วรรณวิทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS <p> วารสาร<em>วรรณวิทัศน์</em>รับตีพิมพ์บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทปริทัศน์วรรณกรรมที่มีคุณภาพในด้านภาษาไทย วรรณกรรมไทย และวัฒนธรรมไทย รวมถึงภาษาบาลี สันสกฤต เขมร และภาษาอื่นในประเด็นที่เกี่ยวข้อง มีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน โดยเปิดรับบทความภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ มีกำหนดตีพิมพ์ปีละ ๒ ฉบับ คือฉบับแรก เดือนมกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ ๒ เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม โดยจัดพิมพ์ ๒ รูปแบบ ทั้งรูปแบบตีพิมพ์ (Print) และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online)</p> <p> บทความที่จะได้รับตีพิมพ์ต้องผ่านกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิประจำกองบรรณาธิการอย่างน้อย ๒ ท่าน ซึ่งผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double blind peer-reviews) ผู้สนใจสามารถส่งบทความเพื่อพิจารณาผ่านระบบวารสารออนไลน์ทาง <a href="https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/index">คลิก</a> โดยผู้เขียนต้องจัดรูปแบบการพิมพ์ให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนด <a href="https://drive.google.com/drive/folders/1KTxPUbbG_ae13i7mBhONaLZhvgulj8Kh?usp=sharing">Template</a></p> <p> วารสาร<em>วรรณวิทัศน์</em>ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความจากผู้เขียน</p> th-TH vannavidas@arts.tu.ac.th (Assistant Professor Dr. Supaporn Plailek) vannavidas@arts.tu.ac.th (Ms. Ratthanan Vijitkrittapong) Fri, 21 Jun 2024 17:31:25 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบรรณาธิการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/275039 สุภาพร พลายเล็ก Copyright (c) 2024 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/275039 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 เกี่ยวกับวารสาร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/275036 กองบรรณาธิการ วรรณวิทัศน์ Copyright (c) 2024 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/275036 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 กองบรรณาธิการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/275037 กองบรรณาธิการ วรรณวิทัศน์ Copyright (c) 2024 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/275037 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 สารบัญ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/275038 กองบรรณาธิการ วรรณวิทัศน์ Copyright (c) 2024 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/275038 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 บทละครเรื่องดาหลังฉบับสมุดไทยเลขที่ 375 : ลักษณะเด่นในฐานะบทละครพันทาง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/265418 <p>บทละครเรื่องดาหลังฉบับสมุดไทยเลขที่ 375 เขียนในสมุดไทยดำ 1 เล่ม เก็บรักษาอยู่ที่สำนักหอสมุดแห่งชาติ ไม่ปรากฏประวัติการแต่งและสำนวนต่างกับบทละครเรื่องดาหลังพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 1 บทความนี้มุ่งศึกษาลักษณะเด่นของบทละครเรื่องดาหลังฉบับดังกล่าวในฐานะบทละครรำ ผลการศึกษาพบว่าลักษณะเด่นของบทละครเรื่องดาหลังฉบับสมุดไทยเลขที่ 375 ได้แก่ การมีบทที่เอื้อแก่การแสดงกระบวนรำที่งดงามโดดเด่นแทรกอยู่หลายช่วงสอดคล้องกับขนบของเรื่องดาหลังที่เป็นเรื่องละครในมาแต่เดิม ขณะเดียวกันก็มีลักษณะพิเศษที่ต่างกับบทละครเรื่องดาหลังในขนบเดิมผสานอยู่ด้วย ได้แก่ การแทรกเนื้อหาที่สนุกขบขัน