@article{พระราชวิมลโมลี_2021, place={Bangkok Thailand}, title={ความสุขในมุมมองของพระพุทธศาสนาเถรวาท}, volume={8}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/248221}, abstractNote={<p>ในปฐมเทศนา พระพุทธเจ้าตรัสกับปัญจวัคคีย์ว่า “แม้การเกิดก็เป็นทุกข์” จึงทำให้คนบางส่วนเห็นว่าพระพุทธศาสนามองโลกในแง่ร้าย แต่ความเป็นจริงนั้น พระพุทธเจ้าทรงอธิบายถึงความเป็นเหตุเป็นผล  และในขณะเดียวกันนั้นก็ทรงแนะให้มองในทางกลับกันก็ได้ว่า เมื่อมีทุกข์ก็ต้องมีสุข เหมือนมีมืดก็มีสว่างฉันนั้น  ดังนั้น ในพระไตรปิฎก  คำว่าความสุขจึงได้จัดพระพุทธพจน์ไว้ในคัมภีร์พระธรรมบท ภายใต้หมวดธรรมว่า “สุขวรรค”</p> <p>จากการศึกษาในหมวดธรรมในสุขวรรคดังกล่าวนั้นพบว่า ความสุขเป็นสภาพที่ตรงกันข้ามจากความทุกข์ กล่าวคือความทุกข์อันเกิดจากการวิวาท, ความทุกข์อันเกิดจากการมีกิเลสภายใน, ความทุกข์อันเกิดจากการสู้รบ, ความทุกข์อันเกิดจากการบริหารขันธ์ 5,  ความทุกข์อันเกิดจากความหิวโหย,  ความทุกข์อันเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ และความทุกข์อันเกิดจากการคบคนชั่ว  เมื่อบำบัดทุกข์ได้แล้ว ความสุขก็ปรากฏ</p> <p>สรุปได้ว่า ความสุขในพระพุทธศาสนามี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือสุขกายกับสุขใจ  หรือสุขในระดับโลกคือโลกิยสุข และสุขในระดับเหนือโลกคือโลกุตรสุข </p>}, number={1}, journal={วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์}, author={พระราชวิมลโมลี}, year={2021}, month={มิ.ย.}, pages={65–82} }