https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/issue/feed วรรณวิทัศน์ 2023-11-13T11:22:55+07:00 Assistant Professor Dr. Supaporn Plailek [email protected] Open Journal Systems <p> วารสาร<em>วรรณวิทัศน์</em>รับตีพิมพ์บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทปริทัศน์วรรณกรรมที่มีคุณภาพในด้านภาษาไทย วรรณกรรมไทย และวัฒนธรรมไทย รวมถึงภาษาบาลี สันสกฤต เขมร และภาษาอื่นในประเด็นที่เกี่ยวข้อง มีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน โดยเปิดรับบทความภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ มีกำหนดตีพิมพ์ปีละ ๒ ฉบับ คือฉบับแรก เดือนมกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ ๒ เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม โดยจัดพิมพ์ ๒ รูปแบบ ทั้งรูปแบบตีพิมพ์ (Print) และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online)</p> <p> บทความที่จะได้รับตีพิมพ์ต้องผ่านกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิประจำกองบรรณาธิการอย่างน้อย ๒ ท่าน ซึ่งผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double blind peer-reviews) ผู้สนใจสามารถส่งบทความเพื่อพิจารณาผ่านระบบวารสารออนไลน์ทาง <a href="https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/index">คลิก</a> โดยผู้เขียนต้องจัดรูปแบบการพิมพ์ให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนด <a href="https://drive.google.com/drive/folders/1KTxPUbbG_ae13i7mBhONaLZhvgulj8Kh?usp=sharing">Template</a></p> <p> วารสาร<em>วรรณวิทัศน์</em>ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความจากผู้เขียน</p> https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/268963 บทบรรณาธิการ 2023-11-13T11:02:52+07:00 สุภาพร พลายเล็ก [email protected] 2023-11-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/266601 การวิเคราะห์ความหมายและเครือข่ายความหมายของชุดไพ่ในทรานส์ฟอร์เมชันเกม 2023-07-28T21:36:31+07:00 นุชจรี เล็กบางพงศ์ [email protected] จันทิมา อังคพณิชกิจ [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เครือข่ายความหมายของชุดไพ่ในทรานส์ฟอร์เมชันเกม (transformation game) ซึ่งเป็นเกมสำหรับสร้างการตระหนักรู้และปรับเปลี่ยนตัวเอง เพื่อแสดงให้เห็นว่า ชุดไพ่มีความหมายเชื่อมโยงกันและนำไปสู่การสื่อความหมายเกี่ยวกับการมีชีวิตที่ดีของมนุษย์ ข้อมูลวิจัยมาจากข้อความในชุดไพ่ทั้งหมด 695 ใบ จากชุดไพ่ 5 ชุด ได้แก่ ไพ่นางฟ้า ไพ่ความเข้าใจ ไพ่ความถดถอย ไพ่เสียงสะท้อนแห่งจักรวาล และแผ่นแสดงสัญลักษณ์ตระหนักรู้ และใช้ข้อมูลเสริมเกี่ยวกับการอธิบายความหมายของไพ่นางฟ้าจากคู่มือคำอธิบายไพ่นางฟ้าที่แปลเป็นภาษาไทย ผลการศึกษาพบว่าความหมายในชุดไพ่เป็นเสมือนตัวแทนสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต และเชื่อมโยงกับวิถีการดำเนินชีวิตด้านต่าง ๆ ของบุคคล ไพ่นางฟ้าและไพ่ความเข้าใจเป็นตัวแทนด้านที่เป็นเชิงบวก ไพ่ถดถอยเป็นตัวแทนด้านที่เป็นเชิงลบ ไพ่เสียงสะท้อนแห่งจักรวาลเป็นตัวแทนของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจซึ่งมีทั้งสมหวังและผิดหวัง ส่วนแผ่นแสดงสัญลักษณ์ตระหนักรู้เป็นตัวแทนของเรื่องราวกระบวนการคิด ความเข้าใจ การระลึก เมื่อมีความตระหนักรู้ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตก็จะทำให้ก้าวข้ามผ่านอุปสรรคเพื่อไปสู่การมีชีวิตที่ดีขึ้น ผลการศึกษาวิจัยนี้ทำให้เห็นว่าทรานส์ฟอร์เมชันเกมจึงไม่ใช่เกมเพื่อความบันเทิงเท่านั้น แต่เป็นเกมที่สร้างความหมายและพลังการเรียนรู้ด้านการใช้ชีวิตที่ดีให้แก่ผู้เล่นเกม</p> 