การดำเนินเรื่องอย่างกระชับ การแทรกเจรจาไว้มาก และการบรรจุเพลงไทยตามขนบผสมกับเพลงออกภาษาซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพลงสำเนียงแขกตามเชื้อชาติชวาของตัวละคร ลักษณะเด่นดังกล่าวสะท้อนกระบวนแสดงแบบพิเศษที่สอดคล้องกับลักษณะของละครพันทาง จึงทำให้สันนิษฐานว่าบทละครเรื่องดาหลังฉบับนี้คงเป็นบทสำหรับเล่นละครพันทางและน่าจะปรุงขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 - รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นยุคที่ละครดังกล่าวถือกำเนิดขึ้นและได้รับความนิยม</p> ธานีรัตน์ จัตุทะศรี Copyright (c) 2024 วรรณวิทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/265418 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 การอ่านวรรณคดีนิราศกวางตุ้ง : ความคลาดเคลื่อนของช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สัมพันธภาพไทย-จีนสมัยกรุงธนบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/269519 <p>บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อจะศึกษานิราศกวางตุ้งหรือนิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีนซึ่งเป็นวรรณคดีสมัยกรุงธนบุรีที่ได้บันทึกเรื่องพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงแต่งราชทูตไปเจริญพระราชไมตรีต่อพระเจ้ากรุงจีน ณ กรุงปักกิ่งไว้อย่างละเอียด โดยมุ่งศึกษาถึงวันออกเดินทาง วันมาถึงกวางตุ้ง และวันที่คณะทูตได้เข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงจีนที่กรุงปักกิ่ง โดยจะใช้การศึกษาเปรียบเทียบนิราศกวางตุ้งกับเอกสารประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ที่ได้บันทึกเหตุการณ์ถวายพระราชบรรณาการของประเทศสยามในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง และศึกษาความแตกต่างของปฏิทินโบราณที่ใช้ทั้งปฏิทินของไทยและจีน ตลอดจนวิธีการแปลงให้เป็นวันเวลาตามปฏิทินสากลที่ใช้ทั่วไปในปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่าวันที่คณะทูตไทยออกเดินทางจากกรุงธนบุรี คือ วันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 1781 (1781-6-19) วันที่คณะทูตเดินทางมาถึงเมืองกวางโจว คือ วันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1781 (1781-7-23) วันที่คณะทูตชุดที่ไปปักกิ่งออกเดินทางไปปักกิ่ง คือ วันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1781 (1781-10-19) วันที่คณะทูตเข้าเฝ้าจักรพรรดิเฉียนหลงนั้น จะอยู่หลังวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1782 (1782-2-12) และก่อนวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1782 (1782-3-13) ซึ่งอาจจะเป็นวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1782 (1782-3-9)</p> ยวู่เหริน เลี่ยว Copyright (c) 2024 วรรณวิทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/269519 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 ฉันท์ปกรณ์ : จากชมพูทวีปสู่จินดามณี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/263013 <p>บทความนี้มุ่งเสนอรูปแบบการสืบทอดองค์ความรู้เรื่องฉันท์จาก ปิงคลฉันทสูตรแห่งชมพูทวีปสู่คัมภีร์วุตโตทัยกระทั่งมาสู่จินดามณี พร้อมทั้งเสนอวิธีการที่ปราชญ์ไทยประยุกต์รูปแบบการเรียนรู้เรื่องฉันท์ดังกล่าวให้เข้ากับบริบทอย่างไทย การศึกษาดังกล่าวพบว่าฉันทลักษณ์หลักที่ใช้ในการประพันธ์บทร้อยกรองของไทยนับแต่อดีตคือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย ในบรรดาฉันทลักษณ์เหล่านี้ปรากฏรูปแบบการประพันธ์ประเภทฉันท์ในลักษณะปกรณ์คือคู่มือหรือแบบเรียนแทรกอยู่ในวรรณกรรมลายลักษณ์เล่มแรกของไทยคือจินดามณีที่แต่งโดยพระโหราธิบดี อันเป็นรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา พระโหราธิบดี