TY - JOUR AU - ขันแก้ว, ทิพย์ AU - สุวโจ, พระมหาพจน์ AU - หอมวัน, รุ่งสุริยา PY - 2021/06/15 Y2 - 2024/03/29 TI - พุทธจิตวิทยา: ความรับผิดชอบต่อสังคม JF - วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ JA - JBSVD VL - 8 IS - 1 SE - บทความวิชาการ DO - UR - https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/248219 SP - 33-46 AB - <p>การรับผิดชอบสังคมเป็นแนวคิดที่มีหลักการและเป้าหมายตามหลักสากลและตามแนวพระพุทธศาสนาคล้ายกันเน้นประโยชน์ส่วนรวม (อุภยัตถะ) โดยเฉพาะสมัยพุทธกาลมีการดำเนินธุรกิจ ค้าขายที่เน้นส่วนเกินเพื่อสังคม แต่วิธีการที่เป็นลักษณะรูปแบบกระบวนการและกิจกรรมระหว่างสมัยพุทธกาลและปัจจุบันทั่วไปแตกต่างกัน ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงทางบริบทสังคมมีส่วนอย่างมากต่อการทำซีเอสอาร์ในปัจจุบัน เพราะเน้นประโยชน์สุขส่วนรวมแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในทำนองเดียวกับแนวคิดความรับผิดชอบสังคมตามแนวพระพุทธศาสนาที่สำคัญเน้นการพึ่งพาอาศัยกัน (ปฏิจจสมุปบาท)&nbsp; ซีเอสอาร์มีทัศนคติ (ทิฏฐิ) ที่เป็นบวก (สัมมาทิฏฐิ) เป็นฐานมองผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนอย่างเป็นเสมือนมนุษย์ผู้ที่ต้องการสุข เกลียดทุกข์ และปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันตามหลักแห่งสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมโปร่งใส ไม่ทุจริต แต่ประเด็นแตกต่าง พระพุทธศาสนามองกว้างไปจนถึงสิทธิสัตว์ด้วย การเว้นมิจฉาวณิชชา 5 ประการ ข้อการเว้นค้าขายสัตว์สำหรับฆ่า&nbsp; และนอกจากนี้ซีเอสอาร์ตามแนวพุทธศาสนาทำได้ 3 สถานการณ์ คือ 1) เมื่อผู้อื่นปกติ 2) เมื่อผู้อื่นประสบความทุกข์ยากลำบาก และ 3) เมื่อผู้อื่นประสบสุขความสำเร็จ ด้วยช่องทางทั้ง 4 คือ 1) ด้วยกำลังทรัพย์หรือทุนกำลังความรู้ 2) กำลังเรี่ยวแรง 3) ด้วยกำลัง (พลัง) สื่อสาร 4) ด้วยกำลังใจการร่วมเผชิญและแก้ปัญหา (สังคหวัตถุ) นำไปสู่สังคมเป็นสุข และบริษัทก็อยู่ได้อย่างมีความสุขเช่นกัน ด้วยหลักการพึ่งพาอาศัยกันผ่านการดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม ธุรกิจมีเสรีภาพที่มาพร้อมกับเจตนาที่รับผิดชอบทั้ง 3 กาลคือก่อนทำ กำลังทำ และทำเสร็จแล้ว</p> ER -