน}, volume={16}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/73769}, DOI={10.14456/vannavidas.2016.7}, abstractNote={<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมวล วิเคราะห์และตั้งข้อสังเกตการใช้ภาษาไทยถิ่นที่ปรากฏผ่านสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ได้แก่ ละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ สื่อโฆษณา และสื่อหนังสือพิมพ์ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของสื่อมวลชนในการอนุรักษ์ภาษาไทยถิ่น อีกทั้งแสดงว่าภาษาไทยถิ่นอยู่ในสถานะใดในสื่อมวลชน สื่อมวลชนได้เลือกใช้ภาษาไทยถิ่นเป็นเครื่องมือในการสื่อสารในรูปแบบใดบ้าง และมีส่วนสำคัญในการประกอบสร้างอัตลักษณ์ของผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นอย่างไร</p> <p>จากการศึกษาพบว่า สื่อมวลชนมีวัตถุประสงค์ของการใช้ภาษาไทยถิ่นด้วยกัน ๖ ประการ คือ เพื่อการตลาด เพื่อสร้างความสมจริงของการนำเสนอสาร เพื่อเป็นจุดขายหรือสร้างความโดดเด่นในการนำเสนอสารของสื่อมวลชน เพื่อสร้างความสนุกหรือตลกขบขัน เพื่อสะท้อนความหมายแฝงในการตีความแนวคิดหลัก ในการนำเสนอสาร และเพื่อการอนุรักษ์ภาษาไทยถิ่นให้คงอยู่คู่กับสังคมไทย </p> <p>เมื่อพิจารณาในประเด็นภาพสะท้อนภาษาไทยถิ่นและการสร้างอัตลักษณ์ พบว่า สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญต่อการนำเสนอภาพสะท้อนภาษาไทยถิ่นไปพร้อมกับการสร้างอัตลักษณ์ของคนในท้องถิ่นผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นนั้นๆ เห็นการผลิตซ้ำวาทกรรมชุดเก่า ในลักษณะการกดทับภาษาไทยถิ่นและผู้ใช้ภาษาไทยถิ่น สังเกตได้จากเนื้อหาสารที่นำเสนอผ่านภาษาไทยถิ่น เช่น การสร้างความตลกขบขันจากความแปลกแยกแตกต่าง และ การประเมินค่าภาษาไทยถิ่นว่ามีศักดิ์ศรีน้อยกว่าภาษาไทยมาตรฐาน ส่งผลต่ออัตลักษณ์ของภาษาไทยถิ่นและผู้ใช้ในด้านต่างๆ ทั้งความแปลกแยก ความเป็นที่น่าขบขัน ไม่น่าภาคภูมิใจ และความด้อยค่า</p> <p>แต่อีกนัยหนึ่งภาษาไทยถิ่นในสื่อมวลชนก็มิได้ปรากฏเพียงแต่ภาพด้านลบเท่านั้น บ่อยครั้งที่สื่อพยายามสร้างวาทกรรมชุดใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับและการเชิดชูภาษาไทยถิ่น ผ่านการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานต่างๆ การนำเสนอแนวทางการใช้ภาษาไทยถิ่นที่ถูกต้อง การนำเสนอความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยถิ่น รวมไปถึงการใช้บุคคลผู้มีชื่อเสียงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการบันเทิงเป็นต้นแบบการใช้ภาษาไทยถิ่นให้กลุ่มคนในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเยาวชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญและหันมาใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารในชีวิตประจำวันโดยไม่ขัดเขิน และไม่ดูถูกภาษาไทยถิ่นของตนเอง อาจกล่าวได้ว่า สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเชิดชูวัฒนธรรมทางภาษา โดยเฉพาะภาษาไทยถิ่นให้ยังคงอยู่คู่สังคมไทยสืบไป</p>}, journal={วรรณวิทัศน์}, author={บุญนาค อรวี and แดงสกุล เก๋}, year={2016}, month={ธ.ค.}, pages={161–191} }