ร้อยเรียงเรื่องฉันท์ในปกรณ์เล่มนี้โดยอ้างอิงคัมภีร์วุตโตทัยซึ่งพระสังฆรักขิตมหาสามีแห่งลังกาประพันธ์ขึ้นเป็นภาษามคธ อนึ่ง แม้คัมภีร์วุตโตทัยนี้จะประพันธ์ขึ้นโดยชาวลังกาก็จริงแต่ก็เป็นการสืบทอดองค์ความรู้เรื่องฉันท์มาจากตำราปิงคลฉันทสูตรของปิงคลาจารย์ชาวชมพูทวีปมาอีกต่อหนึ่ง ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าเนื้อความอันเกี่ยวเนื่องกับฉันท์ที่ปรากฏในจินดามณีมีร่องรอยสืบมาจากตำราฉันท์ของชาวชมพูทวีปนั่นเอง</p> สุรศักดิ์ แย้มอุ่ม Copyright (c) 2024 วรรณวิทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/263013 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 การประกอบสร้างอัตลักษณ์นักเดินทางผ่านยานพาหนะในบันทึกการเดินทางของนักเขียนเจเนอเรชั่นวาย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/264372 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างอัตลักษณ์นักเดินทางของกลุ่มนักเขียนเจเนอเรชั่นวายที่กระทำผ่านการเล่าเรื่องประสบการณ์การเดินทางด้วยยานพาหนะ อันได้แก่ มอเตอร์ไซค์ รถยนต์ และรถไฟ ผลการวิจัยพบว่านักเขียนเจเนอเรชั่นวายประกอบสร้างอัตลักษณ์นักเดินทางอย่างหลากหลาย โดยการผลิตซ้ำวาทกรรมการเดินทางแบบดั้งเดิมและรื้อฟื้นความหมายของการเดินทางก่อนยุคสมัยของการท่องเที่ยวให้หวนคืนมา ได้แก่ วาทกรรมการเดินทางเพื่อพิสูจน์ความเป็นชาย การเดินทางเพื่อการเรียนรู้ อย่างไรก็ดี นักเขียนเจเนอเรชั่นวายเป็นกลุ่มคนที่เติบโตขึ้นมาท่ามกลางบริบทสังคมสมัยใหม่จึงมีความพยายามประกอบสร้างอัตลักษณ์นักเดินทางด้วยการต่อรองกับวาทกรรมแบบดั้งเดิมและประสานวาทกรรมสมัยใหม่ อาทิ วาทกรรมความเป็นชายแบบสมัยใหม่ วาทกรรมชีวิตเรียบง่ายและรื่นรมย์ วาทกรรมครอบครัวอบอุ่น เป็นต้น ทำให้อัตลักษณ์นักเดินทางของนักเขียนกลุ่มนี้มีความหลากหลายและสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย นอกจากนี้ ยังพบว่านักเขียนเจเนอเรชั่นวายที่เป็นผู้หญิงได้พยายามต่อรองกับวาทกรรมความเป็นชายซึ่งแฝงฝังอยู่ในบันทึกการเดินทางมาตั้งแต่อดีต ด้วยการเล่าเรื่องการเดินทางในแบบของผู้หญิง และทำให้ความเป็นหญิงปรากฏตัวในงานเขียนประเภทนี้อีกด้วย</p> อรสุธี ชัยทองศรี Copyright (c) 2024 วรรณวิทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/264372 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความเป็นอีสานในเรื่องสั้นที่ตีพิมพ์ในวารสารชายคาเรื่องสั้น (พ.ศ. 2557-2565) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/269879 <p>เรื่องสั้นที่ตีพิมพ์ในวารสาร<em>ชายคาเรื่องสั้น</em> ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557- 2565 นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับภาคอีสานของไทยอย่างหลากหลาย สามารถประมวลประเด็นเรื่องความเป็นอีสานได้ 3 ประการสำคัญ ได้แก่ ความเป็นอีสานในฐานะผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง โดยนักเขียนได้หวนกลับไปทบทวนประวัติศาสตร์ความรุนแรงในภูมิภาคอีสานทั้งการรวมอำนาจของรัฐไทยและการปราบปรามทางการเมืองที่นำไปสู่การสร้างความเป็นอื่น การถูกตีตรา หรือการกดขี่ ประการต่อมาคือความเป็นอีสานในฐานะผู้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาและทุนนิยมซึ่งสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตเกี่ยวกับการอพยพย้ายถิ่น และการได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐ ประการสุดท้ายคือความเป็นอีสานที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตซึ่งเชื่อมโยงความเป็นอีสานกับวิถีชนบท ความเชื่อและประเพณีท้องถิ่นที่มีทั้งความรู้สึกหวงแหนและการตระหนักในพลวัตความเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมอีสาน