@article{พระราชปริยัติวิมล_สุรภเมธี_สีลเตโช_เหล่าโพนทัน_สิริธมฺโม_2021, place={Bangkok Thailand}, title={แนวคิดความยุติธรรมที่พึงประสงค์ตามหลักพระพุทธศาสนา}, volume={8}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/248220}, abstractNote={<p>หลักธรรมเกี่ยวกับความยุติธรรมหรือคำสอนที่สามารถศึกษาได้ในมิติของความยุติธรรม ประกอบด้วย หลักอธิปไตย 3 อคติ 4 อริยสัจ 4 ศีล 5 มัจฉริยะ 5 ทิศ 6 สาราณียธรรม 6 อริยมรรคมีองค์ 8 และอกุศลกรรมบถ 10 โดยที่หลักอริยสัจ 4 เป็นธรรมสำคัญที่สุด เพราะครอบคลุมหลักธรรมอื่นๆ ทั้งหมด ซึ่งหลักธรรมนี้ได้อธิบายให้รู้ถึงความเป็นธรรมชาติระหว่างความเป็นเหตุกับความเป็นผลทั้งในมิติด้านปฎิฐาน (เชิงบวก) และมิติด้านนิเสธ (เชิงลบ) และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อทำความเข้าใจธรรมชาติอันแท้จริงของสิ่งต่างๆ ทั้งในระดับจุลภาคและมหัพภาค ในส่วนของหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับความยุติธรรม ซึ่งได้แก่ พระวินัยทั้งหลายทั้งที่เป็นสิกขาบทและหลักนิคหกรรม อันเป็นการแสดงออกถึงการเข้าใจอย่างยุติธรรมแก่สถานภาพของบุคคลตามความเหมาะสมโดยปราศจากซึ่งการเบียดเบียนและทำลายชีวิต แต่เป็นการให้โอกาสผู้ได้กระทำผิดมีความสำนึกความผิดในการกระทำที่ได้ทำผิดไปแล้วนั้นและเปลี่ยนแปลงความประพฤติใหม่ในแนวทางที่ดีงาม และพระวินัยนี้มีผลต่อการปรับปรุงชีวิตของผู้ปฏิบัติให้มีความเหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของตนในระดับสังคม</p> <p>แนวคิดความยุติธรรมที่พึงประสงค์ตามหลักพระพุทธศาสนา ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) แนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรม 2) วิธีการปฏิบัติ และ 3) กระบวนการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความยุติธรรม แนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมคือหลักธรรมและหลักพระวินัยโดยภาพรวม เฉพาะหลักธรรมประกอบด้วย 1) หลักธรรมเพื่อส่งเสริมความยุติธรรม ได้แก่ อธิปไตย 3 ศีล 5 ทิศ 6 สาราณียธรรม 6 และอริยมรรคมีองค์ 8 2) หลักธรรมที่ควรละเว้น ได้แก่ อคติ 4 และมัจฉริยะ 5 และ 3) หลักธรรมสำหรับเป็นเครื่องมือส่งเสริมให้เกิดความยุติธรรมคืออริยสัจ 4 ซึ่งครอบคลุมหลักธรรมอื่นๆ ทั้งหมด วิธีการคือการนำเอาอธิกรณสมถะ 7 มาประยุกต์ใช้ส่วนกระบวนการปฏิบัติอันจะนำไปสู่ความยุติธรรมได้คือนิคหกรรม ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบันได้ เพราะนิคหกรรมมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ทำผิดได้สำนึกตนและปรับเปลี่ยนความประพฤติของตนใหม่ไปในทางที่ดีขึ้น และมีแนวทางปฏิบัติที่หลากหลายตามความ เหมาะสมกับสภาพของปัญหาที่มีความขัดแย้ง</p>}, number={1}, journal={วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์}, author={พระราชปริยัติวิมล and สุรภเมธี พระมหาสากล and สีลเตโช พระใบฎีกานรินทร์ and เหล่าโพนทัน สงวน and สิริธมฺโม พระมหาใจสิงห์}, year={2021}, month={มิ.ย.}, pages={47–64} }