2023-11-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วรรณวิทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/263607 ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับชุดความคิดความเป็นครูในภาพยนตร์สั้นชุดหนังครูของ 7-Eleven 2023-04-13T13:15:10+07:00 กานต์ธีรา สมาลาวงษ์ [email protected] ณัชชา ศรีลาชัย [email protected] อชิรญา หวังสวัสดิ์ปรีชา [email protected] พรหมมินทร์ ประไพพงษ์ [email protected] <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับชุดความคิดความเป็นครูในภาพยนตร์สั้นชุดหนังครู ของ 7-Eleven โดยใช้แนวคิดวาทกรรม (Discourse) และศึกษาข้อมูลจากช่องยูทูบของ 7-Eleven ในช่วง พ.ศ. 2555-2565 ผลการศึกษาพบการนำเสนอชุดความคิดเกี่ยวกับความเป็นครู ทั้งหมด 3 ประการ ได้แก่ ครูต้องเป็นผู้ทุ่มเทและเสียสละ ครูต้องเป็นผู้เมตตาต่อศิษย์ และครูต้องเป็นผู้พัฒนาเด็กให้เป็นคนที่สมบูรณ์ ชุดความคิดดังกล่าวนำเสนอโดยใช้กลวิธีทางภาษาทั้งหมด 9 กลวิธี ได้แก่ การเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำ ทัศนภาวะ อุปลักษณ์ ประโยคแสดงความขัดแย้ง สหบท มูลบท คำถามเชิงวาทศิลป์ ประโยคแสดงความสัมพันธ์แบบเหตุผล และการกล่าวซ้ำ กลวิธีทางภาษาดังกล่าวมีบทบาทสำคัญในการขับเน้นชุดความคิดความเป็นครูให้เด่นชัดมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันชุดความคิดที่ปรากฏในภาพยนตร์สั้นชุดนี้อาจส่งผลต่อการกำหนดความเป็นครูที่พึงประสงค์ในสังคมไทยได้</p> 2023-11-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วรรณวิทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/264849 ชาว- ในภาษาไทย 2023-05-26T14:17:09+07:00 ดำรงค์ นันทผาสุข [email protected] <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความหมายของคำประสานที่ขึ้นต้นด้วย ชาว- ข้อมูลของคำประสาน ชาว- รวบรวมจาก 4 แหล่งข้อมูล ได้แก่ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 พจนานุกรมฉบับมติชน พ.ศ. 2547 คลังคำ และคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ (Thai National Corpus) ผลการศึกษาพบว่า ความหมายของคำประสาน ชาว- แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มคนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน 2. กลุ่มคนที่อยู่ในถิ่นฐานเดียวกัน 3. กลุ่มคนที่ประกอบอาชีพอย่างเดียวกัน 4. กลุ่มคนที่นับถือศาสนาร่วมกัน 5. กลุ่มคนที่อยู่ในแวดวงเดียวกัน และ 6. กลุ่มความหมายอื่น นอกจากนี้คำประสาน ชาว- เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความหมาย การซ้อนทับของความหมาย และการสร้างคำใหม่</p> 2023-11-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วรรณวิทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/262796 การสืบสรรค์บทเพลงลูกกรุงของไทย 2023-03-09T19:45:26+07:00 ต่อพงศ์ เชื้ออุ่น [email protected] นิตยา แก้วคัลณา [email protected] <p>บทเพลงลูกกรุงมีความงามทางวรรณศิลป์ ทั้งยังมีความสัมพันธ์กับวรรณคดีไทย เช่น ด้านฉันทลักษณ์ และด้านเนื้อหา เนื่องจากครูเพลงลูกกรุงเป็นผู้มีฐานความรู้ทางมรดกวรรณศิลป์ บทความนี้มุ่งศึกษาการสืบสรรค์บทเพลงลูกกรุงของศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ตั้งแต่ พ.