การวิเคราะห์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการนำเสนอความเป็นอีสานในวารสาร<em>ชายคาเรื่องสั้น</em>มีทั้งการสืบทอดแนวคิดท้องถิ่นนิยมในวรรณกรรมเกี่ยวกับอีสานยุคก่อนหน้า และการนำเสนอความเป็นอีสานในแง่มุมเชิงวิพากษ์ซึ่งสัมพันธ์กับจุดยืนทางการเมืองของวารสาร</p> นีนนิมมาน ยอดเมือง, ชัยรัตน์ พลมุข Copyright (c) 2024 วรรณวิทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/269879 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 อุดมการณ์ของชนชั้นกลางไทยในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ของ ว. วินิจฉัยกุล https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/264538 <p>วัตถุประสงค์ของบทความวิจัยนี้ คือการศึกษาอุดมการณ์ของชนชั้นกลางที่ปรากฏในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ของ ว. วินิจฉัยกุล ผลจากการศึกษาพบอุดมการณ์ 4 รูปแบบด้วยกัน อุดมการณ์แรกที่ปรากฏชัดเจนที่สุด คืออุดมการณ์ชนชั้นกลาง ซึ่งถูกนำเสนอใน 3 ลักษณะ ได้แก่ ความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม การยึดมั่นในความเป็นปัจเจกชน และการให้คุณค่ากับความเสมอภาค นอกจากอุดมการณ์ชนชั้นกลาง นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ของ ว. วินิจฉัยกุลยังปรากฏอุดมการณ์สตรีนิยมที่มุ่งวิจารณ์ธรรมเนียมการมีภรรยาหลายคน และเชิดชูตัวแบบของ “หญิงสมัยใหม่” ที่มีความรู้และสามารถเลี้ยงดูตนเองได้ อย่างไรก็ตาม แม้นวนิยายเหล่านี้จะนำเสนออุดมการณ์ชนชั้นกลางและสตรีนิยมที่มีลักษณะก้าวหน้า แต่ก็ยังมีองค์ประกอบของอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมและกษัตริย์นิยมที่ให้ความสำคัญกับลำดับชั้นทางสังคม ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี และมองสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาติ ส่งผลให้อุดมการณ์ชนชั้นกลางและอุดมการณ์สตรีนิยมในนวนิยายเหล่านี้ถูกกำกับอยู่ด้วยอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมและกษัตริย์นิยมที่มีอิทธิพลต่อความรับรู้มากกว่า</p> ณปภัช มานินพันธ์ Copyright (c) 2024 วรรณวิทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/264538 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 กลวิธีการแปลคำวิสามานยนามในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/265672 <p>บทความนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษากลวิธีการแปลคำวิสามานยนามในวรรณคดีไทยเรื่อง ขุนช้างขุนแผน และวิเคราะห์กลวิธีการแปลภายใต้กรอบทฤษฎี Domestication และ Foreignization ของเวนุติ (Venuti) โดยมีการรวบรวมคู่คำวิสามานยนามจากหนังสือขุนช้างขุนแผนทั้งสิ้น 3 ฉบับ เป็นต้นฉบับภาษาไทย 2 ฉบับ เปรียบเทียบกับฉบับแปลภาษาอังกฤษ 1 ฉบับ ผลการศึกษาพบว่า มีการใช้กลวิธีการแปลทั้งหมด 9 กลวิธี โดยแบ่งเป็นรูปแบบการแปล 2 ประเภท คือ 1) การแปลโดยใช้กลวิธีเดียว และ 2) การแปลโดยใช้กลวิธีมากกว่าหนึ่ง และเมื่อนำกลวิธีการแปลมาจำแนกภายใต้รูปแบบการแปลแบบรื่นหู (domestication) และการแปลแบบสะดุดตา (foreignization) พบว่าผู้แปลมีการใช้กลวิธีถ่ายเสียงมากที่สุด และมีการใช้กลวิธีการแปลโดยใช้คำยืมน้อยที่สุด ส่วนการศึกษารูปแบบการแปล ในแง่ของการใช้กลวิธีการแปลพบว่ากลวิธีที่อยู่ในรูปแบบการแปลแบบรื่นหูมีมากกว่ารูปแบบการแปลแบบสะดุดตา แต่ในแง่ของจำนวนคำพบว่ามีคำที่ใช้กลวิธีในรูปแบบการแปลแบบสะดุดตามากกว่าคำในรูปแบบการแปลแบบรื่นหู ซึ่งแง่ของจำนวนคำมีความสอดคล้องกับเป้าหมายของผู้แปลที่ต้องการถ่ายทอดวัฒนธรรมและความรู้จากต้นฉบับไปสู่ผู้อ่านฉบับแปลให้ได้มากที่สุด</p> ดวงพร ตะโพนทอง Copyright (c) 2024 วรรณวิทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/265672 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700