TY - JOUR AU - มันทิกะ, กุลสตรี AU - การสี, ธีรโชติ AU - มะสุใส, สุรเกียรติ AU - บุญฮก, ศรัณย์ภัทร์ PY - 2021/06/26 Y2 - 2024/03/29 TI - เพรียกพร่ำจากไพรพฤกษ์: แนวคิดนิเวศสำนึกในรวมบทกวี “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีรัก” ของ ไพวรินทร์ ขาวงาม JF - วรรณวิทัศน์ JA - VANNAVIDAS VL - 21 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/246722 SP - 105-144 AB - <p>บทความนี้มุ่งศึกษาแนวคิดนิเวศสำนึกที่ปรากฏในรวมบทกวีนิพนธ์ “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีรัก” ของไพวรินทร์ ขาวงาม และวิเคราะห์กลวิธีการนำเสนอแนวคิดดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีรัก ปรากฏแนวคิดนิเวศสำนึกอย่างเด่นชัด ผ่านการเล่าเรื่องจากประสบการณ์ชีวิตของกวี โดยถูกนำเสนอผ่านองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาทของธรรมชาติ ที่นอกจากจะมีความสัมพันธ์ในฐานะฉาก เพื่อแสดงอารมณ์ ความรู้สึกกับ ตัวละครเฉกเช่นวรรณคดีไทยในอดีตแล้ว แนวคิดดังกล่าวยังเป็นการมองธรรมชาติในลักษณะกระบวนทัศน์แบบองค์รวม เห็นได้จากธรรมชาติในฐานะมารดาผู้ให้กำเนิด ที่พึ่งพา ผู้เยียวยา หรือแม้แต่เป็นคันฉ่องส่องพุทธธรรม ในทางกลับกัน กวีได้นำเสนอพฤติกรรมที่สะท้อนถึงระบบความคิดของมนุษย์เป็นศูนย์กลาง จนนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทางธรรมชาติ การสร้างภาพลักษณ์ของเมืองที่มีบทบาทเป็นผู้ร้าย การกำหนดคุณค่า และให้ความหมายแก่ธรรมชาติ โดยตัวละคร โครงเรื่อง และฉาก เป็นองค์ประกอบสำคัญที่นำไปสู่แนวคิดเรื่องตัวตนเชิงนิเวศของกวี อันเป็นการยืนยันอัตลักษณ์ของมนุษย์และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกวีกับธรรมชาติที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ส่วนในแง่ของกลวิธีการนำเสนอแนวคิดนิเวศสำนึก ปรากฏการใช้ภาษา เครื่องหมายวรรคตอน สัญลักษณ์ และกลวิธีการเล่าเรื่อง ทำให้บทกวีนิพนธ์ฉายภาพแนวคิดนิเวศสำนึกได้อย่างเด่นชัด</p> ER -