ศ. 2529-2562 ผลการวิจัยพบว่า นักแต่งเพลงสืบสรรค์ขนบวรรณศิลป์มาเป็นฐานในการสรรค์สร้างผลงานของตน ได้แก่ การนำขนบทางด้านฉันทลักษณ์มาปรับใช้เป็นตัวบทเพลง การนำเนื้อเรื่อง หรือตัวบทจากวรรณคดีของไทยมาใช้สร้าง หรือแต่งขยายความ การนำตัวละคร ศิลปะทางด้านการประพันธ์ เช่น ขนบการสร้างจินตภาพ ขนบการสร้างบทพรรณนาอนุภาค และฉากจากวรรณคดีมาปรับใช้ใหม่ รวมถึงการเลือกสรรตัวบทจากวรรณคดีมาปรับเปลี่ยน ดัดแปลง ล้อเลียน พาดพิง ผสมผสาน และตีความใหม่เป็นบทเพลงลูกกรุง นอกจากนี้ ยังมีการนำบทเพลงลูกกรุงมาสืบสรรค์ในบริบทสังคมไทยร่วมสมัย ในลักษณะของการปรับแปลง การดัดแปลง การล้อเลียน <br />การประพันธ์ขึ้นใหม่ การผสมผสาน หรือการปรับใช้เพลงลูกกรุงในเพลงประเภทอื่น ทำให้เพลงลูกกรุงกลับมามีชีวิตใหม่ และดำรงอยู่ในความรับรู้ของกลุ่มผู้ฟังทุกยุคสมัย</p> 2023-11-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วรรณวิทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/263869 คติชนกับการสร้างสรรค์เนื้อหาในนวนิยายแนวสืบสวนสยองขวัญ ชุด การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ ของอัยย์ 2023-04-19T21:46:41+07:00 จุฑารัตน์ รีฮุง [email protected] วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน [email protected] <p>บทความนี้มุ่งศึกษานวนิยายชุด<em>การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์</em> ของอัยย์ซึ่งเป็นวรรณกรรมเยาวชนแนวสืบสวนสยองขวัญ มี 2 ภาค ได้แก่ ภาค<em>หัวใจสีดำ</em>และภาค<em>สลักบิดเบือนกรรม</em> รวมจำนวน 19 เล่ม ผลการวิจัยพบว่า มีการสร้างสรรค์เนื้อหาจากข้อมูลคติชน 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) การนำเสนอข้อมูลคติชนเดิม 2) การดัดแปลงข้อมูลคติชนเดิม นอกจากนี้ยังพบการสร้างข้อมูลเชิงคติชนจากการนำสิ่งของเครื่องใช้มาผสมผสานกับจินตนาการ และการผสมผสานคติชนกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้เกิดไสยวัตถุและพิธีกรรมใหม่ การนำคติชนมาสร้างสรรค์พิธีกรรมและไสยวัตถุ พบว่ามักใช้วิธีการดัดแปลงจากความเชื่อต่าง ๆ ในสังคมไทยโดยเฉพาะความเชื่อตามอิทธิพลพุทธศาสนา วัฒนธรรมอื่น และความเชื่อท้องถิ่น</p> 2023-11-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วรรณวิทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/268959 เกี่ยวกับวารสาร 2023-11-13T10:53:39+07:00 กองบรรณาธิการ วรรณวิทัศน์ [email protected] <p>-</p> 2023-11-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/268960 กองบรรณาธิการ 2023-11-13T10:56:45+07:00 กองบรรณาธิการ วรรณวิทัศน์ [email protected] <p>-</p> 2023-11-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/268962 สารบัญ 2023-11-13T11:01:27+07:00 กองบรรณาธิการ วรรณวิทัศน์ [email protected] <p>-</p> 2023-11-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/263630 น้ำเมาในสูตรไวยากรณ์ของปาณินิ 2023-04-21T10:51:20+07:00 ธวัชชัย ดุลยสุจริต [email protected] <p>บทความนี้นำเสนอสูตรไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตที่เกี่ยวข้องกับน้ำเมาจากตำราไวยากรณ์ชื่ออัษฏาธยายีของปาณินิ ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อราว 350 ปีก่อนคริสตกาล โดยนำเสนอคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำเมา รวมทั้งลักษณะทางไวยากรณ์ที่ปรากฏในสูตรดังกล่าว สำหรับสูตรที่เกี่ยวกับน้ำเมามีทั้งสิ้น 9 สูตร ได้แก่ 2.4.25, 3.1.100, 3.1.117, 3.1.126, 4.2.99, 4.3.76, 5.2.112, 5.4.3, 6.2.10, และ 6.2.70 คำศัพท์ที่เกี่ยวกับน้ำเมาแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม คือ คำศัพท์ที่บอกชนิดของน้ำเมา และคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตและการขายน้ำเมา สุดท้ายนำเสนอไวยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำเมาตามหลักการสร้างคำในภาษาสันสกฤต โดยการใช้ปัจจัยกฤต ปัจจัยตัทธิต และวิธีการสมาส</p> 2023-11-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วรรณวิทัศน์