TY - JOUR AU - งามรุ่งโรจน์, นพวรรณ AU - แก้วคัลณา, นิตยา PY - 2017/12/28 Y2 - 2024/03/29 TI - บทคร่ำครวญในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่ JF - วรรณวิทัศน์ JA - VANNAVIDAS VL - 17 IS - SE - บทความประจำฉบับ DO - 10.14456/vannavidas.2017.15 UR - https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/107541 SP - 386-415 AB - <p>บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาบทคร่ำครวญที่ปรากฏในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและความสำคัญของบทคร่ำครวญ ตลอดจนศึกษาแนวคิดที่สื่อผ่านบทคร่ำครวญในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่ โดยขอบเขตของการศึกษาผู้วิจัยจะศึกษาเฉพาะผลงานของ อังคาร กัลยาณพงศ์&nbsp; เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์&nbsp; สุจิตต์ วงษ์เทศ&nbsp; คมทวน คันธนู&nbsp; แรคำ ประโดยคำ และไพวรินทร์ ขาวงาม&nbsp; การเลือกผลงานของกวีดังกล่าวเพราะมีลักษณะเด่นด้านการสืบทอดบทคร่ำครวญจากอดีตและนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้าบริบททางสังคมและวัฒนธรรมแห่งยุคสมัย</p><p>ผลการวิจัยพบว่าลักษณะของบทคร่ำครวญในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่มีทั้งการเดินทางพลัดพรากจากถิ่นที่อยู่ การร่ำไห้ การรำลึกถึงอดีตอันแสนสุข การนำสิ่งที่พบเห็นมาเป็นสื่อในการคร่ำครวญ และการคร่ำครวญในเชิงวิพากษ์วิจารณ์สังคม โดยมีพื้นฐานมาจากการคร่ำครวญของกวีในอดีต แต่กวีไทยสมัยใหม่ได้ขยายขอบเขตเนื้อหาของการคร่ำครวญในระดับปัจเจกบุคคลไปสู่สังคมโดยรวม ทั้งยังพบว่าบทคร่ำครวญใน กวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่มีความสำคัญเป็นสื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง และเป็นสื่อแสดงทัศนะของกวีที่มีต่อสังคม ธรรมชาติ และการเมือง ตลอดจนเอื้อให้กวีได้แสดงความสามารถทางการประพันธ์ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจและเกิดจินตนาการร่วมรับรู้ความรู้สึกที่ซับซ้อนรวมถึงเข้าใจแนวคิดของกวีได้ดียิ่งขึ้น</p> ER -